หม่อมหลวงรุจิรา อิศรางกูร
หม่อมหลวงรุจิรา อิศรางกูร | |
---|---|
เกิด | 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 17 มิถุนายน พ.ศ. 2527 (70 ปี) |
คู่สมรส | มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา |
บุตร | อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา จิรศักดิ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา จิระวดี อิศรางกูร ณ อยุธยา |
อาชีพ |
|
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2476–2523 |
หม่อมหลวงรุจิรา อิศรางกูร (15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 – 17 มิถุนายน พ.ศ. 2527) เป็นนักแสดงและนักพากย์ชาวไทย เจ้าของฉายา “มนุษย์ 9 เสียง“ ทั้งในประเทศไทย ประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐ
ประวัติ
[แก้]หม่อมหลวงรุจิรา อิศรางกูร (15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 - 17 มิถุนายน พ.ศ. 2527) เป็นบุตรของหม่อมราชวงศ์สุดใจ อิศรางกูร กับสะอาด อิศรางกูร ณ อยุธยา[1] เป็นนัดดาในหม่อมเจ้าน้อย อิศรางกูร และเป็นพระปนัดดาในสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ เขาเป็นนักแสดงมากความสามารถนับแต่ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เริ่มจากเล่นโขน-ละครหลวง นักแสดงเดี่ยว ตลกหน้าม่าน นักแสดงละครวิทยุ นักพากย์หนัง นักแสดงละครเวที จนถึงดาราหนัง ดาราละครทั้งจอเงินและจอแก้ว
ด้านชีวิตครอบครัว หม่อมหลวงรุจิรา สมรสกับ มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา นักแสดงเช่นกัน ศิลปินแห่งชาติ ปี 2542 มีบุตร-ธิดา 3 คน ซึ่งอยู่ในวงการบันเทิง ได้แก่
ระยะหลังเกษียณการทำงาน ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2520 ป่วยและเสียชีวิตอย่างสงบด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2527 สิริอายุได้ 70 ปี
ผลงาน
[แก้]โขน - ละครหลวง
[แก้]ช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 6 - ต้นรัชกาลที่ 7 ขณะเขามีอายุได้ 10 ปี เริ่มหัดโขน ละครหลวง โดยฝึกโขน 8 ปี ได้ออกแสดงหน้าพระที่นั่งนับร้อยครั้ง และยังรับจ้างเล่นโขนตามงานวัดและหัวเมืองแถวกรุงเทพมหานคร เมื่อว่าง
นักแสดงเดี่ยว
[แก้]เมื่อเขาเริ่มเป็นที่รู้จักของผู้ชมไม่นานนัก เขาได้ไปแนะนำตัวกับ แม่เลื่อน (เลื่อน ไวนุนานิน) พระเอกยอดนิยมของ ละครคณะแม่เลื่อน ละครชื่อดังแห่งยุค ที่เวิ้งนาครเขษม[2] เขาขอแสดงละครเดี่ยวหน้าม่านสลับฉากประมาณ 20 นาที โดยใช้เพียงแก้วใบเดียวกับกล้องยานัตถุ์สำหรับเคาะแทนระฆังเริ่มแสดงบทรัก โศก ตลก ด้วยเสียงต่าง ๆ ไม่ซ้ำกันเป็น พระเอก นางเอก พ่อ แม่ ยาย และ เด็ก โดยผู้ชมปรบมือให้เป็นเวลานานด้วยความพอใจอย่างยิ่ง
ตลกหน้าม่าน
[แก้]เขาเริ่มก้าวสู่เวทีใหญ่ชั้นนำของเมืองไทย ในฐานะนักแสดงจำอวดหน้าม่าน โรงละครศาลาเฉลิมกรุง ทำให้มีชื่อเสียงมากขึ้น
นักแสดงเดี่ยวละครวิทยุ
[แก้]เขาได้พากย์ละครสั้นชุด มนุษย์ 6 เสียง กระจายเสียงแพร่หลายโด่งดังทั่วเมืองไทย
นักพากย์หนัง
[แก้]จากความแรงของชื่อเสียงทำให้ มร.เค แอลลี ผู้จัดการโรงหนังศาลาเฉลิมนคร (โรงหนังวังเจ้าปรีดา ใกล้กองปราบสามยอด) เชิญเป็นนักพากย์หนังฝรั่งประจำโรง เมื่ออายุได้ราว 19-20 ปี เริ่มด้วยหนังรายได้สูงสุดของฮอลลีวู้ด ศพอาบยา ทางโรงขึ้นป้ายรองจากชื่อเรื่องว่า "พากย์โดย มนุษย์ 6 เสียง " ผลปรากฏว่า โปรแกรมยืนโรงยาวนานมากเพราะคนดูมืดฟ้ามัวดินแน่นทุกรอบทุกวัน[3] (เข้าใจว่าจะเป็นภาพยนตร์สยองขวัญของยูนิเวอร์แซล The Mummy ค.ศ. 1932 / พ.ศ. 2475 ที่กำลังโด่งดังมากในขณะนั้น)
ปรากฏการณ์ผู้ชมล้นหลามอีกครั้ง คือเมื่อโรงหนังที่จังหวัดปราจีนบุรี เชิญไปพากย์เรื่อง สวรรค์ในอก นรกในใจ รอบพิเศษโดยยินดีออกค่าใช้จ่ายและค่าเดินทางให้ทั้งหมด ในวันฉายมีคนดูรวมทั้งจากจังหวัดใกล้เคียงมารอหน้าโรงนับเป็นชั่วโมง
หลังสงครามมหาเอเซียบูรพา ผลงานเด่น (ในนาม รุจิรา - มารศรี) เช่น หนังญี่ปุ่น ไอ้โจรนกกระจอก ที่โรงหนังโอเดียน เรียกเสียงฮาตั้งแต่ตราบริษัทนำไตเติ้ล และหนังอินเดีย ธรณีกรรแสง ฉายนานถึงสองเดือนเศษ ที่โรงหนังศาลาเฉลิมกรุง ทำรายได้ถล่มถลายราว 4 ล้านบาท (ตั๋วราคา 5 - 12 บาท) ทางโรงมอบแหวนเพชรให้หนึ่งวงเป็นรางวัลพิเศษนอกจากค่าพากย์รายสัปดาห์ ส่วนหนังฝรั่งก็ยังพากย์นับแต่หนังฮอลลีวู้ดกลับมาฉายในเมืองไทยอีกครั้ง ซึ่งมีผู้นิยมไม่แพ้หนังเสียงในฟิล์มต้นฉบับ
ดาราละครเวที
[แก้]ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ความรุ่งโรจน์ในอาชีพการแสดงมาถึงจุดสูงสุดเมื่อรับบทพระเอกละครเวทีเรื่อง วนิดา ที่ศาลาเฉลิมนคร ขณะทำงานควบคู่กับอาชีพนักพากย์ไปพร้อม ๆกัน และได้พบรักกับ มารศรี อิศรางกูร ซี่งเป็นนักแสดงละครเวที หลังจากแต่งงาน ทั้งคู่ยังเป็นนักพากย์ชั้นแนวหน้าของเมืองไทยมาโดยตลอดในนามรุจิรา - มารศรี จนถึงยุคภาพยนตร์ ช่วงต้นทศวรรษ 2500
ดาราภาพยนตร์
[แก้]หนังเรื่องแรก ๆ เช่น พระเจ้ากรุงธนบุรี (2495) ร่วมกับ ถนอม อัครเศรณี,สวลี ผกาพันธุ์ วายร้ายตลาดเก่า (2504) ร่วมกับพร้อมสิน สีบุญเรือง และสมชาย อาสนจินดา ระยะต่อมามักแสดงแนวตลก เช่น ม้ามืด (2513) ,มันมากับความมืด (2514) และอีกหลายเรื่องก่อนเกษียณวงการ เช่น ยิ้มสวัสดี (2521),[4]สาวเครือฟ้า (2523)
บทออกแนวตลกที่แสดงได้อย่างโดดเด่น ได้แก่ มหาเถรกุโสดอ ใน ผู้ชนะสิบทิศ (2509-2510) ,ท่านขุนชราอดีตทหารผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ใน เป็ดน้อย (2511) ,ท่านขุนเพลย์บอยรุ่นใหญ่พ่อพระเอกหนุ่มเพลย์บอย ใน เกาะสวาท หาดสวรรค์ (2512) ฯลฯ
งานพากย์ (ลงฟิล์ม) แทนเสียงดารานักแสดงบทต่าง ๆ เช่น เขาชื่อกานต์ (2516)
ผลงานภาพยนตร์
[แก้]- เงิน เงิน เงิน (2508)
- สอยดาว สาวเดือน (2512)
- เกาะสวาท หาดสวรรค์ (2512)
- ละครเร่ (2512)
- สายใจ (2512)
- เด็กวัด (2512)
- เรารักกันไม่ได้ (2513)
- รักเธอเสมอ (2513)
- ม้ามืด (2513)
- ปี่แก้วนางหงษ์ (2513)
- แม่นาคพระนคร (2513)
- น้องนางบ้านนา (2514)
- รักข้ามขอบฟ้า (2514)
- ดวงใจสวรรค์ (2514)
- ลูกสาวกำนัน (2514)
- สองฝั่งโขง (2514)
- จอมเจ้าชู้ (2514)
- ในสวนรัก (2514)
- ยั่วรัก (2514)
- มดตะนอย (2514)
- วิวาห์พาฝัน (2514)
- มันมากับความมืด (2514)
- ทุ่งเศรษฐี (2514)
- กว่าจะรักกันได้ (2514)
- เทพบุตรจอมโกง (2514)
- ขวัญใจลูกทุ่ง (2515)
- มนต์รักดอกคำใต้ (2515)
- กระท่อมปรีดา (2515)
- วิวาห์ลูกทุ่ง (2515)
- หยาดฝน (2515)
- ระเริงชล (2515)
- กลิ่นร่ำ (2515)
- แสนทนง (2515)
- ไอ้บ้านนอก (2515)
- เหลือแต่รัก (2516)
- เด่นดวงเดือน (2516)
- เจ้าปลิวสิงห์สุพรรณ (2516)
- สักขีแม่ปิง (2516)
- สายชล (2516)
- ดอนโขมด (2516)
- บุษบาขายรัก (2517)
- ขัง 8 (2517)
- นี่หรือผู้หญิง (2517)
- เศรษฐีรัก (2518)
- ใจรัก (2518)
- เผ็ด (2518)
- ดับสุริยา (2519)
- 17 ทหารกล้า (2519)
- แม่ม่ายใจถึง (2519)
- บ้องไฟ (2519)
- เงินคือพระเจ้า (2520)
- พ่อนกฮูก (2520)
- อย่านึกว่าหมู (2520)
- แหย่หนวดเสือ (2520)
- มนต์รักนักรบ (2520)
- ข้าวก้นบาตร (2520)
- สิงห์รถบรรทุก (2520)
- สิงห์เดนตาย (2520)
- พ่อครัวหัวป่าก์ (2521)
- มือปืนนักบุญ (2521)
- ลูกโดด (2521)
- ดวงเศรษฐี (2521)
- เพชรมหากาฬ (2521)
- มนต์รักแผ่นดินทอง (2521)
- มือปืนเลือดเดือด (2521)
- วัยแตกเปลี่ยว (2521)
- ผู้แทนมาแล้ว (2521)
- บุษบาก๋ากั่น (2521)
- ไอ้ขุนทอง (2521)
- เอ็ม.16 (2521)
- เสียสาว (2521)
- ยิ้มสวัสดี (2521)
- อะไรกันวะ (2521)
- เพียงคำเดียว (2522)
- ตะเคียนคะนอง (2522)
- นายอำเภอปฏิวัติ (2522)
- สู้อย่างสิงห์ (2523)
- ภูตพิศวาส (2523)
- เครือฟ้า (2523)
- ผัวนอกคอก (2523)
- สิงห์แม่น้ำแคว (2523)
- จากครูด้วยดวงใจ (2523)
- กามนิต วาสิฏฐี (2524)
- ปีศาจเมียน้อย (2524)
- รักโอ้รัก (2524)
- วัยสะรุ่น (2525)
- มนต์รักลูกทุ่ง (2525)
- พันท้ายนรสิงห์ (2525)
ผลงานละครโทรทัศน์
[แก้]- พล นิกร กิมหงวน (2518)
- ห้วงรัก เหวลึก (2523)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ธนาทิพ ฉัตรภูมิ ,ตำนานโรงหนัง ,เวลาดี 2547 ISBN 974-9659-11-2 หน้า 148-149
- ↑ ธนาทิพ ฉัตรภูมิ ,หน้า 53
- ↑ ธนาทิพ ฉัตรภูมิ ,หน้า 53
- ↑ thaifilmdb.com