ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อักษรธรรมล้านนา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
RxAlchemiste (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 384: บรรทัด 384:
* [http://www.omniglot.com/writing/lanna.htm รูปและการออกเสียงของอักษรล้านนา] {{en icon}}
* [http://www.omniglot.com/writing/lanna.htm รูปและการออกเสียงของอักษรล้านนา] {{en icon}}
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://se-ed.net/tua-mueng/ เว็บตั๋วเมือง]
* [http://art-culture.cmu.ac.th/ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]
* [http://art-culture.cmu.ac.th/ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]
* [http://www.lannaworld.com/maung/lib_maung.htm แบบเรียนอักษรล้านนา ของ ศาสตราจารย์ ดร. อุดม รุ่งเรืองศรี]


{{อักษรพราหมี}}
{{อักษรพราหมี}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:35, 25 กุมภาพันธ์ 2555

ป้ายชื่อวัดหม้อคำตวง ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เขียนด้วยอักษรธรรมล้านนา
รูปปริวรรตอักษรไทย: "วัดหฺมฺ้อฅำทฺวง์"
คำอ่าน: "วัดหม้อคำตวง"

อักษรธรรมล้านนา หรือ ตัวเมือง พัฒนามาจากอักษรมอญโบราณ เช่นเดียวกับอักษรพม่า อักษรชนิดนี้ใช้ในอาณาจักรล้านนาเมื่อราว พ.ศ. 1802 จนกระทั่งถูกพม่ายึดครองใน พ.ศ. 2101 ปัจจุบันใช้ในงานทางศาสนา พบได้ทั่วไปในวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย (ส่วนที่เป็นเขตอาณาจักรล้านนาเดิมและเขตที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมล้านนาบางแห่ง) นอกจากนี้ยังแพร่หลายถึงไปถึงเขตรัฐไทยใหญ่แถบเมืองเชียงตุง ซึ่งอักษรที่ใช้ในแถบนั้นจะเรียกชื่อว่า "อักษรไตเขิน" มีลักษณะที่เรียบง่ายกว่าตัวเมืองที่ใช้ในแถบล้านนา [ต้องการอ้างอิง]

อนึ่ง อักษรธรรมล้านนายังได้แพร่หลายเข้าไปยังอาณาจักรล้านช้างเดิมผ่านความสัมพันธ์ทางการทูตและทางศาสนาระหว่างล้านนากับล้านช้างในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ร่วมสมัยกับพระเจ้าโพธิสารราชและพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งล้านช้าง เป็นต้นเค้าของการวิวัฒนาการของแบบอักษรที่เรียกว่าอักษรธรรมลาว (หรือที่เรียกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยว่า "อักษรธรรมอีสาน") ในเวลาต่อมา [ต้องการอ้างอิง]

พยัญชนะ

อักษรธรรมล้านนาจัดตามกลุ่มพยัญชนะวรรคตามพยัญชนะภาษาบาลี แบ่งออกเป็น 5 วรรค วรรคละ 5 ตัว เรียกว่า“พยัญชนะวรรค”หรือ“พยัญชนะในวรรค”อีก 8 ตัวไม่จัดอยู่ในวรรคเรียกว่า“พยัญชนะอวรรค”หรือ“พยัญชนะนอกวรรค”หรือ“พยัญชนะเศษวรรค”ส่วนการอ่านออกเสียงเรียกพยัญชนะทั้งหมดนั้น จะเรียกว่า“ตั๋ว”เช่น ตั๋ว กะ/ก/ ตั๋ว ขะ/ข/ ตั๋ว จะ/จ/ เป็นต้น

พยัญชนะปกติ

อักษรไทยที่ปรากฏเป็นการถ่ายอักษรเท่านั้น เสียงจริงของอักษรแสดงไว้ในสัทอักษรสากล ซึ่งอาจจะออกเสียงต่างไปจากอักษรไทย (จะทะยอยเพิ่มเสียงไทยให้ครับ)

ตัวเมือง อักษรไทย เสียง สัทอักษร อักษร
กะ /kǎ/ สูง
คะ /kʰǎ/ หรือ /xǎ/ สูง
คะ /kʰǎ/ หรือ /xǎ/ สูง
กะ /ká/ ต่ำ
คะ /kʰá/หรือ /xá/ ต่ำ
คะ /kʰá/หรือ /xá/ ต่ำ
งะ /ŋá/ ต่ำ
จะ /tɕǎ/ สูง
สะ /sǎ/ สูง
ตัวเมือง อักษรไทย เสียง สัทอักษร อักษร
จะ /tɕá/ ต่ำ
สะ /sá/ ต่ำ
สะ /sá/ ต่ำ
ญะ /ɲá/ ต่ำ
ตะ /tǎ/ สูง
ทะ /tʰǎ/ สูง
ฑ, ด ดะ /da/ กลาง
ทะ /tʰá/ ต่ำ
ณะ /ná/ ต่ำ
ตัวเมือง อักษรไทย สัทอักษร อักษร
/tǎ/ สูง
/tʰǎ/ สูง
/tá/ ต่ำ
/tʰá/ ต่ำ
/ná/ ต่ำ
/bǎ/ กลาง
/pǎ/ สูง
/pʰǎ/ สูง
/fǎ/ สูง
ตัวเมือง อักษรไทย สัทอักษร อักษร
/pá/ ต่ำ
/fá/ ต่ำ
/pʰá/ ต่ำ
/má/ ต่ำ
ย ต่ำ /ɲá/ ต่ำ
ย กลาง /jǎ/ กลาง
/há/ ต่ำ
/lɯ/
/lá/ ต่ำ
ตัวเมือง อักษรไทย สัทอักษร อักษร
/lɯ/
/wá/ ต่ำ
/sǎ/ สูง
/sǎ/ สูง
/sǎ/ สูง
/hǎ/ สูง
/lá/ ต่ำ
/ʔǎ/ กลาง
/há/ ต่ำ

พยัญชนะซ้อน

พยัญชนะซ้อน (ตัวซ้อน) เป็นพยัญชนะที่ใส่ไว้ใต้พยัญชนะตัวอื่นเพื่อทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ คือ 1. เพื่อห้ามไม่ให้พยัญชนะที่ไปซ้อน (ตัวข่ม) ออกเสียงสระอะ หรือ 2. เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวสะกด ซึ่งพยัญชนะที่ล้านนารับมาจากภาษาอื่นตั้งแต่แรกจะมีรูปพยัญชนะซ้อนทุกตัว ยกเว้น กับ เท่านั้นที่ไม่มี พยัญชนะที่มีรูปพยัญชนะซ้อนมีดังต่อไปนี้

พยัญชนะนอกเหนือจากนี้ ซึ่งได้แก่ เป็นพยัญชนะที่ล้านนาประดิษฐ์ขึ้นมาเอง ดังนั้นจึงไม่มีรูปพยัญชนะซ้อน แต่อย่างไรก็ตามเพื่อให้สามารถเขียนคำที่มาจากภาษาต่างประเทศได้ใกล้เคียงกับภาษาเดิมมากที่สุด จึงสมควรมีการประดิษฐ์รูปพยัญชนะซ้อนของ และ ขึ้นมาเพิ่มเติม

พยัญชนะพิเศษ

ไฟล์:Lanna special.jpg

สระ

สระจม

เป็นสระที่ไม่สามารถออกเสียงได้ด้วยตัวเอง ต้องนำไปผสมกับพยัญชนะก่อนจึงจะสามารถออกเสียงได้

สระลอย

เป็นสระที่มาจากภาษาบาลี สามารถออกเสียงได้ด้วยตัวเองไม่จำเป็นต้องนำไปผสมกับพยัญชนะก่อน แต่บางครั้งก็มีการนำไปผสมกับพยัญชนะหรือสระแท้ เช่น คำว่า "เอา" สามารถเขียนได้โดยเขียนสระจากภาษาบาลี 'อู' ตามด้วย สระแท้ 'า' คือ

วรรณยุกต์

เนื่องจากล้านนาได้นำเอาระบบอักขรวิธีของมอญมาใช้โดยแทบจะไม่มีการปรับเปลี่ยนเลย และภาษามอญเองก็เป็นภาษาที่ไม่มีวรรณยุกต์ ดังนั้นในอดีตจึงไม่ปรากฏว่ามีการใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ในการเขียนอักษรธรรมล้านนาเลย (เคยมีการถกเถียงกันเรื่องชื่อของล้านนาว่าจริงๆแล้วชื่อ "ล้านนา" หรือ "ลานนา" กันแน่ แต่ในที่สุดก็ได้ข้อสรุปว่า "ล้านนา") จนกระทั่งในระยะหลังเมื่ออิทธิพลของสยามแผ่เข้าไปในล้านนาจึงปรากฏการใช้รูปวรรณยุกต์ในการเขียนอักษรธรรมล้านนา

ภาษาล้านนาสามารถผันได้ 6 เสียง (จริงๆแล้วมีทั้งหมด 7 หรือ 8 เสียง แต่ในแต่ละท้องถิ่นจะใช้เพียง 6 เสียงเท่านั้น) การผันจะใช้การจับคู่กันระหว่างอักษรสูงกับอักษรต่ำจึงทำให้ต้องใช้วรรณยุกต์เพียง 2 รูปเท่านั้น คือ เอก กับ โท (เทียบภาษาไทยกลาง) เช่น

การที่มีรูปวรรณยุกต์เพียง 2 รูปนี้ทำให้เกิดปัญหากับอักษรกลาง คือ ไม่สามารถแทนเสียงได้ครบทั้ง 6 เสียง ดังนั้นจึงอาจอนุโลมให้แต่ละรูปศัพท์แทนการออกเสียงได้ 2 เสียง

เสียงวรรณยุกต์สำเนียงเชียงใหม่มี 6 เสียง คือ เสียงจัตวา, เสียงเอก, เสียงโทพิเศษ, เสียงสามัญ, เสียงโท, และเสียงตรี[1]

เสียงวรรณยุกต์ ตัวอย่าง การถอดรหัสเสียง การออกเสียง ความหมายในภาษาไทย
เสียงจัตวา ขา /xǎː/ [xaː˩˦] ขา
เสียงเอก ข่า /xàː/ [xaː˨˨] ข่า
เสียงโทพิเศษ ฃ้า /xa̋ː/ [xaː˥˧] ฆ่า
เสียงสามัญ ฅา /xaː/ [xaː˦˦] หญ้าคา
เสียงโท ไฮ่ /hâjː/ [hajː˦˩] ไร่
เสียงตรี ฟ้า /fáː/ [faː˦˥˦] ฟ้า

การแสดงเสียงวรรณยุกต์

การแสดงเสียงวรรณยุกต์ของคำเมืองสำเนียงเชียงใหม่

เสียงวรรณยุกต์ คำเป็น สระยาว คำเป็น สระยาว ไม้เอก คำเป็น สระยาว ไม้โท คำตาย สระสั้น คำตาย สระยาว
อักษรสูง เสียงจัตวา เสียงเอก เสียงโทพิเศษ เสียงจัตวา เสียงเอก
อักษรกลาง เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโทพิเศษ เสียงจัตวา เสียงเอก
อักษรต่ำ เสียงสามัญ เสียงโท เสียงตรี เสียงตรี เสียงโท

อักษรธรรมล้านนาในคอมพิวเตอร์

อักษรธรรมล้านนาได้รับการบรรจุลงในยูนิโคดตั้งแต่รุ่น 5.2 ดังนั้นเราจึงสามารถใช้อักษรธรรมล้านนาในคอมพิวเตอร์ได้โดยที่ไม่ต้องอาศัยช่วงรหัสของอักษรอื่นดังเช่นที่เคยทำกันในอดีตอีกต่อไป ระบบปฏิบัติการที่รองรับยูนิโคดอักษรธรรมล้านนาในตอนนี้ ได้แก่ Ubuntu 11.04 โดยอาศัยฟอนต์แบบโอเพ็นไทป์ (OpenType) ส่วนระบบปฏิบัติการ Windows นั้นยังไม่รองรับยูนิโคดอักษรธรรมล้านนา อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า Windows จะยังไม่รองรับยูนิโคดอักษรธรรมล้านนาแต่เราก็สามารถใช้ยูนิโคดอักษรธรรมล้านนาในเว็บเบราว์เซอร์ได้โดยใช้เว็บเบราว์เซอร์ Mozilla Firefox รุ่น 4.0 ขึ้นไป (อาศัยฟอนต์แบบโอเพ็นไทป์) นอกจากนี้แล้วยังสามารถใช้ยูนิโคดอักษรธรรมล้านนาในโปรแกรมสำนักงานได้โดยใช้โปรแกรม OpenOffice รุ่น 3.2 ขึ้นไป (อาศัยฟอนต์ที่มีตาราง Graphite)

Tai Tham[1][2]
Official Unicode Consortium code chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+1A2x
U+1A3x ᨿ
U+1A4x
U+1A5x  ᩖ  ᩘ  ᩙ  ᩚ  ᩛ  ᩜ  ᩝ  ᩞ
U+1A6x   ᩠   ᩢ  ᩥ  ᩦ  ᩧ  ᩨ  ᩩ  ᩪ  ᩫ  ᩬ
U+1A7x  ᩳ  ᩴ  ᩵  ᩶  ᩷  ᩸  ᩹  ᩺  ᩻  ᩼  ᩿
U+1A8x
U+1A9x
U+1AAx
หมายเหตุ
1.^ แม่แบบ:Unicode version
2.^ พื้นที่สีเทาไม่ได้ระบุตัวรหัส

อ้างอิง

  1. Gedney, William J., and Thomas J. Hudak. William J. Gedney's Tai Dialect Studies: Glossaries, Texts, and Translations. Ann Arbor, MI: Center for South and Southeast Asian Studies, The University of Michigan, 1997. Print.

แหล่งข้อมูลอื่น