ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศอินโดนีเซีย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
www.xxx.com
<!---{{ต้องการอ้างอิง}}--->
{{กล่องข้อมูล ประเทศ
| native_name = {{lang|id|Republic of Indonesia}} <small>{{id icon}}</small>
| conventional_long_name = สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
| common_name = อินโดนีเซีย
| image_flag = Flag_of_Indonesia.svg
| image_coat = National emblem of Indonesia Garuda Pancasila.svg
| symbol_type = ตราแผ่นดิน
| image_map = Indonesia (orthographic projection).svg
| national_motto = Bhinneka Tunggal Ika<br /> ([[ภาษาชวา#ภาษาชวาเก่า|ชวาเก่า]]/[[ภาษากาวี|กาวี]]: "เอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย") <br />
| national_anthem = [[อินโดเนเซียรายา]]<center>[[ไฟล์:Indonesiaraya.ogg]]</center>
| official_languages = [[ภาษาอินโดนีเซีย]]
| capital = [[จาการ์ตา]] |latd=6|latm=08|latNS=S|longd=106|longm=45|longEW=E
| largest_city = [[จาการ์ตา]]
| government_type = [[ประชาธิปไตย]][[ระบบประธานาธิบดี]]
| leader_title1 = [[รายชื่อประธานาธิบดีอินโดนีเซีย|ประธานาธิบดี]]
| leader_title2 = รองประธานาธิบดี
| leader_name1 = [[โจโก วีโดโด]]
| leader_name2 = [[Jusuf Kalla]]
| area_rank = 16
| area_magnitude = 1_E10
| area_km2 = 1,904,569
| area_sq_mi = 735,355 <!-- Do not remove per [[WP:MOSNUM]] -->
| percent_water = 4.85tvvh
| population_estimate = 248,216,193
| population_estimate_year = 2554
| population_estimate_rank = 4
| population_census =
| population_census_year =
| population_density_km2 = 116
| population_density_sq_mi = 302 <!-- Do not remove per [[WP:MOSNUM]] -->
| population_density_rank = 84
| GDP_PPP_year = 2560
| GDP_PPP = $ 3.257 ล้านล้าน
| GDP_PPP_rank =
| GDP_PPP_per_capita = $ 12,432
| GDP_PPP_per_capita_rank =
| GDP_nominal_year = 2560
| GDP_nominal = $ 1.020 ล้านล้าน
| GDP_nominal_rank =
| GDP_nominal_per_capita = $ 3,895
| GDP_nominal_per_capita_rank =
| HDI_year = 2558
| HDI = {{increase}} 0.689
| HDI_rank = 113th
| HDI_category = <font color="orange">ปานกลาง</font>
| sovereignty_type = [[เอกราช]]
| sovereignty_note = จาก [[ประเทศเนเธอร์แลนด์|เนเธอร์แลนด์]]
| established_event1 = ประกาศ
| established_event2 = เป็นที่ยอมรับ
| established_date1 = [[17 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2488]]
| established_date2 = [[27 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2492]]
| currency = [[รูเปียห์]]
| currency_code = IDR
| time_zone = มีหลายเขต
| utc_offset = +7 to +9
| time_zone_DST = not observed
| utc_offset_DST = +7 to +9
| drives_on = ซ้ายมือ
| cctld = [[.id]]
| calling_code = 62
| footnotes =
}}

'''อินโดนีเซีย''' ({{lang-id|Indonesia}}) หรือชื่อทางการคือ '''สาธารณรัฐอินโดนีเซีย''' ({{lang-id|Republik Indonesia}}) เป็น[[หมู่เกาะ]]ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่าง[[คาบสมุทรอินโดจีน]]กับ[[ทวีปออสเตรเลีย]] และระหว่าง[[มหาสมุทรอินเดีย]]กับ[[มหาสมุทรแปซิฟิก]] มีพรมแดนติดกับ[[ประเทศมาเลเซีย]]บน[[เกาะบอร์เนียว]]หรือกาลีมันตัน ({{lang|id|Kalimantan}}), [[ประเทศปาปัวนิวกินี]]บน[[เกาะนิวกินี]]หรืออีเรียน ({{lang|id|Irian}}) และ[[ประเทศติมอร์-เลสเต]]บน[[เกาะติมอร์]] ({{lang|id|Timor}})


== ประวัติศาสตร์ ==
== ประวัติศาสตร์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:57, 21 มิถุนายน 2560

www.xxx.com

ประวัติศาสตร์

วัดปูราตามันอายุน จังหวัดบาหลี เดิมเป็นที่ตั้งของอาณาจักรบาดุง

อินโดนีเซียประกอบด้วยหมู่เกาะที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน แต่ต่อมาต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์อยู่ประมาณ 301 ปี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2.1 ญี่ปุ่นบุกอินโดนีเซีย และทำการขับไล่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมของอินโดนีเซียออกไปได้สำเร็จ จึงทำให้ผู้นำอินโดนีเซียคนสำคัญในสมัยนั้นให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่นแต่ไม่ได้ให้ความไว้วางใจกับญี่ปุ่นมากนัก เพราะมีเหตุเคลือบแคลงคือ เมื่อผู้รักชาติอินโดนีเซียจัดตั้งขบวนการต่างๆขึ้นมา ญี่ปุ่นจะขอเข้าร่วมควบคุมและดำเนินงานด้วย

เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามและประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายพันธมิตร อินโดนีเซียได้ถือโอกาสประกาศเอกราชใน พ.ศ. 2488 แต่เนเธอร์แลนด์เจ้าของอาณานิคมเดิมไม่ยอมรับการประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย จึงยกกองทัพเข้าปราบปราม ผลจากการสู้รบปรากฏว่าเนเธอร์แลนด์ไม่สามารถปราบปรามกองทัพอินโดนีเซียได้ จากนั้นอังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรกับเนเธอร์แลนด์จึงเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อให้ยุติความขัดแย้งกัน โดยให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในข้อตกลงลิงกัดยาติ (Linggadjati Agreement) เมื่อ พ.ศ. 2489 โดยเนเธอร์แลนด์ยอมรับอำนาจรัฐของรัฐบาลอินโดนีเซียในเกาะชวาและสุมาตรา ต่อมาภายหลังเนเธอร์แลนด์ได้ละเมิดข้อตกลงโดยได้นำทหารเข้าโจมตีอินโดนีเซียทำให้ประเทศอื่นๆ เช่น ออสเตรเลีย และอินเดียได้ยื่นเรื่องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเข้าจัดการ สหประชาชาติได้เข้าระงับข้อพิพาทโดยตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ออสเตรเลีย เบลเยียม และสหรัฐอเมริกา เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอมและได้เรียกร้องให้หยุดยิง แต่เนเธอร์แลนด์ได้เข้าจับกุมผู้นำคนสำคัญของอินโดนีเซีย คือ ซูการ์โนและฮัตตาไปกักขัง ต่อมาทหารอินโดนีเซียสามารถช่วยเหลือนำตัวผู้นำทั้งสองออกมาได้ ในระยะนี้ทุกประเทศทั่วโลกต่างตำหนิการกระทำของเนเธอร์แลนด์อย่างยิ่งและคณะมนตรีความมั่นคงได้กดดันให้เนเธอร์แลนด์มอบเอกราชแก่อินโดนีเซีย

ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2492 อินโดนีเซียได้รับเอกราชแต่ความยุ่งยากยังคงมีอยู่เนื่องจากเนเธอร์แลนด์ไม่ยินยอมให้รวมดินแดนอิเรียนตะวันตกเข้ากับอินโดนีเซีย ทั้งสองฝ่ายจึงต่างเตรียมการจะสู้รบกันอีก ผลที่สุดเนเธอร์แลนด์ก็ยอมโอนอำนาจให้สหประชาชาติควบคุมดูแลอิเรียนตะวันตกและให้ชาวอิเรียนตะวันตกแสดงประชามติว่าจะรวมกับอินโดนีเซียหรือไม่ ผลการออกเสียงประชามติปรากฏว่าชาวอิเรียนตะวันตกส่วนใหญ่ต้องการรวมกับอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงโอนอิเรียนตะวันตกให้อยู่ในความปกครองของอินโดนีเซียเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2506

การเมืองการปกครอง

ประเทศอินโดนีเซียมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและทำหน้าที่ปกครองประเทศ

การแบ่งเขตการปกครอง

ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 31 จังหวัด ([propinsi-propinsi] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)), 2 เขตปกครองพิเศษ* ([daerah-daerah istimewa] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)) และ 1 เขตนครหลวงพิเศษ** ([daerah khusus ibukota] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)) โดยมีเมืองหลวงหรือเมืองหลักของแต่ละจังหวัด ได้แก่

เมืองที่จัดซีเกมส์ 2011

นโยบายต่างประเทศ

กองทัพ

คมนาคม และ โทรคมนาคม

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ภูมิอากาศ

ลักษณะอากาศแบบศูนย์สูตร ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน) อินโดนีเซียมีฝนตกชุกตลอดปี แต่อุณหภูมิไม่สูงมากนัก เพราะพื้นที่เป็นเกาะจึงได้รับอิทธิพลจากทะเลอย่างเต็มที่

ภูมิศาสตร์

อินโดนีเซียเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลกมีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 1,826,440 ตารางกิโลเมตร มีประมาณ 17,000 เกาะ พื้นที่กว่า 70% ไม่มีผู้คนอาศัย มีภูเขาสูงตามเทือกเขาที่มีความสูงมากอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ตามบริเวณเขามักมีภูเขาไฟและมีที่ราบรอบเทือกเขา ชายเกาะมีความสูงใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเล ทำให้มีที่ราบบางแห่งเต็มไปด้วยหนองบึงใช้ประโยชน์ไม่ได้

ประเทศอินโดนีเซียมีหมู่เกาะหลัก 5 เกาะคือ อีเรียน (Irian), ชวา (Java), กาลิมันตัน (Kalimantan), สุลาเวสี (Sulawesi) และสุมาตรา (Sumatra) เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะสุมาตรา ส่วนเกาะชวาเป็นเกาะที่เล็กที่สุดในบรรดาเกาะหลักทั้ง 5 เกาะ แต่ประมาณ 60% ของประชากรกว่า 200 ล้านคน อาศัยอยู่บนเกาะนี้และเป็นที่ตั้งกรุงจาการ์ตาซึ่งเป็นเมืองหลวง หมู่เกาะเหล่านี้อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ชายฝั่งของประเทศอินโดนีเซียยาวประมาณ 2,600 กิโลเมตร และมีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซีย ปาปัวนิวกีนี และติมอร์ตะวันออก

ประชากร

จำนวนประชากรทั้งหมด 251,170,193 คน โดยการประมาณการของสหประชาชาติ

เชื้อชาติ

ณ ที่นั้น ความแตกต่างของกลุ่มชาติพันธุ์ประมาณ 300 กว่ากลุ่มชาติพันธุ์ และภาษาพื้นเมือง และสำเนียงท้องถิ่น ที่แตกต่างกันถึง 742 ภาษา ชาวอินโดนีเซียส่วนมากสืบเชื้อสายมาจากชนเผ่าทีพูดตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ภาษาของกลุ่มชนดังกล่าวสามารถที่จะสืบค้นย้อนไปถึง ภาษาโปรโต-ออสโตรเนเชียน ซึ่งเป็นไปได้ว่ามีต้นกำเนิดในไตหวัน นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มชนเผ่าที่สำคัญอีกกลุ่มหนึ่ง คือ เผ่าเมลาเนเชียน ผู้ซึ่งอาศัยอยู่บนเกาะปาปัว ภาคตะวันออก ของประเทศอินโดนีเซีย ชาวชวา คือ กลุ่มชนเผ่าที่มีจำนวนมากที่สุด ซึ่งมีอยู่ราว 42% ของจำนวนประชากร เป็นกลุ่มชนชั้นนำทางการเมือง และวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชนชาติหลักๆ ที่มีจำนวนพอๆกับชาวชวา เช่น ชาวซุนดา ชาวมาเล และชาวมาดูรา จิตสำนึกของความเป็น ชาวอินโดนิเซีย จะขนานควบคู่ไปกับอัตลักษณ์ของท้องถิ่นตนเองอย่างเหนียวแน่น ความตึงเครียดทางสังคม ศาสนา และเชื้อชาติ เป็นสิ่งที่เคยกระตุ้นให้เกิดความขัดแย้งรุนแรง อันน่าสะพรึงกลัวมาแล้ว ชาวอินโดนิเซียเชื้อสายจีน เป็นชุนกลุ่มน้อยในประเทศ แต่ทรงอิทธิพลอย่างยิ่ง มีจำนวนราวๆ 3-4 % ของจำนวนประชากรอินโดนีเซีย

ศาสนา

ศาสนาในประเทศอินโดนีเซีย
ศาสนา ร้อยละ
อิสลาม
  
87.2%
คริสต์
  
9.9%
ฮินดู
  
1.7%
พุทธ
  
0.7%
ขงจื๊อและอื่น ๆ
  
0.2%

ในปี ค.ศ. 2010[1] ประเทศอินโดนีเซียมีผู้นับถือศาสนา แบ่งได้ดังนี้ ศาสนาอิสลาม 87.2% ศาสนาคริสต์ 9.9% ศาสนาฮินดู 1.7% ศาสนาพุทธ 0.7% ลัทธิขงจื๊อและศาสนาอื่น ๆ 0.2%

การศึกษา

ระบบการศึกษาในโรงเรียนของอินโดนีเซีย ประกอบด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาชั้นมัธยมและการศึกษาระดับสูง และยังมีการศึกษาก่อนวัยเรียนเพื่อเตรียมควมพร้อมของเด็ก การศึกษาขั้นพื้นฐานของอินโดนีเซียกินเวลา 9 ปี ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นการสร้างเสริมทักษะพื้นฐานให้แก่ ผู้เรียนเตรียมความพร้อมในฐานะปัจเจกชน ประชาชน และมนุษยชาติ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานนี้จัดแบ่งโรงเรียนเป็น 2 ลักษณะ คือ โรงเรียนประถมศึกษาทั่วไป(General primary school) และโรงเรียนประถมศึกษาพิเศษสำหรับเด็กพิการ(Special primary school for handicapped children)

ระบบการศึกษาของอินโดนีเซียตั้งวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาไว้ว่า 1.พัฒนาความรู้ของนักเรียนสำหรับการศึกษาต่อเนื่องในระดับที่สูงขึ้นและเพื่อพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์แขนงต่างๆ 2.พัฒนาความสามารถของนักเรียนในฐานะเป็นสมาชิกของสังคมให้มีปฏิสัมพันธ์ต่อสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ

โรงเรียนมัธยมศึกษาของอินโดนีเซีย แบ่งการเรียนการสอนออกเป็น 6 แบบ เพื่อผลิตนักเรียนตามความต้องการของผู้เรียนในอนาคต ดังนี้ 1.การศึกษาระดับมัธยมศึกษาทั่วไป เป็นการเตรียมความรู้ และพัฒนาทักษะสำหรับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาต่อไป 2.การศึกษาระดับมัธยมศึกษาทางวิชาชีพ สามารถแยกการศึกษานี้ออกเป็น 6 กลุ่ม ในสาขาวิชาชีพต่างๆ ได้แก่ เกษตรกรรมและการป่าไม้ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ธุรกิจและการจัดการ ความเป็นอยู่ของชุมชน การท่องเที่ยว และศิลปะหัตถกรรา 3.การศึกษาระดับมัธยมศึกษาด้านศาสนา 4.การศึกษาระดับมัธยมศึกษาด้านการบริการ เป็นการจัดการศึกษาเพื่อเตรียมความรู้ความสามารถสำหรับผู้ที่จะเข้าเป็นพนักงานหรือข้าราชการ 5.การศึกษาระดับมัธยมศึกษาพิเศษ เป็นการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่พิการทางร่างกายหรือจิตใจ 6.การศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรีใช้เวลา 3-4 ปี ปริญญาโท 2 ปี ปริญญาเอก 3 ปี สถาบันที่ให้การศึกษาระดับสูงนี้มีลักษณะเป็นสถาบันวิชาการ โพลีเทคนิค สถาบันการศึกษา และมหาวิทยาลัย

อย่างไรก็ตาม ยังมีสิ่งที่สะท้อนปัญหาความไม่สมดุลในการจัดการศึกษาของอินโดนีเซีย เนื่องจากอินโดนีเซียมีประชากรจำนวนมากที่สุดในอาเซียนคือ 243 ล้านคน แต่มีผู้เข้าสูงการศึกษาขั้นสูงหรือระดับปริญญาตรีขึ้นไปประมาณ 4.8 ล้านคนเท่านั้น ทั้งกลุ่มคนเหล่านี้ก็สนใจที่จะศึกษาต่อในต่างประเทศเพื่อสร้างโอกาสในการทำงาน เคยมีผลสำรวจระบุว่า นายจ้างในอินโดนีเซียยินดีรับผู้จบการศึกษาจากต่างประเทศมากกว่าผู้ที่จบในประเทศค่านิยมแบบนี้จึงผลักดันให้เยาวชนอินโดนีเซียต้องออกไปศึกษาต่อขั้นสูงในต่างประเทศแทน

วัฒนธรรม

สถาปัตยกรรม

วรรณกรรม

วรรณกรรม ในสมัยที่ศาสนาฮินดู และพุทธศาสนาได้เข้าไปเผยแพร่ในอินโดนีเซีย วรรณกรรมของอินโดนีเซียมีความเจริญอย่างรวดเร็ว หนังสือที่มีชื่อเสียงในระยะนั้นได้แก่เรื่องเนการาเกอร์ตากามา ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความยิ่งใหญ่ และอำนาจของอาณาจักรมัดยาปาหิต นอกจากนี้ยังมีหนังสือที่ได้รับความนิยมกันมากอีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องปาราราตัน เป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของกษัตริย์อินโดนีเซียในสมัยนั้น เขียนเป็นภาษาชวาโบราณ ต่อมาเมื่อศาสนาอิสลามได้แพร่เข้าไปในอินโดนีเซีย ก็ได้มีผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับคำสอนของศาสนาอิสลาม และตำราหมอดูไว้หลายเล่ม โดยเขียนเป็นภาษาชวา

ดนตรีและนาฏศิลป์

ระบำบารอง (Barong Dance) เป็นศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวเกาะบาหลี อินโดนีเซีย บารองเป็นสัตว์ในตำนาน ซึ่งมีหลังอานยาวและหางงอนโง้ง และเป็นสัญลักษณ์แทนวิญญาณดีงาม ซึ่งเป็นผู้ปกปักษ์รักษามนุษย์ต่อสู้กับรังดา ตัวละครที่เป็นสัญลักษณ์แทนวิญญาณชั่วร้าย บารอง แดนซ์เป็นนาฏกรรมศักดิ์สิทธิ์ การร่ายรำมีท่าทีอ่อนช้อยงดงาม เสียงเพลงไพเราะ[2]

อาหาร

กาโด กาโด (Gado Gado) เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของอินโดนีเซียคล้ายกับสลัดแขก ซึ่งจะประกอบด้วยถั่วเขียว มันฝรั่ง ถั่วงอก เต้าหู้ ไข่ต้มสุก กะหล่ำปลี ข้าวเกรียบกุ้ง รับประทานกับซอสถั่วที่มีลักษณะเหมือนซอสสะเต๊ะ อย่างไรก็ตาม ด้วยเครื่องสมุนไพรในซอส อาทิ รากผักชี หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ ทำให้เมื่อรับประทานแล้วจะไม่รู้สึกเลี่ยนกะทิมากจนเกินไป และยังเป็นเหมือนอาหารสำหรับคนรักสุขภาพได้อีกด้วย

กีฬา

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

รัฐบาล
ข้อมูลทั่วไป
การท่องเที่ยว