กฎมนเทียรบาล
หน้าตา
กฎมนเทียรบาล บ้างสะกดเป็น กฎมณเฑียรบาล เป็นตัวบทกฎหมายในประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 19–24) ที่บัญญัติเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ ราชสำนัก และรัฐบาล ในแง่หนึ่งทำหน้าที่เหมือนรัฐธรรมนูญช่วงอยุธยาตอนต้น[1] หลังอยุธยาล่มสลาย กฎมนเทียรบาลเป็นหนึ่งในกฎหมาย 27 เรื่องที่ประมวลเข้าเป็นกฎหมายตราสามดวงใน พ.ศ. 2348 ตามรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช[2]
ปัจจุบัน กฎมนเทียรบาลจำนวนหนึ่งยังมีผลอยู่ โดยมีอายุย้อนไปถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ พ.ศ. 2453–2468) กฎที่สำคัญที่สุดคือกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 ซึ่งรัฐธรรมนูญไทยยอมรับให้ใช้ได้[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Seni Pramoj, quoted in Baker & Phongpaichit 2016, p. 51
- ↑ Baker & Phongpaichit 2016, p. 1
- ↑ รังสิทธิ์ วรรณกิจ (2017). "กฎมณเฑียรบาล". wiki.kpi.ac.th. King Prajadhipok's Institute. สืบค้นเมื่อ 17 October 2019.[ลิงก์เสีย]
Skibido
[แก้]- Chris, Baker; Phongpaichit, Pasuk (2016). The Palace Law of Ayuttaha and the Thammasat: Law and Kingship in Siam. Cornell University Press. ISBN 9781501725968.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิซอร์ซมีเอกสารต้นฉบับในเรื่องนี้: กฎมนเทียรบาล