ภาษาเลอเวือะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาษาละว้า)
ภาษาเลอเวือะ
เลอเวือะ
ออกเสียง/l.wɨaʔ/
ประเทศที่มีการพูดไทย
ภูมิภาคจังหวัดแม่ฮ่องสอน, จังหวัดเชียงใหม่
ชาติพันธุ์ชาวเลอเวือะ (ละว้า)
จำนวนผู้พูด15,000 คน  (2550[1][2])
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรไทย
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน ไทย
รหัสภาษา
ISO 639-3อย่างใดอย่างหนึ่ง:
lcp – ภาษาเลอเวือะตะวันตก
lwl – ภาษาเลอเวือะตะวันออก

ภาษาเลอเวือะ หรือ ภาษาละว้า เป็นภาษาหนึ่งในตระกูลออสโตรเอเชียติก สาขามอญ-เขมร สาขาย่อยปะหล่อง ในประเทศไทยมีผู้พูดในจังหวัดแม่ฮ่องสอนและเชียงใหม่ ตามรายงานของอี. ดับเบิลยู. ฮัตชินสัน เมื่อ พ.ศ. 2477 พบว่ามีผู้พูดในจังหวัดลำปาง เชียงราย และแพร่ด้วย แต่จากการสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2527 ไม่พบผู้พูดภาษาเลอเวือะในจังหวัดดังกล่าว คงพูดภาษาไทยถิ่นเหนือทั้งหมด

ภาษาเลอเวือะประกอบด้วยวิธภาษาหรือภาษาย่อยที่แตกต่างกันสองกลุ่มซึ่งแหล่งข้อมูลบางแหล่งถือว่าเป็นภาษาแยกจากกัน ได้แก่ ภาษาเลอเวือะตะวันตกและภาษาเลอเวือะตะวันออก ภาษาทั้งสองมีความแตกต่างกันพอสมควร (แม้ว่าจะมีความสัมพันธ์ทางเชื้อสายอย่างสูง) เนื่องจากไม่สามารถเข้าใจซึ่งกันและกันได้จากคำให้การที่สอดคล้องกันของผู้พูดภาษาเลอเวือะตะวันตกและผู้พูดภาษาเลอเวือะตะวันออกและจากการทดสอบโดยสถาบันภาษาศาสตร์ฤดูร้อน[3] นอกจากนี้บรรดาหมู่บ้านที่พูดภาษาเลอเวือะของแต่ละกลุ่มก็ยังมีสำเนียงภาษาที่แตกต่างกันออกไปอีก มิชชันนารีที่เคยเข้าไปเผยแพร่ศาสนาคริสต์ได้พัฒนาการเขียนภาษาเลอเวือะตะวันตกด้วยอักษรละตินและอักษรไทย[4]

ภาษาเลอเวือะตะวันออกมีความมีชีวิตชีวาทางภาษาในระดับสูงและใช้สื่อสารกันในบ้านโดยผู้พูดทุกวัย การศึกษาของรัฐ ประกาศของหมู่บ้าน และธุรกิจทางการมักใช้ภาษาไทยกลาง ผู้พูดภาษาเลอเวือะตะวันออกส่วนใหญ่พูดคำเมืองได้เป็นอย่างน้อย แต่มีผู้พูดสูงอายุบางคนตอบเป็นภาษาเลอเวือะเมื่อมีผู้พูดคำเมืองด้วย ผู้พูดรุ่นใหม่มีแนวโน้มที่จะพูดภาษาไทยกลางได้คล่องเนื่องจากระบบการศึกษา และส่วนใหญ่พูดคำเมืองได้คล่องเนื่องจากการแต่งงานระหว่างชาวเลอเวือะกับชาวยวน

สัทวิทยา[แก้]

พยัญชนะ[แก้]

หน่วยเสียงพยัญชนะ
ภาษาเลอเวือะตะวันตกถิ่นป่าแป๋และถิ่นละอูบ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
[5]
ลักษณะการออกเสียง ตำแหน่งเกิดเสียง
ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
เสียงนาสิก ก้อง m n ɲ ŋ
ไม่ก้อง ʰm~m̥ ʰn~n̥ ʰɲ~ɲ̥ ʰŋ~ŋ̥
นำด้วย [ˀ] ˀm ˀn ˀɲ ˀŋ
เสียงหยุด ก้อง ปกติ b d
นำด้วยเสียงนาสิก ᵐb ⁿd ᶮɟ ᵑɡ
ไม่ก้อง ไม่พ่นลม p t c k ʔ
พ่นลม
เสียงเสียดแทรก ก้อง ɣ
ไม่ก้อง f s ʰɣ~x h
นำด้วย [ˀ] ˀɣ
เสียงรัว ก้อง r
ไม่ก้อง ʰr~r̥
เสียงข้างลิ้น ก้อง l
ไม่ก้อง ʰl~l̥
นำด้วย [ˀ] ˀl
เสียงกึ่งสระ ก้อง w j
นำด้วย [ˀ] ˀj
หน่วยเสียงพยัญชนะ
ภาษาเลอเวือะตะวันออกถิ่นบ่อหลวง จังหวัดเชียงใหม่
[6]
ลักษณะการออกเสียง ตำแหน่งเกิดเสียง
ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
เสียงนาสิก ก้อง m n ɲ ŋ
ไม่ก้อง ʰm~m̥ ʰn~n̥ ʰŋ~ŋ̥
นำด้วย [ˀ] ˀm ˀn ˀŋ
เสียงกักลมเข้า ɓ ɗ ʄ
เสียงหยุด ก้อง นำด้วยเสียงนาสิก ᵐb ⁿd ᵑɡ
ไม่ก้อง ไม่พ่นลม p t c k ʔ
พ่นลม
เสียงเสียดแทรก f s h
เสียงรัว r
เสียงข้างลิ้น ก้อง l
ไม่ก้อง ʰl~l̥
เสียงกึ่งสระ ก้อง w j
ไม่ก้อง w̥~wh j̥~jh
ตามด้วย [ˀ]
  • หน่วยเสียงในช่องสีเขียวคือหน่วยเสียงที่ปรากฏเฉพาะในภาษาเลอเวือะตะวันตกถิ่นป่าแป๋ ส่วนหน่วยเสียงในช่องสีแดงคือหน่วยเสียงที่ปรากฏเฉพาะในภาษาเลอเวือะตะวันตกถิ่นละอูบ
  • หน่วยเสียงพยัญชนะต้นควบในภาษาเลอเวือะตะวันตกถิ่นป่าแป๋มี 13 หน่วยเสียง ได้แก่ /ᵐbl/, /ᵐbj/, /ᵑɡl/, /ᵑɡj/, /pl/, /pj/, /pʰl/, /pʰj/, /kl/, /kw/, /kj/, /kʰl/, /kʰj/ ในภาษาเลอเวือะตะวันตกถิ่นละอูบมี 11 หน่วยเสียง ได้แก่ /ᵐbr/, /ᵐbl/, /ᵑɡr/, /ᵑɡl/, /pl/, /pʰr/, /pʰl/, /kl/, /kw/, /kʰr/, /kʰl/[7] และในภาษาเลอเวือะตะวันออกมี 6 หน่วยเสียง ได้แก่ /ᵐbr/, /ᵑɡr/, /pr/, /pʰr/, /kr/, /kʰr/[8]
  • หน่วยเสียงพยัญชนะท้ายในภาษาเลอเวือะตะวันตกมี 10 หน่วยเสียง ได้แก่ /m/, /n/, /ɲ/, /ŋ/, /p/, /t/, /c/, /k/, /ʔ/, /h/[9] ส่วนในภาษาเลอเวือะตะวันออกมี 16 หน่วยเสียง ได้แก่ /m/, /n/, /ɲ/, /ŋ/, /p/, /t/, /c/, /k/, /ʔ/, /h/, /w/, /w̥/, /wˀ/, /j/, /j̥/, /jˀ/[6] (โดยที่ /w̥/, /wˀ/, /j̥/, /jˀ/ ปรากฏในตำแหน่งท้ายพยางค์เท่านั้น ไม่ปรากฏในตำแหน่งต้นพยางค์)
  • หน่วยเสียง /d/ ในภาษาเลอเวือะตะวันตกปรากฏในคำยืมจากภาษาไทย[10]
  • หน่วยเสียง /pʰ/ และ /tʰ/ ในภาษาเลอเวือะตะวันตกถิ่นป่าแป๋บางครั้งจะออกเสียงเป็น /p/ และ /t/ ในภาษาเลอเวือะตะวันตกถิ่นละอูบ[10]
  • หน่วยเสียง /w/ ออกเสียงเป็น [w~ʋ~v] โดยขึ้นอยู่กับผู้พูด[11][12]

สระ[แก้]

สระเดี่ยว[แก้]

หน่วยเสียงสระเดี่ยวภาษาเลอเวือะ[13][14]
ระดับลิ้น ตำแหน่งลิ้น
หน้า กลาง หลัง
สูง i ɨ u
กึ่งสูง e ə o
กึ่งต่ำ ɛ ɔ
ต่ำ a ɒ
  • หน่วยเสียงในช่องสีฟ้าคือหน่วยเสียงที่ปรากฏเฉพาะในภาษาเลอเวือะตะวันออก
  • หน่วยเสียง /a/ ในภาษาเลอเวือะตะวันออกมักออกเสียงเป็น [ɐ][14]

สระประสมและสระเรียง[แก้]

ภาษาเลอเวือะตะวันตกมีสระประสม 3 สระ ได้แก่ /ia/, /ɨa/ และ /ua/[15] นอกจากนี้ยังมีสระเรียง 16 ชุด ได้แก่ /iu/, /eo/, /ɛɔ/, /əi/, /əɨ/, /əu/, /ai/, /aɨ/, /au/, /aɛ/, /aɔ/, /ui/, /uɛ/, /oi/, /ɔi/ และ /ɔɛ/ (แต่ไม่ปรากฏสระเรียง /eo/ และ /uɛ/ ที่บ้านป่าแป๋)[16] ส่วนภาษาเลอเวือะตะวันออก นักภาษาศาสตร์ได้วิเคราะห์จำแนกสระประสมและสระเรียงไว้แตกต่างกัน เอลิซาเบท มันน์ เสนอในบทความที่ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2560 ว่าภาษาเลอเวือะตะวันออกมีสระประสม 6 สระ ได้แก่ /iᵊ/, /iᵃ/, /ɨᵃ/, /aᶤ/, /uᵊ/ และ /uᵃ/[14]

ระบบการเขียน[แก้]

คณะกรรมการจัดทำระบบเขียนภาษาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยอักษรไทย สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้กำหนดตัวเขียนภาษาเลอเวือะตะวันตกอักษรไทยตามระบบเสียงภาษาเลอเวือะตะวันตกที่พูดกันในหมู่ที่ 4 บ้านป่าแป๋ ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่สะเรียง และหมู่ที่ 6 บ้านละอูบ ตำบลห้วยห้อม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ไว้ดังนี้

พยัญชนะ
อักษรไทย เสียง ตัวอย่างคำ ความหมาย
ป่าแป๋ ละอูบ
/k/ กัก กิ่ง
ลั ค้างคาว
/kʰ/ ต้นไม้
/ᵑɡ/ า-อืฮ เม่น
/ŋ/ ไฟ
โกล ห้วย
ʼง
/ˀŋ/ ʼงียง สั้น
ฮง
/ʰŋ/ ฮงาะ ข้าวเปลือก
/c/ จั กวาง
โอ-อิ หมด
/cʰ/ ชือม จาน
/s/ ซั ช้าง
/ᶮɟ/ ฌือม ซึม
/ɲ/ ญื ขัด
บิ โคลน
ʼญ
/ˀɲ/ ʼญื ผิง (ไฟ)
ฮญ
/ʰɲ/ ฮญื (หนัง) ย่น
/d/ ดึ ดึง
/t/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย) กั หนาม
/ⁿd/ หม้อ
/t/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น) เนื้อ
/tʰ/ อง ย่าม
/n/ คราม (พืช)
กว ลูก
ʼน
/ˀn/ ʼน หมวกชนิดหนึ่ง
ฮน
/ʰn/ ฮนั สร้อย
/b/ บั กบ
/p/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย) อา-อุ ข้าวสุก
/ᵐb/ บันได
/p/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น) ปั ขวด
/pʰ/ พั ล้าง (จาน)
/f/ -อิจ เสร็จ
/m/ อง รอคอย
ญึ อร่อย
ʼม
/ˀm/ ʼม ไร่ข้าว
ฮม
/ʰm/ ฮม ตอก
/j/ ยือม ร้องไห้
ʼย
/ˀj/ ʼยวง หมู่บ้าน
/r/ ดายหญ้า
ฮร
/ʰr/ ฮรั เขี้ยว
รฺ
/ɣ/ รฺ ใหญ่
ʼรฺ
/ˀɣ/ ʼรฺอง ต้นเสา
ฮรฺ
/ʰɣ/ ฮฺรั เขี้ยว
/l/ องะ เล่น
ʼล
/ˀl/ ʼลั ยาว
ฮล
/ʰl/ ฮล ใบ
/w/ วือก หนอน
/ʔ/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น) พี่สาว
/h/ ผึ้ง
รั่ว
ไม่มีรูป
/ʔ/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย) เญือะ บ้าน
สระเดี่ยว
อักษรไทย เสียง ตัวอย่างคำ ความหมาย
ป่าแป๋ ละอูบ
–ะ
/a/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) ปลา
–ั
/a/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) ยั (ป่าแป๋) หลังคา
–า
/a/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) ย่าง
–ิ
/i/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย) ฆิ สน (พืช)
ชิ เปื่อย
–ี
/i/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) ที ชัด
–ึ
/ɨ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย) ฆึ (ป่าแป๋) ให้ราคาเพิ่ม
ลึ ดื้อ
–ือ
/ɨ/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) รือ (ละอูบ) กรงไก่,
ตี (กลอง)
–ุ
/u/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย) ยุ (ป่าแป๋) ผ้าห่ม
ยุ ตาย
–ู
/u/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) ปู (ละอูบ) หนา
เ–ะ
/e/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) หอยเบี้ย
(แทนเงิน)
เ–
/e/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย
หรือเมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น)
นกแก้ว
ตฮ กาฝาก
แ–ะ
/ɛ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) ขี้ขลาด
แ–
/ɛ/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย
หรือเมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น)
มะม่วง
ตบ หมัด (แมลง)
โ–ะ
/o/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) ต้นไม้
โ–
/o/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย
หรือเมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น)
สันเขา
ʼมก กล้องสูบยา
เ–าะ
/ɔ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) ฮงาะ ข้าวเปลือก
–อ
/ɔ/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย
หรือเมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น)
ไฟ
ปล หญ้าคา
เ–อะ
/ə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) อะ คำลงท้าย
เพื่อยืนยัน
เ–อ
/ə/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) จะ
เ–ิ
/ə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) เคิ ขึง
สระประสม
อักษรไทย เสียง ตัวอย่างคำ ความหมาย
ป่าแป๋ ละอูบ
เ–ียะ
/ia/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) เʼญียะ นิดหน่อย
เ–ีย
/ia/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย
หรือเมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น)
เตีย (ละอูบ) ดอก
เʼงีย สั้น
เ–ือะ
/ɨa/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) เฟือะ ลิง
เ–ือ
/ɨa/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย
หรือเมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น)
เฟือ คราด
ลือ เลีย
–ัวะ
/ua/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) อัวะ คลื่นไส้
–ัว
/ua/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) ปัว ขอ (กริยา)
–ว–
/ua/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) ยก
สระเรียง
อักษรไทย เสียง ตัวอย่างคำ ความหมาย
ป่าแป๋ ละอูบ
–า-อิ
/ai/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย
เป็นเสียงหยุด)
รฺา-อิ (ป่าแป๋) หญ้า
–า-อี
/ai/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) า-อี กระดึง
–า-อึ
/aɨ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย
เป็นเสียงหยุด)
อา-อึ ฉัน
า-อึ เหน็บ (สิ่งของ)
–า-อือ
/aɨ/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) า-อือ ลม
–า-อื
/aɨ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) า-อื จมูก
–า-อุ
/au/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย
เป็นเสียงหยุด)
า-อุ ข้าวสุก
–า-อู
/au/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) า-อู อาบน้ำ
–า-แอะ
/aɛ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย
เป็น /ʔ/)
า-แอะ ซน
–า-แอ
/aɛ/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย
หรือเมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น)
ปลา-แอ เหล้า
า-แอ (ป่าแป๋) นอกชาน
–า-เอาะ
/aɔ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) า-เอาะ ผ้าพันไม้ตีข้าว
–า-ออ
/aɔ/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย
หรือเมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น)
า-ออ สิบ
า-ออ มะกอก
–ี-อู
/iu/ พี-อู (ลม) รั่ว
–ู-อิ
/ui/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย
เป็นเสียงหยุด)
ฮู-อิ (ละอูบ) อุ๊ย
ปู-อิ (ละอูบ) ยอดไม้
–ู-อี
/ui/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) พู-อี (ป่าแป๋) คน
–ู-แอ
/uɛ/ ปู-แอ รุ่งเช้า
เ–-โอ
/eo/ -โอ เกี่ยวข้อง
แ–-ออ
/ɛɔ/ -ออ แก้ว
โ–-อิ
/oi/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย
เป็นเสียงหยุด)
-อิ (ละอูบ) พริก
โ–-อี
/oi/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) -อี เงียบ
–อ-อิ
/ɔi/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย
เป็นเสียงหยุด)
อ-อิ ถึง
–อ-อี
/ɔi/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) ʼมอ-อี (กิน) ไม่อิ่ม
–อ-แอ
/ɔɛ/ อ-แอ ริมฝีปาก
เ–อ-อิ
/əi/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย
เป็นเสียงหยุด)
อ-อิ ฟืน, พระจันทร์
อ-อิ หมู
เ–อ-อี
/əi/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย
หรือเมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น)
อ-อี จุด (ตะเกียง)
อ-อี กลับ
เ–อ-อึ
/əɨ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย
เป็นเสียงหยุด)
ʼมอ-อึ ครก
เ–อ-อื
/əɨ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) ครอ-อื (ละอูบ) เสื้อผ้า
เ–อ-อุ
/əu/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย
เป็นเสียงหยุด)
อ-อุ วัว
เ–อ-อู
/əu/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย
หรือเมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น)
อ-อู เดิน
อ-อู (ป่าแป๋) ปักดำ
  • ในกรณีที่ทวิอักษรปรากฏร่วมกับรูปสระหน้า , , ไม่ต้องเลื่อน
    อักษรตัวแรกไปไว้หน้ารูปสระนั้น จึงอาจทำให้เกิดคำพ้องรูปได้
    เช่น ฮม /ʰmo/ 'ผู้ประกอบพิธีกรรม' กับ โฮม /hom/ 'หอมกระเทียม'

ส่วนตัวเขียนภาษาเลอเวือะตะวันออกไม่มีการกำหนดมาตรฐานไว้ [ใคร?]จึงอนุโลมใช้กฎเดียวกับภาษาเลอเวือะตะวันตก แต่เนื่องจากหน่วยเสียงตามตารางด้านบนยังไม่ครบถ้วน [ใคร?]จึงมีการดัดแปลงเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

  1. สระเรียงอื่นที่นอกเหนือจากตารางด้านบน ให้แยกออกเป็นสระไทยสองเสียง คั่นด้วยขีด
    • หมายเหตุ /iə/ และ /uə/ เป็นสระคนละเสียงกับ /ia/ และ /ua/ ตามลำดับ
  2. พยัญชนะท้ายบางตัวต้องเปลี่ยนเป็นสระก่อน แล้วจึงค่อยใช้รูปสระเรียงต่อไป ดังนี้
    • /-j/ เปลี่ยนเป็น /-i/
    • /-jˀ/ เปลี่ยนเป็น /-iʔ/
    • /-j̊/ เปลี่ยนเป็น /-ih/
    • /-w/ เปลี่ยนเป็น /-u/
    • /-wˀ/ เปลี่ยนเป็น /-uʔ/
    • /-w̥/ เปลี่ยนเป็น /-uh/
  3. เพิ่มหน่วยเสียงพยัญชนะและสระดังนี้
    • ฌ ใช้แทนเสียง /ʄ/
    • เ–าฺะ ใช้แทนเสียง /ɒʔ/
    • –อฺ ใช้แทนเสียง /ɒ/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย หรือเมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น)

อ้างอิง[แก้]

  1. Umpai Lawa (Western Lawa) at Ethnologue (18th ed., 2015)
  2. Bo Luang Lawa (Eastern Lawa) at Ethnologue (18th ed., 2015)
  3. Nahhas, Dr. Ramzi W. (2007). Sociolinguistic survey of Lawa in Thailand. Chiang Mai: Payap University.
  4. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2558). คู่มือระบบเขียนภาษาเลอเวือะอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 2.
  5. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2558). คู่มือระบบเขียนภาษาเลอเวือะอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 31–32.
  6. 6.0 6.1 Munn, Elizabeth (2017). "A Phonological Reanalysis of Eastern Lawa". Journal of the Southeast Asian Linguistics Society. 10 (2): 30.
  7. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2558). คู่มือระบบเขียนภาษาเลอเวือะอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 34–35.
  8. Munn, Elizabeth (2017). "A Phonological Reanalysis of Eastern Lawa". Journal of the Southeast Asian Linguistics Society. 10 (2): 38.
  9. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2558). คู่มือระบบเขียนภาษาเลอเวือะอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 36.
  10. 10.0 10.1 สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2558). คู่มือระบบเขียนภาษาเลอเวือะอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 31.
  11. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2558). คู่มือระบบเขียนภาษาเลอเวือะอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 33.
  12. Munn, Elizabeth (2017). "A Phonological Reanalysis of Eastern Lawa". Journal of the Southeast Asian Linguistics Society. 10 (2): 29.
  13. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2558). คู่มือระบบเขียนภาษาเลอเวือะอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 37.
  14. 14.0 14.1 14.2 Munn, Elizabeth (2017). "A Phonological Reanalysis of Eastern Lawa". Journal of the Southeast Asian Linguistics Society. 10 (2): 34.
  15. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2558). คู่มือระบบเขียนภาษาเลอเวือะอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 39.
  16. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2558). คู่มือระบบเขียนภาษาเลอเวือะอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, หน้า 40, 42.
  • สุริยา รัตนกุล และลักขณา ดาวรัตนหงษ์. (2528). พจนานุกรมภาษาละว้า-ไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.