ศาสนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สัญลักษณ์ของศาสนาต่าง ๆ
ภาพศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลก

ศาสนา (อังกฤษ: Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิด ความเป็นไป และสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม หลักธรรมคำสอน ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ[1] หลายศาสนามีการบรรยายสัญลักษณ์ ประวัติศาสตร์ และความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเจตนาอธิบายความหมายของชีวิต และ/หรืออธิบายกำเนิดชีวิตหรือเอกภพ จากความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับจักรวาล ธรรมชาติ มนุษย์ และศีลธรรม จริยศาสตร์ กฎหมายหรือวิถีชีวิต มีการประมาณว่าน่าจะมีความเชื่อเชิงศาสนาราว 4,200 ความเชื่อในโลก โดยพิจารณาตามจำนวนประมาณการของกลุ่มชาติพันธุ์ชนเผ่าต่างๆ ตลอดเวลาในช่วงที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ หลายศาสนาส่วนใหญ่กลายเป็นศาสนาที่ตายแล้วเพราะไม่มีคนนับถือแล้ว แต่ในปัจจุบันมีศาสนาหลักที่มีประชากรโลกนับถือเป็นอย่างมากทั้งหมด 4 ศาสนาได้แก่ ศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธ [2] ศาสนาต่างๆล้วนมีอิทธิพลทางด้านศิลปวัฒนธรรม ภาษา ประวัติศาสตร์ ตลอดจนแนวคิดและหลักความเชื่อของบุคคลต่างๆ

นอกจากนี้ ยังมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ ซึ่งเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสนา[3]

ความหมายเชิงศัพทมูลวิทยา

สำหรับบางภาษา มีการใช้คำว่าศาสนาแตกต่างกันออกไป และบางภาษาไม่มีคำว่าศาสนาโดยสิ้นเชิง เช่นภาษาสันสกฤต ใช้คำว่า ธรรมะ (dharma) อาจใช้เทียบเคียงกับศาสนาได้ แต่มีความหมายโดยทั่วไปว่ากฎหมาย

การกำเนิดและการพัฒนา

การกำเนิดของศาสนานั้นไม่แน่นอน มีหลายทฤษฎีเกี่ยวกับจุดกำเนิดของวัตรศาสนาจัดตั้ง (Organised Religious Practice)

จอห์น มอนาแกน และปีเตอร์ จัสต์ นักมานุษยวิทยา กล่าวว่า "ศาสนาใหญ่ของโลกหลายศาสนาดูเริ่มต้นเป็นขบวนการคืนชีวิต (Revitalisation) บางแบบ โดยวิสัยทัศน์ของศาสดาผู้เปี่ยมบารมีจุดจินตนาการของผู้แสวงคำตอบครอบคลุมยิ่งขึ้นของปัญหาของเขามากกว่าที่รู้สึกว่าความเชื่อประจำวันให้ได้ ปัจเจกบุคคลผู้มีบารมีอุบัติขึ้นหลายกาละและเทศะในโลก ดูเหมือนว่าปัจจัยสู่ความสำเร็จระยะยาว และหลายขบวนการมาแล้วไปโดยมีผลระยะยาวเล็กน้อย สัมพันธ์กับศาสดาน้อย ซึ่งปรากฏด้วยความสม่ำเสมอน่าประหลาดใจ แต่สัมพันธ์มากกว่ากับพัฒนาการของกลุ่มผู้สนับสนุนซึ่งสามารถจัดตั้งขบวนการนั้นเป็นสถาบัน"

การพัฒนาศาสนามีหลายแบบในหลายวัฒนธรรม บางศาสนาเน้นความเชื่อ ฝ่ายบางศาสนาเน้นวัตร บางศาสนาเน้นประสบการณ์อัตวิสัยของศาสนิกชน ฝ่ายบางศาสนาถือกิจกรรมของชุมชนศาสนาสำคัญที่สุด บางศาสนาอ้างว่าเป็นนสากล โดยเชื่อว่ากฎหมายและจักรวาลวิทยาของศาสนานั้นผูกมัดทุกคน ฝ่ายบางศาสนาตั้งใจให้ปฏิบัติเฉพาะในกลุ่มนิยามหรือจำกัดแคบ ๆ ในหลายพื้นที่ ศาสนาสัมพันธ์กับสถาบันสาธารณะอย่างการศึกษา โรงพยาบาล ครอบครัว รัฐบาลและลำดับชั้นบังคับบัญชาทางการเมือง

กลุ่มศาสนา

แผนภาพแสดงการนับถือศาสนาของกลุ่มคนส่วนใหญ่ในแต่ละประเทศ
ศาสนาโลกในปี ค.ศ. 2010[4]
ศาสนาคริสต์
  
31.5%
ศาสนาอิสลาม
  
23.2%
ไม่มีศาสนา
  
16.3%
ศาสนาฮินดู
  
15%
ศาสนาพุทธ
  
7.1%
ศาสนาพื้นบ้าน
  
5.9%
ศาสนายูดาห์
  
0.2%
ศาสนาอื่น ๆ
  
0.8%

ศาสนาอับราฮัม

เป็นคำที่ใช้เรียกศาสนาสำคัญ 3 ศาสนาที่เป็นลัทธิเทวนิยมที่มีความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียว —ซึ่งทั้งสามศาสนานับอับราฮัมเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสนา

ศาสนาแบบอิหร่าน

ศาสนาแบบอินเดีย

ศาสนาเอเชียตะวันออก

ศาสนาแบบจีน

ศาสนาแบบญี่ปุ่น

ศาสนาแบบแอฟริกัน

อ้างอิง

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 1142
  2. The Everything World's Religions Book: Explore the Beliefs, Traditions and Cultures of Ancient and Modern Religions, page 1 Kenneth Shouler - 2010
  3. "สภาวะทางสังคม วัฒนธรรม และสุขภาพจิต" (PDF). สารสถิติ. ปีที่ 23 (เล่มที่ 4): 6. ตุลาคม - ธันวาคม พ.ศ. 2555. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  4. Religiously Unaffiliated, สืบค้น 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559
  5. [1] Religion