ข้ามไปเนื้อหา

ธนาคารเอเชีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ธนาคารเอเซีย)
ธนาคารเอเชีย
ประเภทบริษัทมหาชน (พ.ศ. 2535)
อุตสาหกรรมการเงิน
ก่อตั้งพ.ศ. 2482
เลิกกิจการพ.ศ. 2547
สาเหตุรวมกิจการเข้ากับธนาคารยูโอบีรัตนสิน จนกลายเป็นธนาคารยูโอบี
บุคลากรหลักปรีดี พนมยงค์

ธนาคารเอเชีย (Bank of Asia) หรือ BoA เป็นธนาคารในประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2482 มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจไทย ใช้ชื่อว่า ธนาคารแห่งเอเชียเพื่ออุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม โดยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ อดีตนายกรัฐมนตรี และผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น "ธนาคารเอเชีย" (BoA) จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ในปี พ.ศ. 2521 และกลายเป็นบริษัทมหาชน จำกัด ในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2535

ธนาคารเอเชียมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลาย อีกทั้งยังมีบริษัทในเครือที่ให้ บริการด้านประกันภัย, การจัดการกองทุน, การจัดจำหน่ายตราสาร หนี้และตราสารทุนและบริการเช่าซื้อ สถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของธนาคารอยู่ที่ถนนสาทรใต้ ในกรุงเทพมหานคร ณ เดือนกันยายน พ.ศ. 2546 ธนาคารเอเชียมีสาขา 124 แห่ง

พ.ศ. 2541 ธนาคารเอบีเอ็น แอมโร แห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ของธนาคารเอเชีย ในปี พ.ศ. 2545 ธนาคารเอบีเอ็น แอมโรได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 8 ในยุโรป และที่ 17 ในโลก ในด้านความมั่นคงของเงินกองทุนขั้นที่หนึ่ง โดย มีกว่า 3,000 สาขาในกว่า 66 ประเทศ [1]

25 เมษายน พ.ศ. 2547 ธนาคารเอบีเอ็ม แอมโร ได้ลงนามขายหุ้น 80.77% ซึ่งถืออยู่ในธนาคารเอเชีย ให้กับ ธนาคารยูโอบี ผู้ถือหุ้นหลักใน ธนาคารยูโอบีรัตนสิน เพื่อควบรวมกิจการ ธนาคารเอเชีย เข้ากับ ธนาคารยูโอบีรัตนสิน โดยใช้ธนาคารเอเชียเป็นแกนหลัก และเปลี่ยนชื่อเป็น "ธนาคารยูโอบี" [2] ในนามบริษัท “ธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ (ไทย) จำกัด (มหาชน)”[3]

อ้างอิง

[แก้]

หมวดหมู่:บริษัทสยามที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2482