ข้ามไปเนื้อหา

สาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์

Луга́нская Наро́дная Респу́блика (รัสเซีย)
ธงชาติสหพันธรัฐโนโวรอสซียา#สาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์
ธงชาติ
ตราอาร์มของสหพันธรัฐโนโวรอสซียา#สาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์
ตราอาร์ม
คำขวัญ"ลูฮันสก์ แข็งแกร่งและเสรี"
(รัสเซีย: Луганск, сила и свобода)
ดินแดนที่สาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์อ้างสิทธิ์ (สีเขียวอ่อนและสีเขียวเข้ม) และครอบครอง (สีเขียวเข้ม)
ดินแดนที่สาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์อ้างสิทธิ์ (สีเขียวอ่อนและสีเขียวเข้ม) และครอบครอง (สีเขียวเข้ม)
สถานะหน่วยการเมืองคล้ายรัฐที่ได้รับการรับรองบางส่วน
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ลูฮันสก์
ภาษาราชการรัสเซีย[1]
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญ
เลโอนิด ปาเซชนิค[2]
• นายกรัฐมนตรี
เซียร์เกย์ คอซลอฟ
• ประธานสภาประชาชน
เดนิส มีรอชนีเชนโค (รักษาการ)[3]
สภานิติบัญญัติสภาประชาชน
เอกราชจากยูเครน
27 เมษายน พ.ศ. 2557
12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557[4]
• การลงนามในความตกลงมินสค์ 2
11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
พื้นที่
• รวม
8,377[5] ตารางกิโลเมตร (3,234 ตารางไมล์)
ประชากร
• ประมาณ
1,464,039[6]
สกุลเงินรูเบิลรัสเซีย (ใช้กันมากที่สุด); ฮรึวเนียยูเครน (ใช้กันน้อย); ยูโร, ดอลลาร์สหรัฐ (ถูกกฎหมายแต่ใช้กันน้อย)[7]
เขตเวลาUTC+3[8]

สาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ (รัสเซีย: Луга́нская Наро́дная Респу́блика, ЛНР; ยูเครน: Луга́нська наро́дна респу́бліка, ЛНР) เป็นหน่วยการเมืองคล้ายรัฐที่ประกาศตนเองเป็นเอกราชและถูกระบุว่าเป็นองค์การก่อการร้ายในประเทศยูเครน ตั้งอยู่ในแคว้นลูฮันสก์ในภูมิภาคดอนบัสซึ่งเป็นดินแดนหนึ่งที่ประชาคมระหว่างประเทศ (ยกเว้นรัสเซีย) รับรองว่าเป็นส่วนหนึ่งของยูเครน ลูฮันสก์ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของดินแดนทำหน้าที่เป็นเมืองหลวง ประชากรของสาธารณรัฐมีประมาณ 1.5 ล้านคน รัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ประกาศว่าหน่วยการเมืองนี้เป็นรัฐที่มีรัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตย[9] ประมุขแห่งรัฐคนปัจจุบันคือเลโอนิด ปาเซชนิค

สาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ประกาศเอกราชจากยูเครนพร้อมกับสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์หลังการปฏิวัติยูเครนใน พ.ศ. 2557 ความขัดแย้งโดยใช้อาวุธกับยูเครนเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังการประกาศเอกราช สาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์และสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์ได้รับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากรัสเซีย เนโทและยูเครนกล่าวว่ารัสเซียยังให้ความช่วยเหลือทางการทหารแก่กลุ่มกบฏอีกด้วย แต่รัสเซียปฏิเสธเรื่องนี้[10][11][12][13]

กฎหมายของยูเครนนิยามพื้นที่ของสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ว่าเป็น "ดินแดนที่ถูกยึดครองชั่วคราว" และรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ถูกบรรยายว่าเป็นหน่วยบริหารดินแดนยึดครองของสหพันธรัฐรัสเซีย[14][15] ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 มีการลงนามความตกลงมินสค์โดยตัวแทนจากองค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป ยูเครน และรัสเซีย (รวมทั้งผู้นำของสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์และสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์ โดยไม่มีการรับรองสถานะใด ๆ ของหน่วยการเมืองทั้งสอง)[16][17][18] เพื่อยุติความขัดแย้งและผนวกดินแดนที่ฝ่ายกบฏยึดครองกลับคืนสู่ยูเครนโดยแลกกับการเพิ่มอำนาจปกครองตนเองของพื้นที่ แต่ความตกลงนี้ไม่เคยได้รับการนำไปปฏิบัติอย่างสมบูรณ์[19]

สาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ยังไม่ได้รับการรับรองจากรัฐสมาชิกส่วนใหญ่ของสหประชาชาติ ส่วนรัสเซียได้รับรองเอกสารต่าง ๆ ที่ออกโดยรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ เช่น เอกสารระบุตัวตน ประกาศนียบัตร สูติบัตร ทะเบียนสมรส ป้ายทะเบียนรถยนต์ เป็นต้น มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560[20] และในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 วลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ประกาศว่าตนได้รับรองทั้งสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์และสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์เป็นรัฐเอกราช[21]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Парламент ЛНР признал русский язык единственным государственным в республике [LPR legislature adopted Russian language as the sole state language of the republic] (ภาษารัสเซีย). Interfax. 3 June 2020. สืบค้นเมื่อ 5 June 2020.
  2. Ukraine rebel region's security minister says he is new leader, Reuters (24 November 2017)
    Separatist Leader In Ukraine's Luhansk Resigns Amid Power Struggle, Radio Free Europe (24 November 2017)
  3. Lugansk People’s Republic head resigns, TASS news agency (24 November 2017)
  4. "Luhansk region declares independence at rally in Luhansk". KyivPost. 12 May 2014.
  5. Якушев А.А.; และคณะ, บ.ก. (21–22 เมษายน 2016). Экономика и общество:Проблемы и перспективы развития в условиях неопределённости [Economy and Society: Problems and Prospects of Development in Conditions of Uncertainty] (PDF). Сборник материалов XX межународной научно-практической конференции (ภาษารัสเซีย). Челябинский филиал Финуниверситета. ISBN 978-5-9907687-1-0. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 มีนาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2022.
  6. "Population count of the Lugansk People's Republic on April 1st, 2018" (PDF). Committee of statistic of Lugansk People's Republic. 1 April 2018. สืบค้นเมื่อ 26 May 2018.
  7. "The War republics in the Donbas one year after the outbreak of the conflict". 17 June 2015.
  8. "Russia Abandons Year-Round Summer Time". abcnews.go.com. 2 July 2014. สืบค้นเมื่อ 3 July 2014.
  9. "Конституция Луганской Народной Республики". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-07. สืบค้นเมื่อ 2022-02-21.
  10. Ukraine crisis: Russian troops crossed border, Nato says, BBC News (12 November 2014)
    Putin defends rebel leaders in eastern Ukraine, BBC News (19 December 2019)
    Ukraine conflict: Front-line troops begin pullout, BBC News (29 October 2019)
  11. "Database and Video Overview of the Russian Weaponry in the Donbas". InformNapalm.org (English) (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 17 September 2016. สืบค้นเมื่อ 20 December 2019.
  12. "Second Russian aid convoy arrives in Ukrainian city of Luhansk: agencies". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 13 September 2014. สืบค้นเมื่อ 20 December 2019.
  13. "Lugansk Media Centre — Russian humanitarian aid convoy arrives in Lugansk". en.lug-info.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-22. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  14. Law about occupied territories of Ukraine Mirror Weekly. 15 May 2014
  15. Higher educational institutions at the temporarily occupied territories of Ukraine will not work – the minister of education. News. 1 October 2014
  16. "Minsk Protocol" (PDF). OSCE. 1 September 2014.
  17. "Package of Measures for the Implementation of the Minsk Agreements" (Press release) (ภาษารัสเซีย). Organization for Security and Co-operation in Europe. 12 February 2015. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.
  18. "Minsk agreement on Ukraine crisis: text in full". The Daily Telegraph. 12 February 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2022. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.
  19. Explainer: What Is The Steinmeier Formula -- And Did Zelenskiy Just Capitulate To Moscow?, Radio Free Europe (2 October 2019)
    Ukraine conflict: Can peace plan in east finally bring peace?, BBC News (10 December 2020)
    Ukraine conflict: Guns fall silent but crisis remains, BBC News (23 October 2015)
  20. Putin orders Russia to recognize documents issued in rebel-held east Ukraine, Reuters (18 February 2017)
  21. "Putin to recognise breakaway Ukraine regions". BBC News. สืบค้นเมื่อ 21 February 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]