สวันเตอ แพบู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สวันเตอ แพบู
แพบูเมื่อเดือนกรกฎาคม 2016
เกิด (1955-04-20) 20 เมษายน ค.ศ. 1955 (69 ปี)
สต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอุปซอลา (PhD)
มีชื่อเสียงจากพันธุศาสตร์บรรพชีวิน
คู่สมรสลินดา วิจิลันต์ (สมรส 2008)
บุตร2 คน
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขา
สถาบันที่ทำงาน
วิทยานิพนธ์How the E19 protein of adenoviruses modulates the immune system (1986)
เว็บไซต์

สวันเตอ แพบู (สวีเดน: Svante Pääbo, ออกเสียง: [ˈsvânːtɛ̂ ˈpʰɛ̌ːbʊ̂];[3] เกิด 20 เมษายน 1955) เป็นนักพันธุศาสตร์ชาวสวีเดนและผู้ได้รับรางวัลโนเบลซึ่งเชี่ยวชาญด้านพันธุศาสตร์วิวัฒนาการ [4] เขาเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มสาขาวิชาพันธุศาสตร์บรรพชีวิน และมีผลงานโดดเด่นเกี่ยวกับจีโนมของนีแอนเดอร์ทาล[5][6] เขาเป็นหัวหน้าภาคคนแรกและผู้ก่อตั้งภาคพันธุศาสตร์ สถาบันมานุษยวิทยาวิวัฒนาการมัคส์ พลังค์ ในไลพ์ซิช ประเทศเยอรมนี ตั้งแต่ปี 1997[7][8][9] นอกจากนี้เขายังเป็นศาสตราจารย์ประจำสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น[10]

ในปี 2022 เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาแพทยศาสตร์หรือสรีรวิทยา "จากการค้นพบจีโนมของโฮมินินที่สูญพันธุ์ไปแล้ว และวิวัฒนาการของมนุษย์"[11][12]

ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา[แก้]

แพบูเกิดที่สต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน มารดาเป็นนักเคมีชาวเอสโตเนียชื่อ การิน แปโบ (Karin Pääbo)[5] บิดาเป็นนักชีวเคมีชื่อ ซือเนอ แบร์ยสเตริม[5] ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ร่วมกับเบ็งต์ อี. ซอมูเอิลซ็อน และจอห์น อาร์. เวน เมื่อปี 1982[13]

เขาจบการศึกษาปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยอุปซอลาในปี 1986 ด้วยวิทยานิพนธ์เรื่องการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับวิธีทางที่โปรตีน E19 ของอะดีโนไวรัสกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน[14]

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

ในหนังสือชื่อ Neanderthal Man: In Search of Lost Genomes ซึ่งแพบูจัดพิมพ์ในปี 2014 เขาระบุว่าเขารักร่วมสองเพศอย่างเปิดเผย เขาเคยเข้าใจว่าตัวเองเป็นเกย์มาตลอด จนกระทั่งพบกับลินดา วิจิลันต์ นักบรรพชีวินวิทยาชาวอเมริกัน และ "เสน่ห์แบบแมน ๆ" ของวิจิลันต์ดึงดูดใจเขา ทั้งคู่มีผลงานตีพิมพ์ร่วมกันหลายชิ้น สมรสกันและมีลูกด้วยกันสองคน ปัจจุบันอาศัยอยู่ด้วยกันในไลพ์ซิช[15][6]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Professor Svante PÄÄBO | Jeantet". 1 October 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 May 2021. สืบค้นเมื่อ 16 October 2021.
  2. "Svante Paabo". London: Royal Society. 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 April 2016. One or more of the preceding sentences incorporates text from the royalsociety.org website where:

    "All text published under the heading 'Biography' on Fellow profile pages is available under Creative Commons Attribution 4.0 International License." --"Royal Society Terms, conditions and policies". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 25, 2015. สืบค้นเมื่อ 2016-03-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)

  3. Lena Nordlund, Annlouise Martin (Producers) (14 August 2014). Svante Pääbo (MP3) (Radio). Sveriges Radio. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 1:15. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2022. สืบค้นเมื่อ 2 May 2018.
  4. ดรรชนีผลงานตีพิมพ์โดย สวันเตอ แพบู บนกูเกิล สกอลาร์ แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
  5. 5.0 5.1 5.2 Kolbert, Elizabeth. "Sleeping with the Enemy: What happened between the Neanderthals and us?". The New Yorker. No. 15 & 22 August 2011. pp. 64–75. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2022. สืบค้นเมื่อ 23 November 2021.
  6. 6.0 6.1 Pääbo, Svante (2014). Neanderthal Man: In Search of Lost Genomes. Basic Books. ISBN 978-0-465-02083-6.
  7. Gitschier, J. (2008). "Imagine: An Interview with Svante Pääbo". PLOS Genetics. PLOS. 4 (3): e1000035. doi:10.1371/journal.pgen.1000035. PMC 2274957. PMID 18369454.
  8. Zagorski, N. (2006). "Profile of Svante Pääbo". Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 103 (37): 13575–13577. Bibcode:2006PNAS..10313575Z. doi:10.1073/pnas.0606596103. PMC 1564240. PMID 16954182.
  9. "Svante Paabo at the Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2011. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.
  10. "Svante Pääbo". OIST Groups. 29 April 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2021. สืบค้นเมื่อ 3 October 2022.
  11. "Press release: The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2022". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2022. สืบค้นเมื่อ 3 October 2022.
  12. Grover, Natalie; Pollard, Niklas; Ahlander, Johan (3 October 2022). "Swedish geneticist wins Nobel medicine prize for decoding ancient DNA". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2022. สืบค้นเมื่อ 3 October 2022.
  13. Peter Forbes (20 February 2014) Neanderthal Man: In Search of Lost Genomes by Svante Pääbo – review เก็บถาวร 1 ธันวาคม 2021 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  14. Pääbo, Svante (1986). How the E19 protein of adenoviruses modulates the immune system (วิทยานิพนธ์ PhD). Uppsala University. ISBN 9155419216. OCLC 16668494. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2022. สืบค้นเมื่อ 22 December 2016.
  15. Powledge, Tabitha M. (6 March 2014). "Sexy Science: Neanderthals, Svante Pääbo and the story of how sex shaped modern humans". Genetic Literary Project. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 November 2021. สืบค้นเมื่อ 3 August 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]