การสังหารหมู่ที่บูชา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การสังหารหมู่ที่บูชา
เป็นส่วนหนึ่งของยุทธการที่บูชา และ การรุกเคียฟ
ภาพถ่ายเผยแพร่โดยกระทรวงการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลระบุว่าเป็นพลเมืองชาวบูชาที่ถูกทหารรัสเซียสังหาร
สถานที่บูชา แคว้นเคียฟ ประเทศยูเครน
วันที่มีนาคม 2022
เป้าหมายพลเมือง
ตาย412 (ข้อมูลโดยยูเครน)[1]
50 พยานหลักฐาน (โดยสหประชาชาติ)[2]
ผู้ก่อเหตุกองทัพรัสเซีย (รัสเซียปฏิเสธ)[3][4]

การสังหารหมู่ที่บูชา เป็นการก่ออาชญากรรมสงครามที่ประกอบด้วยการฆาตกรรมพลเมือง กระทำในพื้นที่ที่กองทัพรัสเซียควบคุมในเมืองบูชา ประเทศยูเครน ขณะดำเนินยุทธการในบูชาหลังรัสเซียเข้าบุกยูเครน นายกเทศมนตรีของเมืองบูชาระบุว่าพบผู้เสียชีวิต 412 รายหลังสิ้นสุดการยุทธ์ในเมือง[1] ศาลอาญาระหว่างประเทศระบุว่ากำลังสืบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบูชา[5] เจ้าหน้าที่ทางการของรัสเซียปฏิเสธและระบุว่าภาพที่ปรากฏเป็นการจัดฉากโดยทางการยูเครน[6]

เบื้องหลัง[แก้]

การสังหารหมู่ที่บูชาตั้งอยู่ในแคว้นเคียฟ
บูชา
บูชา
เคียฟ
เคียฟ
ที่ตั้งของเมืองบูชาในแคว้นเคียฟ

เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 ประเทศรัสเซียได้รุกรานประเทศยูเครน โดยเคลื่อนทัพเข้าสู่ยูเครนทางตอนเหนือผ่านประเทศเบลารุส และพยายามเข้ายึดกรุงเคียฟ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของยูเครน ต่อมาเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 กองทัพรัสเซียได้เคลื่อนทัพเข้าสู่เมืองบูชา ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงเคียฟ และยึดครองเมืองได้สำเร็จ

ในช่วงปลายเดือนมีนาคม อัยการสูงสุดของยูเครนระบุว่า เจ้าหน้าที่ของยูเครนกำลังรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาชญากรรมสงครามที่รัสเซียก่อกว่า 2,500 ครั้ง และกล่าวว่ายูเครนสามารถระบุตัวตนผู้ก่ออาชญากรรมได้หลายร้อยคนแล้ว[7] ต่อมา กองทัพรัสเซียได้ถอยออกจากยูเครน และกองทัพยูเครนก็สามารถยึดเมืองบูชาคืนมาได้สำเร็จเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2022[8]

สถานการณ์[แก้]

สถานการณ์ช่วงที่รัสเซียรุกรานยูเครน[แก้]

รายงานของ เดอะเคียฟอินดีเพนเดนต์ ระบุว่า เมื่อวันที่ 4 มีนาคม กองทัพรัสเซียได้สังหารประชาชนชาวยูเครน 3 คน ในขณะที่พวกเขากำลังขับรถกลับจากการขนส่งอาหารไปให้ที่พักพิงสุนัข[9] ต่อมาเมื่อวันที่ 5 มีนาคม มีรายงานว่ากองทัพรัสเซียยิงปืนใส่รถของครอบครัวที่กำลังหลบหนี ทำให้มีชายเสียชีวิต 1 คน และมีผู้หญิงกับเด็กเสียชีวิตอีกรวม 3 คน[10]

สถานการณ์หลังจากรัสเซียถอนทัพ[แก้]

หลังจากที่รัสเซียถอนทัพออกจากยูเครน ก็เริ่มมีการเผยแพร่คลิปวิดีโอลงสู่สื่อสังคม เมื่อวันที่ 1 เมษายน มีคลิปวิดีโอที่แสดงให้เห็นพลเรือนเสียชีวิตจำนวนมาก[11][12] ต่อมาก็เริ่มมีการเผยแพร่หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการก่ออาชญากรรมสงครามของรัสเซียในช่วงที่เมืองบูชาถูกยึดครอง[13] ทหารของยูเครนกล่าวว่า พวกเขาพบศพของผู้ชาย ผู้หญิง และเด็กรวม 18 คนที่บริเวณห้องใต้ดินแห่งหนึ่งใกล้เมืองบูชา[14] คลิปวิดีโอของกองทัพยูเครนแสดงให้เห็นว่าห้องใต้ดินดังกล่าวถูกใช้เป็นสถานที่ทรมาน[15] ทหารนายหนึ่งระบุว่าศพบางส่วนอยู่ในสภาพที่ถูกตัดหูหรือถูกดึงฟันออก และระบุว่ามีการเคลื่อนย้ายศพออกไปก่อนการสัมภาษณ์[16] ส่วนศพอื่น ๆ ของพลเรือนถูกทิ้งไว้ตามถนน[17]

ภาพถ่ายดาวเทียม[แก้]

วิดีโอจากแหล่งข้อมูลภายนอก
คลิปวิดีโอการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมของเดอะนิวยอร์กไทมส์

เมื่อวันที่ 4 เมษายน สำนักข่าวนิวยอร์กไทมส์ได้วิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม และสรุปว่า “ประชาชนหลายคนถูกฆ่าตั้งแต่ช่วงสามสัปดาห์ที่แล้ว ตอนที่รัสเซียยังครอบครองเมืองอยู่” ภาพถ่ายดาวเทียมบนถนนแห่งหนึ่งในเมืองบูชาแสดงให้เห็น “วัตถุสีเข้มขนาดใกล้เคียงกับมนุษย์” อย่างน้อย 11 ชิ้น ปรากฏอยู่ระหว่างวันที่ 9–11 มีนาคม ตำแหน่งของวัตถุดังกล่าวสอดคล้องกับคลิปวิดีโอที่สมาชิกสภาเมืองบูชาถ่ายจากภาคพื้นดินหลังจากที่ยูเครนยึดเมืองคืนได้ คลิปวิดีโออีกคลิปหนึ่งแสดงให้เห็นศพของคน 3 คน ซึ่งปรากฏบนภาพถ่ายดาวเทียมระหว่างวันที่ 20–21 มีนาคม สำนักข่าวนิวยอร์กไทมส์สรุปว่า ผลการวิเคราะห์ครั้งนี้ไม่สอดคล้องกับข้อกล่าวอ้างของกองทัพรัสเซีย ที่อ้างว่าประชาชนถูกสังหารหลังจากที่รัสเซียได้ถอนทัพไปแล้ว[18]

ผลสืบเนื่อง[แก้]

ยูเครน[แก้]

ดมือตรอ กูแลบา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศยูเครนระบุว่าเหตุการณ์นี้เป็น "การสังหารหมู่โดยเจตนา" (deliberate massacre) เขาระบุว่า "แย่กว่าไอซิส" และกองทัพรัสเซียมีความผิดฐานฆาตกรรม, ทรมาน, ข่มขืน และปล้นสะดม กูแลบาเรียกร้องให้ประเทศกลุ่มเจ็ดเพิ่มการคว่ำบาตร "อย่างหนัก" (devastating)[19]

วีตาลีย์ กลึชกอ นายกเทศมนตรีกรุงเคียฟ ระบุในบทสัมภาษณ์กับ บิลด์ ว่า "สิ่งที่เกิดขึ้นในบูชาและย่านชานเมืองอื่น ๆ ของเคียฟ เรียกได้ว่าเป็นการสังหารหมู่แต่ประการเดียว" และกล่าวโทษวลาดีมีร์ ปูติน ว่าเป็นผู้ก่ออาชญากรรมสงคราม[20] ประธานาธิบดีวอลอดือมือร์ แซแลนสกึย เดินทางไปเยือนพื้นที่ในวันที่ 4 เมษายน 2022[21]

รัสเซีย[แก้]

เซียร์เกย์ ลัฟรอฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศรัสเซียระบุว่าการสังหารหมู่นี้เป็น "การโจมตีด้วยข่าวลวง" อีกครั้งของยูเครนต่อรัสเซีย พร้อมระบุว่าเป็นการจัดฉากขึ้นมา[22] ช่องเทเลแกรมของกระทรวงกลาโหมรีโพสต์รายงานระบุว่ากองทัพรัสเซียไม่ได้ตั้งเป้าโจมตีพลเมืองในขณะการยุทธ์ และสุสานรวมที่มีรายงานนั้นใช้ฝังศพของผู้เสียชีวิตจากการโจมตีทางอากาศโดยยูเครนเอง รวมถึงระบุว่าได้ตรวจสอบวิดีโอที่แสดงศพเรียงรายตามถนนในบูชาแล้วพบว่าศพในคลิปขยับตัวและเป็นการจัดฉากขึ้นมา สำนักข่าวบีบีซีภาคพื้นมอสโกตรวจสอบวิดีโอแยกและระบุว่าไม่มีหลักฐานว่าวิดีโอเหล่านี้เป็นการจัดฉากเลย[23] หน่วยงานด้านการตรวจสอบยืนยันข้อเท็จจริง เบลลิงแคตระบุอ้างรายงานของบีบีซี และตั้งคำถามเพิ่มเติมต่อการตรวจสอบของมอสโก[24]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Bucha counts toll of Russian occupation". BBC News. 23 April 2022.
  2. United Nations Documented 50 "Unlawful' Killings In Bucha Amid War
  3. ""Not A Single Resident...": Russia Denies Ukraine "Massacre" Charge". NDTV.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2022. สืบค้นเมื่อ 3 April 2022.
  4. "Russia denies killings in Bucha, calls images of bodies 'another production' by Kyiv". The Times of Israel. 3 April 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2022. สืบค้นเมื่อ 4 April 2022.
  5. "Retreat of Russian forces uncovers evidence of possible war crimes". El País. 3 April 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2022. สืบค้นเมื่อ 4 April 2022.
  6. Reuters (2022-04-03). "Russia denies killing civilians in Ukraine's Bucha". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-04-04.
  7. Farmer, Ben; Kozyreva, Tanya; Townsley, Simon (30 March 2022). "I'm building 2,500 war crimes cases against Vladimir Putin's invasion, says Ukraine's chief prosecutor". The Daily Telegraph. Archived from the original on 31 March 2022. Retrieved 2 April 2022.
  8. Rudenko, Olga (2 April 2022). "Hundreds of murdered civilians discovered as Russians withdraw from towns near Kyiv (GRAPHIC IMAGES)". The Kyiv Independent. Archived from the original on 3 April 2022. Retrieved 3 April 2022.
  9. Myroniuk, Anna (8 March 2022). "Russian soldiers murder volunteers helping starving animals near Kyiv". The Kyiv Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2022. สืบค้นเมื่อ 8 March 2022.
  10. "'It is a war crime': two young boys among neighbours shot dead during attempted evacuation". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2 April 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2022. สืบค้นเมื่อ 3 April 2022.
  11. "Russia's Bucha 'Facts' Versus the Evidence". bellingcat. 4 April 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2022. สืบค้นเมื่อ 4 April 2022.
  12. Ough, Tom (4 April 2022). "Debunking Russia's Bucha massacre conspiracy theories". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 4 April 2022.
  13. "'It was like a movie': Recaptured Bucha recounts violence of Russian invasion". The Guardian. 3 April 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2022. สืบค้นเมื่อ 4 April 2022.
  14. Ukraine, Louise Callaghan, Zabuchchya. "Bodies of mutilated children among horrors the Russians left behind". The Times (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2022. สืบค้นเมื่อ 3 April 2022.
  15. "Ukraine says 'torture room' found after Russian troops withdrawal from Bucha". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 5 April 2022. สืบค้นเมื่อ 5 April 2022.
  16. Ukraine, Louise Callaghan, Zabuchchya. "Bodies of mutilated children among horrors the Russians left behind". The Times (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2022. สืบค้นเมื่อ 3 April 2022.
  17. Stern, David (3 April 2022). "Bodies and Rubble in the streets of Bucha following Russian retreat". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2022. สืบค้นเมื่อ 3 April 2022.
  18. Browne, Malachy; Botti, David; Willis, Haley (4 April 2022). "Satellite images show bodies lay in Bucha for weeks, despite Russian claims". The New York Times.
  19. "Killing of civilians in Bucha and Kyiv condemned as 'terrible war crime'". the Guardian. 3 April 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2022. สืบค้นเมื่อ 4 April 2022.
  20. AP. "Kyiv mayor says Russian attacks in Bucha are 'genocide'". The Times of Israel (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-04-03.
  21. Simko-Bednarski, Evan (2022-04-04). "Zelensky visits Bucha, vows to hold Russia accountable for 'genocide'". New York Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-04-04.
  22. "Lavrov slams situation in Bucha as fake attack staged by West". TASS (ภาษาอังกฤษ). 4 April 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2022. สืบค้นเมื่อ 4 April 2022.
  23. "Questions over Russian Bucha denials". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-04-03.
  24. "Russia's Bucha "Facts" Versus the Evidence". bellingcat (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2022-04-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-04-04.