จักรพรรดิเซมุ
จักรพรรดิเซมุ 成務天皇 | |||||
---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดิญี่ปุ่น | |||||
ครองราชย์ | ค.ศ. 131–190 (ตามธรรมเนียม)[1] | ||||
ก่อนหน้า | เคโก | ||||
ถัดไป | ชูไอ | ||||
ประสูติ | ค.ศ. 84[2] วากาตาราชิ ฮิโกะ (稚足彦尊) | ||||
สวรรคต | ค.ศ. 190 (107 พรรษา)[2][3][a] | ||||
ฝังพระศพ | ซากิ โนะ ทาตานามิ โนะ มิซาซางิ (ญี่ปุ่น: 狭城盾列池後陵; นาระ) | ||||
คู่อภิเษก |
| ||||
พระราชบุตร | เจ้าชายวากานูเกะ[b] | ||||
| |||||
ราชสกุล | ราชวงศ์ญี่ปุ่น | ||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิเคโก | ||||
พระราชมารดา | ยาซาไกริ-ฮิเมะ[5] | ||||
ศาสนา | ชินโต |
จักรพรรดิเซมุ (ญี่ปุ่น: 成務天皇; โรมาจิ: Seimu-tennō) มีอีกพระนามว่า วากาตาราชิ ฮิโกะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ (ญี่ปุ่น: 稚足彦天皇; โรมาจิ: Wakatarashi hiko no Sumeramikoto) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นในตำนานองค์ที่ 13 ตามลำดับการสืบราชบัลลังก์แบบดั้งเดิม[6][7] ทั้งโคจิกิและนิฮงโชกิ (เรียกรวมกันเป็น คิกิ) บันทึกเหตุการณ์ที่อ้างว่าเกิดในรัชสมัยเซมุ จักรพรรดิในตำนานพระองค์นี้มีชื่อเสียงจากการจัดระเบียบรัฐบาลท้องถิ่นด้วยการแต่งตั้งบุคคลแรกให้แคว้นที่อยู่ภายใต้การปกครองของพระองค์ เซมุมีพระมเหสีเพียงพระองค์เดียวตามที่บันทึกไว้ และคลอดพระราชโอรสเพียงองค์เดียว พระองค์ยังมีพระสนมอีกหนึ่งพระองค์แต่กลับไม่มีบุตร ซึ่งต่างจากพระราชบิดาอย่างสิ้นเชิงที่กล่าวกันว่ามีพระราชโอรสธิดาอย่างน้อย 80 พระองค์และมีพระมเหสีหลายพระองค์
ตามธรรมเนียม รัชสมัยของเซมุถือกันว่าอยู่ระหว่าง ค.ศ. 131 ถึง 190 ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อพระราชโอรสองค์เดียวของพระองค์สิ้นพระชนม์ตั้งแต่วัยเยาว์[8] เซมุจึงแต่งตั้งหนึ่งในพระราชนัดดาให้เป็นมกุฎราชกุมารก่อนสวรรคตใน ค.ศ. 190 ทำให้เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกในรุ่นหลังที่สละราชบัลลังก์ให้แก่ผู้สืบราชบัลลังก์ที่ไม่ใช่ผู้สืบทอดโดยตรง
เรื่องเล่าตามตำนาน
[แก้]คิกิ หรือ พระราชพงศาวดารญี่ปุ่น บันทึกว่าเซมุเสด็จพระราชสมภพในยาซาไกริ-ฮิเมะ เมื่อช่วง ค.ศ. 84 และได้รับพระราชทานนามว่า วากาตาราชิฮิโกะ (ญี่ปุ่น: 稚足彦尊; โรมาจิ: Wakatarashihiko)[5][2] ไม่มีใครทราบว่าเหตุใดพระองค์จึงได้รับเลือกเป็นมกุฎราชกุมาร แต่ภายหลังวากาตาราชิฮิโกะขึ้นคอรงราชย์ใน ค.ศ. 131 เซมุทรงเป็นที่รู้จักดีที่สุดจากการจัดระเบียบรัฐบาลท้องถิ่นด้วยการแต่งตั้งผู้ว่าราชการแคว้นและเจ้าหน้าที่เขตคนแรก[9][10] แม้ว่ารายละเอียดระบบการปกครองของพระองค์ยังคงคลุมเครือ แต่ในเวลานั้น บรรดาเจ้าชายถูกส่งไปยังสถานที่สำคัญในแคว้นต่างๆ สมาชิกเหล่านี้ได้รับการกำหนดให้เป็น วาเกะ ซึ่งแสดงถึงสถานะของพวกเขาในฐานะสาขาหนึ่งของราชวงศ์[10] บริงก์ลีย์และคิกูจิตั้งทฤษฎีว่า การแต่งตั้งผู้ว่าราชการท้องถิ่นเหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อเพิ่ม "เกียรติประวัติแห่งราชสำนัก" ผู้ที่มีสิทธิ์ได้แก่ "บุคคลที่มีคุณธรรม" เจ้าชาย หรือหัวหน้าชนเผ่าพื้นเมือง[10]
คิกิระบุว่าเซมุมีพระมเหสีนาม โอโฮะ-ทาการะ (ญี่ปุ่น: 弟財郎女; โรมาจิ: Oho-takara) ธิดาในทาเกะ-โอชิยามะ-ทาริ-เนะ[4] โอโฮะ-ทาการะให้กำเนิดพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวนามว่า เจ้าชายวากานูเกะ (ญี่ปุ่น: 和訶奴気王) พระราชโอรสองค์เดียวของเซมุดูเหมือนจะสิ้นพระชนม์ตั้งแต่วัยเยาว์เนื่องจากจักรพรรดิทรงแต่งตั้งพระราชโอรสของยามาโตะ ทาเกรุเป็นมกุฎราชกุมารก่อนที่พระองค์จะสวรรคตใน ค.ศ. 190 ด้วยพระชนมพรรษา 107 พรรษา[3][9] ภายหลังทาราชินากัตสึฮิโกะ พระราชนัดดา ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิองค์ถัดไปใน ค.ศ. 192[2] การสวรรคตของเซมุถือเป็นจุดสิ้นสุดของทายาทสายตรงจากจักรพรรดิจิมมุในตำนาน และเป็นการแตกสาขาแรกของสาขาอื่น ๆ ที่ตามมาภายหลัง
ข้อมูลเท่าที่มีอยู่
[แก้]นักประวัติศาสตร์จัดให้เซมุเป็น "จักรพรรดิในตำนาน" เนื่องจากมีข้อมูลสำหรับการตรวจสอบและศึกษาเพิ่มเติมไม่เพียงพอ เนื่องด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้การดำรงอยู่ของพระองค์เป็นเรื่องที่ถกเถียงกัน[11] ถ้าพระองค์มีอยู่จริง ก็คงไม่มีหลักฐานเสนอแนะว่าตำแหน่ง เท็นโน ใช้งานในรัชสมัยของพระองค์ โดยมีแนวโน้มสูงมากว่าพระองค์เป็นหัวหน้าเผ่าหรือผู้นำเผ่าท้องถิ่น และหน่วยการเมืองที่พระองค์ปกครองครอบคลุมเพียงส่วนเล็ก ๆ ของประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบันเท่านั้น[12] มีความเป็นไปได้ว่าเซมุทรงปกครองในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 4 เมื่อญี่ปุ่นกลายเป็นรัฐรวมเป็นหนึ่งซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองจากยามาโตะ ทำให้บันทึกเหล่านี้ "ไม่ใช่เรื่องที่ไม่น่าเป็นไปได้"[13]
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Genealogy of the Emperors of Japan" (PDF). Kunaicho.go.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 22, 2011. สืบค้นเมื่อ 31 July 2019.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Kenneth Henshall (2013). Historical Dictionary of Japan to 1945. Scarecrow Press. p. 487. ISBN 9780810878723.
- ↑ 3.0 3.1 Kidder, Jonathan E. (2007). Himiko and Japan's Elusive Chiefdom of Yamatai: Archaeology, History, and Mythology. University of Hawaii Press. p. 227. ISBN 9780824830359. สืบค้นเมื่อ 1 August 2019.
- ↑ 4.0 4.1 Transactions of the Asiatic Society of Japan, Volumes 9-10. Asiatic Society of Japan. 1881. pp. 226–227. สืบค้นเมื่อ 1 August 2019.
- ↑ 5.0 5.1 Memoirs of the Research Department of the Tōyō Bunko (the Oriental Library), Issues 32-34. Tōyō Bunko. 1974. pp. 63–64. สืบค้นเมื่อ 1 August 2019.
- ↑ "成務天皇 (13)". Imperial Household Agency (Kunaichō) (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 31 July 2019.
- ↑ Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Ōdai Ichiran (ภาษาฝรั่งเศส). Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. pp. 14, 34–36.
- ↑ Ponsonby-Fane, Richard (1959). The Imperial House of Japan. Ponsonby Memorial Society. p. 34.
- ↑ 9.0 9.1 Martin, Peter (1997). The Chrysanthemum Throne: A History of the Emperors of Japan. University of Hawaii Press. p. 23. ISBN 9780824820299. สืบค้นเมื่อ 31 July 2019.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 Brinkley, Frank; Kikuchi, Dairoku (1915). A History of the Japanese People: From the Earliest Times to the End of the Meiji Era. Encyclopaedia Britannica Company. pp. 87–88. สืบค้นเมื่อ 1 August 2019.
emperor Seimu.
- ↑ Kelly, Charles F. "Kofun Culture". t-net.ne.jp. สืบค้นเมื่อ 31 July 2019.
- ↑ Aston, William George. (1896). Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697, Volume 2. The Japan Society London. p. 109 & 214–216. ISBN 9780524053478.
- ↑ Kojiki. Princeton University Press. 2015. p. 90. ISBN 9781400878000. สืบค้นเมื่อ 1 August 2019.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Aston, William George. (1896). Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697. London: Kegan Paul, Trench, Trubner. OCLC 448337491
- Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03460-0; OCLC 251325323
- Chamberlain, Basil Hall. (1920). The Kojiki. Read before the Asiatic Society of Japan on 12 April, 10 May, and 21 June 1882; reprinted May 1919. OCLC 1882339
- Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
- Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Ōdai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691
- Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki: A Chronicle of Gods and Sovereigns. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-04940-5; OCLC 59145842
ก่อนหน้า | จักรพรรดิเซมุ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จักรพรรดิเคโก | จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น (ค.ศ. 130 - ค.ศ. 191) |
จักรพรรดิชูไอ |