รางวัลเพื่อระลึกถึงอัลเฟรด โนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รางวัลเพื่อระลึกถึงอัลเฟรด โนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์
รางวัลสำหรับผลงานที่โดดเด่นในด้านเศรษฐศาสตร์หรือสังคมศาสตร์
ที่ตั้งสต็อกโฮล์ม
ประเทศประเทศสวีเดน Edit this on Wikidata
จัดโดยราชบัณฑิตยสถานวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน
รางวัล11 ล้านครูนาสวีเดน (2023)[1]
รางวัลแรก1969
ผู้รับรางวัลคลอเดีย โกลดิน (2023)
เว็บไซต์nobelprize.org

รางวัลเพื่อระลึกถึงอัลเฟรด โนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ (สวีเดน: Sveriges Riksbanks pris i ekonomisk vetenskap till Alfred Nobels minne; อังกฤษ: The Sveriges Riksbank Prize in Economic Sciences in Memory of Alfred Nobel) มักรู้จักทั่วไปว่า รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ เป็นรางวัลประจำปี มอบให้กับผู้ที่มีผลงานโดดเด่นในสาขาเศรษฐศาสตร์ รางวัลนี้ก่อตั้งโดยธนาคารชาติสวีเดน ในวาระเฉลิมฉลอง 300 ปีของธนาคารในปี พ.ศ. 2511 รางวัลนี้มอบโดยราชบัณฑิตยสถานสวีเดนตามกระบวนการเดียวกับรางวัลโนเบลห้าสาขาดั้งเดิม ผู้ได้รับรางวัลสาขานี้ จะได้รับใบประกาศและเหรียญทองจากกษัตริย์สวีเดนในพิธีวันที่ 10 ธันวาคม เช่นเดียวกับผู้ได้รับรางวัลสาขาฟิสิกส์ เคมี แพทยศาสตร์และสรีรวิทยา และวรรณกรรม และได้รับเงินรางวัลจำนวนเดียวกับผู้ได้รับรางวัลสาขาอื่น ๆ โดยมีพิธีมอบรางวัลครั้งแรกในปี 1969

ข้อขัดแย้ง[แก้]

การที่ศักดิ์ศรีของรางวัลนี้มาจากความเกี่ยวข้องกับรางวัลที่ก่อตั้งโดยอัลเฟร็ด โนเบล มักทำให้เกิดข้อขัดแย้ง ปีเตอร์ โนเบล หลานของอัลเฟร็ด โนเบล ได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับรางวัลนี้ โดยกล่าวว่าเป็นการประชาสัมพันธ์เพื่อพัฒนาชื่อเสียงของนักเศรษฐศาสตร์[2]

การระบุรางวัลนี้ว่าเป็นรางวัลโนเบลเคยเป็นเรื่องราวในศาล ในปี พ.ศ. 2547 มีผู้ฟ้องสำนักพิมพ์ของหนังสือฉบับแปลภาษาเบงกอลของอมาตยา เซน ที่ระบุว่าเซนเป็นผู้ชนะรางวัลโนเบล โดยผู้ยื่นฟ้องกล่าวว่า ไม่มีรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ดังนั้นการระบุว่าเซนได้รางวัลโนเบลจึงผิด[3][4]

ผู้ได้รับรางวัล[แก้]

ปี ผู้ได้รับ
พ.ศ. 2512 Ragnar Anton Kittil Frisch, Jan Tinbergen
พ.ศ. 2513 Paul Samuelson
พ.ศ. 2514 Simon Kuznets
พ.ศ. 2515 John Hicks, Kenneth Arrow
พ.ศ. 2516 Wassily Leontief
พ.ศ. 2517 Gunnar Myrdal, Friedrich von Hayek
พ.ศ. 2518 Leonid Kantorovich, Tjalling Koopmans
พ.ศ. 2519 มิลตัน ฟรีดแมน
พ.ศ. 2520 Bertil Ohlin, James Meade
พ.ศ. 2521 Herbert Simon
พ.ศ. 2522 Theodore W. Schultz, William Arthur Lewis
พ.ศ. 2523 Lawrence Klein
พ.ศ. 2524 James Tobin
พ.ศ. 2525 George J. Stigler
พ.ศ. 2526 Gerard Debreu
พ.ศ. 2527 Richard Stone
พ.ศ. 2528 Franco Modigliani
พ.ศ. 2529 James M. Buchanan
พ.ศ. 2530 Robert Solow
พ.ศ. 2531 Maurice Allais
พ.ศ. 2532 Trygve Haavelmo
พ.ศ. 2533 Harry M. Markowitz, Merton H. Miller, William F. Sharpe
พ.ศ. 2534 Ronald Coase
พ.ศ. 2535 Gary S. Becker
พ.ศ. 2536 Robert W. Fogel, Douglass C. North
พ.ศ. 2537 John C. Harsanyi, จอห์น แนช, Reinhard Selten
พ.ศ. 2538 Robert Lucas Jr.
พ.ศ. 2539 James A. Mirrlees, William Vickrey
พ.ศ. 2540 Robert C. Merton, Myron S. Scholes
พ.ศ. 2541 อมรรตยะ เสน
พ.ศ. 2542 Robert A. Mundell
พ.ศ. 2543 James J. Heckman, Daniel McFadden
พ.ศ. 2544 George A. Akerlof, Michael Spence, Joseph E Stiglitz
พ.ศ. 2545 Daniel Kahneman, เวอร์นอน แอล สมิธ
พ.ศ. 2546 Robert F. Engle, Clive W.J. Granger
พ.ศ. 2547 Finn E. Kydland, Edward C. Prescott
พ.ศ. 2548 Robert Aumann, Thomas Schelling
พ.ศ. 2549 Edmund S. Phelps
พ.ศ. 2550 Leonid Hurwicz, Eric Maskin, Roger Myerson
พ.ศ. 2551 Paul Krugman
พ.ศ. 2552 Elinor Ostrom, Oliver E. Williamson
พ.ศ. 2553 Peter A. Diamond, Dale T. Mortensen, Christopher A. Pissarides
พ.ศ. 2554 โทมัส ซาร์เจนต์ (Thomas Sargent), คริสโตเฟอร์ ซิมส์ (Christopher Sims)
พ.ศ. 2555 อัลวิน อี. ร็อธ (Alvin E. Roth), ลอยด์ เอส. แช็ปลีย์ (Lloyd S. Shapley)[5]
พ.ศ. 2556 ยูจีน เอฟ. ฟามา (Eugene F. Fama), ลาร์ส ปีเตอร์ แฮนเซ่น (Lars Peter Hansen), โรเบิร์ต เจ. ชิลเลอร์ (Robert J. Shiller)[6]
พ.ศ. 2557 ฌ็อง ติโรล (Jean Tirole)[7]
พ.ศ. 2558 แอนกัส ดีตัน (Angus Deaton)[8]
พ.ศ. 2559 โอลิเวอร์ ฮาร์ต (Oliver Hart), เบรงต์ อาร์. โฮล์มสตรอม (Bengt R. Holmström)[9]
พ.ศ. 2560 ริชาร์ด เอช เธเลอร์ (Richard H. Thaler)[10]
พ.ศ. 2561 วิลเลียม นอร์ดเฮาส์ (William Nordhaus), พอล โรเมอร์ (Paul Romer)[11]
พ.ศ. 2562 อภิจิต บาเนอร์จี (Abhijit Banerjee), แอสแตร์ ดูว์โฟล (Esther Duflo), ไมเคิล ครีเมอร์ (Michael Kremer)[12]
พ.ศ. 2563 พอล อาร์. มิลกรอม (Paul R. Milgrom), รอเบิร์ต บี. วิลสัน (Robert B. Wilson)[13]
พ.ศ. 2564 เดวิด คาร์ด (David Card), โจชัว แองกริสต์ (Joshua Angrist), คีโด อิมเบนส์ (Guido Imbens)[14]
พ.ศ. 2565 เบน เบอร์แนงกี (Ben Bernanke) ดักลาส ไดมอนด์ (Douglas Diamond) และฟิลิป เอช. ดีบวิก (Philip H. Dybvig)[15]
พ.ศ. 2566 คลอเดีย โกลดิน (Claudia Goldin)[16]

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Nobel Prize amounts". Nobelprize.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-20. สืบค้นเมื่อ 2021-10-08.
  2. Nobel descendant slams Economics prize The Local 28 กันยายน 2548 เรียกข้อมูลวันที่ 30 กรกฎาคม 2550 (อังกฤษ)
  3. Indo-Asian News Service (2004-10-08). "Amartya Sen's Nobel challenged in court". newindpress.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-10-13. สืบค้นเมื่อ 2007-10-16. (อังกฤษ)
  4. Indo-Asian News Service (2004-10-08). "Did Amartya Sen get the Nobel?". The Times of India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-10-10. สืบค้นเมื่อ 2007-10-16. (อังกฤษ)
  5. [1]
  6. [2]
  7. [3]
  8. The Prize in Economic Sciences 2015 - Nobelprize.org
  9. "The Prize in Economic Sciences 2016". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 12 October 2016.
  10. "The Prize in Economic Sciences 2017". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 9 October 2017.
  11. "The Prize in Economic Sciences 2018". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 8 October 2018.
  12. "The Prize in Economic Sciences 2019". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 14 October 2019.
  13. "The Prize in Economic Sciences 2020". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 12 October 2020.
  14. "The Prize in Economic Sciences 2021". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 11 October 2021.
  15. "The Prize in Economic Sciences 2022". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 10 October 2022.
  16. "The Prize in Economic Sciences 2023". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 9 October 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]