ตัวเลขอาหรับ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตัวเลขอาหรับในแบบอักษร Source Sans

ตัวเลขอาหรับ (อังกฤษ: Arabic numerals) หรือ ตัวเลขอาหรับตะวันตก (อังกฤษ: Western Arabic numerals) เป็นเลขโดด 10 ตัว ได้แก่: 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 และ 9 โดยเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนจำนวนเลขฐานสิบที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด สามารถเขียนเลขฐานอื่น ๆ เช่น เลขฐานแปด และใช้เป็นตัวระบุตัวตน เช่น ป้ายทะเบียน

คำนี้มักใช้เพื่อหมายถึงจำนวนเลขฐานสิบอย่างไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะเมื่อตั้งอยู่ตรงข้ามกับ ตัวเลขโรมัน อย่างไรก็ตาม เลขฐานสิบได้รับการพัฒนาก่อนการคิดค้นตัวเลขอาหรับในอนุทวีปอินเดียด้วยสัญลักษณ์อื่น ๆ นอกจากนี้ ตัวเลขอาหรับยังสามารถใช้ได้หลายแบบนอกจากเลขฐานสิบ บางครั้งเรียกชุดสัญลักษณ์ทั้งหมดที่ใช้เขียนเลขฐานสิบว่า ตัวเลขฮินดู-อาหรับ[1][2]

ประวัติ[แก้]

ต้นกำเนิดสัญลักษณ์เลขอาหรับ[แก้]

พัฒนาการของตัวเลขอินเดียไปเป็นตัวเลขอาหรับและการนำไปใช้ในยุโรป

เหตุผลที่ตัวเลขเหล่านี้มีชื่อเรียกว่า "ตัวเลขอาหรับ" ในทวีปยุโรปและอเมริกาก็เพราะว่าผู้พูดภาษาอาหรับจากสเปนและแอฟริกานำตัวเลขเหล่านี้ (ซึ่งใช้กันจากลิเบียถึงโมร็อกโก) เข้าสู่ยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ในขณะที่ส่วนตะวันออกของคาบสมุทรอาหรับ ชาวอาหรับใช้ตัวเลขอาหรับตะวันออกหรือ "มัชริกี": ٠ ١ ٢ ٣ ٤ ٥ ٦ ٧ ٨ ٩[a]

อันนะซะวีเขียนในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11 ไว้ว่า นักคณิตศาสตร์ยังไม่เห็นด้วยกับรูปแบบตัวเลข แต่ส่วนใหญ่ยอมรับที่จะฝึกกับรูปตัวเลขที่มีชื่อว่า ตัวเลขอาหรับตะวันออก[3] ตัวอย่างลายลักษณ์อักษรแรกสุดของตัวเลขมาจากอียิปต์และอยู่ในช่วง ค.ศ. 873–874 โดยมีตัวเลข "2" สามแบบและตัวเลข "3" สองแบบ และรูปแบบต่าง ๆ เหล่านี้บ่งบอกถึงความแตกต่างที่ภายหลังมีชื่อว่าตัวเลขอาหรับตะวันออกและตัวเลขอาหรับตะวันตก[4] ตัวเลขอาหรับตะวันตกเริ่มมีผู้ใช้งานในอัลมัฆริบและอัลอันดะลุสมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 เป็นต้นมา[5]

ตำนานยอดนิยมอ้างว่าสัญลักษณ์เหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อระบุค่าตัวเลขผ่านจำนวนมุมที่มีอยู่ แต่ไม่มีหลักฐานใดมาสนับสนุนสิ่งนี้ และตำนานสามารถปรับรูปแบบตัวเลขหลักใดก็ตามที่อยู่ถัดจากเลข 4 ได้ยาก[6]

เทียบตัวเลขแบบอื่น[แก้]

อาหรับตะวันตก 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
อาหรับตะวันออก[b] ٠ ١ ٢ ٣ ٤ ٥ ٦ ٧ ٨ ٩ ١٠
เปอร์เซีย[c] ۰ ۱ ۲ ۳ ۴ ۵ ۶ ۷ ۸ ۹ ۱۰
อูรดู[d] ۰ ۱ ۲ ۳ ۴ ۵ ۶ ۷ ۸ ۹ ۱۰

หมายเหตุ[แก้]

  1. แสดงจากขวาไปซ้าย เลขศูนย์อยู่ทางขวา เลขเก้าอยู่ทางซ้าย
  2. U+0660 ถึง U+0669
  3. U+06F0 ถึง U+06F9 ตัวเลข 4, 5 และ 6 มีความแตกต่างจากเลขอาหรับตะวันออก
  4. อักษรยูนิโคดเดียวกันกับเปอร์เซีย แต่อยู่ในเซ็ตภาษาอูรดู ตัวเลข 4, 6 และ 7 มีความแตกต่างจากเลขเปอร์เซีย ในบางอุปกรณ์อาจแสดงรูปร่างคล้ายกับเปอร์เซีย

อ้างอิง[แก้]

  1. "Arabic numeral". American Heritage Dictionary. Houghton Mifflin Harcourt Publishing Company. 2020.
  2. "Hindu-Arabic numerals". Encyclopædia Britannica. Britannica Group. 2017.
  3. Kunitzsch, The Transmission of Hindu-Arabic Numerals Reconsidered 2003, p. 7: "Les personnes qui se sont occupées de la science du calcul n'ont pas été d'accord sur une partie des formes de ces neuf signes; mais la plupart d'entre elles sont convenues de les former comme il suit."
  4. Kunitzsch, The Transmission of Hindu-Arabic Numerals Reconsidered 2003, p. 5.
  5. Kunitzsch, The Transmission of Hindu-Arabic Numerals Reconsidered 2003, pp. 12–13: "While specimens of Western Arabic numerals from the early period—the tenth to thirteenth centuries—are still not available, we know at least that Hindu reckoning (called ḥisāb al-ghubār) was known in the West from the tenth century onward..."
  6. Ifrah, Georges (1998). The universal history of numbers: from prehistory to the invention of the computer. แปลโดย David Bellos (from the French). London: Harvill Press. pp. 356–357. ISBN 9781860463242.

ข้อมูล[แก้]

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]