เกาะลมบก
ลมบก | |
---|---|
![]() ภาพรังสีอินฟราเรดของเกาะลมบกกับภูเขารินจานี ถ่ายเมื่อพฤษภาคม 2535 | |
| |
ที่ตั้ง | เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
พิกัด | 8°33′54″S 116°21′04″E / 8.565°S 116.351°E |
กลุ่มเกาะ | หมู่เกาะซุนดาน้อย
|
เนื้อที่ | 4,725 ตารางกิโลเมตร
|
ระดับสูงสุด | 3,726 เมตร |
จุดสูงสุด | รินจานี |
![]() | |
จังหวัด | นูซาเติงการาตะวันตก |
เมืองใหญ่สุด | มาตารัม
|
จำนวนประชากร | 2,536,000 (ในปี 2547) |
ความหนาแน่น | 537 คนต่อตารางกิโลเมตร |
ชนพื้นเมือง | ซาซัก บาหลี |
เกาะลมบก (อินโดนีเซีย: Lombok) เป็นเกาะที่อยู่ทางตะวันออกของเกาะบาหลี คำว่า "ลมบก" ในภาษาชวาหมายถึงพริกขี้หนู ตั้งอยู่ในจังหวัดนูซาเติงการาตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย
ภูมิประเทศ[แก้]
เป็นทิวเขาและภูเขาไฟ
ประชากร[แก้]
ส่วนใหญ่เป็นชาวซาซักมีภาษาเป็นของตนเองคือภาษาซาซักที่ใกล้เคียงกับภาษาชวาและภาษาบาหลี วัฒนธรรมหลายอย่างของชาวซาซักก็ใกล้เคียงกับวัฒนธรรมของชวาและบาหลี ชาวซาซักแบ่งตามศาสนาได้ 2 กลุ่มคือ
- เวอตูลิมา นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี แบบเดียวกับชาวอินโดนีเซียโดยทั่วไป
- เวอตูเตอลู นับถือศาสนาอิสลามควบคู่กับวัฒนธรรมดั้งเดิม
ประวัติศาสตร์[แก้]
เดิมเกาะลมบกเป็นอาณาจักรอิสระประกอบด้วยอาณาจักรเล็กๆหลายแห่ง โดยอาณาจักรที่สำคัญที่สุดคืออาณาจักรเซอลาปารัง ที่นับถือศาสนาฮินดู ต่อมาชวาตะวันออกได้ยกทัพมาตีและรวมลมบกเข้ากับอาณาจักรมัชปาหิต โดยลมบกรับอิทธิพลจากชวาทั้งศาสนาฮินดูและศาสนาอิสลาม
ต่อมาชาวบาหลีในสมัยอาณาจักรคารังกาเซ็มเข้ามาปกครองลมบกจนถึง พ.ศ. 2437 ในปีนี้เอง ลมบกร่วมมือกับเนเธอร์แลนด์ก่อกบฏต่อบาหลี ซึ่งทำให้บาหลีเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ อย่างไรก็ตามเมื่อเนเธอร์แลนด์ชนะได้เข้ามาปกครองลมบกในฐานะอาณานิคมทันที จนญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกเมื่อพ.ศ. 2485 เนเธอร์แลนด์เคลื่อนพลกลับมาอีกครั้งเมื่อสงครามสงบในพ.ศ. 2488 แต่เกิดการต่อต้านจากชาวพื้นเมืองโดยทั่วไป เมื่ออินโดนีเซียได้รับเอกราช ลมบกจึงเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซีย