พ.ศ. 2565
(เปลี่ยนทางจาก ค.ศ. 2022)
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2565 |
ปฏิทินเกรกอเรียน | 2022 MMXXII |
Ab urbe condita | 2775 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1471 ԹՎ ՌՆՀԱ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6772 |
ปฏิทินบาไฮ | 178–179 |
ปฏิทินเบงกอล | 1429 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2972 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 70 Eliz. 2 – 71 Eliz. 2 |
พุทธศักราช | 2566 |
ปฏิทินพม่า | 1384 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7530–7531 |
ปฏิทินจีน | 辛丑年 (ฉลูธาตุโลหะ) 4718 หรือ 4658 — ถึง — 壬寅年 (ขาลธาตุน้ำ) 4719 หรือ 4659 |
ปฏิทินคอปติก | 1738–1739 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3188 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 2014–2015 |
ปฏิทินฮีบรู | 5782–5783 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2078–2079 |
- ศกสมวัต | 1944–1945 |
- กลียุค | 5123–5124 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 12022 |
ปฏิทินอิกโบ | 1022–1023 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1400–1401 |
ปฏิทินอิสลาม | 1443–1444 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชเรวะ 4 (令和4年) |
ปฏิทินจูเช | 111 |
ปฏิทินจูเลียน | เกรกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4355 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 111 民國111年 |
เวลายูนิกซ์ | 1640995200–1672531199 |
พุทธศักราช 2565 เป็นปีปัจจุบัน ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2022 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น
- ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช 1384 (วันที่ 16 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
- ปีที่ 3 ของคริสต์ทศวรรษ 2020, ปีที่ 22 ของคริสต์ศตวรรษที่ 21 และปีที่ 22 ของคริสต์สหัสวรรษที่ 3
- ปีแห่งการประมงพื้นบ้านและการเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำสากล[1] ปีแห่งวิทยาศาสตร์ขั้นมูลฐานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนสากล[2] ปีแห่งการพัฒนาภูเขาอย่างยั่งยืนสากล[3] และ ปีแห่งแก้วสากล[4] ประกาศโดยสหประชาชาติ
ผู้นำประเทศไทย[แก้]
ดูบทความหลักที่: รายชื่อผู้นำประเทศ พ.ศ. 2565
- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน)
- นายกรัฐมนตรี: พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (24 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – ปัจจุบัน)
เหตุการณ์[แก้]
มกราคม[แก้]
- 1 มกราคม – ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งเป็นข้อตกลงการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีผลใช้บังคับ สำหรับประเทศไทย กัมพูชา ลาว สิงคโปร์ เวียดนาม บรูไน จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์[5]
- 2 มกราคม
- อับดัลเลาะ ฮัมดอกลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีซูดาน ท่ามกลางการประท้วงที่รุนแรง[6]
- เกิดการประท้วงในประเทศคาซัคสถานเนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงพุ่งสูงขึ้นอย่างกะทันหัน[7]
- 4 มกราคม – จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักรและสหรัฐ ห้าประเทศสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ออกแถลงการณ์ร่วมเห็นพ้องว่า "สงครามนิวเคลียร์ไม่อาจเอาชนะและจะต้องไม่เกิดขึ้น"[8]
- 5 มกราคม – มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศคาซัคสถานหลังเกิดการประท้วง คณะรัฐมนตรีของอัสการ์ มามินลาออก และประธานาธิบดีฆาเซิม-โฌมาร์ต โตกาเยฟปลดนูร์ซุลตัน นาซาร์บายิฟ อดีตประธานาธิบดีซึ่งถือว่าเป็นผู้มีอำนาจอยู่เบื้องหลังออกจากตำแหน่งประธานสภาความมั่นคงคาซัคสถาน[9]
- 6 มกราคม – องค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกันเริ่มปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพในประเทศคาซัคสถาน หลังประธานาธิบดีโตกาเยฟเรียกร้อง[10]
- 7 มกราคม – การระบาดทั่วของโควิด-19: จำนวนรวมผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วโลกเกิน 300 ล้านคน[11]
- 10 มกราคม – มีการรายงานการปลูกถ่ายหัวใจหมูสู่มนุษย์สำเร็จเป็นครั้งแรก[12][13]
- 15 มกราคม – เกิดการปะทุครั้งใหญ่ของภูเขาไฟฮังกาตองกาในประเทศตองกา นำไปสู่การประกาศคำเตือนสึนามิในประเทศออสเตรเลีย แคนาดา ชิลี ฟิจิ ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ซามัว และสหรัฐ[14]
- 16 มกราคม – นอวาก จอกอวิช นักเทนนิสมือวางอันดับที่ 1 ของโลกถูกเนรเทศออกจากประเทศออสเตรเลีย หลังแพ้คดีที่เขาเดินทางเข้าประเทศโดยขอยกเว้นการรับวัคซีนโควิด-19 ส่งผลให้จอกอวิชไม่ได้ลงแข่งรายการเทนนิสออสเตรเลียนโอเพน 2022[15][16][17]
- 23 มกราคม – กองทัพบูร์กินาฟาโซก่อรัฐประหารรัฐบาลประธานาธิบดีรอช มาร์ก คริสติยอง กาโบเร[18]
- 29 มกราคม – แซร์โจ มัตตาเรลลาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีอิตาลีสมัยที่สอง[19]
กุมภาพันธ์[แก้]
![]() |
สำนักข่าววีโอเอรายงานข่าวรัสเซียบุกยูเครน เมื่อเวลา 4.00 น. ตามเวลามาตรฐานตะวันออก วันที่ 24 กุมภาพันธ์ |
หากมีปัญหาในการเล่นไฟล์นี้ ดูที่ วิธีใช้สื่อ |
- 3 กุมภาพันธ์ – อะบู อิบรอฮีม อัลฮาชิมี อัลกุเราะชี ผู้นำรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ถูกสังหารระหว่างต่อสู้กับหน่วยรบพิเศษสหรัฐทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศซีเรีย[20]
- 4 กุมภาพันธ์ – 20 กุมภาพันธ์ – โอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ถูกจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน กลายเป็นเมืองแรกที่เป็นเจ้าภาพทั้งโอลิมปิกฤดูร้อนและโอลิมปิกฤดูหนาว[21]
- 5 กุมภาพันธ์ – พายุไซโคลนบัตซีรายพัดผ่านทวีปแอฟริกาตะวันออก ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 123 คนในมาดากัสการ์ มอริเชียสและเรอูว์นียง[22]
- 8 กุมภาพันธ์ – การระบาดทั่วของโควิด-19: จำนวนรวมผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วโลกเกิน 400 ล้านคน[23]
- 13 กุมภาพันธ์ – การเลือกตั้งประธานาธิบดีเยอรมนี พ.ศ. 2565: ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีเยอรมนีสมัยที่สอง[24]
- 21 กุมภาพันธ์ – วิกฤตการณ์รัสเซีย–ยูเครน (พ.ศ. 2564–2565): วลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียประกาศรับรองความเป็นรัฐเอกราชของสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์[25]
- 24 กุมภาพันธ์ – รัสเซียเริ่มการบุกครองยูเครน[26]
- 27 กุมภาพันธ์
มีนาคม[แก้]
- 4 มีนาคม – 13 มีนาคม – พาราลิมปิกฤดูหนาว 2022 ถูกจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน[30]
- 9 มีนาคม
- ยุน ซ็อก-ย็อล หัวหน้าพรรคพลังประชาชน เฉือนชนะประธานาธิบดีเกาหลีใต้คนปัจจุบันในการเลือกตั้งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ค.ศ. 2022[31]
- นักวิจัยในแอนตาร์กติกประกาศค้นพบ เอนดูแรนซ์ หนึ่งในซากเรืออัปปางที่ล่มระหว่างการสำรวจของเออร์เนสต์ แชคเคิลตันในค.ศ. 1915[32]
- 21 มีนาคม – ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 5735 ประสบอุบัติเหตุตกที่อำเภอเถิงในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ส่งผลให้ผู้โดยสารและลูกเรือ 132 คนเสียชีวิตทั้งหมด[33]
เมษายน[แก้]
- 3 เมษายน – การรุกรานยูเครนของรัสเซีย พ.ศ. 2565: กองทัพรัสเซียถอนกำลังออกจากพื้นที่ใกล้เคียฟ ด้านยูเครนกล่าวหารัสเซียว่าก่ออาชญากรรมสงคราม หลังมีการเผยแพร่หลักฐานการสังหารหมู่ประชาชนชาวยูเครน รวมถึงการสังหารหมู่ที่บูชา[34][35]
- 13 เมษายน – การระบาดทั่วของโควิด-19: จำนวนรวมผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วโลกเกิน 500 ล้านคน[36]
- 14 เมษายน – การรุกรานยูเครนของรัสเซีย พ.ศ. 2565: มอสควา เรือธงของกองเรือทะเลดำของกองทัพเรือรัสเซียจมลงในทะเลดำ โดยยูเครนอ้างว่าเรือถูกถล่มด้วยขีปนาวุธร่อน แนปตูน ของตน ด้านรัสเซียอ้างว่าเรือจมลงหลังเกิดเพลิงไหม้บนเรือ[37][38]
- 24 เมษายน – การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส ค.ศ. 2022: แอมานุแอล มาครงได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศสสมัยที่สอง หลังเอาชนะมารีน เลอ แปนในการเลือกตั้งรอบที่สอง[39][40][41]
- 30 เมษายน – สุริยุปราคาบางส่วน (ตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ และตะวันออกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก)[42]
พฤษภาคม[แก้]
- 9 พฤษภาคม – มหินทะ ราชปักษะ นายกรัฐมนตรีประเทศศรีลังกาประกาศลาออก หลังมีการประท้วงใหญ่ต่อต้านเขาทั่วประเทศ[43][44]
- 12 พฤษภาคม – กล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าเหตุการณ์ถ่ายคนยิงธนูเอ* หลุมดำขนาดใหญ่ยิ่งยวด ณ ใจกลางทางช้างเผือก เป็นครั้งแรก[45]
- 16 พฤษภาคม – การรุกรานยูเครนของรัสเซีย พ.ศ. 2565: การล้อมมารีอูโปลยุติลงด้วยชัยของรัสเซีย เมื่อทหารยูเครนอพยพออกจากเมือง[46][47]
- 20 พฤษภาคม – การระบาดของฝีดาษลิง พ.ศ. 2565: องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดการประชุมฉุกเฉินเพื่ออถิปรายการระบาดของโรคฝีดาษลิงในหลายประเทศ และมีจำนวนผู้ป่วยแตะ 100 รายแล้ว[48][49]
- 25 พฤษภาคม – โรมาจากอิตาลี เอาชนะไฟเยอโนร์ดจากเนเธอร์แลนด์ไป 1–0 คว้าแชมป์ยูฟ่า คอนเฟอเรนซ์ ลีก เป็นทีมแรกที่สนามกีฬาแอร์แอลเบเนีย ในเมืองติรานา ประเทศแอลเบเนีย
- 28 พฤษภาคม – เรอัลมาดริดจากสเปนเอาชนะลิเวอร์พูลจากอังกฤษ 1–0 ในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2022 ที่สตาดเดอฟร็องส์ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส[50]
มิถุนายน[แก้]
เหตุการณ์ในอนาคต[แก้]
- 10 กันยายน – เอเชียนเกมส์ 2022 ที่นครหางโจว ประเทศจีน
- 25 ตุลาคม – สุริยุปราคาบางส่วน (ทวีปยุโรป ตอนเหนือของทวีปแอฟริกา และด้านตะวันตกของทวีปเอเชีย)[42]
- 8 พฤศจิกายน – จันทรุปราคาเต็มดวง[51]
- 14 – 21 พฤศจิกายน – การประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค 2022
- 21 พฤศจิกายน – การแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์
วันถึงแก่กรรม[แก้]
ดูบทความหลักที่: บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2565
มกราคม[แก้]
- 3 มกราคม – เจิ้ง หมิ่น กวีชาวจีน (เกิด 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2463)[52]
- 6 มกราคม – ซิดนีย์ พอยเทียร์ นักแสดงชาวอเมริกัน-บาฮามาส (เกิด 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470)[53]
- 9 มกราคม - โทชิกิ ไคฟุ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น (เกิด 2 มกราคม พ.ศ. 2474)
- 14 มกราคม – ริการ์ดู บูฟิลย์ สถาปนิกชาวสเปน (เกิด 5 ธันวาคม พ.ศ. 2482)[54]
- 18 มกราคม – ปาโก เฆนโต นักฟุตบอลและผู้จัดการทีมชาติสเปน (เกิด 21 ตุลาคม พ.ศ. 2476)[55]
- 19 มกราคม – กัสปาร์ อูว์เลียล นักแสดงชาวฝรั่งเศส (เกิด 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527)[56]
- 20 มกราคม – มีต โลฟ นักร้องและนักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 27 กันยายน พ.ศ. 2490)[57]
- 22 มกราคม – ทิก เญิ้ต หั่ญ พระภิกษุชาวเวียดนาม (เกิด 11 ตุลาคม พ.ศ. 2469)[58]
กุมภาพันธ์[แก้]
- 3 กุมภาพันธ์ – อะบู อิบรอฮีม อัลฮาชิมี อัลกุเราะชี ผู้นำรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (เกิด 1 หรือ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2519)[59]
- 6 กุมภาพันธ์ – ลตา มังเคศกร นักร้องชาวอินเดีย (เกิด 28 กันยายน พ.ศ. 2472)[60]
มีนาคม[แก้]
- 13 มีนาคม – วิลเลียม เฮิร์ต นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 20 มีนาคม พ.ศ. 2493)[61]
- 23 มีนาคม – แมเดลิน อาลไบรต์ นักการเมืองชาวอเมริกัน (เกิด 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2480)[62]
เมษายน[แก้]
- 2 เมษายน – เลโอเนล ซันเชซ นักฟุตบอลชาวชิลี (เกิด 25 เมษายน พ.ศ. 2479)[63]
- 19 เมษายน – คาเนะ ทานากะ อภิศตวรรษิกชนชาวญี่ปุ่น (เกิด 2 มกราคม พ.ศ. 2446)[64]
- 21 เมษายน – อึมวาอี กีบากี ประธานาธิบดีเคนยาคนที่ 3 (เกิด 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474)[65]
พฤษภาคม[แก้]
- 13 พฤษภาคม – เคาะลีฟะฮ์ บิน ซายิด อัลนะฮ์ยาน อดีตประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (เกิด 25 มกราคม พ.ศ. 2491)[66]
- 17 พฤษภาคม – แวนเจลิส นักแต่งเพลงและนักดนตรีชาวกรีก (เกิด 29 มีนาคม พ.ศ. 2486)[67]
- 20 พฤษภาคม – บูชาร์ นิชานี ประธานาธิบดีแอลเบเนียคนที่ 7 (เกิด 29 กันยายน พ.ศ. 2509)[68]
มิถุนายน[แก้]
- 7 มิถุนายน – คาร์ล ดยุกแห่งเวือร์ทเทิมแบร์ค อดีตพระประมุขราชวงศ์เวือร์ทเทิมแบร์ค (ประสูติ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2479)
บันเทิงคดีที่อ้างอิงถึงปีนี้[แก้]
ภาพยนตร์[แก้]
ละคร การ์ตูน ซีรีส์[แก้]
วันสำคัญทางศาสนาและพิธีกรรม[แก้]
- 1 กุมภาพันธ์ – วันตรุษจีน
- 16 กุมภาพันธ์ – วันมาฆบูชา
- 13–15 เมษายน – สงกรานต์
- 4 พฤษภาคม – วันฉัตรมงคล
- 13 พฤษภาคม – วันพืชมงคล
- 15 พฤษภาคม – วันวิสาขบูชา
- 13 กรกฎาคม – วันอาสาฬหบูชา
- 14 กรกฎาคม – วันเข้าพรรษา
- 10 ตุลาคม – วันออกพรรษา
- 31 ตุลาคม – วันฮาโลวีน
- 8 พฤศจิกายน – วันลอยกระทง
- 25 ธันวาคม – วันคริสต์มาส
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "International Year of Artisanal Fisheries and Aquaculture". United Nations (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-02-15.
- ↑ "International Year of Basic Sciences for Sustainable Development". United Nations. สืบค้นเมื่อ December 30, 2021.
- ↑ "International Year of Sustainable Mountain Development". United Nations. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2021-12-19. สืบค้นเมื่อ December 30, 2021.
- ↑ "International Year of Glass". United Nations. สืบค้นเมื่อ July 17, 2021.
- ↑ "World's largest free trade deal is under way, but what is RCEP?". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2022-01-01. สืบค้นเมื่อ 2022-01-01.
- ↑ Elassar, Alaa; Meilhan, Pierre (2022-01-02). "Sudan's Prime Minister resigns amid violent anti-coup protests that have left at least 57 people dead". CNN.
- ↑ Lillis, Joanna (2022-01-03). "Kazakhstan: Gas price hike fuels Zhanaozen protests". eurasianet.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-01-04.
- ↑ "'No one can win a nuclear war': Superpowers release rare joint statement". The Sydney Morning Herald. 4 January 2022. สืบค้นเมื่อ 4 January 2022.
- ↑ "Kazakhstan is in turmoil after massive protests force the government to resign". NPR. 5 January 2022. สืบค้นเมื่อ 7 January 2022.
- ↑ "Russian paratroopers arrive in Kazakhstan as unrest continues". The Guardian. 6 January 2022. สืบค้นเมื่อ 7 January 2022.
- ↑ "Global Coronavirus Cases Top 300 Million". The New York Times. 7 January 2022. สืบค้นเมื่อ 7 January 2022.
- ↑ "University of Maryland School of Medicine Faculty Scientists and Clinicians Perform Historic First Successful Transplant of Porcine Heart into Adult Human with End-Stage Heart Disease". University of Maryland Medical Center. 10 January 2022. สืบค้นเมื่อ 11 January 2022.
- ↑ "Man gets genetically-modified pig heart in world-first transplant". BBC News. 10 January 2022. สืบค้นเมื่อ 11 January 2022.
- ↑ "Get away from shore - US and Japan warn on tsunami". BBC News. 15 January 2022. สืบค้นเมื่อ 15 January 2022.
- ↑ "Novak Djokovic: Tennis star deported after losing Australia visa battle". BBC News. 16 January 2022. สืบค้นเมื่อ 16 January 2022.
- ↑ "Novak Djokovic leaves Australia after court rejects visa challenge". CNN. 16 January 2022. สืบค้นเมื่อ 16 January 2022.
- ↑ "Novak Djokovic visa saga LIVE: Djokovic to miss 2022 Australian Open after losing court case". Sydney Morning Herald. 16 January 2022. สืบค้นเมื่อ 16 January 2022.
- ↑ Paquette, Danielle (January 25, 2022). "Mutinous soldiers announce overthrow of Burkina Faso president". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ January 24, 2022.
- ↑ Jones, Gavin; Amante, Angelo (2022-01-29). "Italy re-elects President Mattarella". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-01-29.
- ↑ "Islamic State leader Abu Ibrahim al-Qurayshi killed in Syria, US says". BBC News (ภาษาอังกฤษ). 3 February 2022. สืบค้นเมื่อ 3 February 2022.
- ↑ "2022 Olympics - Next Winter Olympic Games | Beijing 2022". International Olympic Committee. May 28, 2020. สืบค้นเมื่อ May 29, 2020.
- ↑ Richard Davies, Africa, News (14 February 2022). "Madagascar – Death Toll From Tropical Cyclone Batsirai Rises to 121". Flood List. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2022. สืบค้นเมื่อ 14 February 2022.
- ↑ Astor, Maggie (February 8, 2022). "World Surpasses 400 Million Confirmed Covid Cases". The New York Times. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ February 8, 2022. สืบค้นเมื่อ February 9, 2022.
- ↑ "Steinmeier elected for second term as German president". Euronews (ภาษาอังกฤษ). 2022-02-13. สืบค้นเมื่อ 2022-02-13.
- ↑ Rainford, Sarah (21 February 2022). "Russia recognises Ukraine separatist regions as independent states". BBC (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 21 February 2022.
- ↑ "Russian President Vladimir Putin announces military assault against Ukraine in surprise speech". MSN (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
- ↑ "Putin puts Russia's strategic nuclear force on 'special alert'". BBC News (ภาษาอังกฤษ). 27 February 2022. สืบค้นเมื่อ 27 February 2022.
- ↑ "Belarus referendum approves proposal to renounce non-nuclear status - agencies". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 27 February 2022. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ "Belarus opens door for Russian nuclear weapons as Putin ally moves to commit troops". The Telegraph (ภาษาอังกฤษ). 28 February 2022. สืบค้นเมื่อ 28 February 2022.
- ↑ "Beijing 2022 Paralympic Winter Games". IPC. สืบค้นเมื่อ March 22, 2022.
- ↑ Hyun-woo, Nam (2022-03-09). "Yoon Suk-yeol wins presidential election". Korea Times. สืบค้นเมื่อ 2022-03-09.
- ↑ "Endurance: Shackleton's lost ship is found in Antarctic". BBC News (ภาษาอังกฤษ). 9 March 2022. สืบค้นเมื่อ 9 March 2022.
- ↑ "No survivors found in China Eastern plane crash, state media says". CBS News. 2022-03-22. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 22 March 2022. สืบค้นเมื่อ March 22, 2022.
- ↑ "Russia-Ukraine war latest: Russian actions 'look exactly like war crimes', says Ukraine; explosions seen in Odesa – live". The Guardian. 3 April 2022. สืบค้นเมื่อ 3 April 2022.
- ↑ "Killings in Bucha are deliberate massacre - Ukraine". BBC News. 3 April 2022. สืบค้นเมื่อ 3 April 2022.
- ↑ Falconer, Rebecca (April 13, 2022). "World surpasses half a billion confirmed COVID cases". Axios. สืบค้นเมื่อ April 13, 2022.
- ↑ "Russian warship: Moskva sinks in Black Sea". BBC News. 15 April 2022. สืบค้นเมื่อ 15 April 2022.
- ↑ "Russia says Moskva cruiser has sunk after reported Ukrainian missile strike". The Guardian. 15 April 2022. สืบค้นเมื่อ 15 April 2022.
- ↑ "Election présidentielle 2022". www.resultats-elections.interieur.gouv.fr. สืบค้นเมื่อ 2022-04-25.
- ↑ "Macron re-elected as French voters hold off Le Pen's far right once more". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 2022-04-24. สืบค้นเมื่อ 2022-04-25.
- ↑ "French election result: Macron defeats Le Pen and vows to unite divided France". BBC News (ภาษาอังกฤษ). 2022-04-25. สืบค้นเมื่อ 2022-04-25.
- ↑ 42.0 42.1 Solar Eclipses: 2001 to 2100 Archived 2007-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Fred Espenak/Jean Meeus, NASA/GSFC (อังกฤษ)
- ↑ "Prime Minister Mahinda Rajapaksa resigns". NewsWire (ภาษาอังกฤษ). 2022-05-09. สืบค้นเมื่อ 2022-05-09.
- ↑ "More violence reported around the country : Over 100 injured". NewsWire. 9 May 2022. สืบค้นเมื่อ 9 May 2022.
- ↑ "WATCH LIVE: Astronomers reveal 'groundbreaking' findings about the Milky Way". PBS. 12 May 2022. สืบค้นเมื่อ 12 May 2022.
- ↑ "Hundreds of Ukrainian troops evacuated from Mariupol steelworks after 82-day assault". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2022-05-17. สืบค้นเมื่อ 2022-05-17.
- ↑ "Минобороны показало кадры сдачи в плен украинских военных с "Азовстали"". РБК (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 2022-05-17.
- ↑ "WHO to hold emergency meeting on monkeypox on Friday -sources". Reuters. 20 May 2022. สืบค้นเมื่อ 21 May 2022.
- ↑ "WHO working closely with countries responding to monkeypox". WHO. 20 May 2022. สืบค้นเมื่อ 21 May 2022.
- ↑ Reuters (2022-05-28). "Real Madrid beats Liverpool 1-0 to win Champions League final". New York Post (ภาษาอังกฤษ). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-28. สืบค้นเมื่อ 2022-05-28.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อle
- ↑ ""九叶派"最后一位诗人郑敏去世,享年102岁|界面新闻 · 快讯". Jiemian News. สืบค้นเมื่อ 2022-01-03.
- ↑ Italie, Hillel (January 7, 2022). "Oscar winner and groundbreaking star Sidney Poitier dies". Associated Press. สืบค้นเมื่อ January 7, 2022.
- ↑ Zabalbeascoa, Anatxu (14 January 2022). [https://elpais.com/cultura/2022-01-14/muere-ricardo-bofill-el-mas-cosmopolit
a-de-los-arquitectos-espanoles.html "Muere Ricardo Bofill, el más cosmopolita de los arquitectos españoles"] Check
|url=
value (help). El Pais. สืบค้นเมื่อ 14 January 2022. line feed character in|url=
at position 77 (help) - ↑ Muere Francisco Gento, leyenda del Real Madrid y único futbolista con 6 Copas de Europa (ในภาษาสเปน)
- ↑ French actor Gaspard Ulliel dies in skiing accident, aged 37
- ↑ Meat Loaf: Bat Out of Hell singer dead at 74
- ↑ Thich Nhat Hanh, Zen teacher who popularized mindfulness in the West, dies at 95
- ↑ Islamic State leader 'taken off battlefield' in Syria raid, US says
- ↑ "Lata Mangeshkar: India singing legend dies at 92". BBC News (ภาษาอังกฤษ). 6 February 2022. สืบค้นเมื่อ 6 February 2022.
- ↑ Serviss, Lew; Genzlinger, Neil (March 13, 2022). "William Hurt, Oscar-Winning Leading Man of the 1980s, Dies at 71". The New York Times. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ March 13, 2022. สืบค้นเมื่อ March 14, 2022.
- ↑ Wilhite, Stephen (23 March 2022). "GIPHY Remembers Stephen Wilhite". GIPHY. สืบค้นเมื่อ 24 March 2022.
- ↑ Muere Leonel Sánchez, leyenda de la Roja e ícono del 'Ballet Azul' (ในภาษาสเปน)
- ↑ Mills, Kelly-Ann (2022-04-25). "World's oldest person Kane Tanaka dies in Japan at the age of 119". mirror (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-04-28.
- ↑ Kenya: Mwai Kibaki, former president, is dead
- ↑ UAE President Sheikh Khalifa bin Zayed Al Nahyan dies aged 73
- ↑ Limbong, Andrew (19 May 2022). "Vangelis, famed film composer and synth pioneer, dead at 79". NPR. สืบค้นเมื่อ 19 May 2022.
- ↑ Semini, Llazar (28 May 2022). "Former Albanian President Bujar Nishani dies at 55". Associated Press (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 June 2022.