อักษรบาหลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อักษรบาหลี
ชนิดอักษรสระประกอบ
ภาษาพูดบาหลี
ซาซัก
ช่วงยุคประมาณ ค.ศ. 1000-ปัจจุบัน
ระบบแม่
ระบบพี่น้องบาตัก
ไบบายิน
ชวา
ลนตารา
มากาซาร์
ซุนดาเก่า
เรินจง
เรอจัง
ช่วงยูนิโคดU+1B00-U+1B7F
ISO 15924Bali
[a] ต้นกำเนิดเซมิติกของอักษรพราหมีโดยทั่วไปยังไม่เป็นที่ยอมรับ
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด

อักษรบาหลี (บาหลี: Aksara Bali) หรือ ฮานาจารากา (Hanacaraka) เป็นอักษรสระประกอบที่ใช้งานบนเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย โดยทั่วไปใช้เขียนภาษาบาหลี, ชวาเก่า และสันสกฤต ภาษาซาซักบนเกาะลมบกก็ใช้อักษรนี้ เพียงแต่ดัดแปลงให้เข้ากับภาษาของตนเอง[1] อักษรนี้พัฒนามาจากอักษรพราหมี และมีความคล้ายคลึงกับอักษรสมัยใหม่ในเอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้อย่างมาก อักษรบาหลีกับอักษรชวาถือเป็นอักษรที่ประณีตและวิจิตรที่สุดในบรรดาตระกูลอักษรพราหมีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[2]

แม้ว่าในปัจจุบันอักษรนี้ถูกแทนที่ด้วยอักษรละติน อักษรบาหลียังคงแพร่หลายอย่างมีนัยสำคัญในพิธีแบบดั้งเดิมของเกาะ และมีส่วนเกี่ยวโยงกับศาสนาฮินดูอย่างมาก ส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้อักษรนี้ในการคัดลอกลนตาร์ หรือเอกสารตัวเขียนใบตาลที่มีข้อความทางศาสนา[2][3]

ลักษณะ[แก้]

มีรูปพยัญชนะซ้อนสำหรับตัวสะกด เขียนจากซ้ายไปขวา แนวนอน

อักษร[แก้]

อักษรพื้นฐานในภาษาบาหลีคือ aksara (ᬅᬓ᭄ᬱᬭ) และแต่ละอักษรเป็นพยางค์ที่มีสระลดรูป /a/

พยัญชนะ[แก้]

พยัญชนะมีชื่อเรียกว่า wianjana (ᬯ᭄ᬬᬜ᭄ᬚᬦ) หรือ aksara wianjana (ᬅᬓ᭄ᬱᬭᬯ᭄ᬬᬜ᭄ᬚᬦ) อักษรบาหลีมีพยัญชนะ 33 ตัว ในจำนวนนี้มี 18 ตัวที่มีชื่อว่า wreṣāstra (ᬯᬺᬱᬵᬲ᭄ᬢ᭄ᬭ) ซึ่งใช้เขียนคำศัพท์พื้นฐานในภาษาบาหลี ส่วนอีก 15 ตัวมีชื่อว่า sualalita (ᬰ᭄ᬯᬮᬮᬶᬢ) ซึ่งโดยหลักเขียนคำยืมภาษาสันสกฤตและกวิในภาษาบาหลี โดยมีการเรียงพยัญชนะตามรูปแบบสันสกฤตและรูปแบบฮานาจารากา

รูปแบบฮานาจารากา[แก้]

พยัญชนะบาหลีสามารถเรียงในรูปแบบฮานาจารากา ซึ่งเป็นกวี 4 แถวจากตำนานอาจี ซากา อย่างไรก็ตาม รูปแบบนี้มีเฉพาะ aksara wreṣāstra (ᬅᬓ᭄ᬱᬭᬯᬺᬱᬵᬲ᭄ᬢ᭄ᬭ) 18 ตัว และไม่รวม aksara sualalita (ᬅᬓ᭄ᬱᬭᬰ᭄ᬯᬮᬮᬶᬢ) ถึงกระนั้น ตารางข้างล่างได้รวม aksara sualalita เนื่องจากรูปอักษรโรมันในปัจจุบันไม่มีเครื่องหมายเสริมสัทอักษรสำหรับพยัญชนะ

ᬅᬓ᭄ᬱᬭᬯ᭄ᬬᬜ᭄ᬚᬦ
Aksara Wianjana
พยัญชนะ
กวี แถวแรก แถวที่สอง แถวที่สาม แถวที่สี่
สัทอักษรสากล [ha] [na] [tʃa] [ra] [ka] [da] [ta] [sa] [wa] [la] [ma] [ga] [ba] [ŋa] [pa] [dʒa] [ja] [ɲa]
Aksara Latin
ถอดเป็นอักษรละติน
ha na ca ra ka da ta sa wa la ma ga ba nga pa ja ya nya
Aksara Wreṣāstra
ᬅᬓ᭄ᬱᬭᬯᬺᬱᬵᬲ᭄ᬢ᭄ᬭ
Aksara Sualalita
ᬅᬓ᭄ᬱᬭᬰ᭄ᬯᬮᬮᬶᬢ





รูปแบบสันสกฤต[แก้]

พยัญชนะบาหลีสามารถเรียงตามรูปแบบทมิฬ / สันสกฤต เหมือนกับตระกูลอักษรพราหมีอื่น ๆ ทำให้อักษรบาหลีได้รับอิทธิพลจาก Kalvi / Shiksha ตารางข้างล่างแสดงรูปแบบนี้

Aksara Wianjana
ᬅᬓ᭄ᬱᬭᬯ᭄ᬬᬜ᭄ᬚᬦ
พยัญชนะ
Warga
(ตำแหน่งเกิดเสียง)
Pancawalimukha

Ardhasuara
ᬅᬭ᭄ᬥᬲ᭄ᬯᬭ
(เสียงกึ่งสระ)
อูษมัน
ᬊᬱ᭄ᬫ
(เสียดแทรก)
Wisarga
ᬯᬶᬲᬭ᭄ᬕ
(เส้นเสียง)
อโฆษะ โฆษะ อนุนาสิกะ
ᬅᬦᬸᬦᬲᬶᬓ
นาสิก
อัลปปราณะ
ᬅᬮ᭄ᬧᬧ᭄ᬭᬵᬡ
ไม่พ่นลม
มหาปราณะ
ᬫᬵᬳᬵᬧ᭄ᬭᬵᬡ
พ่นลม
อัลปปราณะ
ᬅᬮ᭄ᬧᬧ᭄ᬭᬵᬡ
ไม่พ่นลม
มหาปราณะ
ᬫᬵᬳᬵᬧ᭄ᬭᬵᬡ
พ่นลม
กัณฐยะ
ᬓᬡ᭄ᬞ᭄ᬬ
(ช่องคอ/เพดานอ่อน)


[ka]
ka
Ka1



[kʰa]
kha
Ka mahaprana


[ɡa]
ga
Ga1


[ɡʱa]
gha
Ga gora


[ŋa]
nga
Nga1


[ha]
ha
Ha12
ตาลวยะ
ᬢᬵᬮᬯ᭄ᬬ
(เพดานแข็ง)


[tʃa]
ca
Ca murca1


[tʃʰa]
cha
Ca laca3


[dʒa]
ja
Ja1


[dʒʱa]
jha
Ja jera


[ɲa]
nya
Nya1


[ja]
ya
Ya1


[ɕa]
śa ça
Sa saga
มูรธันยะ
ᬫᬹᬭ᭄ᬠᬜ
(ปลายลิ้นม้วน)


[ʈa]
ṭa
Ta latik


[ʈʰa]
ṭha
Ta latik m.5


[ɖa]
ḍa
Da murda a.4


[ɖʱa]
ḍha
Da murda m.5


[ɳa]
ṇa
Na rambat


[ra]
ra
Ra1


[ʂa]
ṣa
Sa sapa
ทันตยะ
ᬤᬦ᭄ᬢ᭄ᬬ
(ฟัน)


[t̪a]
ta
Ta1


[t̪ʰa]
tha
Ta tawa


[d̪a]
da
Da lindung1


[d̪ʱa]
dha
Da madu


[n̪a]
na
Na kojong1


[l̪a]
la
La1


[sa]
sa
Sa danti16
โอษฐยะ
ᬑᬱ᭄ᬞ᭄ᬬ
(ริมฝีปาก)


[pa]
pa
Pa1


[pʰa]
pha
Pa kapal


[ba]
ba
Ba1
หรือ


[bʱa]
bha
Ba kembang7


[ma]
ma
Ma1


[wa]
wa
Wa1

^1 Aksara wreṣāstra เรียงตามลำดับในแบบดั้งเดิม คือ: ha na ca ra ka / da ta sa wa la / ma ga ba nga / pa ja ya nya.
^2 บางครั้ง พยัญชนะ ha ไม่ออกเสียง เช่น ᬳᬸᬚᬦ᭄ hujan (แปลว่า ฝน) ออกเสียงว่า ujan[4]
^3 รูปร่างของอักษร ca laca ยังไม่ทราบที่แน่ชัด เนื่องจากปรากฏเพียงรูปต่อท้าย (gantungan) เท่านั้น[5] แต่มีการรวมรูปเดี่ยวในยูนิโคด[6]
^4 อัลปปราณะ ^5 มหาปราณะ
^6 ความเป็นจริงคือเสียงพยัญชนะปุ่มเหงือก แต่ตามธรรมเนียมจัดเป็นเสียงพยัญชนะฟัน
^7 มีการใช้งานอักษรแบบแรกมากกว่า

สระ[แก้]

สระในภาษาบาหลีมีชื่อว่า suara (ᬲ᭄ᬯᬭ) หรือ aksara suara (ᬅᬓ᭄ᬱᬭᬲ᭄ᬯᬭ) โดยสามารถเขียนเป็นรูปเดี่ยวเมื่อปรากฏเสียงสระในตำแหน่งเริ่มต้น ตารางข้างล่างแบ่งได้ ดังนี้:

Aksara suara
ᬅᬓ᭄ᬱᬭᬲ᭄ᬯᬭ
สระ
Warga
(ตำแหน่งเกิดเสียง)
Aksara suara hŗeşua
ᬅᬓ᭄ᬱᬭᬲ᭄ᬯᬭᬳᬺᬱ᭄ᬯ
(สระเสียงสั้น)
Aksara suara dirgha
ᬅᬓ᭄ᬱᬭᬲ᭄ᬯᬭᬤᬷᬭ᭄ᬖ
(สระเสียงยาว)
ภาพ อักษร ทับศัพท์ สัทอักษรสากล ชื่อ ชื่อ ภาพ อักษร ทับศัพท์ สัทอักษรสากล
กัณฐยะ
ᬓᬡ᭄ᬞ᭄ᬬ
(ช่องคอ)
a [a] A kara
ā [ɑː]
ตาลวยะ
ᬢᬵᬮᬯ᭄ᬬ
(เพดานแข็ง)
i [i] I kara
ī [iː]
มูรธันยะ
ᬫᬹᬭ᭄ᬠᬜ
(ปลายลิ้นม้วน)
[ɹ̩] Ra repa
[ɹ̩ː]
ทันตยะ
ᬤᬦ᭄ᬢ᭄ᬬ
(ฟัน)
[l̩] La lenga
[l̩ː]
โอษฐยะ
ᬑᬱ᭄ᬞ᭄ᬬ
(ริมฝีปาก)
u [u] U kara
ū [uː]
กัณฐตาลวยะ
ᬓᬡ᭄ᬞ᭄ᬬᬢᬵᬮᬯ᭄ᬬ
(เพดานแข็ง-คอหอย)
e [e]
[ɛ]
E kara Airsanya
ai [aːi]
กัณโฐษฐยะ
ᬓᬡ᭄ᬞ᭄ᬬᬑᬱ᭄ᬞ᭄ᬬ
(ริมฝีปาก-คอหอย)
o [o]
[ɔ]
O kara
au [aːu]

เครื่องหมายเสริมสัทอักษร[แก้]

ตัวเลข[แก้]

ตัวเลขบาหลีเขียนในวิธีเดียวกันกับตัวเลขอาหรับ เช่น 25 เขียนในตัวเลขบาหลีเป็น 2 กับ 5

ภาพ อักษร ตัวเลขอาหรับ ชื่อ ภาพ อักษร ตัวเลขอาหรับ ชื่อ
0 Bindu
Windu
5 Lima
1 Siki
Besik
6 Nem
2 Kalih
Dua
7 Pitu
3 Tiga
Telu
8 Kutus
4 Papat
9 Sanga
Sia

ถ้าตัวเลขอยู่ในข้อความ ก็จะมีการเขียน carik ข้างหน้าหรือหลังเพื่อแยกตัวเลขจากข้อความ โดยด้านล่างคือตัวอย่างวิธีเขียนวันที่ในตัวเลขบาหลี (วันที่: 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1982, ที่ตั้ง: บาหลี):

อักษรบาหลี ทับศัพท์
Bali, 1 Juli 1982.
Bali, 1 Juli 1982.

ᬩᬮᬶ᭞᭑᭞ᬚᬸᬮᬶ᭞᭑᭙᭘᭒᭟
Bali, 1 Juli 1982.

สัญลักษณ์อื่น ๆ[แก้]

นอกจากนี้ ยังมีสัญลักษณ์พิเศษในอักษรบาหลี โดยบางส่วนใช้เป็นเครื่องหมายวรรคตอน และบางส่วนเป็นเครื่องหายทางศาสนา:

ภาพ สัญลักษณ์ ชื่อ รายละเอียด
Carik
Carik Siki
เขียนตรงกลางประโยค ทำหน้าที่เหมือนจุลภาค (,) และเขียนใกล้ตัวเลขเพื่อแยกมันจากข้อความ
Carik Kalih
Carik Pareren
เขียนตรงปลายประโยค ทำหน้าที่เหมือนมหัพภาค (.)
Carik pamungkah ทำหน้าที่เหมือนทวิภาค (:)
Center ᭟᭜᭟ Pasalinan ใช้ที่ปลายร้อยแก้ว ข้อความ หรือร้อยกรอง
Panten or Panti ใช้ที่ต้นร้อยแก้ว ข้อความ หรือร้อยกรอง
Pamada ใช้ที่ต้นข้อความทางศาสนา สัญลักษณ์นี้เป็นตัวแฝดของอักษร ma, nga, ja และ pa ก่อห้เกิดคำว่า mangajapa ซึ่งมีความหมายประมาณว่า "ขอให้ปลอดภัย"
ᬒᬁ Ongkara สัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาฮินดู ออกเสียงเป็น "Ong" หรือ "Om"

ยูนิโคด[แก้]

มีการเพิ่มอักษรบาหลีลงในยูนิโคดเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2006 ในรุ่นที่ 5.0.

บล็อกยูนิโคดสำหรับอักษรบาหลีอยู่ที่ U+1B00-U+1B7F:


บาหลี
Unicode.org chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+1B0x
U+1B1x
U+1B2x
U+1B3x ᬿ
U+1B4x        
U+1B5x
U+1B6x
U+1B7x      


ตัวอย่าง[แก้]

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อที่ 1:

Sami manusané sané nyruwadi wantah mardéka tur maduwé kautamaan lan hak-hak sané pateh. Sami kalugrähin papineh lan idep tur mangdané paḍa masawitra melarapan semangat pakulawargaan.
[มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรี และสิทธิ ต่างในตนมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ][7]

ᬲᬫᬶᬫᬦᬸᬲᬦᬾᬲᬦᬾᬜ᭄ᬭᬸᬯᬤᬶᬯᬦ᭄ᬢᬄᬫᬭ᭄ᬤᬾᬓᬢᬸᬃᬫᬤᬸᬯᬾᬓᬳᬸᬢ᭄ᬢᬫᬳᬦ᭄ᬮᬦ᭄ᬳᬓ᭄ᬳᬓ᭄ᬲᬦᬾᬧᬢᭂᬄ᭟ᬲᬫᬶᬓᬮᬸᬕ᭄ᬭᬵᬳᬶᬦ᭄ᬧᬧᬶᬦᭂᬄᬮᬦ᭄ᬳᬶᬤᭂᬧ᭄ᬢᬸᬃᬫᬗ᭄ᬤᬦᬾᬧᬟᬫᬲᬯᬶᬢ᭄ᬭᬫᭂᬮᬭᬧᬦ᭄ᬲᭂᬫᬗᬢ᭄ᬧᬓᬸᬮᬯᬭ᭄ᬕᬳᬦ᭄᭞

กากาวินภารตะยุทธ์ ปาซาลิน 1 โองการที่ 1 (wirama jagaddhita):

Sang śūrā mriha yadnya ring samara mahyuni hilanganikang parāng muka, līlā kembangura sekartaji nikéśaning ari pejahing raṇānggaṇa, ūrṇāning ratu māti wīja nira, kuṇḍa nira nagaraning musuh geseng, sāityā uti teṇḍasing ripu kapöka niratha nika suśraméng gala.

ᬲᬂᬰᬹᬭᬵᬫ᭄ᬭᬶᬳᬬᬚ᭄ᬜᬭᬶᬂᬲᬫᬭᬫᬳ᭄ᬬᬸᬦᬶᬳᬶᬮᬗᬦᬶᬓᬂᬧᬭᬵᬂᬫᬸᬓ᭞

ᬮᬷᬮᬵᬓᭂᬫ᭄ᬩᬗᬸᬭᬲᭂᬓᬭ᭄ᬢᬚᬶᬦᬶᬓᬾᬰᬦᬶᬗᬭᬶᬧᭂᬚᬳᬶᬂᬭᬡᬵᬗ᭄ᬕᬡ᭞ ᬒᬭ᭄ᬡᬵᬦᬶᬂᬭᬢᬸᬫᬵᬢᬶᬯᬷᬚᬦᬶᬭ᭞ᬓᬸᬡ᭄ᬟᬦᬶᬭᬦᬕᬭᬦᬶᬂᬫᬸᬲᬸᬄᬕᭂᬲᭂᬂ᭞

ᬲᬵᬳᬶᬢ᭄ᬬᬵᬳᬸᬢᬶᬢᭂᬡ᭄ᬟᬲᬶᬂᬭᬶᬧᬸᬓᬧᭃᬓᬦᬶᬭᬣᬦᬶᬓᬲᬸᬰ᭄ᬭᬫᬾᬗ᭄ᬕᬮ᭛

ภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Everson, Michael; Suatjana, I Made (2005-01-23). "N2908: Proposal for encoding the Balinese script in the UCS" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2016-09-09.
  2. 2.0 2.1 Kuipers, Joel (2003). Indic Scripts of Insular Southeast Asia: Changing Structures and Functions เก็บถาวร 2014-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Tokyo: Tokyo University of Foreign Studies.
  3. Fox, Richard (2013). Rival Styles of Writing, Rival Styles of Practical Reasoning. Heidelberg: Institut für Ehtnologie.
  4. Tinggen, p. 16
  5. Tinggen, p. 23
  6. "Unicode Table" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2013-11-13.
  7. "OHCHR |". www.ohchr.org. สืบค้นเมื่อ 2020-03-21.

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Surada, I Made (2007). Kamus Sanskerta-Indonesia. Surabaya: Penerbit Paramitha.
  • Simpen, I Wayan. Pasang Aksara Bali. Bali: Dinas Pendidikan dan Kebudayaan Provinsi Daerah Tingkat I.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]