การสวรรคตและพิธีฝังพระบรมศพสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร
วันที่ |
|
---|---|
ที่ตั้ง |
|
พิกัด | 57°2′27″N 3°13′48″W / 57.04083°N 3.23000°W |
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 สมเด็จพระราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักรและดินแดนในเครือจักรภพอีกจำนวนสิบสี่แห่ง ซึ่งครองราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ เสด็จสวรรคตด้วยพระอาการสงบ ณ ปราสาทแบลมอรัล ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565 สิริพระชนมพรรษา 96 พรรษา ทรงครองราชย์สมบัติ 70 ปี[1] ปฏิบัติการสะพานลอนดอน ได้เริ่มต้นขึ้นทันทีหลังการสวรรคตของพระองค์ ในวันเดียวกันนั้น เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรสืบต่อจากพระบรมราชชนนี[1][2]
สหราชอาณาจักรกำหนดช่วงไว้อาลัยเป็นเวลาสิบวัน พิธีฝังพระบรมศพกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 11.00 น. ณ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ และโบสถ์น้อยเซนต์จอร์จ ปราสาทวินด์เซอร์ รัฐบาลสหราชอาณาจักรกำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันหยุดธนาคาร
ภูมิหลัง
[แก้]แม้ในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของพระชนมชีพสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระองค์จะมีพระวรกายแข็งแรง แต่พระพลานามัยของพระองค์ก็เริ่มถดถอยลงหลังการสิ้นพระชนม์ของพระราชสวามีเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 ซึ่งเวลานั้นพระองค์มีพระชนมพรรษา 95 พรรษา ต่อมาเดือนตุลาคมปีเดียวกัน พระองค์ทรงเริ่มใช้ธารพระกรในการเสด็จออกสาธารณะ[3] และทรงเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอยู่เป็นระยะ[4]
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงติดเชื้อโควิด-19[5][6] โดยมีพระอาการเล็กน้อย[7][8] พระองค์ทรงหายประชวรจากการติดเชื้อดังกล่าวและเริ่มปฏิบัติพระราชภารกิจอีกครั้งในวันที่ 1 มีนาคม[9][10]
หลังจากนั้น สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ปรากฏพระองค์ต่อสาธารณะน้อยลง โดยพระราชภารกิจส่วนใหญ่นั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ในขณะนั้น เป็นผู้แทนพระองค์[11] ซึ่งรวมถึงรัฐพิธีการเปิดประชุมสภา[12] และพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี[13][14]
สองวันก่อนการสวรรคต สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ลิซ ทรัสส์ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่ปราสาทแบลมอรัล ในช่วงวันหยุดของพระองค์ ซึ่งต่างจากธรรมเนียมเดิมที่สมเด็จพระราชินีนาถจะโปรดเกล้าฯ ให้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของสหราชอาณาจักร เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระราชวังบักกิงแฮม[15] วันต่อมาพระองค์มีกำหนดการประชุมกับคณะองคมนตรีผ่านทางออนไลน์ แต่ได้เลื่อนออกไปหลังจากคณะแพทย์ถวายคำแนะนำให้งดพระราชภารกิจ[16] พระราชดำรัสแสดงความเสียพระราชหฤทัยในเหตุแทงคนที่ซัสแคตเชวัน เป็นพระราชดำรัสที่มีการเผยแพร่ครั้งสุดท้ายในรัชสมัยของพระองค์[17]
ลำดับเหตุการณ์
[แก้]8 กันยายน
[แก้]วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลาเช้า เจ้าชายชาลส์และเจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังปราสาทแบลมอรัล เพื่อเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2[18][19] ลิซ ทรัสส์ นายกรัฐมนตรี ได้รับแจ้งจากเลขาธิการคณะรัฐมนตรีว่าพระอาการประชวรของสมเด็จพระราชินีนาถค่อนข้างหนัก[20]
เวลา 12.00 น. ทรัสส์ได้รับแจ้งข่าวการประชวรของสมเด็จพระราชินีนาถเพิ่มเติมจากรองผู้นำฝ่ายค้านในสภาสามัญชน[21][22] ครึ่งชั่วโมงหลังจากนั้น สำนักพระราชวังบักกิงแฮม ออกแถลงการณ์ว่า คณะแพทย์ได้เข้าดูแลสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 อย่างใกล้ชิดที่ปราสาทแบลมอรัล หลังจากคณะแพทย์มีความกังวลต่อพระพลานามัยของพระองค์[23][24] หลังจากประกาศดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ พระบุตรและพระสุณิสาของสมเด็จพระราชินีนาถที่เหลือทั้งหมด รวมทั้งเจ้าชายวิลเลียม ได้เสด็จพระราชดำเนินตามมาสมทบที่ปราสาทแบลมอรัล[25][26]
สิบนาทีหลังแถลงการณ์สำนักพระราชวัง บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ (บีบีซี) ได้ยกเลิกโปรแกรมปกติทั้งหมดเพื่อเข้าสู่รายการพิเศษติดตามพระอาการประชวรของสมเด็จพระราชินีนาถ โดยพนักงานบีบีซีทั้งหมดสวมชุดสีดำ สถานีโทรทัศน์อื่น ๆ ของสหราชอาณาจักรก็มีช่วงรายงานพิเศษในการนี้เช่นเดียวกัน[27] หนึ่งชั่วโมงต่อมาผู้สื่อข่าวบีบีซีคนหนึ่งทวีตข้อความว่าสมเด็จพระราชินีนาถสวรรคตแล้ว ก่อนจะลบออกไป[28]
เวลา 15.10 น. สมเด็จพระราชินีนาถสวรรคต โดยสำนักทะเบียนราษฎร์แห่งชาติสกอตแลนด์ ได้เผยแพร่ใบมรณบัตรของสมเด็จพระราชินีนาถ เมื่อวันที่ 29 กันยายน โดยระบุสาเหตุว่า “ทรงพระชราภาพ”
เวลา 16.30 น. ทรัสส์ได้รับแจ้งข่าวดังกล่าวจากเลขาธิการคณะรัฐมนตรี[29][30] ครึ่งชั่วโมงต่อมาพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงของสหราชอาณาจักร ซึ่งรวมถึงเจ้าชายวิลเลียม, เจ้าชายแอนดรูว์, เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด และ โซฟี เคาน์เตสแห่งเวสเซกซ์ เสด็จพระราชดำเนินถึงปราสาทแบลมอรัล[29]
เวลา 18.30 น. ทวิตเตอร์พระราชวงศ์สหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นหนึ่งในบัญชีโซเชียลมีเดียทางการของสำนักพระราชวัง ทวีตข้อความประกาศว่า สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จสวรรคตด้วยพระอาการสงบ โดยสมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินี จะยังประทับที่ปราสาทแบลมอรัล และมีกำหนดเสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงลอนดอนในวันรุ่งขึ้น[31][32]
วิดีโอหลายคลิปจากแหล่งข้อมูลภายนอก | |
---|---|
ประกาศสมเด็จพระราชินีนาถสวรรคต อ่านโดย ฮิว เอ็ดเวิดส์ |
หลังจากนั้นไม่นาน ฮิว เอ็ดเวิดส์ เป็นบุคคลแรกที่ประกาศข่าวการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถผ่านสถานีโทรทัศน์ในเครือข่ายบีบีซีทั้งหมด ยกเว้นบีบีซีทรี, บีบีซีโฟร์, ซีบีบีซี, และซีบีบีส์ เอ็ดเวิดส์อ่านประกาศสำนักพระราชวังบักกิงแฮมแบบคำต่อคำโดยไม่มีการออกความเห็นอื่นใดเพิ่มเติม หลังจากนั้นจึงมีการเปิดเพลงชาติสหราชอาณาจักร[33] มีผู้ประมาณการว่าประชากรสหราชอาณาจักรอย่างน้อย 16 ล้านคน รับชมการประกาศข่าวดังกล่าว[34]
มีการลดธงชาติสหราชอาณาจักรครึ่งเสาที่พระราชวังบักกิงแฮม[35], ปราสาทแบลมอรัล และบ้านเลขที่ 10 ถนนดาวนิง[36][37] สำหรับธงพระราชอิสริยยศจะลดครึ่งเสาแล้วกลับมาชักสุดปลายเสาเช่นเดิม
เวลา 20.00 น. เจ้าชายแฮร์รี ดยุกแห่งซัสเซกซ์ เสด็จพระราชดำเนินถึงปราสาทแบลมอรัล ทั้งนี้พระชายาและพระบุตรทั้งสองของเจ้าชายแฮร์รี มิได้ตามเสด็จมาด้วย[18]
9 กันยายน
[แก้]สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 และสมเด็จพระราชินีคามิลลา เสด็จพระราชดำเนินจากปราสาทแบลมอรัลมายังพระราชวังบักกิงแฮม ในการนี้ทรงเยี่ยมประชาชนที่มาแสดงความอาลัยนอกรั้วพระราชวัง[38] จากนั้น สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งสหราชอาณาจักร พระราชทานพระบรมราชวโรกาส ให้ลิซ ทรัสส์ นายกรัฐมนตรี เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเป็นการส่วนพระองค์ ก่อนมีพระราชดำรัสสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในรายการพิเศษของบีบีซี[39][40] โดยในพระราชดำรัสแรกหลังขึ้นครองราชย์ สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 ประกาศให้ราชสำนักไว้ทุกข์จนถึงวันพิธีฝังพระบรมศพสมเด็จพระบรมราชชนนี และต่อเนื่องไปอีกเจ็ดวัน[41] ทั้งนี้ บีบีซีได้ถ่ายทอดกระแสพระราชดำรัสของสมเด็จพระราชกุมารีและเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดด้วย[42]
วันเดียวกัน มีการยิงสลุตจากทหารปืนใหญ่และทหารเรือ[41][43][44][45][46][47][39] ส่วนในโบสถ์สำคัญมีการลั่นระฆัง[45][48][49][50] นอกจากนี้ สำนักพระราชวังและรัฐบาลสหราชอาณาจักรยังได้จัดทำคู่มือแนวทางปฏิบัติในช่วงการไว้ทุกข์[41][39] โดยในส่วนของรัฐบาลนั้น มิได้บังคับให้กิจการต่าง ๆ ต้องปิดในช่วงดังกล่าว[39]
10 กันยายน
[แก้]มีพิธีประกาศการขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์ชาลส์ที่ 3[51][52][53] และมีการเตรียมการสำหรับขบวนเคลื่อนหีบพระบรมศพสมเด็จพระราชินีนาถ จากปราสาทแบลมอรัลมายังพระราชวังฮอลีรูด และต่อไปยังอาสนวิหารเซนต์ไจล์ในเอดินบะระ ตามลำดับ เพื่อให้ประชาชนเข้าแสดงความอาลัย[54]
สำนักพระราชวังบักกิงแฮมประกาศว่า พิธีฝังพระบรมศพกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 19 กันยายน[55] รัฐบาลสหราชอาณาจักรกำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันหยุดธนาคาร[56]
11 กันยายน
[แก้]เวลา 10.06 น. มีขบวนเคลื่อนพระบรมศพจากปราสาทแบลมอรัลมายังพระราชวังฮอลีรูด[57] โดยสมเด็จพระราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินตามพระบรมศพในขบวนดังกล่าวพร้อมด้วยพระสวามี ขบวนดังกล่าวถึงพระราชวังฮอลีรูดในเวลา 16.23 น. ทั้งนี้ เจ้าชายแอนดรูว์, เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด และเคาน์เตสแห่งเวสเซกซ์ ได้ประทับรอขบวนพระบรมศพที่พระราชวังฮอลีรูดก่อนหน้านี้แล้ว[58][59]
วันเดียวกัน สมเด็จพระราชาธิบดีพระราชทานพระบรมราชวโรกาส ให้เลขาธิการสำนักกิจการเครือจักรภพและข้าหลวงใหญ่ของรัฐเครือจักรภพทั้งหมด เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระราชวังบักกิงแฮม[60] นอกจากนี้ บีบีซีวันได้ปรับผังรายการกลับสู่ปกติ แต่จะยังเสนอข่าวที่เกี่ยวข้องกับการสวรรคตและพิธีต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง[61] ส่วนไอทีวี, ช่อง 4 และสกาย เริ่มกลับมาแสดงโฆษณาอีกครั้งหลังหยุดไปตั้งแต่ประกาศการสวรรคต[62][63]
12 กันยายน
[แก้]สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ เพื่อทรงร่วมพิธีแสดงความอาลัยของรัฐสภา[64] จากนั้นทั้งสองพระองค์ประทับเครื่องบินพระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินไปยังนครเอดินบะระ[65] เพื่อทรงร่วมพิธีแสดงความอาลัยของรัฐสภาสกอตแลนด์[65] และทรงร่วมกระบวนอัญเชิญพระบรมศพจากพระราชวังฮอลีรูดไปยังอาสนวิหารเซนต์ไจล์ร่วมกับพระบรมวงศานุวงศ์[66][57][60][67] อาสนวิหารได้เปิดให้ประชาชนเข้าแสดงความอาลัยได้หนึ่งวัน[60] โดยมีผู้เข้ามาแสดงความอาลัยประมาณ 33,000 คน[68] ทั้งนี้ หีบพระบรมศพจะได้รับการคลุมด้วยธงพระราชอิสริยยศและประดับด้วยมงกุฎแห่งสกอตแลนด์[64]
ในเวลา 19.40 น. พระบุตรของสมเด็จพระราชินีนาถทั้งสี่ได้ประทับยืนเฝ้าหีบพระบรมศพตามธรรมเนียมเป็นเวลาสิบนาที[69][70][71] โดยสมเด็จพระราชกุมารีทรงเป็นเจ้านายฝ่ายในพระองค์แรกที่เข้าร่วมพิธีดังกล่าว นับตั้งแต่การมีขึ้นครั้งแรกของธรรมเนียมนี้ในงานพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2479[72]
13 กันยายน
[แก้]สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปยังนครเบลฟาสต์ เพื่อทรงร่วมพิธีแสดงความอาลัยโดยเสนาบดีใหญ่และสภาแห่งไอร์แลนด์เหนือ[60] ส่วนหีบพระบรมศพได้รับการประดับด้วยธงพระราชอิสริยยศพระมหากษัตริย์แห่งสก็อตแลนด์และพวงหรีดบนหีบพระบรมศพ และมีการอัญเชิญจากท่าอากาศยานเอดินบะระมายังฐานทัพอากาศนอร์ธโอลท์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงลอนดอน โดยสมเด็จพระราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินตามหีบพระบรมศพพร้อมด้วยพระสวามี จากนั้นหีบพระบรมศพได้รับการอัญเชิญไปประดิษฐานที่พระราชวังบักกิงแฮม[60]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
14 กันยายน
[แก้]ในวันที่ 14 กันยายน กระบวนพระบรมราชอิสริยยศอัญเชิญหีบพระบรมศพโดยราชรถปืนใหญ่ของกรมทหารปืนใหญ่รักษาพระองค์ เคลื่อนจากพระราชวังบักกิงแฮมไปยังพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ด้วยอัตราการเดิน 75 ก้าวต่อนาที[73] โดยสมเด็จพระราชาธิบดี สมเด็จพระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินในกระบวนดังกล่าวด้วย[66][60] อนึ่ง เจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก และเจ้าชายแฮร์รี ดยุกแห่งซัสเซกซ์ มิได้ฉลองพระองค์เครื่องแบบทหาร เนื่องจากทั้งสองมิได้ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจของราชวงศ์[73]
พระบรมศพจะประดิษฐานที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ให้ประชาชนเข้าแสดงความอาลัยเป็นเวลาสี่วัน[60] ทั้งนี้ หีบพระบรมศพจะได้รับการประดับด้วยมงกุฎอิมพีเรียลสเตต, ลูกโลกประดับกางเขน และคทาประดับกางเขน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชกกุธภัณฑ์สหราชอาณาจักร[66] บีบีซีได้ถ่ายทอดสดการเคลื่อนกระบวนนี้ตลอดพิธี[74]
16–18 กันยายน
[แก้]ในวันที่ 16 กันยายน สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินี จะเสด็จพระราชดำเนินไปยังเวลส์ เป็นการเสร็จสิ้นพระราชภารกิจในการทรงรับการแสดงความอาลัยสมเด็จพระราชินีนาถจากชาติในสหราชอาณาจักรทั้งสี่[60]
ในวันที่ 18 กันยายน เวลา 20.00 น. มีการจัดกิจกรรมยืนสงบนิ่งเป็นเวลาหนึ่งนาทีทั่วสหราชอาณาจักร[75]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พิธีแสดงความอาลัย
[แก้]พระบรมศพสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ได้ประดิษฐานภายในโถงใหญ่ของพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ เพื่อให้ประชาชนแสดงความอาลัยเป็นเวลาสี่วัน ตั้งแต่วันที่ 15–18 กันยายน พ.ศ. 2565 บีบีซีและไอทีวีได้ถ่ายทอดสดพิธีนี้ตลอดทั้งสี่วัน[76][77] ประชาชนได้มารอแสดงความอาลัยก่อนพิธีดังกล่าว 48 ชั่วโมง[78] โดยแถวเข้าคิวนั้นยาวประมาณ 5 ไมล์ หรือ 8 กิโลเมตร[79]
พิธีฝังพระบรมศพ
[แก้]พิธีพระบรมศพสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร จัดขึ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 11.00 น. ณ เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์[66] โดยเป็นพิธีพระบรมศพที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์เป็นครั้งแรกหลังพิธีพระบรมศพพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่ ในปี พ.ศ. 2303[80][81]
หลังจากพิธีทางการที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ ได้มีการอัญเชิญพระบรมศพไปยัง โบสถ์น้อยเซนต์จอร์จ ปราสาทวินด์เซอร์ เพื่อนำไปฝังเคียงข้างเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ พระราชสวามี รวมทั้งพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 พระราชชนก, พระบรมศพสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี และพระอัฐิเจ้าหญิงมาร์กาเร็ต เคานท์เตสแห่งสโนว์ดอน พระกนิษฐภคินี[80]
ในพิธีดังกล่าว มีสมาชิกพระราชวงศ์ ผู้นำ และผู้แทนจากทั่วโลกร่วมงาน ซึ่งภายในเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ได้จัดเตรียมที่นั่งไว้สูงสุด 2,200 ที่นั่ง[82] โดยบีบีซี[83][84], ไอทีวี[85][86] และสกาย[87] ได้ถ่ายทอดสดพิธีนี้ตลอดงาน
รัฐบาลสหราชอาณาจักรกำหนดให้วันพิธีดังกล่าวเป็นวันหยุดธนาคาร[80][88] นอกจากนี้ สถานศึกษาทุกแห่งในสหราชอาณาจักร[89][90][91] และกิจการอีกจำนวนหนึ่ง[92] ก็จะหยุดทำการในวันดังกล่าวเช่นเดียวกัน ซึ่งรวมถึงตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน[93]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การสืบราชสมบัติ
[แก้]เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จสวรรคต เจ้าชายชาลส์ได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ของสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพทันที ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3[1]
สำหรับพระอิสริยยศก่อนขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 จะรวมเข้ากับราชบัลลังก์ ยกเว้นเพียง ดยุกแห่งคอร์นวอลล์ ซึ่งถูกส่งต่อไปยังพระราชโอรสองค์โตและมกุฏราชกุมารอันได้แก่ เจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์
สภาการขึ้นครองราชย์แห่งสหราชอาณาจักรมีการประชุมในวันที่ 10 กันยายน ณ พระราชวังเซนต์เจมส์ เพื่อประกาศการขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์พระองค์ใหม่อย่างเป็นทางการ โดยผู้มีสิทธิเข้าร่วมประชุมมีกว่า 700 คน[94] สำหรับพระราชพิธีราชาภิเษก คาดว่าจะจัดขึ้นหลังพิธีฝังพระบรมศพของพระบรมราชชนนี
ปฏิกิริยา
[แก้]รายการกีฬา
[แก้]การแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีก และสกอตติชพรีเมียร์ชิปประกาศเลื่อนการแข่งขัน หลังจากมีการประกาศถึงการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถ[95][96] มีปฏิกิริยาบางส่วนไม่เห็นด้วยกับการเลื่อนการแข่งขันดังกล่าว แกรี เนวิล อดีตนักฟุตบอล มองว่าการให้แข่งขันต่อไป แต่มีการแสดงความไว้อาลัยให้กับสมเด็จพระราชินีนาถจะเป็นการเทิดพระเกียรติแก่พระองค์มากกว่า[97][98]
ในการแข่งขันฟุตบอลยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ที่มีการแข่งขันในสหราชอาณาจักร ได้แก่คู่ระหว่างเรนเจอร์สกับนาโปลี, เชลซีกับเร็ดบุลซัลทซ์บวร์ค และแมนเชสเตอร์ซิตีกับโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ มีการงดบรรเลงเพลงประจำการแข่งขันเพื่อรำลึกแก่สมเด็จพระราชินีนาถ[99] แฟนบอลมีการร้องเพลง "ก็อดเซฟเดอะคิง" เพื่อเป็นการรำลีกแก่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ที่กลาสโกว์มีการเปิดเพลงในสนามไอบร็อกซ์สเตเดียม หลังการยืนสงบนิ่งไว้อาลัยแก่พระองค์ ที่สแตมฟอร์ดบริดจ์มีการห้อยแบนเนอร์ "ขอพระราชินีสู่สวรรคาลัย" (RIP Your Majesty) บริเวณอัฒจันทร์ฝั่งเดอะเชดเอนด์ (The Shed End)[100]
ดูเพิ่ม
[แก้]- ปฏิบัติการสะพานลอนดอน และ ปฏิบัติการยูนิคอร์น แผนที่กำหนดขึ้นสำหรับการสวรรคตและงานพระบรมศพสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Queen Elizabeth II has died, Buckingham Palace announces". BBC News. 8 September 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
- ↑ "Charles is the new King". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
- ↑ Murray, Jessica (12 October 2021). "Queen seen using walking stick for first time in 20 years". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
- ↑ Taylor, Harry (21 October 2021), "The Queen spent night in hospital after cancelling Northern Ireland visit", The Guardian, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2022, สืบค้นเมื่อ 8 September 2022
- ↑ Lee, Dulcie; Durbin, Adam (20 February 2022). "The Queen tests positive for Covid". BBC News.
- ↑ News Wires (20 February 2022). "Britain's Queen Elizabeth catches 'mild' Covid-19". France 24.
- ↑ Couzens, Jo (10 April 2022). "Queen reveals Covid left her 'very tired and exhausted'". BBC News Online.
- ↑ "Queen Elizabeth says COVID left "one very tired and exhausted"". Reuters. 11 April 2022.
- ↑ Kirkpatrick, Emily (1 March 2022). "Queen Elizabeth Recovers From COVID and Spends Some Time With Her Grandchildren". Vanity Fair.
- ↑ Kwai, Isabella (1 March 2022). "Queen Elizabeth resumes work 9 days after a positive coronavirus test". The New York Times.
- ↑ Duffy, Nick (3 July 2022). "Queen's official duties trimmed down as power shifts to Prince Charles". i. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
- ↑ Landler, Mark (9 May 2022). "Queen Elizabeth to Miss Opening of Parliament". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
- ↑ "Platinum Jubilee concert: Mummy laughs and cries with us all, says Prince Charles - BBC News". Bbc.com. 2022-06-04. สืบค้นเมื่อ 2022-06-09.
- ↑ Matthew Moore. "Prince Charles remembers Prince Philip in emotional speech during Platinum Party in the Palace". Hellomagazine.com. สืบค้นเมื่อ 2022-06-09.
- ↑ Bubola, Emma (6 September 2022). "The queen will meet the new prime minister at Balmoral Castle in Scotland". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
- ↑ "Queen postpones senior ministers meeting to rest". 7 September 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022 – โดยทาง www.bbc.co.uk.
- ↑ "In last public statement, Queen Elizabeth extended condolences following Saskatchewan stabbing rampage". Saskatoon StarPhoenix. 8 September 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 9 September 2022.
- ↑ 18.0 18.1 Prynn, Jonathan (2022-09-09). "Queen died 'with Charles and Anne by side as other royals dashed to Balmoral'". Evening Standard. สืบค้นเมื่อ 2022-09-09.
- ↑ Ward, Victoria (9 September 2022). "King Charles and Princess Anne only senior royals who made it to Balmoral before Queen Elizabeth died". The Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 September 2022. สืบค้นเมื่อ 10 September 2022.
- ↑ Malnick, Edward (10 September 2022). "Liz Truss knew before she stood up in the Commons that Queen Elizabeth was gravely ill". The Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 September 2022. สืบค้นเมื่อ 11 September 2022.
- ↑ "Ripple of rumour around the Commons as concern grows for the Queen". The Guardian. 8 September 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 10 September 2022.
- ↑ "Whispers, hours of uncertainty – then news of the death of the Queen". The Guardian. 8 September 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 September 2022. สืบค้นเมื่อ 10 September 2022.
- ↑ "Queen's doctors concerned for her health – palace". BBC News. 8 September 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
- ↑ Davies, Caroline (8 September 2022). "Queen under medical supervision at Balmoral after doctors' concerns". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
- ↑ "Queen under medical supervision as doctors are concerned for her health. Prince Charles, Camilla and Prince William are currently travelling to Balmoral, Clarence House and Kensington Palace said". Sky News. 8 September 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
- ↑ Shaw, Neil (8 September 2022). "Duke of York, Princess Anne and Prince Edward all called to Queen's side". Plymouth Live. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
- ↑ Whittock, Jesse (8 September 2022). "BBC Suspends Schedule As Concerns Grow Over Queen's Health; UK Broadcasters Cut Into Programs To Relay News". Deadline (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
- ↑ Cost, Ben (8 September 2022). "BBC correspondent falsely reported queen died, shocking Twitter". New York Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
- ↑ 29.0 29.1 Quinn, Ben (8 September 2022). "Queen Elizabeth dies: key moments from a dramatic day". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 9 September 2022.
- ↑ "Politicians pay tribute to Queen's warmth and wisdom". BBC News. 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 9 September 2022.
- ↑ "Queen Elizabeth II has died, Buckingham Palace announces". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 8 September 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
- ↑ Hallemann, Caroline (8 September 2022). "Queen Elizabeth, the Longest-Reigning British Monarch in History, Has Died". Town & Country (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
- ↑ Sweney, Mark; Waterson, Jim (8 September 2022). "BBC One announces Queen's death and plays national anthem". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 9 September 2022.
- ↑ Farber, Alex (11 September 2022). "News specials inform 16m of Queen's death". Broadcast (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 September 2022. สืบค้นเมื่อ 11 September 2022.
- ↑ "UK and world react to death of Queen Elizabeth II". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
- ↑ "Queen Elizabeth II: Flags lowered as Queen's death announced". BBC. 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 9 September 2022.
- ↑ "Balmoral Castle flies union jack at half-mast following death of Queen Elizabeth II". The Independent. 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 9 September 2022.
- ↑ "WATCH: King Charles III greets mourners at Buckingham Palac". BBC News. 9 September 2022. สืบค้นเมื่อ 9 September 2022.
- ↑ 39.0 39.1 39.2 39.3 "King Charles to address nation as monarch for first time". BBC News. 9 September 2022. สืบค้นเมื่อ 9 September 2022.
- ↑ "King Charles III's address to the nation and Commonwealth in full". BBC News. 9 September 2022. สืบค้นเมื่อ 9 September 2022.
- ↑ 41.0 41.1 41.2 "Mourning and Condolence arrangements at the Royal Residences". The Royal Family. 9 September 2022. สืบค้นเมื่อ 9 September 2022.
- ↑ "Queen Elizabeth II: Children remember 'that fantastic twinkle'". BBC. 9 September 2022. สืบค้นเมื่อ 9 September 2022.
- ↑ "Edinburgh Castle gun salute as Scotland mourns Queen's death". BBC News. 9 September 2022. สืบค้นเมื่อ 9 September 2022.
- ↑ "Queen Elizabeth II: Gun salute tribute in Cardiff". BBC. 9 September 2022. สืบค้นเมื่อ 9 September 2022.
- ↑ 45.0 45.1 "The Queen: Gun salutes held across Wales to honour the Queen". BBC News. 9 September 2022. สืบค้นเมื่อ 9 September 2022.
- ↑ "Queen Elizabeth II: Gun salute tribute fired at Stonehenge". BBC News. 9 September 2022. สืบค้นเมื่อ 9 September 2022.
- ↑ "Queen Elizabeth II: Yorkshire pays tribute to her 'faithful presence'". BBC News. 9 September 2022. สืบค้นเมื่อ 9 September 2022.
- ↑ "Queen Elizabeth II: Bells ring out in tribute to monarch". BBC News. 9 September 2022. สืบค้นเมื่อ 9 September 2022.
- ↑ "Queen Elizabeth II: Tributes as bells ring across the East". BBC News. 9 September 2022. สืบค้นเมื่อ 9 September 2022.
- ↑ "Queen Elizabeth II: Church bells ring across Wales". BBC News. 9 September 2022. สืบค้นเมื่อ 9 September 2022.
- ↑ "Colchester: Formal 21-gun salute marks Proclamation of the King". BBC News. 10 September 2022. สืบค้นเมื่อ 10 September 2022.
- ↑ "Gun salute in Guernsey marks proclamation of King". BBC News. 10 September 2022. สืบค้นเมื่อ 10 September 2022.
- ↑ "King Charles III: Hillsborough gun salute marks King Charles's proclamation". BBC News. 10 September 2022. สืบค้นเมื่อ 10 September 2022.
- ↑ "Edinburgh roads close as city prepares for Queen mourners". BBC. 10 September 2022. สืบค้นเมื่อ 10 September 2022.
- ↑ "Queen Elizabeth's funeral will be held on Monday 19 September". The Guardian. 10 September 2022. สืบค้นเมื่อ 10 September 2022.
- ↑ "Bank holiday announced for Her Majesty Queen Elizabeth II's State Funeral on Monday 19 September". GOV.UK. สืบค้นเมื่อ 10 September 2022.
- ↑ 57.0 57.1 "Queen Elizabeth II: Coffin to travel by road from Balmoral to Edinburgh". BBC News. 10 September 2022. สืบค้นเมื่อ 10 September 2022.
- ↑ "Queen's coffin arrives in Edinburgh after journey from Balmoral". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 September 2022. สืบค้นเมื่อ 11 September 2022.
- ↑ Faulkner, Doug (11 September 2022). "Queen Elizabeth II's cortege arrives to huge crowds in Edinburgh". BBC News. สืบค้นเมื่อ 11 September 2022.
- ↑ 60.0 60.1 60.2 60.3 60.4 60.5 60.6 60.7 "Queen Elizabeth II: A day-by-day guide from now to the funeral". BBC News. 10 September 2022. สืบค้นเมื่อ 10 September 2022.
- ↑ Bryan, Scott (2022-09-11). "Scott Bryan on Twitter". Twitter (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-09-11.
- ↑ "Media firms introduce advertising blackouts to respect late Queen". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). 9 September 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 September 2022. สืบค้นเมื่อ 11 September 2022.
- ↑ Fitzpatrick, Katie (10 September 2022). "ITV releases schedule for Sunday following death of Queen – including Emmerdale". Manchester Evening News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 September 2022. สืบค้นเมื่อ 11 September 2022.
- ↑ 64.0 64.1 "Scotland prepares to say its final farewell to the Queen". BBC News. 11 September 2022. สืบค้นเมื่อ 11 September 2022.
- ↑ 65.0 65.1 "An update on His Majesty The King's Programme". The Royal Family. 10 September 2022. สืบค้นเมื่อ 10 September 2022.
- ↑ 66.0 66.1 66.2 66.3 Dunn, Charlotte (2022-09-10). "Arrangements for the Funeral of Her Majesty The Queen". The Royal Family (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-09-10.
- ↑ Gregory, James (12 September 2022). "King Charles III promises to follow Queen's selfless duty". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 September 2022. สืบค้นเมื่อ 12 September 2022.
- ↑ "Queen's coffin vigil in Edinburgh witnessed by 33,000 people". BBC News. 13 September 2022. สืบค้นเมื่อ 13 September 2022.
- ↑ Knight, Sam (17 March 2017). "'London Bridge is down': the secret plan for the days after the Queen's death". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 5 February 2018.
- ↑ "Vigil of the Princes that will see Queen's family stand guard at coffin explained". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2022-09-12. สืบค้นเมื่อ 2022-09-12.
- ↑ Drummond, Michael (2022-09-13). "Andrew, Edward and Anne join the King in vigil at Queen's coffin". Sky News. สืบค้นเมื่อ 13 September 2022.
- ↑ "Queen's children perform Vigil of the Princes". BBC News (ภาษาอังกฤษ). 2022-09-12. สืบค้นเมื่อ 2022-09-12.
- ↑ 73.0 73.1 Coughlan, Sean (14 September 2022). "William and Harry side by side behind Queen's coffin". BBC News. สืบค้นเมื่อ 14 September 2022.
- ↑ "BBC streaming Queen Elizabeth II lying in state". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 14 September 2022. สืบค้นเมื่อ 14 September 2022.
- ↑ Morris, Sophie (12 September 2022). "UK to hold minute's silence for the Queen on Sunday in shared national moment of reflection". Sky News. สืบค้นเมื่อ 12 September 2022.
- ↑ "BBC streaming Queen Elizabeth II lying in state". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 14 September 2022. สืบค้นเมื่อ 14 September 2022.
- ↑ "Watch ITV News continuous live coverage of the Queen Lying in State at Westminster Hall". ITV. 14 September 2022. สืบค้นเมื่อ 15 September 2022.
- ↑ "Welsh cakes and Deliveroo: The woman at the front of the queue to see the Queen's coffin in London". ITV. 13 September 2022. สืบค้นเมื่อ 15 September 2022.
- ↑ "Queue tracker: How long is the queue to see the Queen Lying in State, where is the end of the line?". ITV. 15 September 2022. สืบค้นเมื่อ 15 September 2022.
- ↑ 80.0 80.1 80.2 "Plans for the Queen's lying in state and funeral". BBC News. 9 September 2022. สืบค้นเมื่อ 9 September 2022.
- ↑ "A History of Royal Burials and Funerals". Westminster Abbey. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 September 2022. สืบค้นเมื่อ 11 September 2022.
- ↑ "Queen's funeral guests: Who's coming and who's not?". BBC News. 13 September 2022. สืบค้นเมื่อ 13 September 2022.
- ↑ Bryan, Scott (13 September 2022). "Scott Bryan on Twitter" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 13 September 2022 – โดยทาง Twitter.
- ↑ Paton, Ryan (13 September 2022). "Queen Elizabeth II's funeral sees BBC make big schedule changes". Liverpool Echo. สืบค้นเมื่อ 13 September 2022.
- ↑ "ITV confirms its plans for coverage of the state funeral for Her Majesty The Queen". Press Centre (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-09-14.
- ↑ Bryan, Scott (12 September 2022). "Scott Bryan on Twitter" (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 September 2022. สืบค้นเมื่อ 12 September 2022 – โดยทาง Twitter.
- ↑ Bryan, Scott (2022-09-13). "Scott Bryan on Twitter". Twitter (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-09-13.
- ↑ Zeldin-O'Neill, Sophie (10 September 2022). "King Charles approves bank holiday for day of Queen's funeral". The Guardian.
- ↑ "What time is the Queen's state funeral? Will shops and schools close? And other questions". BBC News. 13 September 2022. สืบค้นเมื่อ 13 September 2022.
- ↑ "Queen Elizabeth II: Northern Ireland schools 'should close' for funeral". BBC News. 13 September 2022. สืบค้นเมื่อ 13 September 2022.
- ↑ "Scotland prepares for Queen's funeral closures". BBC News. 14 September 2022. สืบค้นเมื่อ 14 September 2022.
- ↑ Trigg, Robert (13 September 2022). "The Newport businesses closing for Queen's funeral bank holiday". BBC News. สืบค้นเมื่อ 13 September 2022.
- ↑ Beauchamp, Chris (13 September 2022). "London Stock Exchange to close for Queen's funeral". IG.com. IG Group.
- ↑ "Charles III to be proclaimed king at historic ceremony". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2022-09-09. สืบค้นเมื่อ 2022-09-10.
- ↑ https://www.premierleague.com/news/2786560
- ↑ https://www.scottishfa.co.uk/news/scottish-football-postpones-professional-matches-this-weekend/
- ↑ https://metro.co.uk/2022/09/09/gary-neville-disagrees-with-premier-leagues-decision-to-postpone-weekend-fixtures-17335537/
- ↑ https://strettynews.com/2022/09/09/gary-neville-disagrees-with-decision-to-postpone-premier-league-matches/
- ↑ https://www.dailymail.co.uk/sport/sportsnews/article-11208699/British-clubs-BANNED-UEFA-playing-national-anthem-following-death-Queen.html
- ↑ https://www.skysports.com/football/news/11095/12697444/rangers-fans-pay-tribute-to-the-queen-by-singing-national-anthem-before-champions-league-match-against-napoli