ข้ามไปเนื้อหา

จี่หนาน

พิกัด: 36°40′13″N 117°01′15″E / 36.6702°N 117.0207°E / 36.6702; 117.0207
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จี่หนาน

济南市
จากรูปบนตามเข็มนาฬิกา: ทิวทัศน์นครจี่หนาน, จัตุรัสเฉวียนเฉิง (จัตุรัสเมืองบ่อน้ำพุ), ทะเลสาบต้าหมิง, ศูนย์กีฬาโอลิมปิกจี่หนาน และบ่อน้ำพุเป้าทู
จากรูปบนตามเข็มนาฬิกา: ทิวทัศน์นครจี่หนาน, จัตุรัสเฉวียนเฉิง (จัตุรัสเมืองบ่อน้ำพุ), ทะเลสาบต้าหมิง, ศูนย์กีฬาโอลิมปิกจี่หนาน และบ่อน้ำพุเป้าทู
สมญา: 
เมืองแห่งบ่อน้ำพุ (泉城)
แผนที่
ที่ตั้งของนครจี่หนานในมณฑลชานตง
ที่ตั้งของนครจี่หนานในมณฑลชานตง
จี่หนานตั้งอยู่ในมณฑลชานตง
จี่หนาน
จี่หนาน
ที่ตั้งในมณฑลชานตง
จี่หนานตั้งอยู่ในประเทศจีน
จี่หนาน
จี่หนาน
จี่หนาน (ประเทศจีน)
พิกัด (ศูนย์ราชการมณฑลชานตง): 36°40′13″N 117°01′15″E / 36.6702°N 117.0207°E / 36.6702; 117.0207
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
มณฑลชานตง
จำนวนเขตการปกครอง
ระดับเทศมณฑล
12
จำนวนเขตการปกครอง
ระดับตำบล
166
ศูนย์กลางการปกครองเขตลี่เซี่ย (历下区)
การปกครอง
 • เลขาธิการพรรคซุน ลี่เฉิง (孙立成)
 • นายกเทศมนตรีซุน ชู่เทา (孙述涛)
พื้นที่
 • นครระดับจังหวัด และนครระดับกิ่งมณฑล10,244 ตร.กม. (3,955 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง7,170.8 ตร.กม. (2,768.7 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล53,000 ตร.กม. (20,000 ตร.ไมล์)
ความสูง (ณ ท่าอากาศยาน)23 เมตร (75 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2018)
 • นครระดับจังหวัด และนครระดับกิ่งมณฑล8,700,000 คน
 • ความหนาแน่น850 คน/ตร.กม. (2,200 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง4,693,700 คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง650 คน/ตร.กม. (1,700 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล[1]11,000,000 คน
 • ความหนาแน่นรวมปริมณฑล210 คน/ตร.กม. (540 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานจีน)
รหัสไปรษณีย์250000
รหัสพื้นที่0531
รหัส ISO 3166CN-SD-01
ป้ายทะเบียนรถA, 鲁O, 鲁W, 鲁S
GDP (ค.ศ. 2018)886.221 พันล้านเหรินหมินปี้
 - ต่อหัว101,864.5 เหรินหมินปี้
ต้นไม้ประจำนครหลิว
ดอกไม้ประจำนครบัวหลวง
เว็บไซต์www.jinan.gov.cn (ภาษาจีน)

จี่หนาน
"Jǐnán" เขียนด้วยอักษรจีนตัวย่อ (บน) และอักษรจีนตัวเต็ม (ล่าง)
อักษรจีนตัวย่อ济南
อักษรจีนตัวเต็ม濟南
ความหมายตามตัวอักษร"ทิศใต้ของ[แม่น้ำ]จี่"

จี่หนาน (จีน: 济南) เป็นเมืองหลวงของมณฑลชานตง สาธารณรัฐประชาชนจีนที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของมณฑลชานตง ในการสำรวจสำมะโนประชากร พ.ศ. 2553 มีจำนวนประชากร 6.8 ล้านคน เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองในซานตงรองจากชิงเต่า พื้นที่ของจี่หนานในปัจจุบันมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ของภูมิภาคนี้จากจุดเริ่มต้นของอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุด และได้พัฒนามาเป็นศูนย์กลางการปกครองเศรษฐกิจและการคมนาคมที่สำคัญของประเทศ เมืองนี้มีสถานะเป็นเขตการปกครองย่อยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 จี่หนานมักถูกเรียกว่า "เมืองแห่งบ่อน้ำพุ" เนื่องจากมีบ่อน้ำพุที่มีชื่อเสียง 72 แห่ง

ชื่อ

[แก้]

ชื่อจี่หนานในปัจจุบันมีความหมายตามตัวอักษรว่า "ทางใต้ของจี่" และหมายถึงแม่น้ำจี่เก่าที่ไหลไปทางเหนือของเมืองจนถึงกลางศตวรรษที่ 19 แม่น้ำจี่หายไปในปี พ.ศ. 2395[2] เมื่อแม่น้ำฮวงโหเปลี่ยนเส้นทางไปทางเหนือและแม่น้ำเดิมกลายเป็นที่ราบแทน ปัจจุบันการออกเสียงอักขระ "Ji" ด้วยเสียงที่สาม (จี่ - jǐ) ก่อตั้งขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1970 ก่อนหน้านี้ออกเสียงด้วยวรรณยุกต์ที่สี่ (จี้ - jì) ตำราเก่ากว่าสะกดชื่อเป็น "Tsinan" (ตามการสะกดอักษรโรมันแบบ Wade-Giles) หรือ "Chi-nan"

ในภาษาอังกฤษ แนะนำให้สะกดชื่อเมืองว่า Ji'nan (จี่หนาน) เพื่อหลีกเลี่ยงความคลุมเครือกับคำที่ออกเสียงว่า Jin'an (จินอาน 金安)

ในช่วงราชวงศ์โจว (1045 BC ถึง 256 BC) เรียกเมืองนี้ว่า ลี่เซี่ย (จีนตัวย่อ: 历下; จีนตัวเต็ม: 歷下; pinyin: Lìxià) เป็นที่ตั้งถิ่นฐานสำคัญในพื้นที่ ชื่อ ลี่เซี่ย มาจากตั้งของจี่หนานอยู่ที่เชิงเขาลี่ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองปัจจุบัน ลี่เซี่ย เป็นชื่อของเขตหนึ่งของเมือง อีกชื่อเรียกหนึ่งคิอ เมืองโบราณ Ān (จีน: 鞍) ได้รับการตั้งชื่อตาม ยุทธการแห่งอัน ซึ่งต่อสู้กันในพื้นที่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง (ในปี 589 ก่อนคริสต์ศักราช) ระหว่างรัฐ Qi และ Jin ซึ่งในปัจจุบันตั้งอยู่ภายในเขตเมืองของจี่หนาน ชื่อเรียกอื่นได้แก่ ชื่อเรียกที่มาร์โคโปโลให้คำจำกัดความสั้น ๆ เกี่ยวกับจี่หนานภายใต้ชื่อ ชิงลี่ หรือ ชินังลี และในตำราในศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 มักใช้ชื่อเมืองนี้ว่า "Tsinan Fu" โดยที่ ฝู่ - Fu (จีน: ) ซึ่งมาจากศัพท์ที่ใช้สำหรับเมืองหลวงของมณฑล (จีน: 省府)

จี่หนานยังเรียกตามชื่อเล่นว่า "เมืองแห่งบ่อน้ำพุ" (จีน: 泉城) เนื่องจากมีบ่อน้ำพุหลายแห่งในใจกลางเมืองและบริเวณโดยรอบ

อ้างอิง

[แก้]
  1. OECD Urban Policy Reviews: China 2015, OECD READ edition. OECD iLibrary. OECD Urban Policy Reviews (ภาษาอังกฤษ). OECD. 18 เมษายน 2015. p. 37. doi:10.1787/9789264230040-en. ISBN 9789264230033. ISSN 2306-9341. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 มีนาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2017.Linked from the OECD here เก็บถาวร 2017-12-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. ISBN 9781615301348