การทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ
ส่วนหนึ่งของ สงครามแปซิฟิก, สงครามโลกครั้งที่สอง
Two aerial photos of atomic bomb mushroom clouds, over two Japanese cities in 1945.
กลุ่มเมฆรูปดอกเห็ดของ "ลิตเติลบอย" และ "แฟตแมน"
ที่ทิ้งใส่เมืองฮิโรชิมะ(ซ้าย) และเหนือเมืองนางาซากิ (ขวา)
วันที่6 สิงหาคม และวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488
สถานที่
ผล ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะอย่างเด็ดขาด
คู่สงคราม
 สหรัฐ
โครงการแมนฮัตตัน:
 สหราชอาณาจักร
 แคนาดา
 ญี่ปุ่น
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหรัฐ William S. Parsons
สหรัฐ Paul W. Tibbets, Jr.
สหรัฐ Charles Sweeney
สหรัฐ Frederick Ashworth
จักรวรรดิญี่ปุ่น Shunroku Hata
หน่วยที่เกี่ยวข้อง
Manhattan District: 50 U.S., 2 British
509th Composite Group: 1,770 U.S.
Second General Army:
Hiroshima: 40,000 (5 Anti-aircraft batteries)
Nagasaki: 9,000 (4 Anti-aircraft batteries)
ความสูญเสีย
เชลยศึก ชาวบริติช, ชาวดัตช์,และ อเมริกัน 20 คน เสียชีวิต

ฮิโรชิมะ:

  • ทหาร 20,000+ คน เสียชีวิต
  • พลเรือน 70,000–146,000 คน เสียชีวิต

นางาซากิ:

  • 39,000–80,000 คน เสียชีวิต
รวม: 129,000–246,000+ คน เสียชีวิต

การทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ เป็นการโจมตีจักรวรรดิญี่ปุ่นด้วยอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปลายสงครามโลกครั้งที่สอง โดยคำสั่งของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แฮร์รี เอส. ทรูแมน เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม และวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 หลังจากการโจมตีทิ้งระเบิดเพลิงตามเมืองต่าง ๆ 67 เมืองของญี่ปุ่นอย่างหนักหน่วงเป็นเวลาติดต่อกันถึง 6 เดือน สหรัฐอเมริกาจึงได้ทิ้ง "ระเบิดปรมาณู" หรือที่เรียกในปัจจุบันว่าระเบิดนิวเคลียร์ที่มีชื่อเล่นเรียกว่า "เด็กน้อย" หรือ "ลิตเติลบอย" ใส่เมืองฮิโรชิมะในวันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 (ปีโชวะที่ 20) ตามด้วย "ชายอ้วน" หรือ "แฟตแมน" ลูกที่สองใส่เมืองนางาซากิโดยให้จุดระเบิดที่ระดับสูงเหนือเมืองเล็กน้อย นับเป็นระเบิดนิวเคลียร์เพียง 2 ลูกเท่านั้นที่นำมาใช้ในประวัติศาสตร์การทำสงคราม

การระเบิดทำให้มีผู้เสียชีวิตที่ฮิโรชิมะ 140,000 คนและที่นางาซากิ 80,000 คนโดยนับถึงปลายปี พ.ศ. 2488 จำนวนคนที่เสียชีวิตทันทีในวันที่ระเบิดลงมีจำนวนประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนที่กล่าวนี้ และในระยะต่อมาก็ยังมีผู้เสียชีวิตด้วยการบาดเจ็บหรือจากการรับกัมมันตรังสีที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากการระเบิดอีกนับหมื่นคน ผู้เสียชีวิตเกือบทั้งหมดในทั้ง 2 เมืองเป็นพลเรือน

หลังการทิ้งระเบิดลูกที่สองเป็นเวลา 6 วัน ญี่ปุ่นประกาศตกลงยอมแพ้สงครามต่อฝ่ายพันธมิตรเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2488 และลงนามในตราสารประกาศยอมแพ้สงครามมหาสมุทรแปซิฟิกที่นับเป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2488 (นาซีเยอรมนีลงนามตราสารประกาศยอมแพ้และยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรปอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2488) การทิ้งระเบิดทั้งสองลูกดังกล่าวมีส่วนทำให้ประเทศญี่ปุ่นต้องยอมรับหลักการ 3 ข้อว่าด้วยการห้ามมีอาวุธนิวเคลียร์


โครงการแมนฮัตตัน[แก้]

สหรัฐอเมริกา อังกฤษและแคนาดา ได้ร่วมมือกันตั้งโครงการลับ "ทูบอัลลอยด์" และ "สถานีวิจัยคลาค รีเวอร์" เพื่อออกแบบและพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ลูกแรก ภายใต้โครงการที่เรียกว่า "โครงการแมนฮัตทัน" ภายใต้การค้นคว้าวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ และนักฟิสิกส์อเมริกัน นาม เจ. โรเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ ระเบิดปรมาณูที่ใช้ถล่มเมืองฮิโรชิมะของญี่ปุ่น ที่ชื่อ "ลิตเติลบอย" นั้น ได้ใช้ ยูเรเนียม - 235, ลูกระเบิดลูกแรกถูกทดสอบที่ ทรีนิตี้, นิวเม็กซิโก ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2488 ส่วนระเบิดที่ชื่อ “แฟตแมน” ซึ่งใช่ถล่มนางาซากินั้นใช้ พลูโตเนียม - 239

การเลือกเป้าหมายทิ้งระเบิด[แก้]

แผนที่แสดงตำแหน่งเมืองฮิโรชิมะและนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่นที่ถูกทิ้งระเบิดปรมาณู

ในวันที่ 10 - 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ได้มีการคัดเลือกเป้าหมายที่ Los Alamos โดยด็อกเตอร์ เจ. โรเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์ นักฟิสิกส์ ใน "โครงการแมนฮัตทัน" ได้แนะนำ เป้าหมายสำหรับระเบิดลูกแรก คือ เมืองเกียวโต, ฮิโรชิมะ และ โยโกฮามา โดยใช้เงื่อนไขที่ว่า:

  • เป้าหมายต้องมีพื้นที่ขนาดใหญ่เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 ไมล์และเป็นเขตชุมชุนที่สำคัญขนาดใหญ่
  • ระเบิดต้องสามารถทำลายล้างและสร้างความเสียหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เป้าหมายมียุทโธปกรณ์และที่ตั้งของทหารต้องได้รับการระบุที่ตั้งแน่นอน เพื่อป้องกันหากการทิ้งระเบิดเกิดข้อผิดพลาด

ฮิบะกุชะ[แก้]

ผู้เสียชีวิตจากสารกัมมันตรังสี

ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ระเบิดในครั้งนั้น เรียกจุดที่ระเบิดถูกทิ้งลงใส่ฮิโรชิมะ ว่า "ฮิบะกุชะ" ในภาษาญี่ปุ่นหรือแปลเป็นภาษาไทยว่า "จุดระเบิดที่มีผลกระทบต่อชาวญี่ปุ่น" ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่นจึงมีนโยบายต่อต้านการใช้ระเบิดปรมาณู ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และประกาศเจตนาให้โลกรู้ว่า ญี่ปุ่นมีนโยบายจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์ ในวันที่ 31 เดือนมีนาคม 2551 "ฮิบะกุชะ" มีรายชื่อผู้เสียชีวิตจากทั้งสองเมืองของญี่ปุ่น ที่ถูกจารึกไว้ประมาณ 243,692 คน และในเดือนสิงหาคมของปีเดียวกัน มีรายชื่อผู้เสียชีวิตที่ถูกจารึกไว้เพิ่มขึ้นมากกว่า 400,000 คน โดยแบ่งออกเป็นเมืองฮิโรชิมะ 258,310 คน และเมืองนางาซากิ 145,984 คน

ผู้รอดชีวิตชาวเกาหลี[แก้]

ในระหว่างสงครามนั้น ญี่ปุ่นได้เกณฑ์แรงงานชาวเกาหลีไปใช้งานอย่างทาสในทั้งสองเมือง ทั้งฮิโรชิมะ และนางาซากิ ปัจจุบันคาดการณ์ว่ามีชาวเกาหลีที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ระเบิดนิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่น ที่เมืองฮิโรชิมะ ประมาณ 20,000 คน และอีกประมาณ 2,000 คน เสียชีวิตที่เมืองนางาซากิ ซึ่งประชากรเกาหลีที่เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้มากถึง 1 ใน 7 ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ชาวเกาหลีพยายามต่อสู้เพื่อรับการดูแลรักษาผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ อย่างไรก็ตาม ทุกคนได้รับการเยียวยาภายใต้กฎหมายในปัจจุบัน

หนังสือและเอกสารอ่านเพิ่มเติม[แก้]

เอกสารเกี่ยวกับการทิ้งระเบิดปรมาณูมีมากมาย ทั้งที่เกี่ยวกับการตัดสินใจทิ้งระเบิด การตัดสินใจใช้ระเบิด การยอมจำนนของญี่ปุ่น รายการข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างผลงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเหล่านี้

  • Hein, Laura and Selden, Mark (Editors) (1997). Living with the Bomb: American and Japanese Cultural Conflicts in the Nuclear Age. M. E. Sharpe. ISBN 1-56324-967-9.
  • Sherwin, Martin J. (2003). A World Destroyed: Hiroshima and its Legacies. Stanford University Press. ISBN 0-8047-3957-9.
  • Sodei, Rinjiro (1998). Were We the Enemy? American Survivors of Hiroshima. Westview Press. ISBN 0-8133-3750-X.
  • Ogura, Toyofumi (1948). Letters from the End of the World: A Firsthand Account of the Bombing of Hiroshima. Kodansha International Ltd.. ISBN 4-7700-2776-1.
  • Sekimori, Gaynor (1986). Hibakusha: Survivors of Hiroshima and Nagasaki. Kosei Publishing Company. ISBN 4-333-01204-X.
  • The Committee for the Compilation of Materials on Damage Caused by the Atomic Bombs in Hiroshima and Nagasaki (1981). Hiroshima and Nagasaki: * The Physical, Medical, and Social Effects of the Atomic Bombings. Basic Books. ISBN 0-465-02985-X.
  • Hogan, Michael J. (1996). Hiroshima in History and Memory. Cambridge University Press. ISBN 0-521-56206-6.
  • Knebel, Fletcher and Bailey, Charles W. (1960). No High Ground. Harper and Row. ISBN 0-313-24221-6. A history of the bombings, and the decision-making to use them.
  • Sweeney, Charles, et al (1999). War's End: An Eyewitness Account of America's Last Atomic Mission. Quill Publishing. ISBN 0-380-78874-8.
  • R hodes, Richard (1977). Enola Gay: The Bombing of Hiroshima. Konecky & Konecky. ISBN 1-56852-597-4.
  • Richard H. Campbell (2005). "Chapter 2: Development and Production", The Silverplate Bombers: A History and Registry of the Enola Gay and Other B-29s Configured to Carry Atomic Bombs. McFarland & Company, Inc.. ISBN 0-7864-2139-8.
  • Goldstein, Donald M; Dillon, Katherine V. & Wenger, J. Michael Rain of Ruin: A Photographic History of Hiroshima and Nagasaki (1995, Brasseys,
  • Washington & London) ISBN 1-57488-033-0

Murakami, Chikayasu (2007). Hiroshima no shiroi sora ~The white sky in Hiroshima~. Bungeisha. ISBN 4-286-03708-8.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • "The Effects of the Atomic Bombings of Hiroshima and Nagasaki". U.S. Strategic Bombing Survey (1946).
  • "Scientific Data of the Nagasaki Atomic Bomb Disaster". Atomic Bomb Disease Institute, Nagasaki University.. Retrieved on April 28, 2007.
  • "Correspondence Regarding Decision to Drop the Bomb". NuclearFiles.org.
  • "The Decision To Use The Atomic Bomb; Gar Alperovitz And The H-Net Debate".
  • Dietrich, Bill (1995). "Pro and Con on Dropping the Bomb". The Seattle Times.
  • "Tale of Two Cities: The Story of Hiroshima and Nagasaki". Retrieved on 2007-07-09.
  • "Documents on the Decision to Drop the Atomic Bomb". The Harry S. Truman Library.
  • "The Atomic Bombings of Hiroshima and Nagasaki". Manhattan Project, U.S. Army (1946).
  • Burr, William (Editor) (2005). "The Atomic Bomb and the End of World War II: A Collection of Primary Sources". National Security Archive.
  • Hiroshima Peace Memorial Museum, official homepage.
  • Nagasaki Atomic Bomb Museum, official homepage.
  • The Atomic Bomb and the End of World War II, A Collection of Primary Sources, National Security Archive Electronic Briefing Book No. 162.
  • Above and Beyond a 1952 MGM feature film with the love story behind the billion dollar secret, about Paul & Lucey Tibbets
  • Enola Gay: The Men, the Mission, the Atomic Bomb a 1980 film for TV
  • Tale of Two Cities, 1946 Documentary (videostream)