เจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์
(โต บุนนาค)
สมุหราชองครักษ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 มิถุนายน พ.ศ. 2395
เสียชีวิต8 ตุลาคม พ.ศ. 2452 (57 ปี)
เมืองเพชรบุรี
คู่สมรสท่านผู้หญิงตลับ สุรวงษ์วัฒนศักดิ์
บุตรพระยาสุริยานุวงศ์ประวัติ (เต็น บุนนาค)
ฯลฯ
บุพการี

นายพลโท เจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ (นามเดิม: โต บุนนาค; 25 มิถุนายน พ.ศ. 2395 – 8 ตุลาคม พ.ศ. 2452) เป็นบุตรของเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) กับท่านผู้หญิงอ่วม สุรวงษ์ไวยวัฒน์ จบการศึกษาวิชาทหารปืนใหญ่จากประเทศอังกฤษ

ประวัติ[แก้]

เริ่มรับราชการเมื่อ พ.ศ. 2421 ในรัชกาลที่ 5 เป็นที่พระอมรวิสัยสรเดช ผู้บังคับการกองทหารปืนใหญ่ และ เป็นผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยทหารบก ต่อมาเป็นราชองครักษ์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาสีหราชเดโชชัย ถือศักดินา 10000 พร้อมกับรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ทุติยจุลจอมเกล้า เมื่อ พ.ศ. 2431 จากนั้นในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2432 จึงได้รับพระราชทานยศทหารเป็น พลตรี [1]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2443 ได้รับสถาปนาเป็น เจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ อรรคยโสดมบรมนารถ วรุตมามาตยมหาเสนาบดี ยุทธวิธีสมันตเวท อนีกเดชกิติกำจร สุจริตสาธรมหาสวามิภักดิ ราชานุรักษธุรนิพัทธ ศรีรัตนไตรยสรณธาดา อุดมเมตยาชวาไศรย อภัยพิริยบรากรมพาหุ[2] ดำรงตำแหน่งสุดท้ายที่สมุหราชองครักษ์และยศสุดท้ายทางทหารที่ พลโท[3]

เจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ มีบุตรธิดารวม 27 คน

เจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ ป่วยเป็นโรคหัวใจอ่อนมาหลายเดือน ถึงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2452 ระหว่างตามเสด็จฯ เมืองเพชรบุรี ท่านเกิดอาการแน่นหน้าอก แพทย์ชาวตะวันตกจึงจัดยารักษา อาการก็สงบลง แล้วกลับกำเริบขึ้นเป็นระยะ จนเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2452 เวลา 7 ทุ่ม 15 นาที อาการกลับทรุดลงอีก ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเวลา 7 ทุ่ม 40 นาที สิริอายุได้ 58 ปี วันต่อมาจึงเคลื่อนย้ายศพทางรถไฟกลับไปตั้งบำเพ็ญกุศลที่ของท่าน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ มาพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ได้รับพระราชทานโกศแปดเหลี่ยมบรรจุศพ[4] และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2455 ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร[5]

ยศและบรรดาศักดิ์[แก้]

  • พระอมรวิไสยสรเดช
  • พ.ศ. 2431 พันเอก[6]
  • พ.ศ. 2431 พระยาสีหราชเดโชไชย[7]

เกียรติยศ[แก้]

เครื่องยศ[แก้]

เจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) ได้รับพระราชทานเครื่องยศ ดังต่อไปนี้

  • โต๊ะกาทอง
  • พานทอง
  • เต้านํ้า
  • หีบหมากไม้แดงหุ้มทองคำลงยา[8]
  • ตราอักษรพระนาม จ.ป.ร. หีบ[8]
  • มาลาเครื่องทองคำ[8]
  • สำรับ กระบี่ฝักทองคำ[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญ และเข็มของไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากต่างประเทศ ชั้นสูงสุดตระกูลต่างๆ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  • กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร, 100 ปีภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในงานพระพุทธชินราชประจำปี วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม รัตนโกสินทรศก 123, ดำรงวิทยา, 2548 ISBN 974-93740-5-3
  1. "พระราชทานสัญญาบัตรพลเรือนและทหาร (หน้า 10)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-01. สืบค้นเมื่อ 2020-07-01.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรมแลตั้งกรมพระองค์เจ้า เจ้าพระยา เก็บถาวร 2016-08-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 17, ตอนที่ 35, 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443, หน้า 481
  3. "พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-26. สืบค้นเมื่อ 2020-04-05.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวอสัญกรรม, เล่ม 26, ตอนที่ 0 ง, 17 ตุลาคม พ.ศ. 2452, หน้า 1561-3
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวพระราชทานเพลิงศพ นายพลโท เจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์, เล่ม 29, ตอนที่ ง, 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2455, หน้า 277-9
  6. พระราชทานสัญญาบัตรข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน (หน้า 163)
  7. การพิธีฉัตรมงคล และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า 311)
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 ราชกิจจานุเบกษา, เครื่องยศที่พระราชทานในเวลารับ พระสุพรรณบัตรและสุพรรณบัตร, เล่ม ๑๗ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๔๙๙, ๒๕ พฤศจิกายน ๑๑๙
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า และ ฝ่ายใน, เล่ม ๑๗ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๕๐๐, ๒๕ พฤศจิกายน ๑๑๙
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๖ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๓๖๒, ๒๔ กันยายน ๑๑๘
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๔ ตอนที่ ๒ หน้า ๓๙, ๑๑ เมษายน ๑๑๖
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญปราบฮ่อ, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๒๘๒, ๒๕ กันยายน ๑๑๗
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญดุษฎีมาลาที่ประเทศยุโรป เก็บถาวร 2018-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๔ ตอนที่ ๓๑ หน้า ๔๖๓, ๓๑ ตุลาคม ๑๑๖
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2020-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๔๑ หน้า ๔๕๔, ๗ มกราคม ๑๑๒
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๙ ตอนที่ ๒๘ หน้า ๕๗๗, ๑๒ ตุลาคม ๑๒๑
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๕๖๗, ๖ พฤศจิกายน ๑๒๓
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
  18. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มอักษรเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป, เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๓๔ หน้า ๘๔๔, ๒๔ พฤศจิกายน ๑๒๖
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาต, เล่ม ๔ ตอนที่ ๔๗ หน้า ๓๖๑, ๑๑ มีนาคม ๑๒๔๙
  20. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗ ตอนที่ ๓๖ หน้า ๓๑๖, ๘ ธันวาคม ๑๐๙
  21. 21.0 21.1 21.2 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญต่างประเทศ, เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๓๘ หน้า ๑๐๐๘, ๒๒ ธันวาคม ๑๒๖
  22. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญต่างประเทศ, เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๓๘ หน้า ๑๐๐๗, ๒๒ ธันวาคม ๑๒๖