ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กรมขุนอิศรานุรักษ์)
สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์
เจ้าฟ้าชั้นตรี
ประสูติ10 มีนาคม พ.ศ. 2316
สิ้นพระชนม์18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2373 (56 ปี)
พระชายาหม่อมปัญจปาปี
พระบุตร82 องค์
ราชสกุลอิศรางกูร
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาเงิน แซ่ตัน
พระมารดาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์

สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์[1] (9 มีนาคม พ.ศ. 2316 – 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2373) หรือพระนามเดิมว่า เกด เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ กับเงิน แซ่ตัน เป็นต้นราชสกุลอิศรางกูร ณ อยุธยา[2][3]

พระประวัติ[แก้]

สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ มีพระนามเดิมว่า เกด ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 12 ค่ำ ปีมะเส็งเบญจศก จ.ศ. 1135 ตรงกับวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2316 ในสมัยอาณาจักรธนบุรี เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ กับเงิน แซ่ตัน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเริ่มประดิษฐานพระราชวงศ์ใน พ.ศ. 2325 จึงโปรดตั้งเป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าเกด และในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2349 (นับแบบปัจจุบันเป็น พ.ศ. 2350) จึงโปรดตั้งเป็นเป็นกรมขุนอิศรานุรักษ์ จารึกพระนามในพระสุพรรณบัฏเนื้อ 7[4]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์สำเร็จราชการมหาดไทยต่อจากสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรี และต่อมาได้สำเร็จราชการกลาโหม[5] เป็นแม่ทัพยกไปรักษาเมืองพระตะบองเมื่อ พ.ศ. 2358 และทรงปฏิสังขรณ์วัดกษัตราธิราชวรวิหารทั้งพระอาราม[6] มีฝีพระหัตถ์ในทางช่าง เช่น ทรงจำแบบอย่างเรีอรบญวนมาดัดแปลงเป็นเรือสำหรับใช้เดินทางไกล ทรงแต่งเก๋ง แต่งแพ สร้างสวนขวา พระประธานวัดรังษีสุทธาวาสในวัดบวรนิเวศ ได้รับพระราชทานวังที่ท่าเตียน[7] ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และประทับเรื่อยมาจนถืงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ประชวรพระยอดที่พระปฤษฎางค์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันศุกร์ เดือน 4 ขึ้น 7 ค่ำ ปีขาลโทศก จ.ศ. 1192 ตรงกับวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2373 สิริพระชันษา 58 ปี ได้รับพระราชทานพระโกศทองใหญ่ทรงพระศพ และพระราชทานเพลิงพระศพที่พระเมรุท้องสนามหลวง

พระอิสริยยศ[แก้]

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ
  • พ.ศ. 2325 : สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าเกด
  • พ.ศ. 2350 : สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าเกด กรมขุนอิศรานุรักษ์
  • ในสมัยรัชกาลที่ 2 : สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าเกด กรมขุนอิศรานุรักษ์

พระโอรส-ธิดา[แก้]

สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ เสกสมรสกับหม่อมปัญจปาปี พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกับกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ มีพระโอรส-ธิดาด้วยกันห้าองค์ ได้แก่

  • หม่อมเจ้าใหญ่ อิศรางกูร มีโอรสธิดา คือ
    • หม่อมราชวงศ์ขำ อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์หญิงเข็ม อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์นุช อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์หญิงคลี่ อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์หญิงพุก อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้ากลาง อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าศรีฟ้า อิศรางกูร บางแห่งเขียนว่าสีฟ้า
  • หม่อมเจ้าสุนทรา อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้ารสสุคนธ์ อิศรางกูร

นอกจากนี้ยังมีหม่อมคนอื่น ๆ อีกจำนวนมาก รวมมีพระโอรส-ธิดาทั้งสิ้น 82 องค์[8] ได้แก่[7]

พระโอรส

  • พระวงศ์เธอ กรมหมื่นเทวานุรักษ์ (เดิม หม่อมเจ้าชอุ่ม; 12 เมษายน พ.ศ. 2337 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2406) มีพระโอรส คือ
  • หม่อมเจ้าเพชรหึง อิศรางกูร (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2358)
  • หม่อมเจ้าหนูใหญ่ อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าวัตถา อิศรางกูร (พ.ศ. 2364 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2401; พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดสระเกศ เมื่อ พ.ศ. 2410)
  • หม่อมเจ้าสนิท อิศรางกูร (พ.ศ. 2371 – 1 มกราคม พ.ศ. 2462; พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดกลาง เมื่อ 22 มกราคม พ.ศ. 2462)
  • หม่อมเจ้านิล อิศรางกูร (พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดนาคกลาง เมื่อ พ.ศ. 2407)
  • หม่อมเจ้ามณฑป อิศรางกูร(พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดสุวรรณาราม เมื่อ พ.ศ. 2410) มีโอรส คือ
    • พระยาทัณฑกรคณารักษ์ (หม่อมราชวงศ์เลื่อม อิศรางกูร) สมรสกับภรรยาในราชสกุลเดียวกัน คือ หม่อมราชวงศ์สาย อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าคันทอง อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าสุดชาติ อิศรางกูร บางครั้งออกพระนามว่าหม่อมเจ้าสุด สมรสกับหม่อมราชวงศ์หญิงพิกุล (สกุลเดิม : ปาลกะวงศ์) มีโอรส คือ
    • พระยารัตนพิมพาภิบาล (หม่อมราชวงศ์สวัสดิ์ อิศรางกูร) สมรสกับหม่อมหลวงแม้น (สกุลเดิม : ปาลกะวงศ์) มีบุตร คือ
      • พันเอก หม่อมหลวงเวก อิศรางกูร สมรสกับรำจวน อิศรางกูร ณ อยุธยา มีบุตรธิดา คือ
        • สุรางค์ศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา
        • พันเอกหญิงวีรวรรณ อิ่มอภัย
        • วิรัช อิศรางกูร ณ อยุธยา
        • พลอากาศเอกวัชรา อิศรางกูร ณ อยุธยา
  • หม่อมเจ้าชุมสาย อิศรางกูร บางครั้งออกพระนามว่าหม่อมเจ้าชุมแสง (สิ้นชีพิตักษัย 27 มิถุนายน พ.ศ. 2441)
  • หม่อมเจ้าพรหมเมศร อิศรางกูร บางครั้งออกพระนามว่าหม่อมเจ้าถึก สมรสกับหม่อมอรุณ มีโอรสธิดา คือ
    • คุณหญิงทัณฑกรคณารักษ์ (หม่อมราชวงศ์สาย อิศรางกูร) สมรสกับสามีในราชสกุลเดียวกัน คือ พระยาทัณฑกรคณารักษ์ (หม่อมราชวงศ์เลื่อม อิศรางกูร)
    • หม่อมราชวงศ์เจริญ อิศรางกูร หรือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
    • หม่อมราชวงศ์จรัส อิศรางกูร สมรสกับปุ้ย มีบุตรธิดา คือ
      • หม่อมหลวงปลั่ง อิศรางกูร
      • ขุนพิทักษ์นคเรศร์ (หม่อมหลวงไปล่ อิศรางกูร)
      • หม่อมหลวงหงศ์ อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงประมุล อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์ศิลา อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าตุ้ม อิศรางกูร (ไม่มีข้อมูล - 30 สิงหาคม พ.ศ. 2440) มีธิดา คือ
  • หม่อมเจ้าสนุ่น อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าโสภณ อิศรางกูร เสกสมรสกับหม่อมอิ่ม มีโอรสและธิดา 9 คน และยังมีหม่อมคนอื่นอีกหลายคน โดยโอรสและธิดาทั้งหมด 20 คน คือ
    • พระศักดิ์เสนา (หม่อมราชวงศ์เนตร อิศรางกูร)
    • หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์โต๊ะ อิศรางกูร) สมรสกับนางราโชทัย (พุก),แม้น,ขัน,ซ่วน มีบุตรและธิดา คือ
      • หม่อมหลวงเรณู อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงประยงค์ อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงอุทัย อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงอุบล อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงมณฑา อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงไพบูลย์ อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงโกสุมภ์ อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงจินดา อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงอาทิตย์ อิศรางกูร
    • เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์ย้อย ในรัชกาลที่ 5
    • เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์มณี ในรัชกาลที่ 5
    • พระยาอิศรพันธ์โสภณ (หม่อมราชวงศ์หนู อิศรางกูร) สมรสกับคุณหญิงพรรณ อิศรพันธ์โสภณ มีธิดา คือ
      • หม่อมหลวงแฉล้ม อิศรางกูร (หม่อมหลวงแฉล้ม ราชจินดา)
    • หม่อมราชวงศ์นกแก้ว อิศรางกูร สมรสกับหลวงฤทธินายเวร (หม่อมราชวงศ์โนรี ศิริวงศ์)
    • พระธนสารสิทธิการ (หม่อมราชวงศ์มงคล อิศรางกูร)
    • หม่อมราชวงศ์จำรัส อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์ทับทิม อิศรางกูร
    • พระสาลียากรพิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เนตร อิศรางกูร) สมรสกับภรรยาในราชสกุลเดียวกัน คือ หม่อมราชวงศ์บัว อิศรางกูร มีบุตรชาย 1 คน และธิดา 6 คน คือ
      • หม่อมหลวงวาสน์ อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงสังวาลย์ อิศรางกูร
      • พระยาสาครวิสัย (หม่อมหลวงเป้า อิศรางกูร)
      • หม่อมหลวงแฉล้ม อิศรางกูร (หม่อมหลวงแฉล้ม ยี่สุ่นพันธ์)
      • หม่อมหลวงปุย อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงเกษร อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงสงวน อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์ชุม อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์ถาด อิศรางกูร (แฝดพี่)
    • หม่อมราชวงศ์ขัน อิศรางกูร (แฝดน้อง)
    • หม่อมราชวงศ์เผือก อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์สุเทพ อิศรางกูร
    • พันตรี หลวงอนุการรัฐกิจ (หม่อมราชวงศ์แสง อิศรางกูร บ้างว่าชื่อหม่อมราชวงศ์แฝง อิศรางกูร)
    • ขุนศรีรัตน์นาถ (หม่อมราชวงศ์หยัด อิศรางกูร บ้างว่าชื่อหม่อมราชวงศ์ประหยัด อิศรางกูร) มีบุตรธิดา คือ
      • หลวงชิตภูบาล (หม่อมหลวงปลื้ม อิศรางกูร)
      • หม่อมหลวงเสริม อิศรางกูร
      • ร้อยโท หม่อมหลวงโต๊ะ อิศรางกูร
      • หลวงอรรถปริมลวุจดี (หม่อมหลวงเปลื้อง อิศรางกูร)
      • หม่อมหลวงทรัพย์ อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์ขำ อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์แสวง อิศรางกูร
    • ร้อยเอกขุนแผลงสรศาสตร์ (หม่อมราชวงศ์สุภาพ อิศรางกูร) สมรสกับหม่อมราชวงศ์นาน เรณูนันท์ มีบุตรธิดา 6 คน คือ
      • รองอำมาตย์โท ขุนทัณฑการวินิจ (หม่อมหลวงถวิล อิศรางกูร)
      • หม่อมหลวงปลั่ง อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงเปล่ง อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงปิ๋ว อิศรางกูร
      • รองเสวกเอก จ่าห้าวยุทธการ (หม่อมหลวงสวาสดิ์ อิศรางกูร)
      • หม่อมหลวงปลื้ม อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าขจร อิศรางกูร มีโอรสธิดา 14 คน คือ
    • พระยารัถยานุรักษ์ (หม่อมราชวงศ์นุช อิศรางกูร) มีบุตรธิดา คือ
      • คุณหญิงสาครวิสัย (หม่อมหลวงสำเภา อิศรางกูร) สมรสกับสามีในราชสกุลเดียวกัน คือ พระยาสาครวิสัย (หม่อมหลวงเป้า อิศรางกูร)
      • หม่อมหลวงเจือ อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงแฉล้ม อิศรางกูร สมรสกับหม่อมราชวงศ์ชั้น สนิทวงศ์
      • หม่อมหลวงอากาศ อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงเนื่องพร อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงนารถ อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์สาย อิศรางกูร สมรสกับสามีในราชสกุลเดียวกัน คือ พระธนสารสิทธิการ (หม่อมราชวงศ์มงคล อิศรางกูร)
    • หม่อมราชวงศ์ชั้น อิศรางกูร สมรสกับหมื่นจักรแสนยากรในราชสกุลศิริวงศ์
    • พระวรรณกรรม (หม่อมราชวงศ์สนั่น อิศรางกูร)
    • หม่อมราชวงศ์เสน่ห์ อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์ลาภ อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์พริ้ง อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์พร้อม อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์จีน อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์ชิต อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์บัว อิศรางกูร สมรสกับสามีในราชสกุลเดียวกัน คือ พระสาลียากรพิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เจริญ อิศรางกูร)
    • หม่อมราชวงศ์ตู้ อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์แส อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์สารภี อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าโต อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้ากำพล อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้ามุ้ย อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าน้อย อิศรางกูร มีโอรส คือ
  • หม่อมเจ้ารศสุคนธ์ อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าสุราไลย อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าพยอม อิศรางกูร (ไม่มีข้อมูล - พ.ศ. 2401)

พระธิดา

  • หม่อมเจ้าปุก อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าป้อม อิศรางกูร (ประสูติ พ.ศ. 2336)
  • หม่อมเจ้าอำพัน อิศรางกูร (พ.ศ. 2341 – 7 มิถุนายน พ.ศ. 2401)
  • หม่อมเจ้าประไภย อิศรางกูร (พ.ศ. 2344 – 16 มิถุนายน พ.ศ. 2420)
  • หม่อมเจ้ามณฑา อิศรางกูร (พ.ศ. 2346 – 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2428; พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดสระเกศ เมื่อ 11 มีนาคม พ.ศ. 2428)
  • หม่อมเจ้าประภา อิศรางกูร (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2400)
  • หม่อมเจ้าบัญชร อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าตลับ อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าจิตร อิศรางกูร (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2400)
  • หม่อมเจ้ามุกดา อิศรางกูร (พ.ศ. 2354 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2434; พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดดุสิดาราม เมื่อ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2435)
  • หม่อมเจ้าจีด อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าหนูหมี อิศรางกูร (พ.ศ. 2356 – เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2430; พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดระฆังโฆสิตาราม เมื่อ 9 มีนาคม พ.ศ. 2430)
  • หม่อมเจ้าอัมภร อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้ากระจิบ อิศรางกูร (สิ้นชีพิตักษัยในสมัยรัชกาลที่ 3)
  • หม่อมเจ้ากลาง อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าประดับ อิศรางกูร (พ.ศ. 2358 – 13 กันยายน พ.ศ. 2421)
  • หม่อมเจ้ากำพร้า อิศรางกูร(สิ้นชีพิตักษัย 11 ธันวาคม พ.ศ. 2441)
  • หม่อมเจ้าไย อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าหนู อิศรางกูร (พ.ศ. 2364 – 21 มิถุนายน พ.ศ. 2438; พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดระฆังโฆสิตาราม เมื่อ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438)
  • หม่อมเจ้าอุไร อิศรางกูร (พ.ศ. 2366 – 3 เมษายน พ.ศ. 2421)
  • หม่อมเจ้าหญิง อิศรางกูร (พ.ศ. 2370 – 5 มกราคม พ.ศ. 2461)
  • หม่อมเจ้าละม่อม อิศรางกูร (สิ้นชีพิตักษัย 21 กันยายน พ.ศ. 2444)
  • หม่อมเจ้าปี อิศรางกูร บางแห่งว่าหม่อมเจ้าหญิงปี่ (สิ้นชีพิตักษัย 14 ตุลาคม พ.ศ. 2444; พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดจักรวรรดิราชาวาส เมื่อ 20 เมษายน พ.ศ. 2445)
  • หม่อมเจ้าเขียน อิศรางกูร (สิ้นชีพิตักษัย 9 มีนาคม พ.ศ. 2446; พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดจักรวรรดิราชาวาส เมื่อ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2448)
  • หม่อมเจ้ารัศมี อิศรางกูร (สิ้นชีพิตักษัย 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2441; พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดไตรมิตรวิทยาราม เมื่อ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2443)
  • หม่อมเจ้าถนอม อิศรางกูร (สิ้นชีพิตักษัย 20 มกราคม พ.ศ. 2443; พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดระฆังโฆสิตาราม)
  • หม่อมเจ้าสวาสดิ์ อิศรางกูร (สิ้นชีพิตักษัย 8 สิงหาคม พ.ศ. 2450)
  • หม่อมเจ้าเรไร อิศรางกูร (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2400)
  • หม่อมเจ้าแสง อิศรเสนา (อิศรางกูร) เสกสมรสกับ หม่อมเจ้าสาย อิศรเสนา มีบุตรคือ หม่อมราชวงศ์ศรี อิศรเสนา
  • หม่อมเจ้าสุวรรณ อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าลดาวัณ อิศรางกูร (สิ้นชีพิตักษัย 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2421)
  • หม่อมเจ้าสว่าง อิศรางกูร (พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดสระเกศ เมื่อ 29 มีนาคม พ.ศ. 2433)
  • หม่อมเจ้าสุด อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าอำพา อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าอรชร อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้ามาลี อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าเล็ก อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าคืบ อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าโมรา อิศรางกูร (พระราชทานเพลิงศพ เมื่อ พ.ศ. 2401)

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. "ราชสกุลวงศ์" (PDF). กรมศิลปากร, สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. เล็ก พงษ์สมัครไทย. พระญาติ ราชสกุลกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง, พ.ศ. 2549. 160 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-9687-35-3
  3. ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2
  4. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ : ๑๒๔. ตั้งพระบัณฑูรน้อย และตั้งกรมเจ้านาย
  5. พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒ : ๑๗. เรื่องให้เจ้านายกำกับราชการ
  6. พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒ : ๘๔. เหตุการณ์เบ็ดเตล็ดในรัชกาลที่ ๒
  7. 7.0 7.1 "อิศรางกูร" ที่ระลึกงานพระราชทานเพลองศพ พลเรือตรี เอกไชย อิศรางกูร ณ อยุธยา. อังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2534
  8. สมประสงค์ ทรัพย์พาลี. สายใยในราชวงศ์จักรี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560, หน้า 15
บรรณานุกรม
  • ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา (2459). "พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  • ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (11 สิงหาคม พ.ศ. 2531). "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  • ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. ISBN 974-221-818-8
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 57. ISBN 978-974-417-594-6