เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์
(วร บุนนาค)
สมุหพระกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2412 – พ.ศ. 2431
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
ถัดไปเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยันต์)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 กรกฎาคม พ.ศ. 2371
เมืองพระนคร อาณาจักรรัตนโกสินทร์
เสียชีวิต30 ตุลาคม พ.ศ. 2431 (60 ปี)
เมืองพระนคร ประเทศสยาม
ศาสนาพุทธ
บุตร65 คน
บุพการี

เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ มีนามเดิมว่า วร หรือ วอน (2 กรกฎาคม พ.ศ. 2371[1] - พ.ศ. 2431) เป็นบุตรชายคนโตของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กับท่านผู้หญิงกลิ่น ธิดาหลวงแก้วอายัติ (จาด) [2]

ประวัติ[แก้]

ท่านเริ่มรับราชการตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าหมื่นไวยวรนารถ หัวหมื่นมหาดเล็ก และเป็นอุปทูตติดตามพระยาศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค) ราชทูต ออกไปเจริญทางพระราชไมตรีที่กรุงปารีส จักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง ในปี พ.ศ. 2403 ต่อมาท่านได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ จางวางมหาดเล็ก และเป็นราชทูต ไปฝรั่งเศสอีกครั้งใน พ.ศ. 2409

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ เป็นเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ ที่สมุหพระกลาโหม ศักดินา 10,000 เมื่อ พ.ศ. 2412 ท่านดำรงตำแหน่งสมุหพระกลาโหม เป็นเวลา 19 ปี จนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. 2431 บุคคลทั่วไปออกนามเรียกเป็นการสามัญว่า “เจ้าคุณทหาร” หรือ “เจ้าคุณกลาโหม” และชื่อเรียกนี้ก็กลายมาเป็นชื่อของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในเวลาต่อมา

เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์มีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น 65 คน โดยบุตรธิดาที่รับราชการในตำแหน่งสำคัญ[2] เช่น

อสัญกรรม[แก้]

อนุสาวรีย์ท่านเจ้าคุณทหารฯ หรือเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ในพื้นที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล.

เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ ป่วยเป็นโรคปอด มีอาการเบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ร่างกายซูบผอม รับการรักษาด้วยแพทย์แผนไทยและแผนตะวันตกแล้วอาการก็ไม่ทุเลา จนถึงแก่อสัญกรรมในวันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2431 ตรงกับแรม 10 ค่ำ เดือน 11 เวลา 7 ทุ่มเศษ สิริอายุได้ 61 ปีเศษ เย็นวันต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ พระราชทานโกศไม้สิบสองประกอบศพ ตั้งเหนือแว่นฟ้า 2 ชั้น พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมทุกคืนจนถึงวันพระราชทานเพลิงศพ[3]

เกียรติยศ[แก้]

ธรรมเนียมยศของ
เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์
ตราประจำตัว
การเรียนใต้เท้ากรุณา
การแทนตนกระผม/ดิฉัน
การขานรับขอรับ/เจ้าค่ะ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่าง ๆ ดังนี้[1]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "ประวัติของท่านเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (สมุหพระกลาโหม)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 5 (33): 288. 23 ธันวาคม 2431. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "ชมรมสายสกุลบุนนาค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-15. สืบค้นเมื่อ 2008-01-08.
  3. "ข่าวอสัญญกรรม [เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒพิพัฒนศักดิ ที่สมุหพระกลาโหม (วร)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 5 (32): 274–5. 14 ธันวาคม 2431. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "บัญชีพระราชทานตราเครื่องราชอิสริยยศ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2020-08-09.


ก่อนหน้า เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ถัดไป
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
(ช่วง บุนนาค)
ผู้บัญชาการทหารเรือวังหลวง
(พ.ศ. 2412 - 2430)
นายพลเรือโท พระวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
(ช่วง บุนนาค)
สมุหพระกลาโหม
(พ.ศ. 2398 - 2412)
เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์
(พุ่ม ศรีไชยันต์)