ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี
เจ้าฟ้าชั้นโท
ประสูติพ.ศ. 2272
อาณาจักรอยุธยา
สา
สิ้นพระชนม์22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2342 (70 ปี)
อาณาจักรรัตนโกสินทร์
บรรจุพระอัฐิหอพระธาตุมณเฑียร
พระภัสดาพระอินทรรักษา (เสม)
พระบุตร
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
พระมารดาพระอัครชายา (หยก)
ศาสนาเถรวาท

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี (พ.ศ. 2272 - 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2342) พระนามเดิม สา เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ประสูติแต่พระอัครชายา (หยก) เป็นพระโสทรเชษฐภคินีพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเป็นพระกุลเชษฐ์พระองค์แรกในราชวงศ์จักรี

พระประวัติ

[แก้]

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี มีพระนามเดิมว่า สา เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ประสูติแต่พระอัครชายา (หยก) เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีในปี พ.ศ. 2325 โปรดให้สถาปนาเป็นกรมพระเทพสุดาวดี ตั้งเจ้ากรมเป็นพระยา[1]เป็นกรณีพิเศษ จึงนิยมออกพระนามว่ากรมพระยาเทพสุดาวดี[ก]

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี เสกสมรสกับหม่อมเสม ที่พระอินทรรักษา เจ้ากรมพระตำรวจฝ่ายกรมพระราชวังบวรสถานมงคลสมัยกรุงศรีอยุธยา มีพระโอรสธิดา 4 พระองค์ คือ[2]

  1. กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง) พระนามเดิม ทองอิน พระโอรสองค์ที่ 1 แต่เดิมเฉลิมพระยศเป็นกรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์
  2. สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศรบดินทร์ พระนามเดิม บุญเมือง พระโอรสองค์ที่ 2
  3. สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทร์รณเรศ พระนามเดิม ทองจีน พระโอรสองค์ที่ 3 เป็นต้นราชสกุลนรินทรางกูร
  4. สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าทองคำ ไม่มีเจ้ากรมต่างหาก แต่เป็นสังกัดในกรมพระยาเทพสุดาวดี[3]

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 1 เมื่อวันศุกร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 12 ปีมะแม จ.ศ. 1161 ตรงกับ วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2342 พระชันษา 69 ปี[4] พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระโกศกุดั่นใหญ่หุ้มทองคำทรงพระศพ ประดิษฐานพระศพไว้ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และมีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ เมื่อข้างขึ้น เดือน 6 พ.ศ. 2343[5]

พงศาวลี

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]

การออกพระนามว่ากรมพระยาเทพสุดาวดี เป็นการเข้าใจผิด เพราะรัชกาลที่ 1 และรัชกาลอื่นต่อมาจนตลอดรัชกาลที่ 3 พระยศเจ้านายต่างกรม “กรมพระ” ยังเป็นชั้นสูงสุดเหมือนอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยา[6]

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ : ประดิษฐานพระราชวงศ์
  2. ราชสกุลวงศ์, หน้า 4
  3. ปฐมวงศ์, หน้า 10-11
  4. ราชสกุลวงศ์, หน้า 1
  5. หม่อมราชวงศ์ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี, บรรณกิจ, 2549, ISBN 974-221-818-8
  6. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา, วินิจฉัยพระยศเจ้านายที่เรียกว่า “กรมสมเด็จ” หรือ “สมเด็จกรม”, ราชสกุลวงศ์, หน้า 209
บรรณานุกรม
  • ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑. ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. 11 สิงหาคม พ.ศ. 2531. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560.
  • พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปฐมวงศ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย, 2470. 57 หน้า.
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. ISBN 978-974-417-594-6

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]
  • สุนทรี อาสะไวย์. (2544). ผู้หญิงกับอำนาจในประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์: ศึกษากรณี สมเด็จพระพี่นางทั้งสองในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช. ใน กระจกหลายด้านฉายประวัติศาสตร์. บรรณาธิการโดย กาญจนี ละอองศรี. กรุงเทพฯ: มติชน. 2544. หน้า 95–124.


ก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี ถัดไป
พระองค์แรก กุลเชษฐ์ในราชวงศ์จักรี
(6 เมษายน พ.ศ. 2325 – 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2342)
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช