ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศรัณยู วงษ์กระจ่าง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Song2281 (คุย | ส่วนร่วม)
Song2281 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 39: บรรทัด 39:




=== ผลงาน ===
==ทางสังคมและการเมือง==
ได้เข้าร่วมชุมนุมใน[[เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ]] [[พ.ศ. 2535]] และเป็นหนึ่งใน 100 บุคคลที่ร่วมก่อตั้ง[[พรรคไทยรักไทย]]ขึ้นในปี [[พ.ศ. 2541]] รวมถึงเป็นกรรมการบริหารพรรคในระยะแรกด้วย<ref>[http://www.siangtai.com/TH/news_detail.php?News_ID=212&Cat_ID=19 เสียงใต้รายวัน]</ref> แต่ใน[[วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2550]] ศรัณยูเป็นบุคคลหนึ่งที่เข้าร่วมใน[[การขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี|การขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี]] โดยเข้าร่วมชุมนุมตั้งแต่วันแรกที่มาชุมนุม คือ [[วันเสาร์]]ที่ [[4 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2549]] ที่[[ลานพระบรมรูปทรงม้า]] และได้ร่วมชุมนุมอยู่บ่อยครั้งและได้ขึ้นเวทีปราศรัยร่วมกับ[[พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง]] เพื่อนนักแสดงที่หน้า[[ทำเนียบรัฐบาล]]ด้วย

ต่อมาก็เกิดวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย ขึ้นอีกครั้ง ศรัณยูเป็นบุคคลหนึ่งที่เข้าร่วมใน[[การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551|การขับไล่ นายสมัคร สุนทรเวช และคณะรัฐมนตรีทั้งชุดลาออกจากตำแหน่ง]] และได้ขึ้นเวทีร้องเพลงกับ [[ไก่ แมลงสาบ]] และ[[ซูซู|วงซูซู]]อย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งถูกแต่งตั้งให้เป็นแกนนำฯรุ่นที่ 2 พร้อมกับนาง[[มาลีรัตน์ แก้วก่า]] ในวันที่ [[23 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2551]]

และในวันที่ [[6 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2552]] ได้รับเลือกให้เป็นรองเลขาธิการ[[พรรคการเมืองใหม่]]ของทางกลุ่มพันธมิตรฯ
[[ไฟล์:ศรัณยู.jpg|thumb|200px|right|ขณะปราศรัยบนเวทีกับ [[พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง]] ที่หน้า[[สยามพาราก้อน]]เมื่อวันที่ [[29 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2549]] ในคราว[[การขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี|ขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร]]]]

นอกจากนี้แล้วหลังจบการชุมนุมเมื่อปี พ.ศ. 2551 ของทางกลุ่มพันธมิตรฯ ศรัณยูมีความคิดที่จะสร้างภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับการชุมนุมครั้งนี้ด้วย โดยกำหนดจะออกฉายในราวกลางปี พ.ศ. 2552 ถึงขนาดมีการคัดเลือกผู้ที่จะมาเป็นนักแสดง โดยเลือกเอาจากบุคคลทั่วไปหรือบุคคลที่เคยเข้าร่วมการชุมนุมจริง ๆ เป็นนักแสดงนำในเรื่อง แต่แล้วจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2557) ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวก็ยังมิได้มีการสร้างและออกฉายแต่ประการใด<ref>{{cite web|url=http://news.hunsa.com/14441-%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%A7-%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88-%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A7-%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AF%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A1.html|title= "ตั้ว" เตรียมสร้างหนังใหญ่ เล่าเรื่องราว กลุ่มพันธมิตรฯชุมนุม|date=19 January 2009|accessdate=31 March 2014|publisher=หรรษา}}</ref>

== '''ผลงานภาพยนตร์''' ==
== '''ผลงานภาพยนตร์''' ==
บรรทัด 208: บรรทัด 199:
|-
|-
|}
|}

=== การเมือง ===
== ชุมนุมทางการเมือง ==
ได้เข้าร่วมชุมนุมใน[[เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ]] [[พ.ศ. 2535]] และเป็นหนึ่งใน 100 บุคคลที่ร่วมก่อตั้ง[[พรรคไทยรักไทย]]ขึ้นในปี [[พ.ศ. 2541]] รวมถึงเป็นกรรมการบริหารพรรคในระยะแรกด้วย<ref>[http://www.siangtai.com/TH/news_detail.php?News_ID=212&Cat_ID=19 เสียงใต้รายวัน]</ref> แต่ใน[[วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2550]] ศรัณยูเป็นบุคคลหนึ่งที่เข้าร่วมใน[[การขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี|การขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี]] โดยเข้าร่วมชุมนุมตั้งแต่วันแรกที่มาชุมนุม คือ [[วันเสาร์]]ที่ [[4 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2549]] ที่[[ลานพระบรมรูปทรงม้า]] และได้ร่วมชุมนุมอยู่บ่อยครั้งและได้ขึ้นเวทีปราศรัยร่วมกับ[[พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง]] เพื่อนนักแสดงที่หน้า[[ทำเนียบรัฐบาล]]ด้วย

ต่อมาก็เกิดวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย ขึ้นอีกครั้ง ศรัณยูเป็นบุคคลหนึ่งที่เข้าร่วมใน[[การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551|การขับไล่ นายสมัคร สุนทรเวช และคณะรัฐมนตรีทั้งชุดลาออกจากตำแหน่ง]] และได้ขึ้นเวทีร้องเพลงกับ [[ไก่ แมลงสาบ]] และ[[ซูซู|วงซูซู]]อย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งถูกแต่งตั้งให้เป็นแกนนำฯรุ่นที่ 2 พร้อมกับนาง[[มาลีรัตน์ แก้วก่า]] ในวันที่ [[23 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2551]]

และในวันที่ [[6 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2552]] ได้รับเลือกให้เป็นรองเลขาธิการ[[พรรคการเมืองใหม่]]ของทางกลุ่มพันธมิตรฯ
[[ไฟล์:ศรัณยู.jpg|thumb|200px|right|ขณะปราศรัยบนเวทีกับ [[พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง]] ที่หน้า[[สยามพาราก้อน]]เมื่อวันที่ [[29 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2549]] ในคราว[[การขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี|ขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร]]]]

นอกจากนี้แล้วหลังจบการชุมนุมเมื่อปี พ.ศ. 2551 ของทางกลุ่มพันธมิตรฯ ศรัณยูมีความคิดที่จะสร้างภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับการชุมนุมครั้งนี้ด้วย โดยกำหนดจะออกฉายในราวกลางปี พ.ศ. 2552 ถึงขนาดมีการคัดเลือกผู้ที่จะมาเป็นนักแสดง โดยเลือกเอาจากบุคคลทั่วไปหรือบุคคลที่เคยเข้าร่วมการชุมนุมจริง ๆ เป็นนักแสดงนำในเรื่อง แต่แล้วจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2557) ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวก็ยังมิได้มีการสร้างและออกฉายแต่ประการใด<ref>{{cite web|url=http://news.hunsa.com/14441-%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%A7-%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88-%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A7-%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AF%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A1.html|title= "ตั้ว" เตรียมสร้างหนังใหญ่ เล่าเรื่องราว กลุ่มพันธมิตรฯชุมนุม|date=19 January 2009|accessdate=31 March 2014|publisher=หรรษา}}</ref>


=== งานเขียนหนังสือ ===
=== งานเขียนหนังสือ ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:31, 8 ตุลาคม 2557

ศรัณยู วงษ์กระจ่าง
ในบท ชัย จาก อำมหิตพิศวาส ที่กำกับและแสดงเอง (พ.ศ. 2549)
ในบท ชัย จาก อำมหิตพิศวาส ที่กำกับและแสดงเอง (พ.ศ. 2549)
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด17 ตุลาคม พ.ศ. 2503 (63 ปี)
นรัณยู วงษ์กระจ่าง
คู่สมรสหัทยา วงษ์กระจ่าง
อาชีพนักแสดง พิธีกร ผู้กำกับละคร ผู้กำกับภาพยนตร์ นักการเมือง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2522 - ปัจจุบัน
ผลงานเด่นดอน กิโฆเต้ จาก สู่ฝันอันสูงสุด ละครเวที (2530)
ชายกลาง จาก บ้านทรายทอง และ พจมาน สว่างวงศ์ ละครทางช่อง 7 (2530)
คุณหลวงอัครเทพวรากร จาก ทวิภพ ละครทางช่อง 7 (2537)
ไอ้คล้าว จาก มนต์รักลูกทุ่ง ละครทางช่อง 7 (2538)
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ จาก สุริโยไท (2544)
พระยาราชเสนา จาก องค์บาก 2 (2551) และ องค์บาก 3 (2553)
พระสุรัสวดีนักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม (เข้าชิง)
พ.ศ. 2543 - สตางค์
เมขลานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม พ.ศ. 2537 - ทวิภพ ละครทางช่อง 7
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

ศรัณยู วงษ์กระจ่าง (ชื่อเล่น: ตั้ว) มีชื่อจริงว่า นรัณยู วงษ์กระจ่าง (เปลี่ยนมาจาก ศรัณยู วงษ์กระจ่าง)[1] เกิดวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2503 ที่ตำบลกระดังงา อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม[2]

ศรัณยูเป็นแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 2 เป็นนักแสดง พิธีกร ผู้กำกับการแสดงละครและภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในวงการบันเทิงของไทย ก่อนจะเข้ามาในวงการบันเทิง ประกอบอาชีพเป็นสถาปนิกมาก่อน แต่เนื่องจากอาชีพสถาปนิกในเวลานั้น ยังไม่เป็นที่นิยมอย่างในปัจจุบัน ซึ่งศรัณยูได้ร่วมกิจการการแสดงโดยแสดงละครของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เมื่อยังเป็นนิสิตอยู่แล้ว (ซึ่งบทบาทการแสดงละครเวทีที่เป็นที่จดจำมากที่สุด คือ สู่ฝันอันสูงสุด) เมื่อจบออกมามีผลงานชิ้นแรกทางโทรทัศน์ โดยแสดงเป็นตัวประกอบในรายการเพชฌฆาตความเครียด ทางช่อง 9 ในปี พ.ศ. 2527 โดยแสดงร่วมกับนักแสดงรุ่นพี่ที่เป็นศิษย์เก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่นเดียวกัน เช่น ปัญญา นิรันดร์กุล, เกียรติ กิจเจริญ, วัชระ ปานเอี่ยม เป็นต้น

ศรัณยู มีผลงานทางด้านการแสดง พิธีกร ผู้กำกับละคร ผู้กำกับภาพยนตร์ เป็นผู้กำกับละครทางทีวีเรื่อง "เทพนิยายนายเสนาะ" (2541), ละครพีเรียดเรื่อง "น้ำพุ" (2545), ละครสั้นสองตอนจบเรื่อง "ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด" (2545), ละครเรื่อง "สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย" (2546), ละครเรื่อง "หลังคาแดง" (2547), ละครเรื่อง "ตราบสิ้นดินฟ้า" (2551) และการกำกับภาพยนตร์เรื่องแรก "อำมหิตพิศวาส" (2550)

ชีวิตส่วนตัว เป็นน้องชายแท้ๆ ของ ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ มีพี่น้อง 4 คน แต่ว่าใช้คนละนามสกุลกัน เนื่องจากในวัยเด็ก ศรันยูได้ถูกป้าขอไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมจึงใช้นามสกุลของป้า

ชีวิตครอบครัว สมรสกับ หัทยา เกตุสังข์ นักแสดงและดีเจชื่อดัง มีบุตรสาวฝาแฝด ชื่อ ศุภรา (ชื่อเล่น: ลูกหนุน) และศิตลา (ชื่อเล่น: ลูกหนัง) ปัจจุบันเป็นเจ้าของกิจการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้นขนุนลูกหนัง เป็นบริษัทการแสดงละคร ดนตรี และศิลปะอื่น ๆ ย่านเขตภาษีเจริญ ซึ่งเป็นบ้านที่อยู่ปัจจุบันด้วย


ผลงาน

ผลงานภาพยนตร์

ผลงานละครโทรทัศน์

ไฟล์:มนต์รักลูกทุ่ง2538.jpg
ศรัณยู วงษ์กระจ่าง ใน ละครมนต์รักลูกทุ่ง ในปี พ.ศ. 2538
อาเหลียง รับบทโดย ศรัณยู วงษ์กระจ่าง ในละคร ลอดลายมังกร ในปี พ.ศ. 2549

ช่อง 3


ช่อง 5


ช่อง 7

ผลงานพิธีกร

ผลงานเพลง

  • "ครั้งหนึ่ง" ศรัณยู วงษ์กระจ่าง
  • "หัวใจลูกทุ่ง ชุด 1"
  • 193 วัน รำลึก
  • 7 ตุลา รำลึก

ละครเวที

  • พันท้ายนรสิงห์ ณ ศาลาเฉลิมไทย (พ.ศ. 2532)
  • สัญญาณเลือดสัญญารัก
  • อภินิหาร แม่มดแฝด
  • ไร่แสนสุข 2530
  • ซินเดอเรลล่า ณ โรงละครแห่งชาติ (โรงใหญ่) วันที่ 22-24 พฤศจิกายน 2534
  • ทึนทึก ณ โรงละคร A.U.A. 27-28 มีนาคม 2535 และ 8-10 พฤษภาคม 2535
  • ตะลุยเมืองตุ๊กตา ณ โรงละครแห่งชาติ (โรงใหญ่) 3-12 กรกฎาคม 2535
  • จิ้งจอกลอกลาย ณ โรงละคร A.U.A. 18-30 กันยายน 2535*
  • ทู้ตซี่ ณ โรงละคร A.U.A. 7-16 พฤษภาคม 2536
  • อมาดิอุส ณ โรงละครกรุงเทพ 13-29 กันยายน 2539
  • ART ณ โรงละครกรุงเทพ 2-11 มิถุนายน 2543
  • เรื่องลับๆ…ตอนดับไฟ รับบท ว่าที่พ่อตาจอมโหด 23 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม 2547
  • ทึนทึก 40 ปีผ่าน..คานเพิ่งขยับ 2551
  • ฟ้าจรดทราย เดอะมิวสิคัล รับบท กษัตริย์อาเหม็ด

ผู้จัดละคร และ ผู้กำกับ

ผลงานทั้งหมดในฐานะผู้จัดละคร และ ผู้กำกับ (TV Drama Producer) บริษัท คลิก เทเลวิชั่น จำกัด , บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด และ บริษัท สามัญการละคร จำกัด

ละครโทรทัศน์ ละครเวที และ ภาพยนตร์
พุทธศักราช เรื่อง นักแสดงนำ บริษัท หมายเหตุ
2541 เทพนิยายนายเสนาะ ละครโทรทัศน์
2545 น้ำพุ สินจัย เปล่งพานิช / จิรายุส วรรธนะสิน / ตะวัน จารุจินดา / เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์ คลิกเทเลวิชั่น ละครพีเรียด
2546 สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย ตะวัน จารุจินดา / วรนุช ภิรมย์ภักดี / มาติกา อรรถกรศิริโพธิ์ / ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ คลิกเทเลวิชั่น ละครโทรทัศน์
2547 หลังคาแดง ดนุพร ปุณณกันต์ / จีรนันท์ มะโนแจ่ม / สินจัย เปล่งพานิช คลิกเทเลวิชั่น ละครโทรทัศน์
2548 ร.ศ. 112 คนไทยรักแผ่นดิน สินจัย เปล่งพานิช / ชไมพร จตุรภุช / อนุชิต สพันธุ์พงษ์ / พิมลรัตน์ พิศลยบุตร แชนแนลซี ละครโทรทัศน์
2549 "อำมหิตพิศวาส" (The Passion) ศรัณยู วงษ์กระจ่าง / บงกช คงมาลัย / ตะวัน จารุจินดา สหมงคลฟิล์ม แสดงนำ และ กำกับภาพยนตร์
2551 ตราบสิ้นดินฟ้า ยุรนันท์ ภมรมนตรี / อนุชิต สพันธุ์พงษ์ / คัทลียา แมคอินทอช / อนุวัฒน์ นิวาตวงศ์ / วิทวัส สิงห์ลำพอง / เมย์ เฟื่องอารมย์ / คัทลียา แมคอินทอช / ณหทัย พิจิตรา บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด ละครพีเรียด
2554 คนโขน นิรุตติ์ ศิริจรรยา / สรพงศ์ ชาตรี / พิมลรัตน์ พิศลยบุตร / นันทรัตน์ ชาวราษฎร์ / อภิญญา รุ่งพิทักษ์มานะ / ขจรพงศ์ พรพิสุทธิ์ สหมงคลฟิล์ม กำกับภาพยนตร์
2555 หลังคาแดง โทนี่ รากแก่น / รมิตา มหาพฤกษ์พงศ์ ละครเวที
2556 สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย ศรัณย์ ศิริลักษณ์ / ธัญญะสุภางค์ จิรปรีชานนท์ / ณัฐชา นวลแจ่ม / ปิยพันธ์ ขำกฤษ สามัญการละคร ละครโทรทัศน์รีเมค
2557 หัวใจเถื่อน อรรคพันธ์ นะมาตร์ / อุษามณี ไวทยานนท์ / พิชยดนย์ พึ่งพันธ์ / จุฑามาศ มันตะลัมพะ / สุรวุฑ ไหมกัน / พิมพ์พรรณ ชลายนคุปต์ / ศรัณย่า ชุณหศาสตร์ สามัญการละคร ละครโทรทัศน์รีเมค
เลื่อมสลับลาย กำลังสรุปนักแสดง สามัญการละคร ละครโทรทัศน์รีเมค
รอยรักแรงแค้น กำลังสรุปนักแสดง สามัญการละคร ละครโทรทัศน์รีเมค

การเมือง

ชุมนุมทางการเมือง

ได้เข้าร่วมชุมนุมในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 และเป็นหนึ่งใน 100 บุคคลที่ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทยขึ้นในปี พ.ศ. 2541 รวมถึงเป็นกรรมการบริหารพรรคในระยะแรกด้วย[3] แต่ในวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2550 ศรัณยูเป็นบุคคลหนึ่งที่เข้าร่วมในการขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยเข้าร่วมชุมนุมตั้งแต่วันแรกที่มาชุมนุม คือ วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า และได้ร่วมชุมนุมอยู่บ่อยครั้งและได้ขึ้นเวทีปราศรัยร่วมกับพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง เพื่อนนักแสดงที่หน้าทำเนียบรัฐบาลด้วย

ต่อมาก็เกิดวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย ขึ้นอีกครั้ง ศรัณยูเป็นบุคคลหนึ่งที่เข้าร่วมในการขับไล่ นายสมัคร สุนทรเวช และคณะรัฐมนตรีทั้งชุดลาออกจากตำแหน่ง และได้ขึ้นเวทีร้องเพลงกับ ไก่ แมลงสาบ และวงซูซูอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งถูกแต่งตั้งให้เป็นแกนนำฯรุ่นที่ 2 พร้อมกับนางมาลีรัตน์ แก้วก่า ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

และในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ได้รับเลือกให้เป็นรองเลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ของทางกลุ่มพันธมิตรฯ

ไฟล์:ศรัณยู.jpg
ขณะปราศรัยบนเวทีกับ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง ที่หน้าสยามพาราก้อนเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2549 ในคราวขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

นอกจากนี้แล้วหลังจบการชุมนุมเมื่อปี พ.ศ. 2551 ของทางกลุ่มพันธมิตรฯ ศรัณยูมีความคิดที่จะสร้างภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับการชุมนุมครั้งนี้ด้วย โดยกำหนดจะออกฉายในราวกลางปี พ.ศ. 2552 ถึงขนาดมีการคัดเลือกผู้ที่จะมาเป็นนักแสดง โดยเลือกเอาจากบุคคลทั่วไปหรือบุคคลที่เคยเข้าร่วมการชุมนุมจริง ๆ เป็นนักแสดงนำในเรื่อง แต่แล้วจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2557) ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวก็ยังมิได้มีการสร้างและออกฉายแต่ประการใด[4]

งานเขียนหนังสือ

  • บันทึกบทสุดท้าย ปลายทางพันธมิตร สำนักพิมพ์ บันลือกรุ๊ป
  • ก้าวที่พลาด (กล่าวถึงการตัดสินใจที่ผิดพลาดในการเข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง) ของสำนักพิมพ์ เรดนิวส์
  • ตั้วเฮีย ไม่เสียชาติเกิดที่เป็นคนไทย ของสำนักพิมพ์ สารพันสาสน์

รางวัลที่ได้รับ

อื่นๆ

  • แม่น้ำของแผ่นดิน ปีที่ 3 ชุดมหาราชจอมราชัน
  • ผู้กำกับการแสดงละครเวทีประวัติพรรคประชาธิปัตย์ งานเลี้ยงฉลองครบรอบ 60 ปี พรรคประชาธิปัตย์ (6 เมษายน พ.ศ. 2549)
  • ผู้กำกับละครยอดเยี่ยม Drama Award 2013 จากละคร สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย
  • เข้าชิง รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 5 สาขาผู้กำกับยอดเยี่ยม จากละครเรื่องสุภาษบุรุษลูกผู้ชาย ออกอากาศทางช่อง 7

อ้างอิง

  1. ไทยโพสต์
  2. ภัทรพร อภิชิต, ในความทรงจำ... ศรัณยู วงษ์กระจ่าง, นิตยสารมนต์รักแม่กลอง, ปีที่ 1 ฉบับที่ 5, ตุลาคม 2551, หน้า 41
  3. เสียงใต้รายวัน
  4. ""ตั้ว" เตรียมสร้างหนังใหญ่ เล่าเรื่องราว กลุ่มพันธมิตรฯชุมนุม". หรรษา. 19 January 2009. สืบค้นเมื่อ 31 March 2014.
  • ประวัตินิสิตเก่าดีเด่น คณะสถาปัตย์จุฬาฯ
  • อำมหิตพิศวาส deknang.com
  • นิตยสารดาราภาพยนตร์ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑

แหล่งข้อมูลอื่น

  • [1] MAN OF ‘มัฆวานรังสรรค์’ ศรัณยู วงษ์กระจ่าง : สู่ฝันอันสูงสุด, นิตยสาร Mars, พฤศจิกายน 2551