ข้ามไปเนื้อหา

จังหวัดสกลนคร

พิกัด: 17°10′N 104°09′E / 17.17°N 104.15°E / 17.17; 104.15
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดสกลนคร
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Sakon Nakhon
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
คำขวัญ: 
พระธาตุเชิงชุมคู่บ้าน พระตำหนักภูพานคู่เมือง งามลือเลื่องหนองหาร แลตระการปราสาทผึ้ง สวยสุดซึ้งสาวภูไท ถิ่นมั่นในพุทธธรรม
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสกลนครเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสกลนครเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสกลนครเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ ชูศักดิ์ รู้ยิ่ง[1]
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2567)
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด9,605.764 ตร.กม. (3,708.806 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 19
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)[3]
 • ทั้งหมด1,142,657 คน
 • อันดับอันดับที่ 17
 • ความหนาแน่น118.95 คน/ตร.กม. (308.1 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 43
รหัส ISO 3166TH-47
ชื่อไทยอื่น ๆเมืองหนองหานหลวง, บ้านธาตุเชียงชุม (เชิงชุม), เชียงใหม่หนองหาน สกลทวาปี
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้อินทนิล
 • ดอกไม้อินทนิล
 • สัตว์น้ำปลากา
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งภายในศูนย์ราชการจังหวัดสกลนคร ถนนศูนย์ราชการ ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร 47000
 • โทรศัพท์0 4271 4959
 • โทรสาร0 4271 1763
เว็บไซต์http://www.sakonnakhon.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

สกลนคร เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนตั้งอยู่ในแอ่งสกลนคร และเป็นศูนย์ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์สืบเนื่องจวบจนปัจจุบัน ทั้งนี้จังหวัดสกลนครยังเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีความสำคัญและหลากหลายในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะทางด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ สังคม การเมือง ศาสนา และวัฒนธรรมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น[4]และเป็นจังหวัดศูนย์กลางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และศูนย์กลางทางการศึกษา อันเป็นสถานที่ตั้งของสถานศึกษาขนาดใหญ่ใน กลุ่มจังหวัดสนุก (สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร)[5]

ชื่อจังหวัด

[แก้]

คำว่า "สกลนคร" มาจากคำภาษาบาลี และสันสกฤต สกล [สะ-กะ-ละ] หมายความว่า โดยรวม ครอบคลุม หรือทั้งหมด และคำว่า "นคร" [นะ-คะ-ระ] หมายถึงแหล่งที่อยู่หรือเมือง ดังนั้นชื่อที่แท้จริงของเมืองหมายความว่า "นครแห่งนครทั้งมวล"

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

[แก้]

ประวัติ

[แก้]
ประตูเมืองสกลนคร

สกลนคร เป็นแหล่งธรรมะ(ดินแดนแห่งธรรม) มีปูชนียสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาหลายแห่ง เช่น พระธาตุเชิงชุม พระธาตุดูม พระธาตุนารายณ์เจงเวง พระธาตุศรีมงคล พระธาตุภูเพ็ก และมีพระเกจิอาจารย์ดังที่เป็นที่รู้จักของคนทั้งประเทศ อาทิ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต, พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่หลุย จันทสาโร, พระอาจารย์วัน อุตตโม และหลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี เป็นต้น

จังหวัดสกลนครตั้งอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีประวัติศาสตร์มายาวนาน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีการขุดพบฟอสซิลไดโนเสาร์บริเวณแนวทิวเขาภูพาน อำเภอวาริชภูมิ ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ ชุมชนโบราณในพื้นที่จังหวัดสกลนครอยู่ร่วมสมัยเดียวกับอารยธรรมบ้านเชียงในจังหวัดอุดรธานี จากการสำรวจแหล่งชุมชนโบราณในพื้นที่แอ่งสกลนคร บริเวณลุ่มแม่น้ำสงครามครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของอำเภอบ้านดุง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี อำเภอสว่างแดนดิน อำเภอวาริชภูมิ อำเภอพังโคน อำเภอวานรนิวาส อำเภอพรรณานิคม และรอบ ๆ หนองหาน อำเภอเมืองสกลนคร พบแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์จำนวน 83 แห่ง ชุมชนโบราณของแอ่งสกลนครนี้มีอายุประมาณ 600 ปีก่อนพุทธกาลจนถึงพุทธศตวรรษที่ 8 (ระหว่าง 3,000-1,800 ปีมาแล้ว) จากหลักฐานการค้นพบต่าง ๆ ของที่นี่พบว่า ชุมชนโบราณในแอ่งสกลนครได้มีการรวมตัวกันเป็นสังคมขนาดใหญ่และอาจจะพัฒนาเป็นสังคมเมืองในสมัยต่อมา

สกลนครเดิมชื่อ เมืองหนองหานหลวง แห่งอาณาจักรขอมโบราณ โดยขุนขอมราชบุตรเจ้าเมืองอินทปัฐนคร ซึ่งได้อพยพครอบครัวและบ่าวไพร่มาจากเมืองเขมร มาสร้างเมืองใหม่ที่ริมหนองหานหลวง บริเวณท่านางอาบ ปัจจุบันเรียกว่าท่าศาลา อำเภอโคกศรีสุพรรณ มีเจ้าปกครองเรื่อยมาจนสิ้นสมัยพระเจ้าสุวรรณภิงคาระ เมื่อเกิดฝนแล้งทำให้ราษฎรอพยพไปเมืองเขมร เมืองหนองหานหลวงจึงร้างอยู่ระยะหนึ่ง ครั้นถึงพุทธศตวรรษที่ 19 เมื่อสกลนครอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรล้านช้าง จึงได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น "เชียงใหม่หนองหาน" หรือเมืองสระหลวงหลังจากนั้นเมืองสกลนคร คงอยู่ใต้การปกครองกันไปมา ระหว่างอาณาจักรล้านช้างกับอาณาจักรสุโขทัย จนมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้คนกระจัดกระจายเป็นชุมชนเล็กๆทำมาหากินตามริมหนองหาน จ่ายส่วย อากรให้เจ้าแขวงประเทศราชศรีโคตรบอง เพื่อถวายต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองให้แก่ราชธานีกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น

จนมาถึงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ พร้อมด้วยครอบครัวมาตั้งบ้านเมืองดูแลรักษาองค์พระธาตุเชิงชุม จนมีผู้คนมากขึ้นแล้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านธาตุเชียงชุม (เชิงชุม) เป็น เมืองสกลนคร โดยแต่งตั้งให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์เป็นพระธานี เจ้าเมืองสกลนครคนแรก ต่อมาปี พ.ศ. 2369 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ เจ้าเมืองสกลทวาปีพระธานีไม่ได้เตรียมกำลังป้องกันเมืองตามคำสั่งสยาม เจ้าเมืองสกลทวาปี จึงให้กองทัพเจ้าอนุวงศ์ผ่านไปตีหัวเมืองต่างๆ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพมาตรวจราชการเห็นว่าเจ้าเมืองกรมการไม่เอาใจใส่ต่อบ้านเมือง ปล่อยให้ข้าศึก (ทัพเจ้าอนุวงศ์) ล่วงล้ำไปเมืองนครราชสีมาได้โดยง่าย จึงสั่งให้นำตัวพระธานี ไปประหารชีวิตที่หนองทรายขาว พร้อมกับกวาดต้อนผู้คนในเมืองสกลนครไปอยู่ที่เมืองกบินทร์บุรีบ้าง เมืองประจันตคามบ้าง ให้คงเหลือรักษาองค์พระธาตุเชิงชุมแต่เพียงพวกเพี้ยศรีคอนชุม ตำบลธาตุเชียงชุม (เชิงชุม) บ้านหนองเหียน บ้านจานเพ็ญ บ้านอ่อมแก้ว บ้านธาตุเจงเวง บ้านพราน บ้านนาคี บ้านวังยาง และบ้านพรรณา รวม 10 ตำบล เพื่อให้เป็นข้าปฏิบัติพระธาตุเชิงชุมเท่านั้น

ในสมัยต่อ ๆ มาได้มีราชวงศ์คำแห่งเมืองมหาไชยกองแก้วทางฝั่งซ้าย แม่น้ำโขง ซึ่งเป็นเชื้อสายเจ้าเมืองนครพนม ได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ขอสร้างบ้าน แปงเมืองขึ้นใหม่ที่เมืองสกลนคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ราชวงศ์คำเป็นพระยาประเทศธานี (คำ) ในตำแหน่งเจ้าเมืองสกลนคร จนถึง พ.ศ. 2435 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การปกครองเมืองสกลนคร จึงเปลี่ยนเป็นรูปแบบการปกครองส่วนภูมิภาคมณฑลเทศาภิบาล โดยส่วนกลางส่งพระยาสุริยเดช (กาจ) มาเป็นข้าหลวงเมืองสกลนครคนแรก และมีพระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ พรหมสาขา ณ สกลนคร) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดคนแรก

จังหวัดสกลนคร อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 647 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 9,605 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ คือ อำเภอเมืองสกลนคร อำเภอกุสุมาลย์ อำเภอกุดบาก อำเภอ พรรณานิคม อำเภอวาริชภูมิ อำเภอส่องดาว อำเภอสว่างแดนดิน อำเภอวานรนิวาส อำเภออากาศอำนวย อำเภอบ้านม่วง อำเภอพังโคน อำเภอคำตากล้า อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอเต่างอย อำเภอโคกศรีสุพรรณ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอโพนนาแก้ว และอำเภอภูพาน ปัจจุบันเป็นจังหวัดท่องเที่ยวที่สำคัญในแถบภาคอิสาน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงภูมิศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมภูไท อิสานล้านช้างและภูมิประเทศที่สวยงาม

ภูมิศาสตร์

[แก้]

อาณาเขตติดต่อ

[แก้]

สกลนครมีอาณาเขตติดกับจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้

ภูมิประเทศ

[แก้]
ทะเลสาบหนองหาน

ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ยประมาณ 172 เมตร ด้านทิศเหนือของจังหวัด (บริเวณอำเภอบ้านม่วง อำเภอคำตากล้า อำเภอสว่างแดนดิน อำเภออากาศอำนวย และอำเภอเจริญศิลป์) มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มลอนคลื่นไม่สม่ำเสมอกัน ใช้น้ำจากลำห้วยสาขาในการทำนา ทิศเหนือของอำเภออากาศอำนวยเป็นที่ราบน้ำท่วมถึง เนื่องจากติดกับแม่น้ำสงคราม ทำให้เหมาะแก่การทำนากว่าพื้นที่โดยรอบ แต่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าทาม ที่ขึ้นริมน้ำและปล่อยรกร้างว่างเปล่า ส่วนทางตอนใต้มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะขนาดใหญ่ เรียกว่าแอ่งสกลนคร จุดต่ำสุดของแอ่งคือ ทะเลสาบหนองหาน อำเภอเมืองสกลนคร และหนองญาติ อำเภอเมืองนครพนม นอกจากนี้ยังมีทิวเขาภูพานทางด้านทิศตะวันตกและทิศใต้บริเวณอำเภอภูพานและอำเภอกุดบาก มีลักษณะภูมิประเทศแบบภูเขาสูงสลับกับที่ราบลูกคลื่นที่อยู่ช่วงกลางระหว่างทิวเขาภูพานในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดสกลนคร

ภูมิอากาศ

[แก้]

ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่ราบสูง มีทิวเขาล้อมรอบทั้งด้านทิศตะวันตกและด้านใต้ ได้แก่ ทิวเขาเพชรบูรณ์ และทิวเขาดงพญาเย็นอยู่ทางตะวันตก ทิวเขาสันกำแพงและทิวเขาพนมดงรักอยู่ทางด้านใต้ ทำให้ฝนที่เกิดจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีน้อย ส่วนมากเป็นฝนที่เกิดจากร่องความกดอากาศต่ำพายุดีเปรสชันจากอ่าวตังเกี๋ยและทะเลจีนใต้ที่เคลื่อนผ่านเข้ามาระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน ค่าปานกลางของปริมาณน้ำฝนจังหวัดสกลนครประมาณปีละ 1,578 มิลลิเมตร สกลนครมีลักษณะอากาศหนาวอย่างชัดเจนกระแสลมที่เย็นและแห้ง หย่อมความกดอากาศสูงที่แผ่ปกคลุมมาจากประเทศจีน ส่งผลกระทบต่อดินฟ้าอากาศในจังหวัดสกลนครมาก เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศเป็นแอ่งกระทะ และมีฉากรับลมเป็นทิวเขาภูพาน ประกอบกับเมื่อมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีนที่พัดเข้ามา เมื่อพัดผ่านหนองหานน้ำจะเป็นตัวลดอุณหภูมิลง จึงทำให้สกลนครมีอากาศที่หนาวเย็นกว่าพื้นที่อื่น จังหวัดสกลนครเคยมีอุณหภูมิต่ำสุดจนถึง -1.4 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2517 ที่สถานีอากาศเกษตร อำเภอเมืองสกลนคร และวัดได้ 2.5 เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2542 สถานีตรวจอากาศเกษตรสกลนคร ซึ่งเป็นสถิติอุณหภูมิพื้นราบที่ต่ำสุดของประเทศไทยในขณะนี้ [6]

หน่วยการปกครอง

[แก้]
แผนที่อำเภอในจังหวัดสกลนคร

การปกครองแบ่งออกเป็น 18 อำเภอ 125 ตำบล 1323 หมู่บ้าน

เลข ชื่ออำเภอ จำนวนตำบล พื้นที่
(ตร.กม.)
1 อำเภอเมืองสกลนคร 16 1,496.318
2 อำเภอกุสุมาลย์ 5 412.213
3 อำเภอกุดบาก 3 413.122
4 อำเภอพรรณานิคม 10 673.795
5 อำเภอพังโคน 5 229.711
6 อำเภอวาริชภูมิ 5 423.301
7 อำเภอนิคมน้ำอูน 4 147.054
8 อำเภอวานรนิวาส 14 908.867
9 อำเภอคำตากล้า 4 726.368
10 อำเภอบ้านม่วง 9 771.765
11 อำเภออากาศอำนวย 8 531.155
12 อำเภอสว่างแดนดิน 15 867.603
13 อำเภอส่องดาว 4 288.503
14 อำเภอเต่างอย 4 297.811
15 อำเภอโคกศรีสุพรรณ 4 223.357
16 อำเภอเจริญศิลป์ 5 358.668
17 อำเภอโพนนาแก้ว 5 319.602
18 อำเภอภูพาน 4 507.551
รวม 125 9,605.764

รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัด

[แก้]
รายนามผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร
ลำดับ ชื่อ ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง
1 พระยาประจันตประเทศธานี -
2 พระพิษัยสิทธิกรรม -
3 พระเลิศแหล่งหล่ม 1 เมษายน 2451 ถึง 31 มีนาคม 2454
4 พระยาสกลกิจวิจารย์ 1 เมษายน 2454 ถึง 26 กันยายน 2471
5 พระอนุบาลสกลเขต 8 กันยายน 2471 ถึง 31 มีนาคม 2473
6 พันโท พระณรงค์ฤทธิ์ 1 เมษายน 2474 ถึง 26 กันยายน 2474
7 พระตราษบุรีศรีสมุทรเขต 1 มีนาคม 2474 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2476
8 หลวงบริบาลนิคมเขต 14 มีนาคม 2476 ถึง 31 มีนาคม 2478
9 พันตำรวจโท หลวงไกลกลางณรงค์ 1 เมษายน 2478 ถึง 11 พฤษภาคม 2480
10 หลวงเกษม ประศาสน์ 12 พฤษภาคม 2480 ถึง 1 สิงหาคม 2481
11 พระบรรณศาสน์สาธร 2 สิงหาคม 2481 ถึง 31 มีนาคม 2482
12 นายสุข ฉายาชวลิต 1 เมษายน 2482 ถึง 30 เมษายน 2484
13 ขุนศุภกิจวิเลขการ 1 พฤษภาคม 2484 ถึง 31 พฤษภาคม 2487
14 นายเติม ศิลปี 1 มกราคม 2488 ถึง 30 กันยายน 2489
15 พันตำรวจโท หลวงนเรนทร เสนี 1 พฤษภาคม 2489 ถึง 30 ตุลาคม 2490
16 นายชู สุคนธมัติ 24 พฤษภาคม 2490 ถึง 15 ธันวาคม 2490
17 นายเพชร บูรณะวรศิริ 23 ธันวาคม 2490 ถึง 2 กันยายน 2493
18 พันตำรวจเอก เสนาะศักดิ์ คิวสกุล 4 กันยายน 2493 ถึง 13 ตุลาคม 2495
19 พันตำรวจเอก เนื่อง รายะนาค 4 พฤศจิกายน 2495 ถึง 22 พฤษภาคม 2500
20 พันตำรวจเอก นิรันดร ชัยนาม 23 พฤษภาคม 2500 ถึง 8 มกราคม 2503
21 นายเที่ยง เฉลิมช่วง 9 มกราคม 2503 ถึง 2 มกราคม 2505
22 นายสุพัฒน์ วงษ์วัฒนะ 3 มกราคม 2505 ถึง 1 พฤษภาคม 2506
23 นายโบแดง จันตะเสน 6 ธันวาคม 2506 ถึง 30 พฤศจิกายน 2511
24 นายจรูญ โลกะกะลิน 24 ตุลาคม 2511 ถึง 30 กันยายน 2514
25 นายสอน สุทธิสาร 4 ตุลาคม 2514 ถึง 30 กันยายน 2518
26 นายพิบูลย์ ธุรภาคพิบูล 1 ตุลาคม 2518 ถึง 1 ตุลาคม 2519
27 นายสมพร กลิ่นพงษา 1 ตุลาคม 2519 ถึง 30 กันยายน 2520
28 นายวิเชียร วิมลศาสตร์ 1 ตุลาคม 2520 ถึง 30 กันยายน 2521
29 นายสายสิทธิ พรแก้ว 1 ตุลาคม 2521 ถึง 30 กันยายน 2524
30 นายปรีชา พงศ์อิศวรานันท์ 1 ตุลาคม 2524 ถึง 30 กันยายน 2527
31 นายพีระ บุญจริง 1 ตุลาคม 2527 ถึง 30 กันยายน 2531
32 นายถนอม ชาญนุวงศ์ 1 ตุลาคม 2531 ถึง 30 กันยายน 2534
33 นายสุพร สุภสร 1 ตุลาคม 2534 ถึง 30 กันยายน 2535
34 นายอำนวย ยอดเพชร 1 ตุลาคม 2535 ถึง 30 กันยายน 2536
35 เรือตรีสุนัย ณ อุบล 1 ตุลาคม 2536 ถึง 30 กันยายน 2538
36 นายเกียรติพันธ์ น้อยมณี 1 ตุลาคม 2538 ถึง 30 กันยายน 2539
37 นายโยธิน เมธชนัน 1 ตุลาคม 2539 ถึง 19 ตุลาคม 2540
38 นายรุ่งฤทธิ์ มกรพงศ์ 16 ตุลาคม 2540 ถึง 31พฤษภาคม 2543
39 นายชัยสิทธิ์ โหตระกิตย์ 1 มิถุนายน 2543 ถึง 30 กันยายน 2544
40 นายทวีป เทวิน 1 ตุลาคม 2544 ถึง 27 ตุลาคม 2545
41 นายพีรพล ไตรทศาวิทย์ 28 ตุลาคม 2545 ถึง 4 มิถุนายน 2546
42 นายปานชัย บวรรัตนปราณ 5 มิถุนายน 2546 ถึง 30 กันยายน 2548
43 นายปรีชา กมลบุตร 1 ตุลาคม 2548 ถึง 30 กันยายน 2550
44 นายไพรัตน์ สกลพันธ์ 1 ตุลาคม 2550 ถึง 5 พฤษภาคม 2551
45 นายสุวัฒน์ ตันประวัติ 6 พฤษภาคม 2551 ถึง 19 ตุลาคม 2551
46 นายวิทยา ผิวผ่อง 20 ตุลาคม 2551 ถึง 15 มีนาคม 2552
47 นายสมบัติ ตรีวัฒน์สุวรรณ 16 มีนาคม 2552 ถึง 13 กันยายน 2553
48 นายอำนาจ ผการัตน์ 1 ตุลาคม 2553 ถึง 30 กันยายน 2554
49 นายจรินทร์ จักกะพาก 28 พฤศจิกายน 2554 ถึง 7 ตุลาคม 2555
50 นายบุญส่ง เตชะมณีสถิตย์ 8 ตุลาคม 2555 ถึง 30 กันยายน 2558
51 นายอดิศักดิ์ เทพอาสน์ 1 ตุลาคม 2558 ถึง 30 กันยายน 2559
52 นายวิทยา จันทร์ฉลอง 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2562
53 นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2564
54 นางจุรีรัตน์ เทพอาสน์ 1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2566
55 นายณัฐวัสส์ วิริยานภาภรณ์ 17 ธันวาคม 2566 ถึง 3 มิถุนายน 2567
56 นายชูศักดิ์ รู้ยิ่ง 4 มิถุนายน 2567 ถึง ปัจจุบัน

สถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อน

[แก้]

แหล่งท่องเที่ยว

[แก้]
องค์พระธาตุเชิงชุม

อุทยานแห่งชาติ/วนอุทยาน

[แก้]

สกลนครเป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรธรรมชาติทั้งภูเขาและป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ เป็น1ใน5จังหวัด(5จังหวัดที่ประกาศเป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ;จังหวัดนครราชสีมา-แม่น้ำมูล-ลำตะคอง-ลำมูลบน,จังหวัดชัยภูมิ-แม่น้ำชี-ลำน้ำพรหม-ลำน้ำเชิญ,จังหวัดเลย-แม่น้ำเลย-ลำน้ำพอง-แม่น้ำเหือง,จังหวัดอุดรธานี-แม่น้ำสงคราม-แม่น้ำปาว-ลำน้ำห้วยหลวงและจังหวัดสกลนคร-แม่น้ำสงคราม-ลำน้ำก่ำ-ลำน้ำพุง)ที่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอุทยาน/วนอุทยานที่สำคัญดังนี้

  1. อุทยานแห่งชาติภูพาน ที่ทำการอุทยานฯตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยยาง อำเภอเมืองสกลนคร(สกลนคร-กาฬสินธุ์)
  2. อุทยานแห่งชาติภูผายล/ห้วยหวด ที่ทำการอุทยานฯตั้งอยู่ที่บ้านห้วยหวด ตำบลจันทร์เพ็ญ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร (สกลนคร-นครพนม-มุกดาหาร)
  3. อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก ที่ทำการอุทยานฯตั้งอยู่ที่บ้านท่าวัด ตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร (สกลนคร-อุดรธานี-กาฬสินธุ์)
  4. วนอุทยานภูผาแด่น ที่ทำการวนอุทยานฯตั้งอยู่ที่บ้านหนองไผ่ ตำบลดงมะไฟ อำเภอเมืองสกลนคร

เทศกาลและประเพณีประจำปี

[แก้]
ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง

การคมนาคม

[แก้]

การคมนาคมทางบก

[แก้]
  • สถานีขนส่งผู้โดยสารเทศบาลนครสกลนคร
  • สถานีขนส่งผู้โดยสาร แห่งที่ 2 เทศบาลนครสกลนคร
  • สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอสว่างแดนดิน (ยกเลิกให้บริการ)
ป้ายชื่อถนนในจังหวัดสกลนคร

รถยนต์ จากกรุงเทพมหานคร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงจังหวัดสระบุรี จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมา แล้วเลี้ยวแยกเข้าทางไปในเขตอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ไปจนถึงบ้านท่าพระ แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 23 ผ่านจังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดกาฬสินธุ์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 213 เพื่อเข้าสู่จังหวัดสกลนคร

รถไฟ สามารถเดินทางโดย การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งมีบริการรถไฟออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปลงที่จังหวัดอุดรธานี แล้วเดินทางต่อไปโดยรถประจำทางไปจังหวัดสกลนครอีกประมาณ 159 กิโลเมตร (ดูข้อมูลที่ "รถโดยสารประจำทาง เส้นทางระหว่างจังหวัด")

รถโดยสารประจำทาง เส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ มีรถโดยสารปรับอากาศชั้น 1 และชั้น 2 สาย 26 (กรุงเทพฯ - นครพนม แต่รถผ่านจังหวัดสกลนคร ใช้เส้นทาง สระบุรี นครราชสีมา อ.เมืองพล อ.บ้านไผ่ มหาสารคาม อ.กันทรวิชัย กาฬสินธุ์ อ.สมเด็จ บ้านคำเพิ่ม (อ.ภูพาน) สกลนคร บ้านท่าแร่ อ.กุสุมาลย์) , สาย 27 (กรุงเทพฯ - สกลนคร หรือ กรุงเทพฯ - สกลนคร - เรณูนคร) ใช้เส้นทางร่วมกับสาย 26 จนถึงสกลนคร แล้วแยกไป บ้านโพนยางคำ อ.โคกศรีสุพรรณ อ.นาแก อ.ธาตุพนม อ.เรณูนคร , สาย 930 (กรุงเทพฯ - นครพนม แต่รถผ่านจังหวัดสกลนคร ใช้เส้นทาง สระบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี หนองหาน สว่างแดนดิน พังโคน พรรณานิคม บ้านดงมะไฟ สกลนคร บ้านท่าแร่ กุสุมาลย์) วิ่งให้บริการจาก สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) หรือ หมอชิต 2 มายังจังหวัดสกลนคร รถจะจอดที่สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสกลนคร แห่งที่ 2 (บขส.ใหม่) โดยมีบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ให้บริการรถประจำทางปรับอากาศ มาตรฐาน ม.2 (รถชั้นเดียว) , ม.4ค (รถสองชั้น) , ม.1ข , ม.1ก (รถชั้นเดียว 15 เมตร) , ม.4ข , ม.4ก (รถสองชั้น 12 เมตร) สาย 26 , 27 และบริษัทเดินรถเอกชน ที่ได้รับสัมปทานการเดินรถจาก บขส. ให้เปิดบริการเดินรถโดยสารสาย 26 , 27 และ 930 จำนวน 3 ราย ได้แก่

• บริษัท นครชัยแอร์ จำกัด ให้บริการรถประจำทางปรับอากาศ สาย 26 และ 27 ทั้งแบบหมดระยะที่สกลนคร และหมดระยะที่ธาตุพนม/เรณูนคร (เป็นรถผ่าน) ใช้รถมาตรฐาน ม.1พ (Gold+ Class) และ ม.1ก (First Class รถผ่านของสาย 26) เป็นรถชั้นเดียว 12 เมตร

• บริษัท เชิดชัยมอเตอร์เซลล์ จำกัด (เชิดชัยทัวร์) ให้บริการรถประจำทางปรับอากาศ สาย 930 ใช้รถมาตรฐาน ม.4ข (รถสองชั้น 12 เมตร)

• บริษัท เจเจอาร์ แทรเวล จำกัด (โลตัสพิบูลทัวร์) ให้บริการรถประจำทางปรับอากาศ สาย 930 ใช้รถมาตรฐาน ม.1ข (รถชั้นเดียว 12 เมตร) และ ม.4กพ (รถสองชั้น 12 เมตร มาตรฐานผสม ชั้นบน พ. ชั้นล่าง ก.)

รถโดยสารประจำทาง เส้นทางระหว่างจังหวัด

• บริษัท อุดร-สกลเดินรถ จำกัด สาย 230 สกลนคร - อุดรธานี (ผ่าน บ้านดงมะไฟ อ.พรรณานิคม อ.พังโคน อ.สว่างแดนดิน อ.หนองหาน อุดรธานี) ใช้รถมาตรฐาน ม.3 (รถพัดลม 12 เมตร) และ ม.2 (รถปรับอากาศชั้นเดียว 12 เมตร)

• บริษัท สหอุดรเดินรถ 1974 จำกัด สาย 231 อุดรธานี - สกลนคร - นครพนม (ผ่าน อ.หนองหาน อ.สว่างแดนดิน อ.พังโคน อ.พรรณานิคม บ้านดงมะไฟ สกลนคร บ้านท่าแร่ อ.กุสุมาลย์ นครพนม) ใช้รถมาตรฐาน ม.2 และ ม.1ข (รถชั้นเดียว 12 เมตร)

• บริษัท แสงประทีปเดินรถ จำกัด สาย 237 สกลนคร - กาฬสินธุ์ (รถตู้) และสาย 238 สกลนคร - กาฬสินธุ์ - มหาสารคาม (รถมินิบัส)

• บริษัท สหมิตรอุบล จำกัด สาย 235 อุบลราชธานี - สกลนคร - อุดรธานี ใช้รถปรับอากาศมาตรฐาน ม.2 , ม.1ข (รถชั้นเดียว 12 เมตร) ใช้เส้นทาง ม่วงสามสิบ ลืออำนาจ อำนาจเจริญ เลิงนกทา มุกดาหาร ธาตุพนม นาแก โคกศรีสุพรรณ สกลนคร พรรณานิคม พังโคน สว่างแดนดิน หนองหาน),(เฉพาะรถ ม.2 เข้านาแก เรณูนคร ธาตุพนม) , สาย 241 อุบลราชธานี-สกลนคร,มุกดาหาร-สกลนคร (รถตู้,มินิบัส) , สาย 235 มุกดาหาร-อุดรธานี (รถตู้)

• สาย 287 สกลนคร - อ.บ้านแพง (จ.นครพนม) ใช้รถมาตรฐาน ม.3 (รถพัดลม)

• สาย 559 สกลนคร - อ.บ้านม่วง - อ.โซ่พิสัย ใช้รถมาตรฐาน ม.3 (รถพัดลม 12 เมตร) และ ม.2 (รถปรับอากาศชั้นเดียว 12 เมตร)

• บริษัท เชิงชุมเดินรถ จำกัด (ชัยวัฒน์เซอร์วิส) สาย 586 ขอนแก่น - นครพนม ใช้เส้นทาง เชียงยืน กาฬสินธุ์ สมเด็จ บ้านคำเพิ่ม(อ.ภูพาน) สกลนคร บ้านท่าแร่ กุสุมาลย์ ใช้รถมาตรฐาน ม.1ข (รถชั้นเดียว 12 เมตร)

• บริษัท เทพสมบัติ จำกัด (สมบัติทัวร์) สาย 661 นครพนม - เชียงราย ใช้เส้นทาง กุสุมาลย์ สกลนคร พรรณานิคม พังโคน สว่างแดนดิน หนองหาน อุดรธานี หนองบัวลำภู นากลาง วังสะพุง เลย ด่านซ้าย นครไทย วังทอง พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เด่นชัย แพร่ พาน พะเยา ใช้รถมาตรฐาน ม.1ข และ ม.1พ (รถชั้นเดียว 12 เมตร)

• บริษัท ขอนแก่นชาญเทรดดิ้ง จำกัด (ชาญทัวร์) และ บริษัท ชาญประเสริฐทัวร์ จำกัด สาย 827 นครพนม - ระยอง ใช้รถมาตรฐาน ม.4พ (รถสองชั้น 12 เมตร) และสาย 837 นครพนม - นครศรีธรรมราช ใช้รถมาตรฐาน ม.4พ (รถสองชั้น 12 เมตร) / นครพนม - เกาะสมุย/ท่าเรือดอนสัก ใช้รถมาตรฐาน ม.1พ (รถชั้นเดียว 15 เมตร)

• บริษัท เพชรประเสริฐ จำกัด สาย 876 เชียงใหม่ - นครพนม ใช้รถมาตรฐาน ม.4พ (รถสองชั้น 12 เมตร)

จากจังหวัดชัยภูมิ มายังจังหวัดสกลนคร

1.จากชัยภูมิ ต้องมาต่อรถที่ขอนแก่น โดยนั่งรถสาย ขอนแก่น-ชัยภูมิ แล้วมาต่อรถสาย 586 ขอนแก่น-นครพนม (รถผ่าน) ถึงสกลนคร

2.จากชัยภูมิ ต้องมาต่อรถที่อุดรธานี โดยนั่งรถตู้ หรือรถ ป.1 สาย 809 หนองคาย-ชัยภูมิ มาต่อรถที่อุดรธานี จากอุดรธานีมาสกลนคร มีรถหลายสาย 230 อุดรธานี-สกลนคร,สาย 231 อุดรธานี-สกลนคร-นครพนม,สาย 235 อุดรธานี-มุกดาหาร,อุดรธานี-อุบลราชธานี

จากจังหวัดร้อยเอ็ด มายังจังหวัดสกลนคร

1.นั่งรถจากร้อยเอ็ด สาย 275 ร้อยเอ็ด-กาฬสินธุ์ มาต่อรถที่กาฬสินธุ์ แล้วต่อรถที่กาฬสินธุ์มาสกลนคร มีรถสาย 237 รถตู้ สกลนคร-กาฬสินธุ์,รถมินิบัส สาย 238 สกลนคร-มหาสารคาม,รถสาย 586 ขอนแก่น-นครพนม , และรถที่มาจากกรุงเทพฯ สาย 26,27

การคมนาคมภายในตัวจังหวัดสกลนคร

• รถสองแถว สีเหลือง วิ่งรอบเมือง ราคา 10 บาท ตลอดสาย (เส้นทาง บขส.ใหม่ ศูนย์ราชการ รร.สกลพัฒน์ ตลาด ต.การค้า บิ๊กซี รพ.ศูนย์สกลนคร วัดพระธาตุเชิงชุม สภ.เมืองสกลนคร รร.สกลราชฯ ประตูเมือง ถนนข้างตลาด ต.การค้า และวิ่งกลับเส้นทางเดิม ไป บขส.ใหม่)

• รถสองแถว มีหลายสาย คิดค่าโดยสารตามระยะทาง

• รถจักรยานยนต์รับจ้าง คิดค่าโดยสารตามระยะทาง

• รถสามล้อเครื่อง (รถสกายแล็บ) คิดค่าโดยสารตามระยะทาง (เป็นรถเหมา)

• แท็กซี่ คิดค่าโดยสารตามระยะทางบนมิเตอร์

• รถสามล้อถีบ คิดค่าโดยสารตามระยะทาง

การคมนาคมทางอากาศ

[แก้]

การเดินทางโดยเครื่องบินโดยมีสายการบินที่ให้บริการ 2 สายการบินคือ

นกแอร์ สกลนคร ไป-กลับ กรุงเทพฯ (ดอนเมือง) วันละ 3 เที่ยวบิน

แอร์เอเชีย สกลนคร ไป-กลับ กรุงเทพฯ (ดอนเมือง) วันละ 2 เที่ยวบิน

พระตำหนักที่สำคัญ

[แก้]

สนามกีฬา

[แก้]

การศึกษา

[แก้]
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ระดับอนุบาล/ประถมศึกษา

[แก้]

ระดับมัธยมศึกษา

[แก้]

ระดับอาชีวศึกษา

[แก้]

สังกัดรัฐบาล

•วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒

สังกัดเอกชน

ระดับอุดมศึกษา

[แก้]

สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ

สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ

สถาบันอุดมศึกษาในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

บุคคลสำคัญที่มีชื่อเสียง

[แก้]

พระเถระ

[แก้]

การเมือง ราชการ นักพัฒนาชุมชน ปราชญ์ท้องถิ่น

[แก้]

นักวิชาการ

[แก้]

นักธุรกิจ

[แก้]

วงการบันเทิง

[แก้]

นักกีฬา

[แก้]

นักฟุตบอล

นักมวย

นักปั่นจักรยาน

กรีฑา(วีลแชร์เรซซิ่ง)

อ้างอิง

[แก้]
  1. โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขรก.มหาดไทย 2 ราย “ชูศักดิ์ รู้ยิ่ง” นั่งผู้ว่าฯสกลนคร
  2. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2564.
  3. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2565.
  4. "ประวัติจังหวัดสกลนคร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-25. สืบค้นเมื่อ 2010-05-04.
  5. [http://www.sakonnakhon.go.th/stokery/stakery51.doc แผนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด 6.2 (สนุก) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน สู่แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ปี พ.ศ. 2548 - 2551] เก็บถาวร 2011-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสกลนคร.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-11. สืบค้นเมื่อ 2011-04-18.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

17°10′N 104°09′E / 17.17°N 104.15°E / 17.17; 104.15