เมมอเรียล (องค์กร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมมอเรียล
Мемориал
ก่อตั้ง28 มกราคม ค.ศ. 1989 (1989-01-28)
ประเภทไม่แสวงผลกำไร
NGO
วัตถุประสงค์กลุ่มสิทธิมนุษยชน
สํานักงานใหญ่มอสโก ประเทศรัสเซีย
ประธานคณะกรรมการ
ยัน ราชซินสกี [ru]
บุคลากรหลัก
อันเดรย์ ซาฮารอฟ (1921–1989), อาร์เซนี รอกินสกี (1947–2017), เซอรเกย์ กอวาเลฟ (1930–2021)
รางวัลRight Livelihood Award (2004), Nansen Refugee Award (2004), Hermann Kesten Prize (2008), Sakharov Prize (2009), Victor Gollancz Prize (2009), "Freedom of Expression Prize" Index on Censorship (2012), "The Guardian of National Memory" Award from Polish Institute of National Memory (2012)
เว็บไซต์Memorial International (ภาษาอังกฤษ)
Memorial Human Rights Centre (ภาษาอังกฤษ)

เมมอเรียล (รัสเซีย: Мемориал, สัทอักษรสากล: [mʲɪmərʲɪˈaɫ]; Memorial) เป็นองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ก่อตั้งขึ้นในรัสเซีย และเป็นกลุ่มสนับสนุนสิทธิมนุษยชนที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศ[1] ประกอบด้วยหน่วยย่อยสองหน่วย เมมอเรียลอินเตอร์เนชั่นอล (Memorial International) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเก็บรวบรวมและบันทึกการใช้อำนาจในทางที่ผิดและการกลั้นแกล้งพลเมืองในยุคสตาลิน ของสหภาพโซเวียต (USSR) และ ศูนย์สิทธิมนุษยชนเมมอเรียล (Memorial Human Rights Centre) ซึ่งทำงานต่อสู้กับการกดขี่ในรัสเซียยุคปัจจุบัน[2] เมมอเรียลทำงานในรูปแบบขบวนการมากกว่าองค์กรเดี่ยว ผ่านองค์กรย่อย 50 แห่ง ในรัสเซียและ 11 ประเทศ[3] เมมอเรียลเริ่มมีขึ้นพร้อมกับขบวนการ เปเรสตรอยกา ในทศวรรษ 1980s โดยมีเป้าหมายเพื่อบันทึกการกดขี่และเพื่อสร้างฐานข้อมูลของเหยื่อจากเดอะเกรทเพิร์จ กับ กูลัก[4] ระหว่างปี 1987 ถึง 1990 ภายใต้สหภาพโซเวียต องค์การมี 23 สาขาที่ก่อตั้งขึ้น[5]

หลังรัสเซียผ่าน กฎหมายว่าด้วยสายลับต่างชาติ ในเดือนกรกฎาคม 2012 เมมอเรียลตกอยู่ภายใต้แรงกดดันจากรัฐสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในเดือนกรกฎาคม 2014 ศูนย์สิทธิมนุษยชนของเมมอเรียลถูกประกาศเป็น "สายลับต่างชาติ" (foreign agent) โดยกระทรวงยุติธรรม และในเดือนพฤศจิกายน 2015 ได้รวมไปถึงศูนย์วิจัยที่เซนต์ปีเตอส์เบิร์กเช่นกัน กระทั่งในปี 2016 ซึ่งรวมทั้งองค์การของเมมอเรียลอินเตอร์เนชั่นนอลทั้งหมด[6] ในเดือนธันวาคม 2021 ศาลสูงสุดรัสเซียประกาศสั่งปิดเมมอเรียลอินเตอร์เนชั่นนอลเนื่องจากความผิดฐานละเมิดกฎหมายสายลับต่างชาติ[7][8] ทนายความคนหนึ่งขององค์กรประกาศว่าจะทำการอุทธรณ์[4] ส่วนศูนย์สิทธิมนุษยชนถูกสั่งปิดโดยศาลแขวงมอสโกในวันถัดมา[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. Osborn, Andrew; Antonov, Mikhail (29 December 2021). "Russia shuts Memorial Human Rights Centre in 'one-two punch'". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 29 December 2021.
  2. Chernova, Anna; Guy, Jack. "Russian court shuts down Memorial Human Rights Center, day after sister group ordered closed". CNN. สืบค้นเมื่อ 29 December 2021.
  3. "Memorial - Structure and organisations". memo.ru (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-12-29.
  4. 4.0 4.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ guardian_roth
  5. "Structure and organisation" (2018) Memorial website, www.memo.ru
  6. "The Register of foreign agent NGOs" เก็บถาวร 2016-01-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน unro.minjust.ru, Russian Federation Ministry of Justice (in Russian), accessed 28 December 2021
  7. Nechepurenko, Ivan (28 December 2021). "Russian Court Orders Prominent Human Rights Group to Shut". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 28 December 2021.
  8. "Russian court shuts down human rights group Memorial International". CNN. สืบค้นเมื่อ 28 December 2021.
  9. Friedman, Ingrid Burke (30 December 2021). "As Russia shutters respected NGOs, European Court of Human Rights intervenes". Jurist. สืบค้นเมื่อ 30 December 2021.