โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Triam Udom Suksa School of the Northeast
ตราพระเกี้ยว
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
ที่ตั้ง
121 หมู่ 12 ถนนนิตโย บ้านโคกสว่าง ตำบลสว่างแดนดิน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร 47110
ข้อมูล
ชื่ออื่นต.อ. / TUNE
ประเภทโรงเรียนสังกัด สพฐ.
โรงเรียนประเภทสหศึกษา
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญความเป็นเลิศทางวิชาการและคุณธรรม
ก่อตั้งโรงเรียนสว่างศึกษา
พ.ศ. 2502 (65 ปี)
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1 มิถุนายน พ.ศ. 2542 (24 ปี)
รหัส1047540664
ผู้อำนวยการโรงเรียนดร.ประจักษ์ เข็มใคร
ครู/อาจารย์116 คน[1]
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย
จำนวนนักเรียน2,508 คน
ปีการศึกษา 2565[2]
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
จีน ภาษาจีน
ประเทศเกาหลี ภาษาเกาหลี
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น
ฝรั่งเศส ภาษาฝรั่งเศส
ห้องเรียน78 ห้อง
วิทยาเขตสว่างแดนดิน
สี  ชมพู
เพลงปิ่นหทัย
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
คติพจน์นิมิตฺตํ สาธุ รูปานํ กตญฺญู กตเวทิตา
(ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี)
ต้นไม้ประจำโรงเรียนราชพฤกษ์
สหวิทยาเขตสว่างศึกษา
เว็บไซต์http://www.tune.ac.th

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อังกฤษ: Triam Udom Suksa School of the Northeast) (อักษรย่อ : ต.อ.) ตั้งอยู่ที่ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เปิดสอนเฉพาะระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.ปลาย)

ประวัติโรงเรียน[แก้]

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 (สกลนคร) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เปิดสอนเฉพาะระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เดิมสังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 121 หมู่ที่ 12 ตำบลสว่างแดนดิน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดิมชื่อ “โรงเรียนสว่างศึกษา” ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2502 โดยความเอื้อเฟื้อของ หลวงปริวรรตวรพิจิตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนครสมัยนั้น ครูใหญ่คนแรก คือ นายประมวล อุปพงษ์ วันที่ 1 สิงหาคม 2506 นายนิรัตน์ วิภาวิน ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ และในปีนี้ได้ เปลี่ยนชื่อโรงเรียน เป็น “โรงเรียนสว่างศึกษา” ในปี พ.ศ. 2541 กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายกระจายคุณภาพไปสู่ภูมิภาค เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนในต่างจังหวัด มีคุณภาพทัดเทียมกับโรงเรียน ที่มีชื่อเสียงในกรุงเทพมหานคร จึงประกาศจัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาขึ้นทั้ง 4 ภาค ซึ่งมีการจัดการเรียนการสอนแบบเดียวกันกับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา วันที่ 1 มิถุนายน 2542 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศเปลี่ยนชื่อ “โรงเรียนสว่างศึกษา” เป็น “โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ได้ดำเนินการรับนักเรียนและเปิดทำการเรียนการสอน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2542 เป็นต้นมา ปัจจุบันโรงเรียนมีพื้นที่ 57 ไร่ 2 งาน 84ตารางวา[3]

หลักสูตรที่เปิดสอน[แก้]

  1. ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ตามแนวทาง สสวท. และ สอวน. (Enrichment Science Classroom)
  2. ห้องเรียนคู่ขนาน ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ตามแนวทาง สสวท. และ สอวน. (Enrichment Science Classroom)
  3. วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์-เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม(SMTE)
  4. วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์-เทคโนโลยี(SMT)
  5. วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  6. วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์(ศึกษาศาสตร์-ครุศาสตร์)
  7. วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์(วิศวกรรมศาสตร์)
  8. วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์(วิทยาศาสตร์สุขภาพ)
  9. วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์(Pre Cadet : ทหาร/ตำรวจ)
  10. M-EP Class room
  11. ภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์
  12. ภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์-ภาษาจีน
  13. ภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์-ภาษาเกาหลี
  14. ภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์-ญี่ปุ่น
  15. ภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์-ฝรั่งเศส
  16. ภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์(นิติศาสตร์-รัฐศาสตร์)
  17. ภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์(ศึกษาศาสตร์-ครุศาสตร์)

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน[แก้]

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนสว่างศึกษา
ลำดับ รายนาม วุฒิการศึกษา ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ตำแหน่ง
1 นายประมวล อุปพงษ์ ป.ป., พ.ม. พ.ศ. 2502 - 2506 ครูใหญ่
2 นายนิรัตน์ วิภาวิน ป.ป., พ.ม. พ.ศ. 2506 - 2512 ครูใหญ่
พ.ศ. 2513 - 2521 อาจารย์ใหญ่
พ.ศ. 2521 - 2529 ผู้อำนวยการ
3 นายบุญธรรม กัลยาบาล พ.ม., กศ.บ. พ.ศ. 2529 - 2533 ผู้อำนวยการ
4 นายสมบูรณ์ ลาดศิลา ศศ.บ., ค.บ. พ.ศ. 2533 - 2534 ผู้อำนวยการ
5 นายบุญเลิศ สาขามุละ ค.บ. พ.ศ. 2534 - 2535 ผู้อำนวยการ
6 นายแสง ชานัย กศ.บ., ศศ.ม. พ.ศ. 2535 - 2541 ผู้อำนวยการ
7 นายวันชัย วิเศษโพธิศรี กศ.บ., ค.ม. พ.ศ. 2541 - 2542 ผู้อำนวยการ
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ลำดับ รายนาม วุฒิการศึกษา ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ตำแหน่ง
1 นายวันชัย วิเศษโพธิศรี กศ.บ., ค.ม., Ed.D. พ.ศ. 2542 - 2547 ผู้อำนวยการ
2 นายประทวน วิไลศิลป์ กศ.บ. พ.ศ. 2547 - 2548 ผู้อำนวยการ
3 นายเลอพงษ์ อุทธา กศ.บ., กศ.ม. พ.ศ. 2548 - 2555 ผู้อำนวยการ
4 ว่าที่ร้อยตรีชัยเดช บุญรักษา กศ.บ., กศ.ม. พ.ศ. 2555 - 2559 ผู้อำนวยการ
5 ว่าที่ร้อยตรีดร.สุกิจ ศรีพรหม ค.บ., ศษ.บ., ศศ.ม., ศษ.ด. พ.ศ. 2559 - 2566 ผู้อำนวยการ
6 นายประจักษ์ เข็มใคร พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการ

อ้างอิง[แก้]

  1. https://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_techer.php?School_ID=1047540664&Area_CODE=101723
  2. https://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_student_select.php?School_ID=1047540664&Edu_year=2565&Area_CODE2=470001
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-12. สืบค้นเมื่อ 2017-08-19.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]