ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดิริจู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิริจู
履中天皇
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์ค.ศ. 400–405 (ตามธรรมเนียม)[1]
ก่อนหน้านินโตกุ
ถัดไปฮันเซ
พระราชสมภพค.ศ. 336[2][3]
สวรรคต405 (อายุ 68–69)[a]
ฝังพระศพโมซุ โนะ มิมิฮาระ โนะ มินามิ โนะ มิซาซางิ ญี่ปุ่น: 百舌鳥耳原南陵โรมาจิMozu no Mimihara no Minami no misasagi; โอซากะ)
คู่อภิเษกคูซากาโนฮาตาบิโนะ-ฮิเมะ
พระราชบุตร
กับพระองค์อื่น ๆ...
อิจิโนเบะ โนะ โอชิวะ
พระสมัญญานาม
ชิโงแบบจีน:
จักรพรรดิริจู (履中天皇)

ชิโงแบบญี่ปุ่น:
โอเอโนอิซาโฮวาเกะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ (去来穂別天皇)
ราชสกุลราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดินินโตกุ
พระราชมารดาอิวาโนะ-ฮิเมะ[6]
ศาสนาชินโต

จักรพรรดิริจู (ญี่ปุ่น: 履中天皇โรมาจิRichū-tennō) มีอีกพระนามว่า โอเอโนอิซาโฮวาเกะ โนะ ซูเมรามิโกโตะ (ญี่ปุ่น: 大兄去来穂別尊โรมาจิŌenoizahowake no Mikoto) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 17 ตามลำดับการสืบทอดแบบดั้งเดิม[7][8] ทั้งโคจิกิและนิฮงโชกิ (เรียกรวมกันเป็น คิกิ) บันทึกเหตุการณ์ที่อ้างว่าเกิดขึ้นในชีวงชีวิตของริจู จักรพรรดิพระองค์นี้เป็นที่รู้จักจากความพยายามลอบปลงพระชนม์โดยซูมิโนเอะ พระอนุชา หลังการสวรรคตของจักรพรรดินินโตกุ พระราชบิดาของทั้งสอง แม้ว่าไม่สามารถกำหนดวันที่แน่นอนสำหรับพระชนมชีพของจักรพรรดิองค์นี้ แต่ถือว่าพระองค์ครองราชบัลลังก์จาก ค.ศ. 400 ถึง 405[9]

เรื่องราวยุคกึ่งก่อนประวัติศาสตร์

[แก้]

ข้อมูลเกี่ยวกับพระองค์ปรากฏในโคจิกิและนิฮงโชกิ ซึ่งเรียกรวมกันเป็น คิกิ (ญี่ปุ่น: 記紀) หรือ พงศาวดารญี่ปุ่น โดยบันทึกว่าริจูเสด็จพระราชสมภพจากเจ้าหญิงอิวะ (ญี่ปุ่น: 磐之媛命โรมาจิIwa no hime no Mikoto) ในช่วง ค.ศ. 336 และได้รับพระราชทานนามว่า โอเอโนอิซาโฮวาเกะ โนะ มิโกโตะ (ญี่ปุ่น: 大兄去来穂別尊โรมาจิŌenoizahowake no Mikoto)[2][6] พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์โตในจักรพรรดินินโตกุ และภายหลังพระราชบิดาแต่งตั้งพระองค์เป็นมกุฎราชกุมารในปีที่ 31 ของรัชสมัยพระราชบิดา (ค.ศ. 343)[9][10] เมื่อนินโตกุสวรรคตใน ค.ศ. 399 ท่ามกลางช่วงแห่งความโศกเศร้า ตามมาด้วยเรื่องอื้อฉาวที่เกือบทำให้มกุฏราชกุมารสิ้นพระชนม์

ความพยายามลอบปลงพระชนม์

[แก้]

ในช่วงหนึ่งก่อนที่ริจูจะขึ้นครองบัลลังก์ พระองค์ส่งเจ้าชายซูมิโนเอะ โนะ นากัตสึ (ญี่ปุ่น: 住吉仲皇子) พระอนุชา ไปจัดเตรียมการอภิเษกสมรสให้กับคูโระ-ฮิเมะ (ญี่ปุ่น: 黒媛โรมาจิKuro-hime) พระมเหสีของพระองค์[9][4] เจ้าชายนากัตสึกลับอ้างตนเองเป็นริจู พระเชษฐาของตน และล่อลวงคูโระ-ฮิเมะ เมื่อล่อเสร็จ พระองค์เผลอลืมกระดิ่งข้อพระหัตถ์ไว้ในที่พำนักของคูโระ-ฮิเมะ ต่อมาริจูพบสิ่งนี้ระหว่างเสด็จเยือนที่พำนักของพระนางเป็นครั้งแรก จึงสันนิษฐานว่าเป็นฝีมือของพระอนุชา แต่ตัดสินพระทัยไม่ดำเนินการใด[4] ในขณะที่นากัตสึทรงหวาดกลัวต่อการกระทำอันอื้อฉาวของพระองค์ จึงวางแผนปลงพระชนม์พระเชษฐาในคืนนั้น พระองค์แอบสร้างกลุ่มคนจำนวนเล็กน้อยขึ้นมาล้อมพระราชวังของพระเชษฐา[9][4] โชคดีที่ผู้ติดตามผู้จงรักภักดีของพระองค์บางส่วนเข้าแทรกแซงโดยช่วยรัชทายาทและพาพระองค์ไปยังศาลเจ้าอิโซโนกามิที่ยาโมโตะ ขณะเดียวกันนากัตสึจุดไฟเผาพระราชวังโดยไม่รู้ว่าพระเชษฐาหลบหนีไปแล้ว[9][4]

เจ้าชายมิซูฮาวาเกะ (ญี่ปุ่น: 瑞歯別尊; ภายหลังเป็นจักรพรรดิฮันเซ) พระอนุชาอีกพระองค์ เสด็จตามพระองค์ไปที่ยาโมโตะ อย่างไรก็ตาม ริจูตรัสแก่องค์ชายว่า หากไม่พิสูจน์ความภักดีด้วยการสังหารนากัตสึแล้ว พระองค์ก็ไม่สามารถไว้วางใจได้[9] มิซูฮาวาเกะจึงเสด็จกลับไปยังนานิวะและติดสินบนบริวารคนหนึ่งของนากัตสึให้ไปสังหารพระองค์นั้น นากัตสึไม่มีทางสู้และไม่เตรียมตัวรับมือเลย เพราะพระองค์คิดว่าพระเชษฐาเสด็จหนีไปและหายตัวไป ต่อมาพระองค์จึงถูกผู้บริวารแทงจนสิ้นพระชนม์ และมิซูฮาวาเกะเสด็จกลับไปยาโมโตะเพื่อรายงานการตายของพระเชษฐา ริจูทรงขอบพระทัยพระอนุชาด้วยการพระราชทานยุ้งฉาง "มูระ-อาฮาเซะ"[4]

รัชสมัย

[แก้]

ริชูขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิหลังการกบฏที่ล้มเหลวของพระอนุชายุติลงในปีต่อมา (ค.ศ. 400)[4] ในช่วงนี้ ผู้ที่ไม่ได้ถูกประหารฐานมีส่วนร่วมในการกบฏถูกบังคับให้ทำรอยสักเป็นการลงโทษ[11] ภายหลังในปีนั้นคูโระฮิเมะได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสนมอย่างเป็นทางการ แม้ว่าทั้งสองมีพระราชโอรส 2 พระองค์และพระราชธิดา ริจูทรงแต่งตั้งตำแหน่ง"มกุฎราชกุมาร"ให้กับเจ้าชายมิซูฮาวาเกะ (ภายหลังเป็นจักรพรรดิฮันเซ) พระอนุชา ใน ค.ศ. 401[9][4] คูโระฮิเมะสวรรคตในช่วงปีถัดมา (ค.ศ. 404) โดยไม่ทราบสาเหตุ กล่าวกันว่าจักรพรรดิทรงได้ยินเสียงในลมกล่าวถ้อยคำลึกลับใน "ความว่างเปล่าอันยิ่งใหญ่" ก่อนที่ผู้ส่งสารจะประกาศถึงการสวรรคตของพระนาง[11] ริจูเชื่อว่าสาเหตุมาจากเทพเจ้าองค์หนึ่งที่ไม่พอใจ เนื่องจากข้อราชการคนหนึ่งประพฤติตัวไม่เหมาะสมในศาลเจ้า[11] เจ้าหญิงคูซากาโนฮาตาบิโนะได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดินีในปีถัดมา (ค.ศ. 405) และให้กำเนิดพระราชธิดา (เจ้าหญิงนากาชิ)[4] ในปีนั้นมีการจัดตั้งคลังหลวงขึ้น โดยมีชาวเกาหลีที่ได้รับแต่งตั้งสองคนเป็นผู้จัดการ[11] รัชสมัยจักรพรรดิริจูสิ้นสุดลงในปีที่ 6 เมื่อพระองค์ทรงพระประชวรและสวรรคตด้วยโรคภัยตอนพระชนมพรรษา 64 หรือ 70 พรรษา[4][5] คิกิระบุว่าริจูถูกฝังไว้ที่มิซาซางิบน "พื้นที่ราบโมโซะ โนะ มิมิ"[4][5] มิซูฮาวาเกะ พระอนุชา ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิองค์ถัดไปในปีถัดมา (ค.ศ. 406)

การประเมินทางประวัติศาสตร์

[แก้]

พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา

[แก้]

นางสนม/พระมเหสี

[แก้]
บรรดาศักดิ์ พระนาม พระราชบิดา พระราชโอรสธิดา
นางสนม คูโระ-ฮิเมะ (ญี่ปุ่น: 黒媛โรมาจิKuro-hime)[12] คัตสึรางิ โนะ อาชิตะ โนะ ซูกูเนะ[12]  • เจ้าชายอิจิโนเบะ โนะ โอชิวะ (ญี่ปุ่น: 磐坂市辺押磐皇子)[13][14]
 • เจ้าชายมิมะ [ja] (ญี่ปุ่น: 御馬皇子)[13][14]
 • เจ้าหญิงอาโอมิ โนะ ฮิเมมิโกะ (ญี่ปุ่น: 青海皇女)[13][14][b]
จักรพรรดินี
(โคโง)
เจ้าหญิงคูซากาโนฮาตาบิโนะ (ญี่ปุ่น: 草香幡梭皇女โรมาจิKusakanohatabino-hime)[13] จักรพรรดิโอจิง  • เจ้าหญิงนากาชิ (ญี่ปุ่น: 中磯皇女โรมาจิNakashi no Hime)[16]

พระราชโอรสธิดา

[แก้]
บรรดาศักดิ์ พระนาม พระราชมารดา ความเห็น
พระราชโอรสองค์แรก (เจ้าชาย) อิจิโนเบะ โนะ โอชิวะ[13][14] คูโระ-ฮิเมะ[13] อิจิโนเบะเป็นพระราชบิดาในจักรพรรดิเค็นโซกับจักรพรรดินิงเก็ง อ้างว่าสวรรคตในช่วง ค.ศ. 456[c]
เจ้าชาย มิมะ[13][14] คูโระ-ฮิเมะ[13] เจ้าชายมิมะอ้างว่าสวรรคตในช่วง ค.ศ. 456[c]
เจ้าหญิง อาโอมิ โนะ ฮิเมมิโกะ[13][14] คูโระ-ฮิเมะ[13] พระชนม์ชีพของอาโอมิ (หรือ อิอิโตโยะ[b]) อ้างว่าอยู่ในช่วง ค.ศ. 441 ถึง 484[c]
เจ้าหญิง นากาชิ โนะ ฮิเมะ[16] คูซากาโนฮาตาบิโนะ[16] นากาชิทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าชายโอโอกูซากะ[d] และต่อมาอภิเษกกับจักรพรรดิอังโก

หมายเหตุ

[แก้]
  1. นิฮงโชกิบันทึกว่า จักรพรรดิริจูทรงมีพระชนม์ชีพถึง 70 พรรษา ส่วนโคจิกิระบุว่าพระองค์มีพระชนม์ชีพถึง 64 พรรษา ตัวเลขนี้มีแนวโน้มไม่แม่นยำ[4][5]
  2. 2.0 2.1 อาโอมิ โนะ ฮิเมมิโกะยังได้รับการเรียกขานเป็น "(สมเด็จพระ) จักรพรรดินีอิอิโตโยะ" (飯豊天皇 Iitoyo-tennō) ในฟูโซเรียกูกิ และ ฮนโจโคอิงโจอุง-โรกุ [ja] ตำราประวัติศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และ 15 ตามลำดับ[15]
  3. 3.0 3.1 3.2 วันที่ยังไม่ได้รับการยืนยัน
  4. โอโอกูซากะเป็นพระราชโอรสองค์หนึ่งในจักรพรรดินินโตกุ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Genealogy of the Emperors of Japan" (PDF). Kunaicho.go.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 22, 2011. สืบค้นเมื่อ January 24, 2023.
  2. 2.0 2.1 Kenneth Henshall (2013). Historical Dictionary of Japan to 1945. Scarecrow Press. p. 488. ISBN 9780810878723.
  3. Louis Frédéric (2002). Index. Japan encyclopedia. Belknap Press of Harvard University Press. p. 788. ISBN 9780674017535.
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 William George Aston (1896). "Boox XII - The Emperor Iza-Ho-Wake, (Richu Tenno)". Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697. (Volume 1). London: Kegan Paul, Trench, Trubner. pp. 301–310.
  5. 5.0 5.1 5.2 Basil Hall Chamberlain (1882). "Sect. CXXXV — Emperor Ri-chu (Part V.— His Age and Place of Burial)". A translation of the "Kojiki" or Records of ancient matters. R. Meiklejohn and Co.
  6. 6.0 6.1 Ponsonby-Fane, Richard (1915). Table of Emperors Mothers. The Imperial Family of Japan. Ponsonby Memorial Society. p. xiii.
  7. "応神天皇 (17)". Imperial Household Agency (Kunaichō) (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ January 6, 2020.
  8. Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Ōdai Ichiran (ภาษาฝรั่งเศส). Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. pp. 24–25.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 9.6 Ponsonby-Fane, Richard (1915). Richu (400–405). The Imperial Family of Japan. Ponsonby Memorial Society. pp. 10–11.
  10. Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida (1979). Emperor Richū. A Translation and Study of the Gukanshō, an Interpretative History of Japan Written in 1219. University of California Press. p. 257. ISBN 9780520034600.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 Francis Brinkley (1915). Chapter XII: The Protohistoric Sovereigns. A History of the Japanese People from the Earliest Times to the End of the Meiji Era. Encyclopædia Britannica. pp. 108–110.
  12. 12.0 12.1 Basil Hall Chamberlain (1882). "Sect. CXXXI - Emperor Richū (Part I - Genealogies)". A translation of the "Kojiki" or Records of ancient matters. R. Meiklejohn and Co.
  13. 13.00 13.01 13.02 13.03 13.04 13.05 13.06 13.07 13.08 13.09 William George Aston (1896). "Boox XII - The Emperor Iza-Ho-Wake, (Richu Tenno) (Children)". Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697. (Volume 1). London: Kegan Paul, Trench, Trubner. p. 306.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 9 January 2021.
  15. Kenkichi Katō (2001). "Iitoyo-ao no Ōjo" 飯豊青皇女. Encyclopedia Nipponica (ภาษาญี่ปุ่น). Shogakukan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 5, 2021. สืบค้นเมื่อ February 9, 2023.
  16. 16.0 16.1 16.2 Hiromichi Mayuzumi (1968). "On the Genealogy of Emperor Keitai: A Study of the Illustrated Documents of the Chronicles of the Emperor Keitai". Gakushuin History (Gakushuin University Historical Society). pp. 1–14. ISSN 0286-1658. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 7, 2022.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]