จังหวัดระนอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดระนอง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Ranong
คำขวัญ: 
คอคอดกระ ภูเขาหญ้า กาหยูหวาน
ธารน้ำแร่ มุกแท้เมืองระนอง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดระนองเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดระนองเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดระนองเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ นริศ นิรามัยวงศ์[1]
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2566)
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด3,298.045 ตร.กม. (1,273.382 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 59
ประชากร
 (พ.ศ. 2564)[3]
 • ทั้งหมด194,573 คน
 • อันดับอันดับที่ 75
 • ความหนาแน่น59.00 คน/ตร.กม. (152.8 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 72
รหัส ISO 3166TH-85
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้อินทนิล
 • ดอกไม้เอื้องเงินหลวง (โกมาซุม)
 • สัตว์น้ำปูเจ้าฟ้า
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งภายในศูนย์ราชการจังหวัดระนอง เลขที่ 999 หมู่ที่ 3 ถนนเพชรเกษม ตำบลบางริ้น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง 85000
เว็บไซต์http://www.ranong.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ระนอง เป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้ มีพื้นที่ประมาณ 2,141,250 ไร่ มีพื้นที่ติดต่อทางตะวันออกติดต่อกับจังหวัดชุมพร ทางใต้ติดกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดพังงา ทางตะวันตกติดกับประเทศพม่าและทะเลอันดามัน มีลักษณะพื้นที่เรียวและแคบ มีความยาวถึง 200 กิโลเมตร และมีความแคบในบริเวณอำเภอกระบุรี เพียง 9 กิโลเมตร

ระนองเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติความเป็นมายาวนานนับตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเรืองอำนาจ เดิมเป็นหัวเมืองขนาดเล็กขึ้นกับเมืองชุมพร คำว่าระนองเพี้ยนมาจากคำว่า แร่นอง เนื่องจากในพื้นที่จังหวัดมีแร่อยู่มากมาย

ชื่อเรียก[แก้]

ชื่อระนอง บ้างอธิบายหมายถึง "แร่เนืองนองคือท้องถิ่นมีแร่อุดมสมบูรณ์ จากแร่เนืองนอง" จึงกลายเสียงเป็นระนอง บ้างว่าอาจมาจากคนที่ชื่อ นายนอง เป็นผู้นำและเป็นหัวหน้าหมู่บ้านซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงระนอง

คำว่า "ระนอง" ยังมีเสียงใกล้เคียงภาษาอินโดนีเซียว่า "ระนาห์" (Ranah) หมายถึงทุ่งหญ้าหรือเทือกเขาที่ทอดยาว (Kamus Indonesia Inggris) ระนองอาจเป็นคำมลายู คือ "ระ" มาจากเสียงคำท้ายของกัวลา (Guala) แปลว่าปากน้ำ ส่วนคำว่า "นอง" หมายถึงชื่อของแม่น้ำนอง ซึ่งเป็นลำน้ำสายสั้น ๆ ไหลลงสู่ปากน้ำกระ ระนองจึงหมายถึงปากน้ำนองหรือปากแม่น้ำระนอง นอกจากนั้นยังสันนิษฐานว่าอาจเป็นคำยืมมาจากภาษาพม่าคำว่า "ระนัว" (Ranou) หมายถึงผู้ซึ่งอยู่ด้วยความหวัง[4]

ประวัติ[แก้]

เมืองระนองเคยเป็นชุมชนโบราณที่มีการติดต่อค้าขายกับอินเดียและจีน เป็นเส้นทางที่เดินลัดเทือกเขาตะนาวศรีจากต้นน้ำกระบุรีคือที่ปากจั่นไปยังต้นแม่น้ำชุมพร เป็นชุมชนโบราณอันดับสองรองจาก ชุมชนภูเขาทอง กำพวน กิ่งอำเภอสุขสำราญ ปรากฏคำว่า กระบุรี จารึกอยู่ที่ฐานพระพุทธรูปโบราณที่อำเภอไชยา และปรากฏหลักฐานบันทึกของจีนเรียกกระบุรี (อำเภอกระบุรีในปัจจุบัน) ว่าเกียโลหิ และครหิ (Ki - Lo - Hi - Karahi) จากหนังสือการค้าเมืองนานไฮ ระบุว่า เกียโลหิ ครหิ หรือกระบุรี เคยส่งทูตไปติดต่อค้าขายที่เมืองจีน เมื่อ พ.ศ. 1151 ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถกับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 1991–2072 เมืองระนองมีลักษณะเป็นหัวเมืองขนาดเล็ก ขึ้นอยู่กับเมืองชุมพร ซึ่งเป็นหัวเมืองชั้นตรี นอกจากเมืองระนองแล้วยังมีเมืองตระ (อำเภอกระบุรี)

เมืองระนองมีชื่อปรากฏอยู่ในพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ว่าเป็นเมืองที่พม่ายกทัพผ่านเข้ามาเพื่อไปตีเมืองชุมพร เมืองระนองมีพลเมืองอยู่น้อย มีราษฎรจากเมืองชุมพรและเมืองหลังสวน อพยพเข้ามาขุดแร่ดีบุกไปขายมาแต่โบราณ ทางราชการได้ผ่อนผันให้ราษฎรส่งส่วยดีบุกแทนการรับราชการ โดยให้มีเจ้าอากรภาษีรับผูกขาดอากรดีบุก มีอำนาจที่จะซื้อและเก็บส่วยดีบุกแก่ทางราชการ ผู้รวบรวมและจัดส่งส่วยอากรแร่ดีบุกให้ทางราชการนั้น ราษฎรชาวเมืองได้ยกย่องให้ "นายนอง" ซึ่งเป็นผู้นำที่ดีและเป็นหัวหน้าหมู่บ้าน นายนองมีความดีความชอบในภาระหน้าที่ดังกล่าว จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงระนอง" เจ้าเมืองคนแรก

ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2387 มีคนจีนชื่อ คอซูเจียง ซึ่งต่อมาได้เป็นพระยารัตนเศรษฐี (คอซูเจียง ณ ระนอง) ได้เดินทางมาตั้งภูมิลำเนาอยูที่เมืองตะกั่วป่า ได้ยื่นเรื่องขอประมูลอากรดีบุกแขวงเมืองตระและระนองได้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองระนอง ในเวลาต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเมืองระนองและเมืองตระ ขึ้นเป็นหัวเมืองจัตวา ขึ้นตรงต่อกรุงเทพและเลื่อนบรรดาศักดิ์พระรัตนเศรษฐี ขึ้นเป็น พระยารัตนเศรษฐี ผู้ว่าราชการเมืองระนอง เมื่อ พ.ศ. 2405[5] สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองระนองได้โอนมาขึ้นกับมณฑลภูเก็ต[4]

ภูมิประเทศ[แก้]

สภาพภูมิประเทศของระนอง ประกอบด้วยภูเขาสูงในทางทิศตะวันออก และลาดลงสู่ทะเลอันดามันในทางทิศตะวันตก มีแม่น้ำและคลองสำคัญหลายสาย และมีภูเขาสูงสุดคือ ภูเขาพ่อตาโชงโดง

แม่น้ำลำคลองที่สำคัญมีดังนี้

ภูมิอากาศ[แก้]

จังหวัดระนองได้ชื่อว่าเป็นเมือง "ฝนแปด แดดสี่" นั่นคือมีฝนตก 8 เดือน และฝนแล้งเพียง 4 เดือน นับว่าเป็นจังหวัดที่ฝนตกชุกมากที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากอยู่ติดกับทะเลอันดามัน ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อย่างมาก

หน่วยการปกครอง[แก้]

การปกครองแบ่งออกเป็น 5 อำเภอ 30 ตำบล 167 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองระนอง
  2. อำเภอละอุ่น
  3. อำเภอกะเปอร์
  4. อำเภอกระบุรี
  5. อำเภอสุขสำราญ
 แผนที่

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

เทศบาลเมือง

รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด[แก้]

รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง
ชื่อ เข้ารับตำแหน่ง สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง
1. หลวงระนอง (นายระนอง) สมัยรัชกาลที่ 2 พ.ศ. 2397
2. พระยารัตนเศรษฐี (คอซูเจียง ณ ระนอง 許泗漳) พ.ศ. 2397 พ.ศ. 2420
3. พระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง ณ ระนอง 許心廣) พ.ศ. 2420 พ.ศ. 2433
4. พระยารัตนเศรษฐี (คออยู่หงี่ ณ ระนอง 許如義) พ.ศ. 2433 พ.ศ. 2460
5. พระระนองบุรีศรีสมุทเขตต์ (คออยู่โง้ย) พ.ศ. 2460 พ.ศ. 2468
6. พระยาอมรศักดิ์ประสิทธิ์ (ทนง บุญนาค) พ.ศ. 2468 พ.ศ. 2472
7. พระอมรฤทธิธำรง (พร้อม ณ ถลาง) พ.ศ. 2472 พ.ศ. 2476
8. พระบูรพทิศอาทร (คออยู่เพิ่ม ณ ระนอง) พ.ศ. 2476 พ.ศ. 2482
9. นายพืชน์ เดชะคุปต์ พ.ศ. 2482 พ.ศ. 2484
10. นายถนอม วิบูลมงคล พ.ศ. 2484 พ.ศ. 2487
11. นายเนื่อง อ.ปาณิกบุตร 22 กันยายน 2487 19 มกราคม 2488
12. นายจันทร์ สมบูรณ์กุล 25 มกราคม 2488 20 ตุลาคม 2489
13. นายแสวง ทิมทอง 28 ตุลาคม 2489 23 พฤษภาคม 2492
14. นายคีรี ศรีรัฐนิยม 3 มิถุนายน 2492 12 ตุลาคม 2496
15. นายแสวง ชัยอาญา 2 ธันวาคม 2496 12 ตุลาคม 2497
16. นายวิเวก จันทโรจวงศ์ 12 ตุลาคม 2497 23 กันยายน 2501
17. นายพันธุ สายตระกูล 23 กันยายน 2501 20 เมษายน 2504
18. พ.ต.อ.บุญณรงค์ วัฑฌนายน 20 เมษายน 2504 30 กันยายน 2508
19. นายมนตรี จันทรปรรณิก 1 ตุลาคม 2508 30 เมษายน 2512
20. นายวงษ์ ช่อวิเชียร 1 พฤษภาคม 2512 30 กันยายน 2513
21. ร.ต.ท.ชาญ เวชเจริญ 1 ตุลาคม 2513 30 กันยายน 2518
22. นายจำลอง พลเดช 1 ตุลาคม 2518 9 พฤษภาคม 2520
23. นายปัญญา ฤกษ์อุไร 10 พฤษภาคม 2520 7 ตุลาคม 2521
24. นายไพฑูรย์ ลิมปิทีป 8 ตุลาคม 2521 2 กุมพาพันธ์ 2523
25. นายพร อุดมพงษ์ 3 กุมภาพันธ์ 2523 7 ตุลาคม 2525
26. นายสาคร เปลี่ยนอำไพ 8 ตุลาคม 2525 30 กันยายน 2528
27. นายอำพัน คล้ายชัง 1 ตุลาคม 2528 30 กันยายน 2530
28. พ.ต.เฉลิม สุภมร 1 ตุลาคม 2530 30 กันยายน 2533
29. ร.ต.สมพร กุลวานิช 1 ตุลาคม 2533 30 กันยายน 2534
30. นายจำนง เฉลิมฉัตร 1 ตุลาคม 2534 30 กันยายน 2537
31. นายสถิตย์ แสงศรี 1 ตุลาคม 2537 30 กันยายน 2538
32. นายศิระ ชวนะวิรัช 1 ตุลาคม 2538 30 กันยายน 2539
33. นายชัยจิตร รัฐขจร 1 ตุลาคม 2539 15 เมษายน 2541
34. นายสถิตย์ แสงศรี 16 เมษายน 2541 30 กันยายน 2541
35. นายทรงวุฒิ งามมีศรี 1 ตุลาคม 2541 30 กันยายน 2542
36. ร.ท.ธวัช หันตรา 1 ตุลาคม 2542 30 กันยายน 2544
37. นายนพพร จันทรถง 1 ตุลาคม 2544 30 กันยายน 2546
38. นายวินัย มงคลธารณ์ 1 ตุลาคม 2546 30 กันยายน 2548
39. นายเมฆินทร์ เมธาวิกูล 1 ตุลาคม 2548 12 พฤศจิกายน 2549
40. นางกาญจนาภา กี่หมัน 13 พฤศจิกายน 2549 30 กันยายน 2551
41. นายวันชาติ วงษ์ชัยชนะ 1 ตุลาคม 2551 25 พฤศจิกายน 2554
42. นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า 28 พฤศจิกายน 2554 7 ตุลาคม 2555
43. ว่าที่ร้อยตรี เชิดศักดิ์ จำปาเทศ 19 พฤศจิกายน 2555 30 กันยายน 2557
44. นายสุริยันต์ กาญจนศิลป์ 3 พฤศจิกายน 2557 30 กันยายน 2559
45. นายจตุพจน์ ปิยัมปุตระ 1 ตุลาคม 2559 30 กันยายน 2563
46. นายสมเกียรติ ศีรษะเนตร 1 ตุลาคม 2563 30 กันยายน 2565
47. นายศักระ กปิลกาญจน์ 2 ธันวาคม 2565 30 กันยายน 2566
48. นายนริศ นิรามัยวงศ์ 17 ธันวาคม 2566 ปัจจุบัน

อุทยาน[แก้]

บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 318 ง หน้า 13 วันที่ 19 ธันวาคม 2566
  2. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  3. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 17 มีนาคม 2565.
  4. 4.0 4.1 ประพนธ์ เรืองณรงค์. "ระนอง".
  5. "พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ระนอง". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดระนอง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-16. สืบค้นเมื่อ 2021-07-16.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

งานศึกษาที่เกี่ยวข้อง[แก้]

เว็บไซต์[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 9°58′N 98°38′E / 9.97°N 98.63°E / 9.97; 98.63