การวิ่งคบเพลิงโอลิมปิกฤดูร้อน 2008
การวิ่งคบเพลิงในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 จะสิ้นสุดลงในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) เพื่อนำไปจุดในงานเปิดมหกรรมกีฬาโอลิมปิก ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน แผนการของการวิ่งนั้นได้ถูกประกาศเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2550 (ค.ศ .2550) [1] ภายใต้สโลแกนว่า "Journey of Harmony" (和諧之旅) [2] [3] และคาดว่าจะใช้เวลาวิ่ง 130 วัน ผ่าน 21 ประเทศรวมประเทศจีน ระยะทาง 137,000 ก.ม. (85,100 ไมล์) ซึ่งถือได้ว่าเป็นการวิ่งคบเพลิงที่ยาวที่สุดนับตั้งแต่การวิ่งคบเพลิงครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) ในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1936 จากกรุงเอเธนส์สู่กรุงเบอร์ลิน [4]
หลังจากคบเพลิงได้ถูกจุดขึ้นในเมืองโอลิมเปีย ประเทศกรีซ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมา คบเพลิงได้ถูกนำไปที่กรุงเอเธนส์ แล้วถูกส่งต่อไปที่กรุงปักกิ่งในวันที่ 31 มีนาคม หลังจากนั้นจึงได้รับการส่งต่อไปสู่เมืองสำคัญต่างๆ ทั่วโลก และคาดว่าคบเพลิงนี้จะมีการนำขึ้นไปสู่จุดสูงสุดของโลกยอดเขาเอเวอร์เรสต์อีกด้วย [5]
การวิ่งคบเพลิงในครั้งนี้จัดขึ้นในช่วงที่มีเหตุจลาจลความไม่สงบในทิเบต ซึ่งจึนได้ทำการตอบโต้ผู้ประท้วงจนนำไปสู่การเรียกร้องให้คว่ำบาตรจีนที่กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเมืองใหญ่ต่างๆ ทั่วโลก
คบเพลิง
[แก้]คบเพลิงโอลิมปิก 2008 ออกแบบโดยบริษัท ลีโนโว บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์อันดับ 1 ของจีน ภายใต้แนวคิดว่า "เมฆแห่งคำมั่นสัญญา" ได้แรงบันดาลใจจากรูปลักษณ์ของการม้วนสาส์นของจีนโบราณ ออกแบบให้มีลักษณะคล้ายการผสานมือ 2 ข้างเข้ามาหากัน ตัวคบเพลิงมีสีแดงลายเมฆ สูง 72 ซ.ม. หนักเกือบ 1 กิโลกรัม ทำจากอะลูมิเนียม บรรจุเชื้อเพลิงโพรเพนที่สามารถหล่อเลี้ยงไฟได้ 15 นาที ทนลมแรงได้ถึงระดับ 65 ก.ม. ต่อชั่วโมง และอยู่ท่ามกลางสายฝนได้ในระดับที่ฝนตกไม่เกิน 50 ม.ม. ต่อชั่วโมง [6] [7]
ปักกิ่งเกมมีผู้วิ่งคบเพลิงทั้งหมด 21,880 คน โดยในประเทศจีนมีผู้วิ่งจำนวน 19,400 คน คนละ 200 เมตร และนอกประเทศจีน 2,480 คน คนละ 250 เมตร [8]
เส้นทาง
[แก้]การวิ่งคบเพลิงจัดขึ้นระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนสิงหาคม ในช่วงแรกได้มีการวางเส้นทางสู่กรุงไทเป ไต้หวัน ระหว่างการวิ่งคบเพลิงในนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม และฮ่องกง ประเทศจีน แต่ด้วยเหตุที่ว่าไม่มีข้อสรุปว่าการวิ่งครั้งนี้เป็นการวิ่งนอกประเทศหรือในประเทศจีน ทางการไต้หวันจึงไม่ขอรับการวิ่งในกรุงไทเป [9]
การวิ่งคบเพลิงโอลิมปิกในประเทศไทย
[แก้]เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2551 เวลา 02.40 น. สายการบินไชน่า แอร์ไลน์ ได้นำพา “ไฟโอลิมปิก” เคลื่อนจากกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย มาถึงยังประเทศไทยที่ท่าอากาศยาน กองบิน 6 กองทัพอากาศ โดยนายจาง เชียง หยู รองประธานคณะกรรมการจัดกีฬาโอลิมปิก 2008 ได้นำโคมที่มีไฟโอลิมปิกอยู่ข้างในออกจากตัวเครื่องบิน แล้วส่งมอบให้แก่พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย เพื่อนำไปเก็บรักษาที่โรงแรมพลาซ่าแอทธีนี ถนนวิทยุ[10]
ต่อมาในวันรุ่งขึ้นได้มีการวิ่งคบเพลิงโอลิมปิกในประเทศไทย โดยเริ่มจากซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา วงเวียนโอเดียน ผ่านถนนเยาวราช ถนนเจริญกรุง ผ่าน วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กระทรวงกลาโหม สนามหลวง ศาลฎีกา เข้าสู่ถนนราชดำเนินกลาง ผ่าน สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล สี่แยกคอกวัว วัดราชนัดดาราม ป้อมมหากาฬ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศูนย์ประชุมองค์การสหประชาชาติ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และสิ้นสุดที่ ลานพระราชวังดุสิต รวมระยะทาง 10.5 กิโลเมตร โดยมีผู้วิ่งคบเพลิงทั้งหมด 80 คน โดยผู้วิ่งคบเพลิงคนสุดท้าย ได้แก่ ปวีณา ทองสุก[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Beijing 2008: BOCOG Announces Olympic Torch Relay Route". คณะกรรมการโอลิมปิกสากล. 2007-04-26. สืบค้นเมื่อ 2007-04-26.
- ↑ "Officials Expect Olympic Torch to Continue on Route".
- ↑ 北京2008年奥运会火炬接力主题:和谐之旅
- ↑ http://www.bangkok2007.com/th/news/news_detail2.php?cms_id=561[ลิงก์เสีย] จีนพร้อมระเบิดศึกโอลิมปิคเกมส์
- ↑ http://news.giggog.com/sport/cat10/news26894/ เก็บถาวร 2009-06-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน พิธีจุดคบเพลิงโอลิมปิค บทเริ่มต้นมหกรรมกีฬาสุดยิ่งใหญ่
- ↑ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=241575[ลิงก์เสีย] เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับคบเพลิงโอลิมปิก
- ↑ 示威不斷 聖火難傳 境外是否續運 奧委周五定奪 เก็บถาวร 2008-04-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (จีน)
- ↑ "各省、自治区、直辖市及其他选拔主体火炬手分配情况一览表". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-16. สืบค้นเมื่อ 2008-04-17.
- ↑ http://news.thaieasyjob.com/world/show_news-2079-12.html[ลิงก์เสีย]
- ↑ ไฟโอลิมปิกถึงไทย “บิ๊กอ๊อด” เชื่อไม่มีป่วนวิ่งคบเพลิงเสาร์นี้[ลิงก์เสีย] เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
- ↑ วิ่งคบเพลิงไร้เหตุวุ่น- ทูตจีนลั่นสัมพันธ์ไทย 'พี่น้อง'[ลิงก์เสีย] เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ