ข้ามไปเนื้อหา

หฺวายหนาน

พิกัด: 32°37′53″N 117°01′10″E / 32.6314°N 117.0194°E / 32.6314; 117.0194
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นครหฺวายหนาน

淮南市

หวยหนาน
สถานที่ต่าง ๆ ในนครหฺวายหนาน
ที่ตั้งของนครหฺวายหนานภายในมณฑลอานฮุย
ที่ตั้งของนครหฺวายหนานภายในมณฑลอานฮุย
พิกัด (ลานหน้าสถานีรถไฟหฺวายหนาน): 32°37′53″N 117°01′10″E / 32.6314°N 117.0194°E / 32.6314; 117.0194
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
มณฑลอานฮุย
เขตการปกครองระดับอำเภอ7
เขตการปกครองระดับตำบล66
ศูนย์กลางการปกครองเขตเถียนเจียอาน (田家庵区)
การปกครอง
 • เลขาธิการพรรคเฉิ่น เฉียง (沈强)
 • นายกเทศมนตรีหวาง หง (王宏)
พื้นที่
 • ทั้งจังหวัด5,530 ตร.กม. (2,140 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง1,500.2 ตร.กม. (579.2 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล1,989.7 ตร.กม. (768.2 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (สำมะโนปี 2020[1])
 • ทั้งจังหวัด3,033,528 คน
 • ความหนาแน่น550 คน/ตร.กม. (1,400 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง1,561,636 คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง1,000 คน/ตร.กม. (2,700 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล1,868,944 คน
 • ความหนาแน่นรวมปริมณฑล940 คน/ตร.กม. (2,400 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+8 (CST)
รหัสไปรษณีย์232000
รหัสพื้นที่554
รหัส ISO 3166CN-AH-04
ป้ายทะเบียน皖D
หฺวายหนาน
ภาษาจีน淮南
ความหมายตามตัวอักษร[ดินแดน]ทิศใต้ของแม่น้ำหฺวาย

หฺวายหนาน (จีน: 淮南; พินอิน: Huáinán) เป็นนครระดับจังหวัดทางตอนกลางค่อนไปทางเหนือของมณฑลอานฮุย ประเทศจีน มีอาณาเขตติดต่อกับนครเหอเฝย์ที่อยู่ทางด้านใต้ หฺวายหนานเป็นศูนย์กลางการผลิตถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน มีประชากรในปี 2020 จำนวน 3,033,528 คน

ประวัติ

[แก้]

เมืองนี้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 381 โดยกษัตริย์หลิวอัน ผู้เคร่งครัดในลัทธิเต๋าซึ่งต่อมาถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏต่อราชวงศ์ฮั่น หลิวอันไม่สามารถแก้ข้อกล่าวหาได้จึงกระทำ อัตวินิบาตกรรม ในปี พ.ศ. 423 หลิวอันนั้นได้ชื่อว่าเป็น "บิดาแห่งเต้าหู้" เขาร่วมกับนักบวชลัทธิเต๋าได้พยายามนำส่วนผสมต่าง ๆ มาทดลองทำเต้าหู้หลาย ๆ แบบ เนื่องจากมารดาไม่สบายไม่สามารถกินดื่มได้โดยสะดวกเพื่อเป็นการทดแทนคุณของมารดา หลิวอันได้พยายามทดลองสูตรทำเต้าหู้ต่าง ๆ ไว้มากมาย กล่าวกันว่าเต้าหู้แทบทุกรูปแบบที่วางขายกันในปัจจุบันนี้ สร้างสรรค์โดยหลิวอันทั้งสิ้น

ทุกปีในวันที่ 15–17 กันยายน เพื่อเป็นการระลึกถึงหลิวอัน เมืองหฺวายหนานได้จัดเทศกาลเต้าหู้โลก รวมทั้งมีงานแสดงสินค้าเต้าหู้นานาชาติอีกด้วย[2]

เขตการปกครอง

[แก้]

นครระดับจังหวัดหฺวายหนานแบ่งออกเป็น 7 เขตการปกครองระดับอำเภอ ประกอบด้วย 5 อำเภอ และ 2 อำเภอ

และยังแบ่งย่อยลงอีกเป็น 66 เขตการปกครองระดับตำบล ได้แก่ 24 เมือง, 23 ตำบล และ 19 แขวง

แผนที่

นอกจากนี้ ยังมีเขตพัฒนาไฮเทค ซึ่งคือ เขตใหม่ชานหนาน (山南新区)

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ใจกลางเมืองตั้งอยู่บนที่ราบริมฝั่งทางใต้ของแม่น้ำหฺวาย ติดกับทะเลสาบเกาถังทางทิศตะวันออกและติดกับพื้นที่เนินเขาที่เป็นป่าทางทิศใต้ และพื้นที่ทางทิศตะวันตกเป็นเขตปากงชาน และอำเภอโช่ว

ภูมิอากาศ

[แก้]
ข้อมูลภูมิอากาศของหฺวายหนาน (1981-2010 ภาวะปกติ)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 6.6
(43.9)
9.2
(48.6)
14.3
(57.7)
21.3
(70.3)
26.9
(80.4)
30.2
(86.4)
32.1
(89.8)
31.3
(88.3)
27.4
(81.3)
22.4
(72.3)
15.7
(60.3)
9.2
(48.6)
20.55
(68.99)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 2.5
(36.5)
5.0
(41)
9.7
(49.5)
16.3
(61.3)
21.9
(71.4)
25.7
(78.3)
28.2
(82.8)
27.4
(81.3)
23.1
(73.6)
17.7
(63.9)
10.9
(51.6)
4.8
(40.6)
16.1
(60.98)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) −0.7
(30.7)
1.6
(34.9)
5.8
(42.4)
11.9
(53.4)
17.3
(63.1)
21.7
(71.1)
25.0
(77)
24.2
(75.6)
19.6
(67.3)
13.8
(56.8)
7.1
(44.8)
1.4
(34.5)
12.39
(54.31)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 32.0
(1.26)
41.0
(1.614)
62.1
(2.445)
56.4
(2.22)
75.5
(2.972)
127.4
(5.016)
228.0
(8.976)
130.3
(5.13)
84.3
(3.319)
53.6
(2.11)
51.3
(2.02)
22.5
(0.886)
964.4
(37.969)
ความชื้นร้อยละ 70 70 67 67 68 72 79 80 77 70 68 68 71.3
แหล่งที่มา: สำนักอุตุนิยมวิทยาจีน (China Meteorological Administration)[3]

เศรษฐกิจ

[แก้]
อพาร์ตเมนต์สูง ปี 2010

หฺวายหนานเป็นศูนย์กลางการผลิตถ่านหินขนาดใหญ่ โดยมีปริมาณการผลิต 43.28 ล้านตันในปี 2006

เมืองนี้เป็นสถานที่จัดงานเทศกาลวัฒนธรรมเต้าหู้ครั้งที่ 17 เมื่อวันที่ 15–17 กันยายน 2010 รวมถึงนิทรรศการผลิตภัณฑ์ถั่วแห่งชาติ[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "CHINA: Ānhuī (Prefectures, Cities, Districts and Counties)". City Population. Thomas Brinkhoff.
  2. 2.0 2.1 Zha Xuan (16 กันยายน 2010). "The 17th Huainan Tofu Festival Draws Curtain". www.cnanhui.org (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 ธันวาคม 2010 – โดยทาง anhuinews.com.
  3. 中国气象数据网 - WeatherBk Data (ภาษาจีน). China Meteorological Administration. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]