ศาลเจ้าอัตสึตะ
ศาลเจ้าอัตสึตะ 熱田神宮 | |
---|---|
ศาลาอธิษฐาน (ไฮเด็ง) ในปี 2019 | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ชินโต |
เทพ | อัตสึตะโนโอคามิ อามาเตราซุ ซูซาโนโอะ ยามาโตะ ทาเกรุ ธิดามิยาซุ ทาเกนาดาเนะ |
เทศกาล | อัตสึตะ-ไซ; 5 มิถุนายน |
ประเภท | โชกูไซชะ เบ็ปเปียวจินจะ, ชิกิไนชะ โอวาริ โนะ กูนิ ซันโนมิยะ (เดิมคือ คันเปอิไตชา) |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | 1-1-1, Jingu, Atsuta-ku Nagoya, Aichi 456-8585 |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 35°07′39″N 136°54′30″E / 35.12750°N 136.90833°E |
สถาปัตยกรรม | |
รูปแบบ | ชินเมซูกูริ |
เว็บไซต์ | |
www | |
อภิธานศัพท์ชินโต |
ศาลเจ้าอัตสึตะ (ญี่ปุ่น: 熱田神宮; โรมาจิ: อัตสึตะ-จิงงุ) เป็นศาลเจ้าชินโต ตั้งอยู่ในเขตอัตสึตะ นครนาโงยะ ในจังหวัดไอจิ เชื่อกันว่าก่อตั้งในรัชสมัยจักรพรรดิเคโก (ค.ศ. 71-130)[1] บางครั้งคนท้องถิ่นจะเรียกศาลเจ้านี้ว่า อัตสึตะ-ซามะ หรืออย่างสั้นๆว่า มิยะ ศาลเจ้าแห่งนี้เป็นศาลเจ้าที่เก่าแก่เป็นอันดับสองในญี่ปุ่น รองจากศาลเจ้าใหญ่อิเซะในจังหวัดมิเอะ[2]และมีพื้นที่กว่าสองแสนตารางเมตร ในแต่ละมีมีนักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมศาลเจ้าแห่งนี้กว่า 9 ล้านคน[2] และในแต่ละปีจะมีการจัดเทศกาลและพิธีกรรมที่ศาลเจ้าแห่งนี้กว่า 70 ครั้ง[3]
ศาลาพระคลัง (บุงกาเด็ง) ของศาลเจ้าอัตสึตะ เป็นที่เก็บรักษาโบราณวัตถุมากกว่า 4,000 ชิ้น ซึ่งรวมไปถึงพระราชทรัพย์ทางวัฒนธรรม 174 ชิ้น ตลอดจนดาบสั้น คูซานางิ หนึ่งในสามราชกกุธภัณฑ์ซึ่งเป็นหนึ่งในสมบัติที่สำคัญที่สุดของชาติญี่ปุ่น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Ponsonby-Fane, Richard. (1962). Studies in Shinto and Shrines. pp. 429-453.
- ↑ 2.0 2.1 Atsuta-jingū org: เก็บถาวร 2006-06-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน "Introduction." เก็บถาวร 2008-04-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ องค์การนักท่องเที่ยวแห่งชาติญี่ปุ่น (JNTO): Atsuta-jingū Shrine.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ศาลเจ้าอัตสึตะ
- (ญี่ปุ่น) Atsuta-jingū website
- (อังกฤษ) Atsuta-jingū website