ท่าอากาศยานสกลนคร

พิกัด: 17°11′42.5″N 104°07′07.1″E / 17.195139°N 104.118639°E / 17.195139; 104.118639
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่าอากาศยานสกลนคร
อาคารผู้โดยสารฝั่งลานจอดรถยนต์
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ
เจ้าของกองทัพบกไทย / กรมท่าอากาศยาน
ผู้ดำเนินงานกรมท่าอากาศยาน
พื้นที่บริการจังหวัดสกลนคร
สถานที่ตั้งอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
วันที่เปิดใช้งานพ.ศ. 2528
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล161 เมตร / 529 ฟุต
พิกัด17°11′42.5″N 104°07′07.1″E / 17.195139°N 104.118639°E / 17.195139; 104.118639
เว็บไซต์minisite.airports.go.th/sakonnakhon
แผนที่
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
SNO
ตำแหน่งของท่าอากาศยานในประเทศไทย
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
SNO
SNO (ประเทศไทย)
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
05/23 2,600 8,530 ยางมะตอย
สถิติ (2563)
ผู้โดยสาร257,684
เที่ยวบิน2,530
แหล่งข้อมูล: http://www.airports.go.th

ท่าอากาศยานสกลนคร สนามบินสกลนคร หรือ สนามบินบ้านค่าย[1] (อังกฤษ: Sakon Nakhon Airport) (IATA: SNOICAO: VTUI) ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[2] โดยมีอาคารผู้โดยสารเป็นอาคาร 2 ชั้น มีขนาดพื้นที่รวม 5,455 ตารางเมตร สามารถรองรับอากาศยานขนาด แอร์บัส เอ320 หรือ โบอิง 737

ประวัติ[แก้]

เดิมท่าอากาศยานสกลนคร (บ้านค่าย) เป็นท่าอากาศยานของกองทัพบก เปิดใช้งานเมื่อ พ.ศ. 2515 มีภารกิจหลักเพื่อรับเสด็จเครื่องบินพระที่นั่งและภารกิจทางทหาร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2528 นายพีระ บุญจริง ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนครในขณะนั้น ได้ประสานกรมการบินพาณิชย์(กรมท่าอากาศยานในปัจจุบัน) และบริษัทเดินอากาศไทย จำกัด ให้เปิดบริการด้านการบินพาณิชย์ โดยได้สร้างอาคารผู้โดยสาร 1 หลัง ภายในค่ายกฤษณ์สีวะรา และให้บริการจนถึงปี พ.ศ. 2537

ต่อมามีผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น ทำให้อาคารผู้โดยสารหลังเดิมเกิดความคับแคบ และไม่สามารถต่อเติมอาคารออกไปได้อีก ประกอบกับการเข้า-ออกต้องผ่านทางค่ายกฤษณ์สีวะรา ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของทางทหาร กรมการบินพาณิชย์เห็นว่าบริเวณที่ว่างทางทิศตะวันตกของทางวิ่ง ซึ่งอยู่เยื้องกับอาคารผู้โดยสารหลังเดิมปัจจุบัน มีความเหมาะสมที่จะใช้ก่อสร้างอาคารอากาศยานหลังใหม่พร้อมเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ จึงได้ประสานกับกองทัพบกขอใช้ที่ดิน 158 ไร่เพื่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2539[3]

อาคารสถานที่[แก้]

อาคารผู้โดยสาร ฝั่งลานจอดเครื่องบิน
ภายในอาคารผู้โดยสาร ท่าอากาศยานสกลนคร

อาคารผู้โดยสาร[แก้]

อาคารผู้โดยสารเป็นอาคาร 2 ชั้น มีขนาดพื้นที่รวม 5,455 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 620 คน/ชั่วโมง โดยมีโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ก่ออิฐ ฉาบปูน ทาสี เป็นส่วนใหญ่[4] โดยแต่ละชั้นมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ชั้น 1 มีพื้นที่ห้องขาเข้า 375 ตารางเมตร พื้นที่ห้องขาออก 375 ตารางเมตร โดยมีการตกแต่งสถาปัตยกรรม พร้อมระบบโทรทัศน์ ระบบปรับอากาศ และระบบสายพานลำเลียงสัมภาระ
  • ชั้น 2 ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตจำลอง ที่ตั้งที่ทำการท่าอากาศยาน ห้องประชุม และที่ทำการสายการบิน โดยมีการตกแต่งทางสถาปัตยกรรม แสดงเอกลักษณ์ ท้องถิ่นศาลาทรงไทยอีสาน

ลานจอดอากาศยานมีขนาดความกว้าง 85 เมตร และมีความยาว 220 เมตร สามารถรองรับอากาศยานขนาด แอร์บัส เอ320 หรือ โบอิง 737 ได้สูงสุด 4 ลำ

ทางวิ่ง (รันเวย์) และทางขับ (แท็กซี่เวย์)[แก้]

ท่าอากาศยานสกลนครมีทางวิ่ง 1 เส้น กว้าง 45 เมตร พร้อมไหล่ทางวิ่งข้างละ 7.5 เมตร และมีความยาว 2,600 เมตร สามารถรองรับอากาศยานสูงสุดได้คือ โบอิง 737-400 และ แอร์บัส เอ320-200 พร้อมพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง (blastpads) ขนาดกว้างข้างละ 60 เมตร และความยาวข้างละ 150 เมตร[4]

มีทางขับจำนวน 1 เส้น ขนาดความกว้าง 23 เมตร และความยาวเส้นละ 157 เมตร[4] และกำลังก่อสร้างทางขับเพิ่มอีก 1 เส้น ขนาดความกว้าง 23 เมตรเช่นกัน

รายชื่อสายการบิน[แก้]

รายชื่อสายการบินที่ให้บริการ[แก้]

เครื่องบินนกแอร์กำลังเลี้ยวเข้าลานจอดเครื่องบินที่ท่าอากาศยานสกลนคร
สายการบิน จุดหมายปลายทาง[5] หมายเหตุ
นกแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ

รายชื่อสายการบินที่เคยให้บริการ[แก้]

สายการบิน จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
พีบีแอร์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ ภายในประเทศ
นกแอร์ อู่ตะเภา ภายในประเทศ

สถิติ[แก้]

ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ[แก้]

ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศในแต่ละปีปฏิทิน[6]
ปี (พ.ศ.) ผู้โดยสาร ความเปลี่ยนแปลง จำนวนเที่ยวบิน คาร์โก้ (ตัน)
2544 43,986 734 453.13
2545 33,622 ลดลง 23.56% 806 135.44
2546 31,930 ลดลง 5.03% 790 30.66
2547 40,006 เพิ่มขึ้น 25.29% 962 39.16
2548 38,473 ลดลง 3.83% 1,000 38.53
2549 40,170 เพิ่มขึ้น 4.41% 1,114 33.11
2550 34,839 ลดลง 13.27% 868 19.42
2551 34,403 ลดลง 1.25% 890 14.10
2552 25,854 ลดลง 24.85% 748 10.10
2553 23,638 ลดลง 8.57% 464 0.00
2554 39,529 เพิ่มขึ้น 67.23% 994 0.00
2555 97,422 เพิ่มขึ้น 146.46% 1,290 3.78
2556 109,285 เพิ่มขึ้น 12.18% 966 9.35
2557 199,492 เพิ่มขึ้น 82.54% 1,476 29.01
2558 425,453 เพิ่มขึ้น 113.27% 3,333 108.33
2559 347,351 ลดลง 18.36% 2,672 278.38
2560 378,057 เพิ่มขึ้น 8.84% 2,910 270.48
2561 382,962 เพิ่มขึ้น 1.30% 2,828 84.55
2562 386,687 เพิ่มขึ้น 0.97% 2,857 39.58
2563 257,684 ลดลง 33.36% 2,530 21.38

การเดินทางสู่ท่าอากาศยาน[แก้]

ท่าอากาศยานสกลนครสามารถเข้าได้ผ่านทางหลวงหมายเลข 22 โดยตั้งอยู่เข้าไป 2 กิโลเมตร ลานจอดรถยนต์หน้าอาคารผู้โดยสารสามารถจุรถได้ 150 คัน และลานจอดรถยนต์เสริมสามารถจอดรถยนต์ได้ประมาณ 40 คัน[4]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดเขตบริเวณใกล้เคียงสนามบินบ้านค่าย (จังหวัดสกลนคร) ในท้องที่อำเภอกุสุมาลย์ กิ่งอำเภอโพนนาแก้ว และอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร เป็นเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๕๓๗
  2. รายชื่อท่าอากาศยานของกรมท่าอากาศยาน
  3. ประวัติความเป็นมาของสนามบินสกลนคร
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 ข้อมูลทางกายภาพท่าอากาศยานสกลนคร
  5. ตารางเที่ยวบิน ท่าอากาศยานสกลนคร
  6. "ข้อมูลสถิติท่าอากาศยานสังกัดกรมท่าอากาศยาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 2020-05-09.