วิกฤตการณ์รัสเซีย–ยูเครน (พ.ศ. 2564–2565)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิกฤตการณ์รัสเซีย–ยูเครน (พ.ศ. 2564–2565)
ส่วนหนึ่งของ สงครามรัสเซีย-ยูเครน

ภาพการเคลื่อนกำลังทหารของรัสเซีย ณ วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564
วันที่ขั้นแรก: 3 มีนาคม พ.ศ. 2564 – 30 เมษายน พ.ศ. 2564 (1 เดือน 3 สัปดาห์ กับอีก 6 วัน)
ขั้นเริ่มใหม่: 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 (3 เดือน 4 สัปดาห์ กับอีก 1 วัน)
สถานที่
สถานะ รัสเซียเปิดฉากรุกรานยูเครนเต็มรูปแบบในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
คู่สงคราม

ยูเครน ยูเครน
สนับสนุนโดย

เนโท เนโท
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กำลัง
  • ยูเครน 209,000 Armed Forces, 102,000 Paramilitary, 900,000 Reserve Forces[2]

  • รัสเซีย 900,000 Armed Forces, 554,000 Paramilitary, 2,000,000 Reserve Forces[2]
  • • including 175,000 at the Ukrainian borders[4]
  • สาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์ 20,000[2]
  • สาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ 14,000[2]

ในช่วงเดือนมีนาคมและเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 ประเทศรัสเซียได้ระดมกำลังทหารประมาณ 100,000 นาย ไปไว้ที่บริเวณพรมแดนของประเทศยูเครน ถือเป็นการระดมกำลังที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตการณ์ไครเมีย เมื่อปี พ.ศ. 2557 เหตุการณ์นี้ส่งผลให้เกิดวิกฤตการณ์ระดับนานาชาติ และมีความกังวลว่าอาจนำไปสู่การยึดครองยูเครน ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นว่ามีการเคลื่อนกำลังพล ขีปนาวุธ และอาวุธหุ้มเกราะต่าง ๆ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 รัสเซียได้ทำการถอนกำลังทหารบางส่วนออกไป [5] แต่ในเดือนตุลาคมจนถึงเดือนธันวาคมก็มีการระดมกำลังทหารประมาณ 100,000 นาย ทำให้มีความตึงเครียดขึ้นมาอีกครั้ง[6] มีการวิเคราะห์ว่าวิกฤตินี้เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่มีความตึงเครียดมากที่สุดตั้งแต่สงครามเย็น[7][8][9]

ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์​ พ.ศ. 2565 เกิดการโจมตีโรงเรียนแห่งหนึ่งในหมู่บ้านสตานิตเซียลูฮานสกาในเขตประเทศยูเครน ด้วยอาวุธปืนใหญ่​ คาดว่าผู้ก่อเหตุอาจเป็นกบฎแบ่งแยกดินแดนที่สนับสนุนประเทศรัสเซีย[10] มีผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์นี้ 3 ราย[11]

ต่อมาในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ รัสเซียได้ประกาศรับรองความเป็นรัฐเอกราชของสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ พร้อมกับเคลื่อนกำลังทหารไปยังบริเวณดอนบัส ซึ่งเป็นที่ตั้งของรัฐทั้งสอง[12][13]

ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ รัสเซียประกาศเริ่มต้นปฏิบัติการทางทหารในยูเครนตะวันออก และทำการบุกครองยูเครนอย่างเต็มรูปแบบ[14]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Erdogan Warns Russia Against Invading Ukraine". The Moscow Times. 18 January 2022.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 The Military Balance 2021//International Institute for Strategic Studies
  3. Fox, Greg (10 December 2021). "165 members of Florida National Guard in Ukraine". WESH. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2022. สืบค้นเมื่อ 19 January 2022.
  4. "Russia Positioning Helicopters, in Possible Sign of Ukraine Plans". The New York Times. 10 January 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2022. สืบค้นเมื่อ 20 January 2022.
  5. "The Russian and Ukrainian Spring 2021 War Scare" (ภาษาอังกฤษ). Center for Strategic and International Studies. 21 September 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 November 2021. สืบค้นเมื่อ 22 January 2022.
  6. Anton Troianovski and David E. Sanger, Russia Issues Subtle Threats More Far-Reaching Than a Ukraine Invasion เก็บถาวร 22 มกราคม 2022 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, New York Times (January 16, 2022).
  7. Sanger, David E. (2022-01-10). "In U.S.-Russia Talks, How Far Can Putin Turn Back the Clock?". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-01-21.
  8. "Putin to mull options if West refuses guarantees on Ukraine". AP NEWS (ภาษาอังกฤษ). 2021-12-26. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-01-21.
  9. Gongloff, Mark (2022-01-13). "Putin Launches an Unwelcome Cold War Reboot". Bloomberg.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-01-21.
  10. Ukraine tensions: Three people injured after shell strikes nursery school
  11. ยูเครนตะวันออกระอุหนัก 'ปูติน'สุมไฟสั่งทดสอบมิสไซล์
  12. Rainford, Sarah (21 February 2022). "Russia recognises Ukraine separatist regions as independent states". BBC (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 21 February 2022.
  13. Roth, Andrew; Borger, Julian (21 February 2022). "Ukraine: Putin orders troops into Donetsk and Luhansk on 'peacekeeping duties'". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 21 February 2022.
  14. Welle (www.dw.com), Deutsche. "Ukraine says Russia has launched 'full scale invasion' — live updates | DW | 24.02.2022". DW.COM (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).