พาราลิมปิกฤดูหนาว
พาราลิมปิกฤดูหนาว | |
---|---|
หนึ่งในสี่กระถางคบเพลิงพาราลิมปิกที่ตั้งอยู่ในหยานชิ่งระหว่างพาราลิมปิกฤดูหนาว 2022 | |
การแข่งขัน | |
กีฬา (รายละเอียด) | |
พาราลิมปิก |
---|
หลัก |
การแข่งขัน |
พาราลิมปิกฤดูหนาว (อังกฤษ: Winter Paralympic Games) เป็นการแข่งขันมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติสำหรับนักกีฬาที่มีความพิการทางร่างกายเข้าร่วมแข่งขันในกีฬาหิมะและน้ำแข็ง รวมถึงนักกีฬาที่มีความบกพร่องในการเคลื่อนไหว ถูกตัดแขนขา ตาบอด และสมองพิการ พาราลิมปิกเกมส์ฤดูหนาวจะจัดขึ้นทุกๆ สี่ปีหลังจากกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวสิ้นสุดลง พาราลิมปิกฤดูหนาวยังจัดโดยเมืองที่เป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งนั้น โดยอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการพาราลิมปิกสากล มีการมอบเหรียญรางวัลในแต่ละการแข่งขัน โดยอันดับที่ 1 จะได้รับเหรียญทอง อันดับที่ 2 จะได้รับเหรียญเงิน และอันดับที่ 3 จะได้รับเหรียญทองแดง ตามประเพณีโอลิมปิกที่เริ่มในปี 1904
พาราลิมปิกฤดูหนาวเริ่มขึ้นในปี 1976 ที่เมืองเอิร์นเชิลส์วีก ประเทศสวีเดน การแข่งขันครั้งนั้นเป็นพาราลิมปิกแรกที่มีนักกีฬาที่ไม่ใช่นักกีฬาวีลแชร์ การแข่งขันได้ขยายและเติบโตขึ้น (รวมถึงพาราลิมปิกฤดูร้อน) จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดหลังการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก จากการขยายตัวของการแข่งขัน ความต้องการระบบการจำแนกประเภทที่เฉพาะเจาะจงมากจึงเกิดขึ้น ระบบนี้ยังก่อให้เกิดการโต้เถียงและเปิดประตูสู่การโกงรูปแบบต่างๆ ซึ่งทำให้เสียความสมบูรณ์ของการแข่งขัน
ประทศนอร์เวย์เป็นประเทศที่มีอันดับเหรียญรางวัลสูงสุดในการแข่งขันพาราลิมปิกฤดููหนาวทั้งหมด 4 ครั้ง: 1980,1988, 1994 และ 1998 ประเทศเยอรมนีเป็นประเทศที่มีอันดับเหรียญรางวัลสูงสุดทั้งหมด 3 ครั้ง: 1976, 2002, และ 2010 ประเทศรัสเซีย (2006 และ 2014) และสหรัฐ (1992 และ 2018) เป็นประเทศที่มีอันดับเหรียญรางวัลสูงสุดประเทศละสองครั้ง ประเทศออสเตรีย (1984) และประเทศจีน (2022) เป็นประเทศที่มีอันดับเหรียญรางวัลสูงสุดประเทศละหนึ่งครั้ง.[1]
สรุปเหรียญตลอดกาล
[แก้]ลำดับที่ | ประเทศ | เข้าร่วม | ทอง | เงิน | ทองแดง | รวม |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | นอร์เวย์ | 13 | 140 | 111 | 86 | 334 |
2 | สหรัฐ | 13 | 117 | 130 | 88 | 335 |
3 | ออสเตรีย | 13 | 109 | 118 | 116 | 343 |
4 | เยอรมนี[2] | 9 | 109 | 85 | 81 | 275 |
5 | รัสเซีย | 6 | 84 | 88 | 61 | 233 |
6 | ฟินแลนด์ | 13 | 79 | 51 | 62 | 192 |
7 | ฝรั่งเศส | 13 | 63 | 57 | 60 | 183 |
8 | แคนาดา | 13 | 58 | 52 | 76 | 186 |
9 | สวิตเซอร์แลนด์ | 13 | 53 | 55 | 50 | 158 |
10 | เยอรมนีตะวันตก | 4 | 42 | 43 | 35 | 120 |
11 | ยูเครน | 7 | 38 | 51 | 52 | 141 |
12 | สวีเดน | 13 | 28 | 35 | 44 | 107 |
13 | ญี่ปุ่น | 13 | 27 | 42 | 37 | 97 |
14 | จีน | 6 | 19 | 20 | 23 | 62 |
15 | สโลวาเกีย | 8 | 18 | 21 | 22 | 61 |
17 | นิวซีแลนด์ | 12 | 17 | 7 | 11 | 35 |
18 | อิตาลี | 12 | 16 | 25 | 32 | 73 |
19 | สเปน | 12 | 15 | 16 | 12 | 43 |
20 | ออสเตรเลีย | 12 | 12 | 6 | 17 | 35 |
รายชื่อเจ้าภาพพาราลิมปิกฤดูหนาว
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Paralympic Games - Results". International Paralympic Committee (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
- ↑ Only medals won since 1992 are counted. . Does not include the totals from West Germany (FRG) and East Germany (GDR).
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Paralympic Link Directory
- Official IPC Website
- Paralympics History By Susana Correia in Accessible Portugal Online Magazine