ข้ามไปเนื้อหา

ซูโจว

บทความนี้เป็นบทความแปลของพนักงานดีแทคในความร่วมมือกับวิกิพีเดีย คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
พิกัด: 31°18′00″N 120°37′10″E / 31.30000°N 120.61944°E / 31.30000; 120.61944
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ซูโจว

苏州
ที่ตั้งในมณฑลเจียงซู
ที่ตั้งในมณฑลเจียงซู
แผนที่
ซูโจวตั้งอยู่ในประเทศจีน
ซูโจว
ซูโจว
ที่ตั้งในประเทศจีน
พิกัด (สำนักงานเทศบาลนครซูโจว): 31°18′00″N 120°37′10″E / 31.30000°N 120.61944°E / 31.30000; 120.61944
ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน
มณฑลเจียงซู
ก่อตั้ง514 ปีก่อนคริสตกาล
เขตการปกครองระดับอำเภอ5 เขต, 4 นครระดับอำเภอ
การปกครอง
 • ประเภทนครระดับจังหวัด
 • เลขาธิการพรรคประจำนครLiu Xiaotao
 • นายกเทศมนตรีWu Qingwen
พื้นที่[1]
 • นครระดับจังหวัด8,488.42 ตร.กม. (3,277.40 ตร.ไมล์)
 • พื้นดิน6,093.92 ตร.กม. (2,352.88 ตร.ไมล์)
 • พื้นน้ำ2,394.50 ตร.กม. (924.52 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง2,743 ตร.กม. (1,059 ตร.ไมล์)
ความสูง5 เมตร (16 ฟุต)
ประชากร
 (2018)[2]
 • นครระดับจังหวัด10,721,700 คน
 • ความหนาแน่น1,300 คน/ตร.กม. (3,300 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง8,135,900 คน
เขตเวลาUTC+8 (CST (Beijing Time))
รหัสไปรษณีย์215000
รหัสพื้นที่512
จีดีพี2018[2]
 - รวมCNY ¥1.86 ล้านล้าน
(Nominal: $280.92 พันล้าน;
 PPP: $528.42 พันล้าน)
 - ต่อหัวCNY ¥174,129
(Nominal: $26,303;
 PPP: $49,477)
 - เติบโตเพิ่มขึ้น 7%
HDI0.909
สูงมาก
ดอกไม้หอมหมื่นลี้
ต้นไม้การบูร
ภาษาถิ่นภาษาอู๋: สำเนียงซูโจว (苏州话)
ทะเบียนยานพาหนะ苏E, 苏U[3]
เว็บไซต์http://www.suzhou.gov.cn/

ซูโจว (จีนตัวเต็ม: 蘇州; จีนตัวย่อ: 苏州; ออกเสียง สำเนียงซูโจว: [səu tsøʏ]; จีนกลาง: [sú.ʈʂóu]) เป็นเมืองสำคัญทางตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลเจียงซู ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศจีน อยู่ติดกับนครเซี่ยงไฮ้ ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ตอนปลายของแม่น้ำแยงซี ริมฝั่งทะเลสาบไท่หรือไท่หู (อังกฤษ: Lake Tai หรือ Tai Hu; จีนตัวย่อ: 太湖) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี เป็นเขตการปกครองนครระดับจังหวัดที่มีประชากรอาศัยอยู่มากกว่า 7 ล้านคนในเขตเมือง และมีประชากรรวมกว่า 10 ล้านคนในพื้นที่เขตปกครองทั้งหมด เมืองซูโจวยังถือได้ว่าเป็นเมืองที่ร่ำรวยที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศจีน[4] เป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ศูนย์กลางการค้า และการขนส่ง นอกจากนี้ซูโจวยังเป็นเมืองสำคัญด้านวัฒนธรรม การศึกษา ศิลปะ และการคมนาคม

เมืองซูโจวเริ่มก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อ 514 ปี ก่อนคริสตกาล มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,500 ปี ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก หรือเมื่อประมาณ 100 ปี ก่อนคริสตกาล เมืองซูโจวเป็นหนึ่งในสิบเมืองใหญ่ที่สุดในโลกเนื่องจากมีผู้คนอพยพเข้ามาอยู่จำนวนมาก[5][6] และในศตวรรษที่ 10 สมัยราชวงศ์ซ่ง เมืองซูโจวเคยเป็นเมืองศูนย์กลางด้านพาณิชย์ที่สำคัญของประเทศ ต่อมาในสมัยราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิงจนถึงช่วงกบฏไท่ผิง (อังกฤษ: Taiping Rebellion) ในปี ค.ศ. 1860 เมืองซูโจวเป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และพาณิชย์[7] และเป็นเมืองที่ไม่ใช่เมืองหลวงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลกในสมัยนั้นอีกด้วย[8]

ซูโจวเป็นเมืองประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมโดยมีชื่อเสียงไม่ว่าจะเป็นสายน้ำ ภูเขา และโดยเฉพาะสวนโบราณ ในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ซูโจวเป็นหนึ่งในเมืองที่เจริญที่สุดในสมัยนั้น ในเมืองและนอกเมืองเต็มไปด้วยสวนโบราณ ในศตวรรษที่ 16-18 ซูโจวมีสวนโบราณมากกว่า 200 แห่ง ปัจจุบันมีสวนที่ได้รับการอนุรักษ์อย่างสมบูรณ์แล้วกว่า 10 แห่ง นอกจากนี้ ซูโจวยังมีคลองต่าง ๆ มากมายเป็นอันดับหนึ่งในบริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงใต้ เป็นเมืองที่มีความงดงามมากจนได้รับฉายาว่าเป็น “เมืองสวรรค์ในโลกมนุษย์”

ด้วยความสวยงามทั้งทางธรรมชาติและสิ่งก่อสร้างโบราณ อาทิ ลำคลอง สะพานหินโบราณ เจดีย์ และสวนจีนโบราณ เมืองซูโจวจึงเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมมากที่สุดในประเทศจีน เมื่อปี ค.ศ. 1997 และ 2000 สวนโบราณเมืองซูโจวยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก (World Heritage Sites) โดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)

นอกจากนั้นเมืองซูโจวยังได้รับการขนานนามว่าเป็น "เวนิสแห่งตะวันออก (Venice of the East)" หรือ "เมืองเวนิสของจีน (Venice of China)"[9][10][11] ด้วยความที่ซูโจวมีลำคลองรายรอบเมืองอยู่เป็นจำนวนมาก และยังมีคลองที่ไหลผ่านตัวเมืองมากมายหลายสาย คลองเหล่านี้ต่อเชื่อมกันจนเป็นเครือข่าย โดยมีสะพานหินหลายร้อยแห่งที่ทอดข้ามลำคลองเหล่านี้

สำหรับเมืองที่มีพื้นที่ร้อยละ 55 เป็นพื้นที่ราบ ร้อยละ 3 เป็นเนินเขา และ ร้อยละ 42 เป็นน้ำ การได้รับกล่าวนามว่า "เวนิสตะวันออก" จึงไม่เกินเลยไปนัก[12]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

ชื่อ "ซูโจว" ถูกนำมาใช้เป็นชื่อเมืองอย่างเป็นทางการครั้งแรกในปี ค.ศ. 589 สมัยราชวงศ์สุย

ตัวอักษร "ซู" หรือ เป็นคำที่ย่อมาจากชื่อภูเขาที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง คือ เขากูซู (จีนตัวย่อ: ; จีนตัวเต็ม: 姑蘇山; พินอิน: Gūsūshān) ซึ่งคำว่า ในชื่อเขากูซูนี้หมายถึงใบชิโซะ ส่วนตัวอักษร "โจว" ตามเดิมนั้นหมายถึงจังหวัดหรือมณฑล เช่น มณฑลกุ้ยโจว แต่ภายหลังมักใช้เป็นนามนัย (metonymy) สำหรับเมืองหลวงของมณฑล เช่น กว่างโจว หรือ หางโจว เป็นต้น[13]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

เมืองซูโจวมีต้นกำเนิดตั้งแต่สมัยแคว้นอู๋[14][15] เป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดเมืองหนึ่งในแถบลุ่มแม่น้าแยงซี (จีนตัวเต็ม: 揚子; จีนตัวย่อ: 扬子; พินอิน: Yángzǐ) ใน ยุคชุนชิว (แปลว่า ยุคฤดูใบไม้ผลิและใบไม้ร่วง หรือ ฤดูวสันต์และฤดูสารท; อังกฤษ: Spring and Autumn Period; จีนตัวย่อ: 春秋時代; พินอิน: Chūnqiū Shídài) สมัยราชวงศ์โจว มีบันทึกว่าชนเผ่าพื้นเมืองชื่อ กัวอู อาศัยอยู่ในบริเวณที่เป็นเมืองซูโจวในปัจจุบัน ชนเผ่าพื้นเมืองเหล่านี้สร้างบ้านเรือนรวมกลุ่มกันเป็นหมู่บ้านอยู่ตามริมเขาบริเวณรอบๆ ทะเลสาบไท่

ซือหม่าเชียน (อังกฤษ: Sima Qian; จีนตัวย่อ: 司馬遷) นักบันทึกประวัติศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ในสมัยราชวงศ์ฮั่น ระบุไว้ใน สื่อจี้ หรือสารานุกรมด้านประวัติศาสตร์จีน (Records of the Grand Historian) (Taishi gong shu 太史公書 หรือ the Shiji 史記 – "Historical Records") ว่าในช่วงศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล ราชบุตรไท่ปั๋ว (อังกฤษ: Wu Taibo;จีนตัวย่อ: 泰伯) แห่งราชวงศ์โจว (อังกฤษ: Zhou; จีนตัวย่อ: 周) เป็นผู้ก่อตั้งแคว้นอู๋ ในบริเวณอู่ซีปัจจุบัน สร้างความเจริญรุ่งเรืองทั้งด้านการเกษตรและการชลประทาน ชื่อของเมืองก็เรียกว่า อู๋ เช่นเดียวกับชื่อของแคว้น ต่อมาเมื่อ 514 ปีก่อนคริสตกาล กษัตริย์เหอหลู๋(King Helü) ของแคว้นอู๋ได้ตั้งเมืองหลวงแห่งใหม่ที่เมืองเหอหลู๋ (Helü City) ซึ่งที่แห่งนี้เองที่กลายเป็นเมืองซูโจวในปัจจุบัน ต่อมาใน 496 ปีก่อนคริสตกาล กษัตริย์เหอหลู๋สวรรคตและพระศพของพระองค์ถูกฝังไว้ที่เขาหูชิวหรือเนินเสือ (อังกฤษ: Tiger Hill; จีนตัวย่อ: 虎丘; พินอิน: Hǔqiū)

ช่วง 473 ปีก่อนคริสตกาล แคว้นอู๋ถูกรุกรานและยึดครองโดยแคว้นเยว่ที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาเมื่อ 306 ปี ก่อนคริสตกาล แคว้นเยว่ก็ถูกยึดครองโดยแคว้นฉู่ปัจจุบันยังคงเหลือผานเหมินหรือประตูผาน (อังกฤษ: Pan Gate; จีนตัวย่อ: 盘门) อายุกว่า 2,500 ปี เป็นมรดกที่สำคัญทางประวัติศาสตร์

ในยุคจั้นกั๋ว (Warring States period หรือยุคจ้านกว๋อ หรือเลียดก๊ก) เมืองซูโจวรู้จักกันในนามของอำเภออู๋ (อู๋เซี่ยน; Wuxian) หรือ Wu Commandery (อู๋จุน; Wu Jun [16]) ในสมัยราชวงศ์ฉินได้เปลี่ยนชื่อเป็นไกว้ยจี (อังกฤษ: Kuaiji; จีนตัวย่อ: 會稽)

ช่วงรุ่งเรือง หรือ 209 ปีก่อนคริสตกาลของฌ้อปาอ๋อง (Xiang Yu หรือ ซีฉู่ป้าหวัง) ขุนศึกผู้ยิ่งใหญ่ในยุคปลายราชวงศ์ฉิน ก็เกิดขึ้นในบริเวณนี้ จนกระทั่งราชวงศ์ฉินล่มสลายลง

หลังจากการขุดคลองต้ายวิ่นเหอ (อังกฤษ: Grand Canal; จีนตัวย่อ: 大运河) ซึ่งขุดในสมัยราชวงศ์สุยเสร็จสิ้นลง เมืองซูโจวก็กลายเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญสำหรับเส้นทางการค้าขายขนส่งสินค้าในประวัติศาสตร์จีน หรือเรียกได้ว่าเป็นเมืองหลวงของธุรกิจและอุตสาหกรรมในฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน ต่อมาช่วงราชวงศ์ถัง ไป๋จวีอี้ (Bai Juyi) กวีคนสำคัญในยุคนั้น และเป็นผู้ควบคุมการขุดคลองซานถัง (Shantang Canal) (มักรู้จักกันในชื่อ "ถนนซานถัง (Shantang Street)") เพื่อเชื่อมตัวเมืองและเขาหูชิวหรือเนินเสือสำหรับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในยุคนั้น

ในปี ค.ศ. 1035 ฟ่านจ้งหยาน (Fan Zhongyan) นักเขียนและกวีผู้มีชื่อเสียงได้ก่อตั้งวัดขงจื้อ (อังกฤษ: temple of Confucius; จีนตัวย่อ: 孔庙) ขึ้น ซึ่งกลายเป็นสถานที่สำคัญที่ใช้ในการการสอบขุนนาง (imperial civil examinations) และพัฒนามาเป็นโรงเรียนมัธยมซูโจวในช่วงทศวรรษ 1910

เดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1130 กองทัพจิ้นจากทางเหนือเข้าบุกรุกและปล้นสะดมเมือง ตามด้วยการรุกรานของมองโกล (Mongol invasion) ในปี ค.ศ. 1275 และในปี ค.ศ. 1356 ซูโจวได้กลายเป็นเมืองหลวงของจาง ชื่อเฉิง (Zhang Shicheng) ผู้นำคนหนึ่งของกบฏโพกผ้าแดง (Red Turban Rebellion) กลุ่มต่อต้านราชวงศ์หยวน และสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ของแคว้นอู๋

ต่อมาในปี ค.ศ. 1367 จูหยวนจาง (Zhu Yuanzhang) ได้ยกกองทัพจากหนานจิงเข้าโจมตีและยึดครองเมืองหลังจากเข้าโอบล้อมไว้ได้นานถึง 10 เดือน หลังจากนั้นไม่นาน จูหยวนจางก็ได้ตั้งตนเป็นจักรพรรดิหงหวู่ จักรพรรดิพระองค์แรกของราชวงศ์หมิง และสั่งให้ทำลายที่ทำการเมืองซูโจว รวมทั้งกำหนดภาษีใหม่สำหรับชาวเมือง[17] แม้ว่าจะมีการเรียกเก็บภาษีอย่างหนัก และบุคคลสำคัญของเมืองซูโจวได้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ในหนานจิง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของจักรพรรดิหงหวู่แทน เมืองซูโจวก็สามารถกลับมารุ่งเรืองได้อีกครั้งหนึ่งหลังจากนั้น

ในปี ค.ศ. 1488 เจาปู (Choe Bu) ข้าราชการชาวเกาหลีที่ประสบอุบัติเหตุเรือแตกระหว่างการเดินทางกลับประเทศ ได้มีโอกาสเห็นทัศนียภาพทางตะวันออกของประเทศจีน จากเจ้อเจียงถึงเหลียวหนิง เจาได้อธิบายเมืองซูโจวไว้ในบันทึกการเดินทางของเขาว่าเป็นเมืองที่ล้ำหน้าเมืองอื่นๆ ในบริเวณนี้ [18] นอกจากนี้ยังมีสวนส่วนตัวจำนวนมากในซูโจวที่สร้างขึ้นโดยชนชั้นสูงในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง หากว่าในปี ค.ศ. 1860 เมืองซูโจวได้พบกับภัยพิบัติอีกครั้งเมื่อในช่วงกบฏไท่ผิง เมื่อทหารไท่ผิงได้บุกเข้ายึดครองเมือง โดยในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1863 ชาร์ล กอร์ดอน (Charles Gordon) ผู้บัญชาการ Ever-Victorious Army จึงได้ยึดเมืองคืนจากพวกกบฏไท่ผิง

วิกฤตกาลลำดับต่อมาคือช่วงสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ปี ค.ศ.1937 ซึ่งในครั้งนี้สวนหลายแห่งในเมืองซูโจวถูกทำลายลงหลังสงคราม และได้มีการบูรณะสวนเหล่านี้ใหม่ เช่น สวนจัวเจิ้ง (Humble Administrator's Garden) และสวนหลิว (Lingering Garden) ในช่วงต้นทศวรรษ 1950 เพื่อให้กลับมาสมบูรณ์และสวยงามอีกครั้ง

เขตการปกครอง

[แก้]

เขตกูซู (อังกฤษ: Gusu District ; จีนตัวย่อ: 姑苏区; พินอิน: Gūsū Qū) หรือที่เรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า เขตเมืองเก่าซูโจว ถือเป็นเขตศูนย์กลางของเมืองซูโจว โดยทางด้านทิศตะวันออกของเขตเมืองเก่าเป็นสวนอุตสาหกรรมซูโจว (Suzhou Industrial Park) และทางตะวันตกเป็นเขตพัฒนาอุตสาหกรรมไฮเทคซูโจว (Suzhou High & New Technology Development Zone)

ในปี ค.ศ. 2000 พื้นที่เดิมที่เคยเป็นอำเภออู๋ (อังกฤษ: Wu County หรือ Wuxian; จีนตัวย่อ: 吴县) ถูกแบ่งเป็น 2 เขตปกครองในระดับอำเภอ คือ เขตเซียงเฉิง (อังกฤษ: Xiangcheng; จีนตัวย่อ: 相城区) และเขตอู๋จง (อังกฤษ: Wuzhong; จีนตัวย่อ: 吴中区) ซึ่งก็คือพื้นที่ทางตอนเหนือและใต้ของเมืองซูโจวในปัจจุบัน (ตามลำดับ)

ในปี ค.ศ. 2012 พื้นที่เดิมที่เคยเป็นเมืองอู๋เจียงในอดีตก็กลายเป็นเขตปกครองระดับอำเภอ คือ เขตอู๋เจียง (อังกฤษ: Wujiang District; จีนตัวย่อ: 吴江区) ของเมืองซูโจวในปัจจุบันเช่นกัน

เมืองซูโจว เป็นเมืองที่เจริญมากที่สุดเมืองหนึ่งของประเทศจีน และยังเป็นที่ตั้งของบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำหลายบริษัทอีกด้วย เมืองซูโจวจึงมีการพัฒนาที่เกี่ยวเนื่องออกไปสู่การเจริญเติบโตของเมืองบริวาร (Satellite cities) โดยรอบ ซึ่งประกอบด้วยเมืองคุณซาน (อังกฤษ: Kunshan; จีนตัวย่อ: 昆山市) เมืองไท่ชาง (อังกฤษ: Taicang; จีนตัวย่อ: 太仓市) เมืองฉางฉู๋ (อังกฤษ: Changshu; จีนตัวย่อ: 常熟市) และเมืองจางเจียกั่ง (อังกฤษ: Zhangjiagang; จีนตัวย่อ:张家港市) ซึ่งเมืองทั้งหมดนี้รวมถึงเมืองซูโจว รวมเป็นพื้นที่เขตปกครองระดับจังหวัดหรือจังหวัดซูโจว (Suzhou prefecture)

Map Name Population
(2010)[19]
Area
(km²)
Density
(per km²)
English Chinese Pinyin
City Core[ต้องการอ้างอิง]
Gusu District 姑苏区 Gūsū Qū 954,455 372 2,565.73
Suzhou New District 苏州高新技术产业开发区 Sūzhōu Gāo Xīnjìshù Chǎnyè Kāifāqū 572,313 258 2,218.26
เขตอู๋จง 吴中区 Wúzhōng Qū 1,158,410 672 1,723.82
Suzhou Industrial Park 苏州工业园区 Sūzhōu Gōngyèyuán Qū see Gusu District
Suburban[ต้องการอ้างอิง]
เขตเซี่ยงเฉิง 相城区 Xiāngchéng Qū 693,576 416 1,667.25
Wujiang District 吴江区 Wújiāng Qū 1,275,090 1,093 1,166.59
Satellite cities (County-level cities)
Changshu 常熟市 Chángshú Shì 1,510,103 1,094 1,380.35
Taicang 太仓市 Tàicāng Shì 712,069 620 1,148.49
Kunshan 昆山市 Kūnshān Shì 1,646,318 865 1,903.25
Zhangjiagang 张家港市 Zhāngjiāgǎng Shì 1,248,414 772 1,617.11
Total 10,465,994 8,488 1,233.03
defunct districts - Huqiu District, Canglang District, Pingjiang District, & Jinchang District

ภูมิศาสตร์

[แก้]

เมืองซูโจวตั้งอยู่บริเวณทะเลสาบไท่ ทางทิศใต้ของแม่น้ำแยงซี หรือประมาณ 100 กิโลเมตร (62 ไมล์) ทางทิศตะวันตกของเมืองเซี่ยงไฮ้ และอยู่ห่างจากเมืองหนานจิงเพียง 200 กิโลเมตร (120 ไมล์) ไปทางตะวันออก

ภูมิอากาศ

[แก้]

ภูมิอากาศของเมืองซูโจวประกอบด้วย 4 ฤดู ได้รับอิทธิพลของมรสุมและเป็นเขตอากาศอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป มีลักษณะอากาศค่อนข้างร้อนชื้นในฤดูร้อน อากาศหนาวถึงหนาวเย็น และมีหิมะตกเป็นบางช่วงในฤดูหนาว (Köppen climate classification Cwa). ได้รับลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดมาจากไซบีเรียในฤดูหนาว ทำให้บางครั้งช่วงกลางคืนมีอุณหภูมิต่ำกว่าศูนย์องศาได้ ในขณะที่ลมจากทิศใต้หรือทิศตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านในฤดูร้อนมีผลให้อุณหภูมิสูงถึง 35 องศาเซลเซียส (95 องศาฟาเรนไฮต์) อุณหภูมิสูงสุดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1951 ที่บันทึกได้คือ 40.1 องศาเซลเซียส (104 องศาฟาเรนไฮต์) เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ปี ค.ศ. 2013,[20] และต่ำสุดคือ −9.8 องศาเซลเซียส (14 องศาฟาเรนไฮต์) เมื่อวันที่ 16 มกราคม ปี ค.ศ 1958.[21]

ข้อมูลภูมิอากาศของSuzhou (2010)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 4.8
(40.6)
7.0
(44.6)
9.1
(48.4)
13.1
(55.6)
20.9
(69.6)
24.3
(75.7)
28.7
(83.7)
30.9
(87.6)
26.0
(78.8)
18.6
(65.5)
13.3
(55.9)
7.5
(45.5)
17.02
(62.63)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 40.5
(1.594)
75.2
(2.961)
193.1
(7.602)
82.9
(3.264)
67.4
(2.654)
59.3
(2.335)
190.7
(7.508)
53.7
(2.114)
67.2
(2.646)
56.1
(2.209)
2.9
(0.114)
42.9
(1.689)
931.9
(36.689)
ความชื้นร้อยละ 67 75 70 69 69 75 77 68 74 69 65 68 70.5
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 121.2 95.6 124.2 125.1 151.1 106.7 160.5 266.6 169.1 143.0 161.6 171.2 1,795.9
แหล่งที่มา: Suzhou Bureau of Statistics (2010)[22]

สถานที่สำคัญ

[แก้]
An old area on Pingjiang Road.
Changmen at night.
The Humble Administrator's Garden.
An entrance to the Youyicun garden.
Xuanmiao Temple in Suzhou.
A canal in downtown Suzhou.

สวน

[แก้]

ซูโจวมีชื่อเสียงในด้านสวนคลาสสิกหรือสวนโบราณ หรือที่เรียกรวมๆ ในภาษาจีนแมนดารินว่า 苏州园林 (Sūzhōu yuánlín) โดยมีสวนจัวเจิ้ง (อังกฤษ: Humble Administrator's Garden; จีนตัวย่อ: 拙政园; พินอิน: Zhuōzhèng Yuán) และสวนหลิว (อังกฤษ: Lingering Garden; จีนตัวย่อ: 留园; พินอิน: Liúyuán) จัดเป็น 2 ใน 4 แห่งของสวนโบราณที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของประเทศจีน และยังมีศาลาชางลั่งถิงหรือพลับพลาเกลียวคลื่น (อังกฤษ: Great Wave Pavilion; จีนตัวย่อ: 沧浪亭; พินอิน: Cānglàng Tíng) สวนป่าสิงโต (อังกฤษ: Lion Grove Garden; จีนตัวย่อ: 狮子林; พินอิน: Shīzi Lín) สวนจัวเจิ้ง และสวนหลิว ซึ่งก่อสร้างในรูปแบบสมัยราชวงศ์ซ่ง ราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิง ที่นับได้ว่าเป็นสวนที่มีชื่อเสียงที่สุด 4 แห่งในเมืองซูโจวนี้

สวนจัวเจิ้ง สสวนหลิววนหลิว สวนหว่างซือ (อังกฤษ: Master of Nets Garden; จีนตัวย่อ: 网师园; พินอิน: Wǎngshī Yuán) และเรือนหวนซิ่วซานซวง (อังกฤษ: The Mountain Villa with Embracing Beauty; จีนตัวย่อ: 环秀山庄; พินอิน: Huánxiù Shānzhuāng) ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ในปี ค.ศ. 1997 ต่อมาสวนป่าสิงโต ศาลาชางลั่งถิง สวนโอ่ว (อังกฤษ: Couple's Retreat Garden; จีนตัวย่อ: 藕园; พินอิน: Ǒu Yuán) สวนยี่ปู่ (อังกฤษ: Garden of Cultivation; จีนตัวย่อ: 艺圃; พินอิน: Yì Pǔ) และสวนทุ่ยซือ (อังกฤษ: The Retreat & Reflection Garden; จีนตัวย่อ: 退思园; พินอิน: Tuìsī Yuán) ก็ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ในปี ค.ศ. 2000 ด้วย

เขาหูชิว (อังกฤษ: Tiger Hill; จีนตัวย่อ: 虎丘; พินอิน: Hǔqiū) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในด้านความสวยงามทางธรรมชาติและเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่ง นับว่าเป็นจุดชมวิวที่มีชื่อเสียงของเมืองซูโจว ชื่อเขาหูชิวหรือเขาเนินเสือนั้นมาจากลักษณะของเนินเขาที่คล้ายกับเสือในท่าหมอบเตรียมวิ่งหรือกระโจนไปข้างหน้า หรืออีกตำนานกล่าวว่ามีเสือขาวปรากฏตัวขึ้นบนเนินเขาแห่งนี้ไม่กี่วันหลังวันฝังพระศพของกษัตริย์เหอหลู๋แห่งแคว้นอู๋ (King Hélǘ of Wu; 阖闾) สวนแห่งนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวมานานกว่าพันปี โดยมีหลักฐานเป็นบทกวีสลักที่หินบนเนินเขานี้ และยังมีบทกลอนของกวีที่มีชื่อเสียงในสมัยราชวงศ์ซ่ง ชื่อ ซูซื่อ (อังกฤษ: Sū Shì; จีนตัวย่อ: 苏轼) กล่างถึงเขาหูชิวไว้ว่า "It is a lifelong pity if having visited Suzhou you did not visit Tiger Hill." ซึ่งมีความหมายว่า "ช่างน่าเสียดายจริง หากครั้งหนึ่งในชีวิตได้มาเยื่อนซูโจว แต่ไม่ได้ชมความงานของเขาหูชิว" 

วัด

[แก้]

วัดหานซาน (อังกฤษ: Hanshan Temple หรือ Cold Mountain Temple; จีนตัวย่อ: 寒山寺) เป็นวัดและพระอารามในพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงในเมืองซูโจว อยู่ใกล้กับสะพานเฟิ่งเฉียวหรือสะพานเมเปิล (อังกฤษ: Fengqiao หรือ Maple Bridge; จีนตัวย่อ: 枫桥) ราว5 km (3 mi) ทางตะวันตกของเมืองเก่าซูโจว วัดหานซานมีชื่อเสียงมากในแถบเอเชียตะวันออกเนื่องจากมีบทกวีอันโด่งดังชื่อ "จอดเรือที่สะพานเมเปิล" (อังกฤษ: A Night Mooring near Maple Bridge; อักษรจีนตัวย่อ: 夜泊枫桥) เขียนโดยกวีผู้โด่งดังในสมัยราชวงศ์ถัง (ประมาณ 618-907 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ชื่อ จางจี้ (อังกฤษ: Zhang Ji; จีนตัวย่อ: 张继) กล่าวถึงวัดหานซานแห่งนี้ไว้ในบทกวีของเขาว่า

月落乌啼霜满天

江枫渔火对愁眠

姑苏城外寒山寺

夜半钟声到客船

— คำแปล

ขณะมองพระจันทร์ยินเสียงนกการ้องระงม

เห็นแม่น้ำ ต้นไม้ และแสงตะเกียงจากเรือประมง

แว่วเสียงระฆังวัดหานซานนอกเมือง

ดังมาให้ฉันได้ยินถึงในเรือ


วัดซีหยวนหรือวัดสวนตะวันตก (อังกฤษ: Xiyuan Temple หรือ Monastery Garden; จีนตัวย่อ: 西园寺) สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หยวน เป็นวัดพุทธที่ใหญ่ที่สุดในเมืองซูโจว มี 2 ส่วนหลักคือ วัดเจี้ยฉวงลวู่ (อังกฤษ: The Temple of Jiezhuanglu; จีนตัวย่อ: 戒幢律寺) และสวนตะวันตก (The West Garden) ตั้งอยู่ใกล้กับสวนสวนหลิวหลิว (Lingering Garden) ที่เดิมเคยเป็นบริเวณเดียวกันและถูกเรียกว่าเป็นสวนตะวันออก (the East Garden)

สฉวนเมี่ยวกวน (อังกฤษ: Xuanmiao Temple; จีนตัวย่อ: 玄妙观) สร้างขึ้นในราว 276 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นวัดในนิกายเต๋าที่โดดเด่นและมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ตั้งอยู่ใจกลางเมืองซูโจว ด้านหน้าวัดมีถนนชื่อ กวนเฉียนจี (อังกฤษ: Guanqian Street; จีนตัวย่อ: 观前街) ซึ่งเป็นถนนคนเดินที่มีชื่อเสียงของเมืองด้วย

คลอง

[แก้]

เมืองซูโจวมีความโดดเด่นในด้านคลองซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ในตัวเมืองยังคงมีถนนโบราณที่ใช้เป็นถนนท่องเที่ยวสำหรับชมคลองโบราณ สะพานหินเก่าแก่ และสถาปัตยกรรมของเมือง เช่น ถนนผิงเจียง (อังกฤษ: Pingjiang Street; จีนตัวย่อ: 平江路) อายุกว่า 800 ปี หรือถนนซานถัง (อังกฤษ: Shantang Street; จีนตัวย่อ: 山塘街) อายุกว่า 1,200 ปี จนถนนทั้งสองสายได้รับการกล่าวถึงว่าเป็น "ถนนสายประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม" ที่มีชื่อเสียงของประเทศจีนด้วย

Picture of the Land and Water Gate.

ถนนซานถัง มีความยาว 7 "ลี้ (li)" (ประมาณ 2 ไมล์ 3.2 km) ถนนสายนี้เดิมในอดีตเคยถูกเรียกว่า ไป๋กงตี้ เมื่อไป๋จวีอี้ (อังกฤษ: Bai Juyi; จีนตัวย่อ: 白居易, 772–846) กวีที่มีชื่อเสียงในสมัยราชวงศ์ถังได้รีบการแต่งตั้งเป็นนายกเทศมนตรีของเมืองซูโจวในขณะนั้น เป็นผู้ควบคุมการขุดคลองและก่อสร้างถนนในบริเวณนี้ของเมืองขึ้นเพื่อเชื่อมต่อกับเขาหูชิว (Tiger Hill) และเรียกคลองและถนนที่สร้างขึ้นใหม่นี้โดยใช้ชื่อซานถัง คลองนี้เชื่อมโยงไปยังคลองขนาดใหญ่ที่ต่อไปยังเมืองปักกิ่งและเมืองหางโจว ส่วนถนนซานถังก็ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็นสถานที่ท่องที่ยวพักผ่อนที่มีชื่อเสียงในด้านประเพณีของชนกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย ทั้งยังมีวัดโบราณด้วย จนกระทั่งพระนางซูสีไทเฮา (อังกฤษ: The Empress Dowager Cixi; จีนตัวย่อ: 慈禧太后, 1835–1908) แห่งราชวงศ์ชิงมีพระราชเสาวณีย์ให้สร้างถนนซูโจว (Suzhou Street) ขึ้นในพระราชวังอี๋เหอหยวน (Summer Palace) ในเมืองปักกิ่งโดยให้สร้างเลียนแบบจากถนนซานถังทั้งหมดเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนส่วนพระองค์ เมื่อเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 2002 เมืองซูโจวได้เริ่มโครงการบูรณะถนนซานถังให้เป็นเขตอนุรักษ์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม โดยโครงการในช่วงแรกได้เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว[23]

ถนนผิงเจียง (อังกฤษ: Pingjiang Street; จีนตัวย่อ: 平江路) เป็นถนนที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,500 ปี อยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองเก่าซูโจว บนพื้นที่ 116.5 เฮกเตอร์ ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,500 ปี และยังเป็นสถานที่ที่ได้รับการอนุรักษ์อย่างสมบูรณ์ที่สุดในซูโจว ในอดีตอาณาบริเวณนี้มีที่พักของขุนนาง ข้าราชการ และปราชญ์จำนวนมากอาศัยอยู่ ทำให้มีแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นบ้านโบราณให้ได้ศึกษาถึงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวซูโจวในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี The (Pingjiang Quarter) โดยบริเวณที่พักอาศัยโบราณของผิงเจียงนี้มีลักษณะการออกแบบสมัยราชวงศ์ซ่ง จึงเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของเมืองเก่าซูโจว

อื่นๆ

[แก้]

เขตท่องเที่ยวและพักผ่อนไท่หูแห่งเมืองซูโจว (อังกฤษ: Suzhou Taihu National Tourism and Vacation Zone ;จีนตัวย่อ: 苏州太湖国家旅游度假区) อยู่ทางตะวันตกของซูโจว ประมาณ 15 km (9 mi) จากตัวเมือง โดยทะเลสาบไท่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีธรรมชาติสวยงามมาตั้งแต่ในอดีต

ประตูทิศตะวันออก (Gate to the East) เป็นสัญลักษณ์ของเมือง ตั้งอยู่บริเวณเขตธุรกิจของเมืองซูโจว

ประตูผาน (อังกฤษ: Pan Gate หรือ Pan Men ; จีนตัวย่อ: 盘门) อยู่ทางมุมทิศตะวันตกเฉียงใต้ของคลองรอบเมืองซูโจว สร้างขึ้นในยุคจั้นกั๋ว อายุเก่าแก่กว่า 2,500 ปี เป็นหนึ่งในสามสถานที่สำคัญของจุดท่องเที่ยวบริเวณประตูผาน (three landmarks of Pan Gate Scenic Area) โดยสถานที่สำคัญอีกสองแห่งคือ เจดีย์รุ่ยกวง (อังกฤษ: Ruiguang Pagoda ;จีนตัวย่อ: 瑞光塔) เป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นแห่งแรกๆ ของเมืองซูโจว โดยสร้างขึ้นในราว 247 ปีก่อนคริสตกาล และอีกแห่งคือ สะพานประตูอู๋ (the Wu Gate Bridge) เป็นสะพานที่สูงที่สุดในเมืองซูโจวในสมัยโบราณ

View of Panmen Scenic Area and Ruiguang Pagoda.

สะพานเป๋าไต๊ (อังกฤษ: Baodai Bridge หรือ Precious Belt Bridge; จีนตัวย่อ: 宝带桥) เป็นสะพานข้ามทะเลสาบต้านไถ (Dantai Lake) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองซูโจว สร้างขึ้นในปี 806 ก่อนคริสตกาลในสมัยราชวงศ์ถัง มีพื้นที่ทั้งหมด 53 เอเคอร์ ยาว 317 เมตร สร้างด้วยหินจากภูเขาจินซาน (อังกฤษ: Jin Shan หรือ Gold Moutain; จีนตัวย่อ: 金山) สะพานนี้ถูกเรียกอีกชื่อว่าสะพานเข็มขัดสูงค่า หรือ Precious Belt Bridge เนื่องจากในอดีตระหว่างที่มีการระดุมทุนเพื่อสร้างสะพานแห่งนี้ ขุนนางผู้ปกครองเมืองได้บริจาคเข็มขัดมูลค่าสูงเพื่อเป็นทุนสร้างสะพาน โดยสะพานแห่งนี้ได้รับการบันทึกให้เป็นอนุสรณ์สถานแห่งชาติ (national monuments, resolution 5-285) ในปี ค.ศ. 2001

เจดีย์หูชิว (อังกฤษ: Huqiu Tower; จีนตัวย่อ: 虎丘塔) หรือหยุนเหยียน (อังกฤษ: Yunyuan Pagoda; จีนตัวย่อ: 云岩寺塔) สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 961 สมัยราชวงศซ่ง ลักษณะเป็นเจดีย์จีนตั้งอยู่บนเขาหูชิวหรือเนินเสือในเมืองซูโจว เจดีย์แห่งนี้มีชื่อเรียกหลากหลาย รวมถึงชื่อ "หอเอนแห่งประเทศจีน (Leaning Tower of China)" (อ้างอิงโดยนักประวัติศาสตร์ O.G. Ingles)[24] เนื่องจากตัวเจดีย์เอนไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเมื่อหลายพันปีที่แล้ว โดยศูนย์กลางด้านบนเอียงจากศูนย์กลางของฐานเจดีย์ 2.32 เมตร หรือประมาณ 3 องศา ตัวหอมีความสูง 47 เมตร (154 ฟุต) มีลักษณะเป็นรูปแปดเหลี่ยมและมีจำนวนชั้น 7 ชั้น สร้างโดยใช้อิฐสีน้ำเงิน มีน้ำหนักรวมทั้งสิ้นประมาณ 7,000,000 กิโลกรัม (15,000,000 ปอนด์)[25]

เจดีย์เป่ยซีอหรือเจดีย์วัดเหนือ (อังกฤษ: Beisi Pagoda หรือ North Temple Pagoda; จีนตัวย่อ: 北寺塔) ตั้งอยู่ในบริเวณวัดเป่าเอิน (Bao’en Temple) ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่สร้างราวศตวรรษที่ 17 เดิมเจดีย์มีความสูงถึง 11 ชั้น แต่ถูกเพลิงไหม้ได้รับความเสียหาย จึงเหลือเพียง 9 ชั้นภายหลังจากการบูรณะใหม่ รูปแบบของเจดีย์เป็นสถาปัตยกรรมสมัยราชวงศ์หมิงโดยโครงสร้างทำจากไม้และอิฐ เป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม มีเก้าชั้น สูง 76 เมตร (243 ฟุต) โดยเป็นเจดีย์สูงที่สุดในซูโจวและทางตอนใต้ของแม่นำแยงซี

เจดีย์แฝด (อังกฤษ: Twin Pagodas;จีนตัวย่อ: 苏州双塔) เป็นเจดีย์สององค์ต้งอยู่บนถนนติ้งฮุ่ยซี่อ (อังกฤษ: Dinghui Temple Lane; จีนตัวย่อ: 定慧寺巷) ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองซูโจว สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 982 ในสมัยราชวงศ์ซ่ง โดยพี่น้องหวัง (Wang brothers) [26] เจดีย์องค์หนึ่งเรียกว่า "Clarity-Dispensing Pagoda" และอีกองค์เรียกว่า "Beneficence Pagoda" มีความสูง 33.3 และ 33.7 เมตร เป็นรูปทรงแปดเหลี่ยม 7 ชั้น โดยเจดีย์ทั้งสององค์มีรูปร่างลักษณะที่เหมือนกัน ลักษณะโดดเด่นของเจดีย์ทั้งสองคือมียอดเป็นแท่งโลหะตันแหลมสูงเกือบ 1 ใน 4 ของความสูงขององค์เจดีย์อยู่ที่ส่วนบนสุดขององค์เจดีย์

พิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียง เช่น พิพิธภัณฑ์ซูโจว (สร้างขึ้นใหม่โดยเป้ยยู้หมิง (I. M. Pei)) พิพิธภัณฑ์ผ้าไหมซูโจว และพิพิธภัณฑ์อุปรากรซูโจว (Suzhou Museum of Opera and Theatre)

แม่แบบ:Classical Gardens of Suzhou

อุตสาหกรรม

[แก้]

สวนอุตสาหกรรมซูโจว

[แก้]
Nightscape of Suzhou's Jinji Lake

สวนอุตสาหกรรมซูโจว (อังกฤษ: Suzhou Industrial Park; SIP) เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่สุดที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างรัฐบาลจีนและรัฐบาลสิงคโปร์ ตั้งอยู่ใกล้ทะเลสาบจินจี (อังกฤษ: Jinji Lake; อักษรจีนตัวย่อ: 金鸡湖) ทางด้านตะวันออกของเมืองเก่าซูโจว และเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1994 นายหลี่ หลานชิง (อักษรจีนตัวย่อ: 李岚清 พินอิน: Lǐ lánqīng) รองนายกรัฐมนตรีจีนในขณะนั้น และนายลี กวนยู (อักษรจีนตัวย่อ: 李光耀 พินอิน: Lǐ Guāngyào) อดีตนายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศสิงคโปร์ (ตำแหน่งในขณะนั้นคือ Senior Minister) เป็นตัวแทนทั้งสองประเทศลงนามในข้อตกลงร่วมพัฒนาสวนอุตสาหกรรมซูโจว (เดิมเรียกว่า สวนอุตสาหกรรมสิงคโปร์) ร่วมกัน ซึ่งโครงการนี้เริ่มดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคมในปีเดียวกัน พื้นที่ทั้งหมดของสวนอุตสาหกรรมซูโจวครอบคลุมพื้นที่ถึง 288 ตารางกิโลเมตร โดยมีพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างจีนและสิงคโปร์ประมาณ 80 ตารางกิโลเมตร โดยคาดว่าจะมีประชากรอยู่อาศัยประมาณ 1.2 ล้านคน[27]

Suzhou Industrial Park (SIP) - West Bank of Jin Ji Lake

โซนส่งออกในสวนอุตสาหกรรมซูโจว

[แก้]

โซนส่งออกในสวนอุตสาหกรรมซูโจว (The Suzhou Industrial Park Export Processing Zone) ได้รับการอนุมัติให้จัดสร้างขึ้นโดยรัฐบาลจีนเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2000 มีพื้นที่รวม 2.9 ตารางกิโลเมตร และอยู่ในบริเวณพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างประเทศจีนและสิงคโปร์ด้วย ภายในโซนส่งออกในสวนอุตสาหกรรมซูโจว ประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่มีมาตรฐานสูง ทั้งด้านระบบการจัดการข้อมูลและระบบนอิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลศุลกากรต่างๆ สามารถเข้าถึงได้ด้วยระบบออนไลน์[28]

เขตเมืองใหม่ซูโจว

[แก้]

เขตเมืองใหม่ซูโจว (Suzhou New District; SND) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1990 ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1992 เขตเมืองใหม่นี้ได้รับการอนุมัติให้เป็นพื้นที่หรือเขตอุตสาหกรรมไฮเทคระดับประเทศ (The national-level hi-tech industrial zone) เมื่อปลายปี ค.ศ. 2007 เขตนี้มีบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนโดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนสูงถึง 13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นทุนจดทะเบียนชำระแล้วมูลค่ากว่า 6.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมมีบริษัทต่างชาติในเขตเมืองใหม่ซูโจวนี้ถึงกว่า 1,500 บริษัท[29]

ณ เดือนกันยายน ค.ศ. 2012 เมืองซูโจวถือเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน

การคมนาคม

[แก้]

รถไฟ

[แก้]
CRH in Suzhou Railway Station

ซูโจวอยู่บนเส้นทางรถไฟสายเซี่ยงไฮ้-นานกิง สถานีรถไฟซูโจว (Suzhou Railway Station) ตั้งอยู่ใกล้ศูนย์กลางเมืองเป็นสถานีที่คับคั่งและมีผู้โดยสารใช้บริการมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศจีน ให้บริการโดยรถไฟสายปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้ (Beijing–Shanghai Railway) และรถไฟระหว่างเมืองสายเซี่ยงไฮ้-นานกิง (Shanghai-Nanjing Intercity Railway) ซึ่งมีทั้งรถไฟความเร็วสูงแบบดี และแบบจี (high-speed D- and G-series trains) การเดินทางโดยรถไฟความเร็วสูงแบบจีจากเมืองซูโจวถึงเมืองเซี่ยงไฮ้ใช้เวลาเพียง 25 นาที และถึงเมืองนานกิงจะใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมงเท่านั้น

สถานีรถไฟซูโจวเหนือ (Suzhou North Railway Station) อยู่ทางตอนเหนือขึ้นไปไม่กี่กิโลเมตร เป็นสถานีที่อยู่บนเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายปักกิ่ง–เซี่ยงไฮ้ (Beijing–Shanghai High-Speed Railway) เปิดให้บริการในปี ค.ศ. 2011 ให้บริการรถไฟความเร็วสูงไปปักกิ่งและชิงเต่า เป็นต้น

ทางหลวง

[แก้]

ทางด่วนสายนานกิง-เซี่ยงไฮ้ เชื่อมระหว่างเมืองซูโจวและเมืองเซี่ยงไฮ้ และยังมีทางด่วนสายเลียบแม่น้ำแยงซีและทางด่วนสายซูโจว-เจียซิง-หางโจวด้วย ในปี ค.ศ. 2005 มีการก่อสร้างถนนวงแหวนซูโจวเสร็จ ซึ่งเชื่อมเมืองไท่ชาง คุนซานและชางชู ถึงกัน และยังมีทางหลวงหลักสาย 312 (China National Highway 312) ที่ตัดผ่านเมืองซูโจวเช่นกัน

ทางอากาศ

[แก้]

สำหรับการคมนาคมทางอากาศ ซูโจวมีท่าอากาศยานนานาชาติซูนาน ชู่ฟ่าง ซึ่งมีการบริหารจัดการร่วมกันโดยเมืองอู๋ซี และเมืองซูโจว นอกจากนี้ยังมีท่าอากาศยานนานาชาติเซี่ยงไฮ้หงเฉียวและท่าอากาศยานนานาชาติเซี่ยงไฮ้ผู่ตง [30]

ทางน้ำ

[แก้]

ท่าเรือซูโจวซึ่งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำแยงซี ในปี ค.ศ. 2012 มีปริมาณสินค้ามากถึง 428 ล้านตันและตู้คอนเทนเนอร์จำนวนมากกว่า 5.86 ล้านตู้ ผ่านท่าเรือแห่งนี้ ทำให้ท่าเรือแห่งนี้เป็นท่าเรือฝั่งแม่น้ำที่พลุกพล่านที่สุดในโลก[31][32]

Canal of Pingjiang

นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำสายเล็กๆ ในเมืองอีกหลายสายที่เป็นจุดท่องเที่ยว

รถไฟฟ้า

[แก้]

ปัจจุบันระบบรถไฟฟ้าซูโจว (Suzhou Rail Transit) มีให้บริการอยู่ 2 สาย และยังมีอีก 5 สายที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยระบบรถไฟฟ้าทั้งหมดมีรวม 9 สาย เส้นทางรถไฟฟ้าสายแรกเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 2012 สาย 2 เปิดให้บริการวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 2013[33] ส่วนอีก 5 เส้นทางจะเปิดให้บริการภายในปี ค.ศ. 2020

รถประจำทาง

[แก้]

เมืองซูโจวมีระบบการคมนาคมโดยรถประจำทางที่ดีที่สุดเมืองหนึ่งซึ่งมีเส้นทางเดินรถทั่วทุกส่วนของพื้นที่เมือง ค่าโดยสารเป็นระบบอัตราเดียว ในราคา 1 หยวน สำหรับรถประจำทางธรรมดา และราคา 2 หยวน สำหรับรถประจำทางปรับอากาศ

Higer Bus is the popular bus model in Suzhou.

แท็กซี่

[แก้]

รถแท็กซี่มีให้บริการอยู่ทั่วไปและค่อนข้างสะดวกสำหรับการเดินทางในตัวเมือง หมายเลขศูนย์รถแท็กซี่อย่างเป็นทางการ คือ หมายเลข 67776777 (ดำเนินการภายใต้การควบคุมของรัฐบาล) นอกจากนี้ยังสามารถใช้แอปพลิเคชันบนมือถือแบบสมาร์ตโฟนในการจองและเรียกใช้บริการรถแท็กซี่ได้อีกด้วย

อัตราค่าโดยสารแท็กซี่เริ่มต้นที่ 12 หยวน (ราคาเริ่มต้น 10 หยวน และค่าเชื้อเพลิง 2 หยวน) สำหรับระยะทาง 3 กิโลเมตร (2 ไมล์), สำหรับอัตราค่าโดยสารระยะทางตั้งแต่ 3 กิโลเมตรเป็นต้นไป คิดอัตรา 1.8 หยวนต่อกิโลเมตร สำหรับรถแท็กซี่ซานตานา (Santana) และราคา 2.0 หยวนต่อกิโลเมตร สำหรับรถแท็กซี่พาสซาส (Passat) ฮุนได (Hyundai) และจงหัว (Zhonghua)

นอกจากนี้ยังมีบริการจองรถล่วงหน้าซึ่งคิดค่าบริการเริ่มต้นที่ 15 หยวน สำหรับ 3 กิโลเมตร (2 ไมล์) แรก อัตราค่าโดยสารระยะทางตั้งแต่ 3 กิโลเมตรเป็นต้นไป ราคา 3.0 หยวน สำหรับระยะทางทุกๆ 1 km (0.62 mi) รถแท็กซี่สำหรับบริการจองรถล่วงหน้ามักใช้รถโตโยต้า แคมรี่ (Toyota Camry) และนิสสัน เทียน่า (Nissan Teana) ซึ่งจะไม่ให้บริการเรียกทั่วไปบนท้องถนน แต่จะให้บริการผ่านศูนย์บริการแท็กซี่หมายเลข 67776777 ผ่านสมาร์ตโฟนแอปพลิเคชัน และผ่านท่าจอดรถ (berths) เท่านั้น[34]

รถสามล้อถีบ

[แก้]

รถสามล้อถีบ (pedicab) เป็นพาหนะซึ่งเหมาะสำหรับการเที่ยวชมเมืองอย่างมาก ราคาค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 2 หยวน เพิ่มขึ้นขั้นละ 3 ถึง 5 หยวน และควรตกลงค่าบริการให้เรียบร้อยก่อนการใช้บริการ

จักรยาน

[แก้]

รถจักรยานเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่นักท่องเที่ยวนิยมใช้เป็นพาหนะสำหรับการเที่ยวชมเมืองซูโจว ราคาค่าเช่าจักรยานโดยประมาณ 2 หยวน (CNY) ต่อ 4 ชั่วโมง และประมาณ 5 หยวน (CNY) สำหรับการเช่าขี่ทั้งวัน การเช่าจักรยานจะต้องวางเงินมัดจำและแสดงบัตรประจำตัว เช่น บัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทางด้วย

วัฒนธรรม

[แก้]
The Yunyan Pagoda, or Huqiu Tower, a tower that is now leaning due to lack of foundational support (half soil, half rock), built during the latter part of the Five Dynasties and Ten Kingdoms era (907-960 AD).
The Beisi Pagoda of Suzhou, built between 1131 and 1162 during the Song Dynasty (with later renovations), 76 m (243 ft) tall.
The "xi shi" stone bridge
  • อุปรากร (Opera): Kunqu ซึ่งมีต้นกำเนิดในแถบซูโจว เช่นเดียวกับ อุปรากรซูโจว (Suzhou Opera) การร้อง Ballad-singing หรือการแสดงผิงฐาน (pingtan) ของซูโจว ต่างก็เป็นลักษณะการแสดงในแบบการเล่าเรื่องราว (storytelling) ที่ผสมผสานกับการร้องเพลง (accompanied by the pipa and sanxian) โดยมีบางส่วนเป็นภาษาพื้นเมืองด้วย
  • ผ้าไหม: ผ้าไหมเมืองซูโจวเป็นผ้าไหมที่มีคุณภาพสูงมาก และมักใช้ในราชสำนักจีนยุคโบราณสำหรับสมาชิกราชวงศ์ ในช่วงศตวรรษที่ 13 เมืองซูโจวยังเป็นศูนย์กลางการค้าขายผ้าไหม
  • ผ้าไหมยกดอกแบบซ่ง(Song brocade): ผ้าไหมยกดอกแบบซ่งมักมีสัสันฉูดฉาด ลายที่วิจิตรปราณีต มีทั้งเนื้อผ้าที่หนาและอ่อนนุ่ม ซึ่งเป็นหนึ่งในสามของผ้าไหมยกดอกที่มีชื่อเสียงของประเทศจีน (อีกสองแห่งคือ หนานจิงและเสฉวน) ผ้าไหมยกดอกของซูโจวมัประวัติย้อนหลังไปถึงสมัยห้าราชวงศ์ (the Five Dynasties) โดยมีความเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยราชวงศ์ซ่ง (Song Dynasty)
  • หัตถกรรม (handicrafts): งานปักดิ้นแบบซูโจว (Suzhou embroidery), พัด เครื่องดนตรีจีน โคม เฟอร์นิเจอร์ไม้มะฮอกกานี (mahogany) งานแกะสลักหยก พรมแขวนผนังผ้าไหม (silk tapestry) รวมถึงงานศิลปะอื่นๆ ตามหอศิลป์ต่างๆ เช่น ภาพวาดที่ Jiangenxutang Studio และ ภาพพิมพ์ด้วยแบบไม้ที่ Taohuawu Studio เป็นต้น
  • ภาพวาดจิตรกรรมจีน (Paintings)
  • ศิลปะอักษรวิจิตร (Calligraphic art)
  • ตำรับอาหาร: ปูยักษ์ทะเลสาบหยางเฉิง (Yangcheng Lake large crab) (อักษรจีนตัวย่อ: 阳澄湖; พินอิน: Yángchéng Hú)
  • งานฝีมือผ้าไหมปักดิ้นแบบซูโจว (Suzhou Silk Hand Embroidery Art)
  • เมืองซูโจวเป็นถิ่นต้นกำเนิดของ "เพลงดอกมะลิ หรือโม่ลี่ฮัว (อังกฤษ: Jusmine; จีน: 茉莉花)" เป็นเพลงยอดนิยมที่ขับร้องโดยนักร้องและนักแสดงจีนนับหลายพันครั้ง ทั้งในโอกาสเฉลิมฉลอง และการประชุมสำคัญต่างๆ โดยดอกมะลิยังเป็นสัญลักษณ์ของเมืองซูโจว เช่นเดียวกับทะเลสาบไท่ด้วย
  • สวนโบราณเมืองซูโจว: สวนในเมืองซูโจวเป็นสวนโบราณที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน สวนแห่งแรกของซูโจวเป็นของจักรพรรดิของรัฐอู๋ (the emperor of Wu State) ยุคชุนชิว (Spring and Autumn Period) หรือประมาณ 600 ปีก่อนคริสตกาล ในช่วงศตวรรณที่ 16 และ 18 สวนในเมืองซูโจวมีจำนวนมากถึงกว่า 200 แห่ง ปัจจุบันสวนจัวเจิ้ง (the Humble Administrator's Garden) ซึ่งสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 16 เป็นสวนส่วนตัว (private garden) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเมืองซูโจว
  • งานฝีมือผ้าปักดิ้นแบบซูโจว และงานปักดิ้นแบบหูหนาน (Hunan) เสฉวน (Sichuan) และกวางตุ้ง (Guangdong) ได้รับการขนานนามว่าเป็น "สี่งานฝีมือผ้าปักดิ้นที่มีชื่อเสียง (Four Famous Embroideries)" โดยการปักแบบซูโจวมักใช้ผ้าไหมและดิ้นทอง
  • พิพิธภัณฑ์ซูโจวมีของสะสมจากหลายยุคหลายสมัย อาทิ The collection includes revolutionary records, แผ่นศิลาจารึก (stele carving) ศิลปะพื้นบ้าน (folk customs) งานฝีมือผ้าไหมปักดิ้นแบบซูโจว เครื่องแต่งกายผ้าไหม เหรียญโบราณ และศิลปะวัตถุทางพุทธศาสนา เป็นต้น[35]

บุคคลสำคัญ

[แก้]
นักการเมือง
นักเขียนและนักประพันธ์จีน
  • ลกเจ๊ก หรือลู่จี (Lu Ji or Shiheng; 陆机) (261–303) ข้าราชการ นักประพันธ์ นักการศีกษา นักวิจารณ์ ในสมัยง่อก๊กหรืออาณาจักรอู๋ตะวันออก ในยุคสามก๊ก เป็นบุตรของลกข้อง และหลานของลกซุน
  • ไป๋จวีอี้((Bai Juyi; 白居易) (772–846) นักประพันธ์และกวีที่มีชื่อเสียงในสมัยราชวงศ์ถัง บทประพันธ์ของเขามักกล่าวถึงประสบการณ์ในระหว่างเป็นข้าราชการ (ผู้ปกครอง) ในจังหว้ดต่างๆ และยังมีชื่อเสียงไปถึงในประเทศญี่ปุ่นด้วย โดยชื่อของเขาอ่านเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า Hakkyo'i (はっきょい)
  • ฟ่านเฉิงต้า (Fan Chengda; 范成大) (1126-1193 AD)
  • เฉียนเชียนยี่ (Qian Qianyi; 钱谦益) (1582–1664) ข้าราชการในสมัยหมิงตอนปลาย เป็นทั้งกวี นักศึกษา นักประวัติศาสตร์สังคม (social historian) และเป็นหนึ่งในนักประพันธ์ที่รู้จักในชื่อของ Three Masters of Jiangdong (อักษรจีนตัวย่อ: 江左三大家) ร่วมกับ กงติ่งจึ (Gong Dingzi; 龔鼎孶) และอู๋เหว่ยเยว่ (Wu Weiye; 吴伟业)
  • เยว่เชิงเถา (Ye Shengtao; 叶圣陶) (1894 — 1988) นักเขียน นักการศึกษา และ publisher
  • ยวู๋ผิงปั๋ว (Yu Pingbo; 俞平伯) (1900–1990) นักเขียน นักประวัติศาสตร์ และนักวิจารณ์ (critic)
  • กู้เจี๋ยกัง (Gu Jiegang); 顾颉刚) (1893–1980) นักประวัติศาสตร์
  • ลู่เหวินฟู (Lu Wenfu; 陆文夫) (1927-2005) นักประพันธ์วรรณกรรมและเรื่องสั้น
  • ซูถง (Su Tong; 苏童) (1963-) นักเขียน
ผู้เขียนบทละคร
ศิลปิน
นักวิทยาศาสตร์และวิศวกร
นักปรัชญาจีน
วงการภาพยนตร์ (Entertainment)
อื่นๆ
  • Huang Peilie - ผู้ชอบสะสมหนังสือ (Bibliophile)[16]
  • ซุนวู (Sun Tzu; 孙武|孙武) นายพลนักการทหาร (Military General) ผู้เขียนเรื่อง Art of War
  • หลินเจา (Lin Zhao; 林昭) ผู้ประท้วง

การศึกษา

[แก้]
โรงเรียนมัธยม
An exhibition of Penjing in one of the gardens in Suzhou.
สถาบันการศึกษาระดับปริญญาตรี (Public institutions having full-time Bachelor's degree programs)
สถาบันอุดมศึกษา
โรงเรียนเอกชน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Table showing land area and population". Suzhou People's Government. 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-02. สืบค้นเมื่อ 2007-09-07.
  2. 2.0 2.1 "2018年苏州市国民经济和社会发展统计公报". suzhou.gov.cn. 2019-01-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-30. สืบค้นเมื่อ 2019-11-17.
  3. "苏U号牌来了!苏州将成江苏首个启用双号牌的城市". 交汇点. 2018-10-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-24. สืบค้นเมื่อ 2018-10-24.
  4. China provinces ‘to be bigger than Russia’
  5. Tertius Chandler (1987). Four Thousand Years of Urban Growth: An Historical Census. St. David's University Press. ISBN 978-0889462076.
  6. "Top 10 Cities of the Year 100". About.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-05. สืบค้นเมื่อ 2013-10-20.
  7. "The Grand Canal". UNESCO World Heritage Centre. สืบค้นเมื่อ 1 January 2014.
  8. Marme, Michael (2005). Suzhou: Where the Goods of All the Provinces Converge. Stanford: Stanford University Press. ISBN 9780804731126.
  9. Visit some of China's best gardens next week without a passport » Arts/Entertainment » Andover Townsman, Andover, MA เก็บถาวร 2011-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Andovertownsman.com. Retrieved on 2011-08-28.
  10. Thorpe, Annabelle. "Suzhou real China outside Shanghai". The Times. London. สืบค้นเมื่อ 2010-05-24.
  11. Fussell, Betty (1988-03-13). "Exploring Twin Cities By Canal Boat". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2010-05-24.
  12. หนังสือท่องเที่ยวเจียงซู-เจ้อเจียง ฉบับท่องเที่ยวด้วยตัวเอง (臧羚羊自助游) สำนักพิมพ์ 中国大百科全书出版社 ฉบับเดือนพฤษภาคม ปี 2004 หน้า 51
  13. Dictionary of Chinese Place-names Ancient and Modern (中国古今地名大词典, Zhongguo Gujin Diming Dacidian), p. 1438. Shanghai Lexicographical Publishing House (Shanghai), 2006. (จีน)
  14. Topic about Wu culture from China Daily
  15. Cradle of Wu Culture from Jiangsu Official website
  16. 16.0 16.1 "Supplement to the Local Gazetteer of Wu Prefecture". World Digital Library. 1134. สืบค้นเมื่อ 2013-09-06.
  17. Johnson, Linda C. Cities of Jiangnan in Late Imperial China, pp. 26–27. SUNY Press, 1993. ISBN 0-7914-1423-X, 9780791414231.
  18. Brook, Timothy. The Confusions of Pleasure: Commerce and Culture in Ming China. Berkeley: University of California Press, 1988. ISBN 0-520-22154-0. Page 45.
  19. 《苏州市2010年第六次全国人口普查主要数据公报》 เก็บถาวร 2014-02-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Suzhou Statistics Bureau. 3 May 2011. Accessed 24 Feb 2013. (จีน)
  20. 名城新闻网 [Míngchéng Xīnwén Wǎng, City News Online]. [1]เก็บถาวร 2013-08-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เก็บถาวร 2013-08-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 《昨最高气温再创历史新高苏州筹划人工增雨降温》 เก็บถาวร 2013-08-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ["Zuó zuìgāo qìwēn zài chuàng lìshǐ xīngāo, Sūzhōu chóuhuà réngōng zēng yǔ jiàngwēn", "Yesterday was highest temperature on record, Suzhou planning artificial rain to cool".] 1 Aug 2013. Accessed 20 Jan 2014. (จีน)
  21. 中国苏州 [Zhōngguó Sūzhōu, Suzhou Municipal Government Website]. 《苏州历史最高最低气温问题》 ["Sūzhōu Lìshǐ Zuìgāo Zuìdī Qìwēn Wèntí", "Question about Suzhou's Highest and Lowest Temperature Records"]. 20 Jan 2011. Accessed 20 Jan 2014. (จีน)
  22. Suzhou Bureau of Statistics. "1-2. Monthly Climate Conditions of Urban Area (2010) เก็บถาวร 2014-08-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน" and "1-3. Climate and Hydrologic Conditions by Region (2010) เก็บถาวร 2014-08-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน" in the Suzhou Statistical Yearbook 2011 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Accessed 14 July 2012. (จีน) & (อังกฤษ)
  23. "Official Travel and Tourism Websites For Suzhou". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-26. สืบค้นเมื่อ 2014-03-12.
  24. Ingles (1982), 144.
  25. Ingles (1982), 145.
  26. China.org.cn
  27. "Suzhou Industry Park". Rightsite.asia. 1994-02-26. สืบค้นเมื่อ 2011-08-28.
  28. "Suzhou Industrial Park (SIP) Export Processing Zone". chinadaily.com.cn. 2019-01-17. สืบค้นเมื่อ 2019-11-17.
  29. "Suzhou Hi-Tech Industrial Development Zone". Rightsite.asia. สืบค้นเมื่อ 2011-08-28.
  30. "苏州交通运输" (ภาษาจีน). People's Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-30. สืบค้นเมื่อ 2013-08-16.
  31. "苏州港外贸吞吐量首破1亿吨". 新华日报. 2013-01-13. สืบค้นเมื่อ 2013-01-15.
  32. 小汤. "苏州港去年货物吞吐量4.28亿吨". 苏州日报. สืบค้นเมื่อ 2013-03-24.
  33. "苏州地铁规划图 (Suzhou MRT Map)" (ภาษาจีน). 2009-04-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-30. สืบค้นเมื่อ 2009-04-20.
  34. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-02. สืบค้นเมื่อ 2014-03-12.
  35. "Suzhou Museum". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-28. สืบค้นเมื่อ 2014-03-12.
  36. Hevesi, Dennis. "Dr. Thomas Dao, Expert on Treatment of Breast Cancer, Dies at 88", The New York Times, 25 July 2009. Accessed 26 July 2009.

แหล่งข้อมูล

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]