การปะทุของภูเขาไฟฮูงาโตงาและคลื่นสึนามิ พ.ศ. 2565

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การปะทุของภูเขาไฟฮูงาโตงาและคลื่นสึนามิ พ.ศ. 2565
เถ้าภูเขาไฟจากการปะทุ 15 มกราคม พ.ศ. 2565
ภูเขาไฟฮูงาโตงา
วันที่เริ่มต้น20 ธันวาคม ค.ศ. 2021
วันที่สิ้นสุด15 มกราคม ค.ศ. 2022 [1]
สถานที่มหาสมุทรแปซิฟิก, ตองงา
20°33′00″S 175°23′06″W / 20.550°S 175.385°W / -20.550; -175.385 (Hunga Tonga)
ระดับ5 [1]
ผลกระทบ
  • เสียชีวิต 6 ราย
  • บาดเจ็บ 19 ราย
  • สูญหาย 1 ราย
  • ความเสียหายทางเศรษฐกิจในตองงาประมาณ 90.4 ล้านดอลลาร์
ฮูงาโตงาตั้งอยู่ในTonga
ฮูงาโตงา
ฮูงาโตงา
ฮูงาโตงาตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก
ฮูงาโตงา
ฮูงาโตงา

ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นถึงการปะทุของภูเขาไฟฮูงาโตงา (มุมล่างขวา)
คลื่นกระแทกจากการระเบิดของภูเขาไฟฮูงาโตงา
แบบจำลองการกระจายตัวสูงสุดของสึนามิ (NOAA)
แบบจำลองการเคลื่อนตัวของสึนามิที่กระทบฝั่งตองงา (Steven N. Ward)

การปะทุของภูเขาไฟฮูงาโตงาและคลื่นสึนามิ พ.ศ. 2565 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2565 ทำให้เกิดสึนามิในตองงา ฟีจี และอเมริกันซามัว มีการออกประกาศเตือนภัยสึนามิที่ฟีจี ซามัว วานูวาตู นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก ชิลี และเอกวาดอร์ มีรายงานคลื่นสึนามิที่สร้างความเสียหายในนิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา ชิลี และเปรู มีความสูงของคลื่นสูงสุด 2 เมตร (6.6 ฟุต) มีรายงานผู้เสียชีวิตจากคลื่นสึนามิ 2 รายที่เปรู และบาดเจ็บ 2 รายที่สหรัฐอเมริกา

ภูมิหลัง[แก้]

เกาะฮูงา-โตงา-ฮูงา-ฮาอาไป (Hunga-Tonga-Hunga-Ha’apai) เป็นเกาะภูเขาไฟที่ไม่มีคนอาศัยอยู่ ตั้งอยู่ห่างจากเกาะโตงาตาปูซึ่งเป็นเกาะหลังของตองงา ประมาณ 65 กม. (40 ไมล์) หลังจากไม่มีการปะทุตั้งแต่ พ.ศ. 2557 ภูเขาไฟฮูงาโตงาปะทุขึ้นอีกครั้งเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2564 พ่นเถ้าถ่านสูงจนไปถึงชั้นสตราโทสเฟียร์ เถ้าถ่านขนาดใหญ่สามารถมองเห็นได้จากเมืองหลวงของตองงาซึ่งห่างจากภูเขาไฟประมาณ 70 กม. (45 ไมล์) ศูนย์ VAAC ในนิวซีแลนด์ได้ออกประกาศคำแนะนำแก่สายการบิน ซึ่งสามารถได้ยินเสียงปะทุดังไกลถึงนิวซีแลนด์

การปะทุ[แก้]

การปะทุครั้งใหญ่เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2565 ซึ่งส่งเถ้าภูเขาไฟไปในชั้นบรรยากาศ 20 กิโลเมตร (12 ไมล์) รัฐบาลตองงาออกประกาศเตือนภัยสึนามิบริเวณชายฝั่ง[2] ซึ่งการระเบิดปกคลุมพื้นที่รอบ ๆ 5 กิโลเมตร[3] ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2565 ได้เกิดการปะทุครั้งใหญ่ขึ้นอย่างมาก ในเวลาประมาณ 17:00 น. (04:00 UTC) และได้มีการออกประกาศเตือนทางการบินอีกครั้ง เถ้าถ่านจากการปะทุทำให้แผ่นดินถล่มบนเกาะโตงาตาปูทำให้มีหินก้อนเล็ก ๆ และเถ้าถ่านตกลงมาจากท้องฟ้า ซึ่งเสียงจากการระเบิดดังไกลเกือบ 65 กม.[4] และดังไกลถึงซามัวที่อยู่ห่างไปประมาณ 840 กิโลเมตร

สึนามิ[แก้]

แบบจำลองการกระจายตัวสูงสุดของสึนามิ (NOAA)

หลังจากการระเบิดของภูเขาไฟได้เกิดคลื่นสึนามิ กรมอุตุนิยมวิทยาตองงาออกคำเตือนสึนามิเวลา 17.30 น. ตามแนวชายฝั่งของประเทศ เมืองหลวงของตองงาสึนามิสูง 1.2 เมตร (3.9 ฟุต) บนชายฝั่งตะวันตกของเกาะโตงาตาปู สึนามิได้พัดทำลาย ถนน บ้าน และร้านค้า เสียหายอย่างรุนแรง

ตองงา[แก้]

ภาพถ่ายของตองงาหลังจากการปะทุของภูเขาไฟ

ได้เกิดสึนามิขนาด 1.2 เมตร[5] พัดเข้าเมืองนูกูอาโลฟาซึ่งเป็นเมืองหลวงของตองงา[6][7] มาตราวัดน้ำในเมืองสามารถบันทึกคลื่นได้ 1.5 - 2 เมตร[8] สึนามิได้พัดทำลายบ้านเรือนริมชายฝั่งหลังจากพัดเข้าพื้นที่ 15 นาที หลังจากการระเบิด มีรายงานว่ามีคลื่น 3 ลูกพัดถล่มชายฝั่งซึ่งคลื่นลูกแรกของสึนามิครั้งนี้มีขนาดใหญ่ที่สุด[9] เมื่อเกิดสึนามิสมเด็จพระราชาธิบดีตูโปอูที่ 6ได้อพยพออกจากพระราชวังไปยังที่ปลอดภัย การอพยพทำให้เกิดการจราจรติดขัดเนื่องจากผู้คนต้องการอพยพไปยังที่สูง[10]

18 มกราคม ค.ศ. 2022 ได้มีการยืนยันคลื่นสูงถึง 15 เมตร (49 ฟุต) พัดถล่มชายฝั่งตะวันตกของโตงาตาปู[11]

ฟีจี อเมริกันซามัว วานูวาตู และ ฮาวาย[แก้]

มาตราวัดน้ำในซูวาสามารถบันทึกคลื่นสึนามิได้ 20 ซม. (7.9 นิ้ว) ณ เวลา 17:40 น. ตามเวลาท้องถิ่น[12] ในอเมริกันซามัวสามารถวัดคลื่นสึนามิได้ 61 ซม. (24 นิ้ว) [13] ในวานูอาตูสามารถวัดคลื่นสึนามิได้ 1 – 2.5 เมตร สึนามิยังถูกวัดได้ตลอดคืนวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 2022[14] และในฮาวายเกิดสึนามิขนาด 0.8 เมตร (2 ฟุต 7 นิ้ว) [15]

ญี่ปุ่น[แก้]

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ออกคำเตือนสึนามิไปยังพื้นที่ชายฝั่งทะเลแปซิฟิก สึนามิได้พัดเข้าท่าเรือคูชิ จังหวัดอิวาเตะ มีความสูงของคลื่น 1.2 เมตร และได้เกิดการไหลย้อนกลับของแม่น้ำเมื่อเวลาประมาณ 00.45 น. ในจังหวัดมิยางิของวันที่ 16 มกราคม[16] กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ออกคำเตือนสึนามิ 1 เมตร เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่แผ่นดินไหวในจังหวัดฟูกูชิมะ พ.ศ. 2559[17]

ตามข้อมูลของหน่วยงานบริหารจัดการอัคคีภัยและภัยพิบัติญี่ปุ่น เวลา 07.30 น. ของวันที่ 16 มกราคม มีคำสั่งอพยพ 229,239 คน ให้ห่างจากทะเล [18] นอกจากนี้การจราจรยังได้รับผลกระทบคือการหยุดได้บริการของรถไฟและการยกเลิกเส้นทางการบิน[19] และมีรถไฟบางขบวนที่วิ่งเส้นทางฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกหยุดให้บริการ

ในเมืองอิโตมัง จังหวัดโอกินาวะ มีผู้บาดเจ็บ 1 คนจากสึนามิ[20] สึนามิได้ทำให้เรือประมงพลิกคว่ำเสียหายในจังหวัดโคจิ จังหวัดโทกูชิมะ จังหวัดมิเอะ[21]

ในวันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 14:00 น. ความสูงของคลื่นสึนามิที่วัดได้มีดังนี้[22]

ระดับการเตือน พื้นที่ คาดการณ์ความสูงของสึนามิ ความสูงของสึนามิ
เตือนภัยคลื่นสึนามิ หมู่เกาะอามามิ / หมู่เกาะโทการะ 3 เมตร 1 เมตร 20 ซม. (สึนามิสูงสุด)
จังหวัดอิวาเตะ 1 เมตร 10 ซม.
เฝ้าระวังคลื่นสึนามิ ชายฝั่งฮกไกโดทางแปซิฟิกตะวันออก 1 เมตร 90 ซม.
ชายฝั่งฮกไกโดทางแปซิฟิกตอนกลาง 70 ซม.
ชายฝั่งฮกไกโดทางแปซิฟิกตะวันตก 30 ซม.
ชายฝั่งแปซิฟิกของจังหวัดอาโอโมริ 60 ซม.
ทะเลชายฝั่งญี่ปุ่นของจังหวัดอาโอโมริ ไม่มีประกาศ
จังหวัดมิยางิ 70 ซม.
จังหวัดฟูกูชิมะ 70 ซม.
จังหวัดอิบารากิ 60 ซม.
จังหวัดชิบะ 40 ซม.
จังหวัดชิบะ อูจิโบ 50 ซม.
หมู่เกาะอิซุ 80 ซม.
หมู่เกาะโอกาซาวาระ 90 ซม.
อ่าวซางามิ / คาบสมุทรมิอูระ 40 ซม.
จังหวัดชิซูโอกะ 70 ซม.
ฝั่งแปซิฟิกของจังหวัดไอจิ 60 ซม.
อ่าวอิเซะ / อ่าวมิกาวะ 20 ซม.
จังหวัดมิเอะตอนใต้ 60 ซม.
จังหวัดวากายามะ 90 ซม.
จังหวัดโทกูชิมะ 50 ซม.
จังหวัดโคจิ 90 ซม.
ทิศตะวันตกของจังหวัดนางาซากิ 30 ซม.
จังหวัดมิยาซากิ 70 ซม.
จังหวัดคาโงชิมะชายฝั่งตะวันออก 70 ซม.
จังหวัดคาโงชิมะฝั่งตะวันตก 60 ซม.
เกาะยากูชิมะ 70 ซม.
จังหวัดโอกินาวะ 30 ซม.
หมู่เกาะไดโตะ 20 ซม.
หมู่เกาะยาเอยามะ 30 ซม.

จากข้อมูลข้างต้น ความสูงของคลื่นสึนามิที่จุดสำคัญมีดังนี้[23]

พื้นที่ จุดสังเกต เวลา (JST) ความสูงของคลื่นสึนามิ
หมู่เกาะอามามิ / หมู่เกาะโทการะ โคมินาโตะ วันที่ 15 เวลา 23:55 น. 1 เมตร 20 ซม.
จังหวัดอิวาเตะ ท่าเรือคูจิ วันที่ 16 เวลา 2:26 น 1 เมตร 10 ซม.
ชายฝั่งแปซิฟิกของฮกไกโด เมืองฮามานากะ วันที่ 16 เวลา 1:05 น . 90 ซม.
หมู่เกาะโอกาซาวาระ เกาะชิจิจิมะ วันที่ 15 เวลา 22:52
จังหวัดวากายามะ เมืองคูชิโมโตะ วันที่ 16 เวลา 1:23 น.
เมืองโกโบะ วันที่ 16 เวลา 0:31 น.
จังหวัดโคจิ โทซะชิมิสึ วันที่ 16 เวลา 0:23 น.
แหลมมูโรโตะ เมืองมูโรโตะ วันที่ 16 เวลา 0:15 น. 80 ซม.
หมู่เกาะอิซุ เกาะฮาจิโจจิมะ วันที่ 16 เวลา 3:04 น.

ผลกระทบ[แก้]

มีข้อมูลเพียงเล็กน้อยที่เกี่ยวกับความเสียหายจากตองงาเนื่องจากปัญหาด้านการสื่อสาร นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ จาซินดา อาร์เดิร์น ระบุว่าบริการเคเบิลใต้ทะเลของตองงาได้รับผลกระทบ และเจ้าหน้าที่กำลังพยายามซ่อมแซมการสื่อสารอย่างเร่งด่วน[24] ภาพวิดีโอแสดงคลื่นกระทบพื้นที่ชายฝั่งในตองงาได้รับรายงานจาก สกา นิวส์[25] มีรายงานเกี่ยวกับเกาะอาตาตาซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ นอกเมืองหลวงมีรายงานว่าจมอยู่ใต้น้ำและปฏิบัติการกู้ภัยกำลังดำเนินการ รัฐบาลตองงายังไม่ได้ยืนยันผู้เสียชีวิตจากการปะทุและสึนามิ[26][27]สึนามิทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 คนในเปรูที่หาด เนย์แลมป์[28] และมีผู้บาดเจ็บ 2 คน ในรัฐแคลิฟอร์เนีย

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Global Volcanism Program | Hunga Tonga-Hunga Ha'apai". Smithsonian Institution | Global Volcanism Program (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 21 August 2022.
  2. "Underwater volcano Hunga-Tonga-Hunga-Ha'apai erupts again". RNZ (ภาษาอังกฤษ). 2022-01-14.
  3. "Tongan geologists observe stunning eruptions at Hunga | Matangitonga". web.archive.org. 2022-01-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-15. สืบค้นเมื่อ 2022-01-16.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  4. Staff, Kaniva (2022-01-15). "New tsunami warning as waves hitting Tonga". Kaniva Tonga | Largest NZ-based Tongan news service (ภาษาอังกฤษ).
  5. http://www.bom.gov.au/tsunami/national.shtml#nationalBulletin0
  6. "Waves hitting Tonga as volcano tsunami warning in place". 1 News.
  7. "Tonga volcano, no tsunami threat to Fiji". Fiji Broadcasting Corporation.
  8. Fijivillage. "Full Story: There is a possibility of hazardous tsunami waves being generated - Mineral Resources Department". www.fijivillage.com (ภาษาอังกฤษ).
  9. "Journalist based in Tonga describes 'huge' volcanic explosions". 1 News.
  10. Staff, Kaniva (2022-01-15). "King evacuated as thousands flee for higher ground at Mataki'eua and Fualu height". Kaniva Tonga | Largest NZ-based Tongan news service (ภาษาอังกฤษ).
  11. @consulatekot (January 18, 2022). "FIRST OFFICIAL UPDATE FOLLOWING THE VOLCANIC ERUPTION FROM THE GOVERNMENT OF TONGA" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  12. Fijivillage. "Full Story: There is a possibility of hazardous tsunami waves being generated - Mineral Resources Department". www.fijivillage.com (ภาษาอังกฤษ).
  13. Smith, Oli (2022-01-15). "Tonga tsunami: Satellite footage shows moment of volcanic shockwave - apocalyptic scenes". Express.co.uk (ภาษาอังกฤษ).
  14. "Weather Alert: Vanuatu Tsunami Advisory (January 15, 2022)". U.S. Embassy in Papua New Guinea, Solomon Islands, and Vanuatu (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-01-15.
  15. "A massive volcano erupts near Tonga, causing tsunami waves as far as the West Coast". Georgia Public Broadcasting (ภาษาอังกฤษ).
  16. "津波が宮城・砂押川を逆流 トンガ沖の海底火山噴火". 河北新報オンラインニュース (ภาษาญี่ปุ่น). 2022-01-16.
  17. "気象庁「津波警報の発表は2016年11月以来」". TBS NEWS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-16. สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.
  18. 日本放送協会. "津波警報 注意報 8県の約23万人に避難指示(午前7時半)". NHKニュース.
  19. 日本放送協会. "津波注意報 各地の交通に影響". NHKニュース.
  20. https://www.fdma.go.jp/disaster/info/items/20210116tunamikeihou5.pdf
  21. 日本放送協会. "高知県 徳島県 三重県で漁船沈没や転覆相次ぐ". NHKニュース.
  22. https://earthquake.tenki.jp/lite/bousai/tsunami/observation/
  23. "津波の観測情報". tenki.jp (ภาษาญี่ปุ่น).
  24. "A massive volcano erupts near Tonga, causing tsunami waves as far as the West Coast". Georgia Public Broadcasting (ภาษาอังกฤษ).
  25. "Watch: Prime Minister Jacinda Ardern addresses situation in Tonga following volcanic eruption, tsunami". RNZ (ภาษาอังกฤษ). 2022-01-16.
  26. "LIVE: NZ tsunami surge warning cancelled, Nuku'alofa 'like moonscape'". 1 News.
  27. "First images of devastating damage as Tongan residents warned air toxic, water contaminated". NZ Herald (ภาษาอังกฤษ).
  28. "Reportan dos muertes y daños por tsunami en Perú: país no emitió alerta". BioBioChile - La Red de Prensa Más Grande de Chile (ภาษาสเปน). 2022-01-15.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ การปะทุของภูเขาไฟฮูงาโตงาและสึนามิ พ.ศ. 2565