คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 41

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะรัฐมนตรีเกรียงศักดิ์ 2
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 41 แห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2522 - 2523
วันแต่งตั้ง24 พฤษภาคม​ พ.ศ. 2522
วันสิ้นสุด3 มีนาคม​ พ.ศ. 2523
(0 ปี 283 วัน)
บุคคลและองค์กร
ประมุขแห่งรัฐพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
หัวหน้ารัฐบาลเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ประวัติ
ก่อนหน้าคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 40
ถัดไปคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 42

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 41 ของไทย (12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 - 3 มีนาคม พ.ศ. 2523)

พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ

พลอากาศเอก หะริน หงสกุล ประธานรัฐสภา เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

รายชื่อคณะรัฐมนตรีคณะที่ 41 ของไทย[แก้]

คณะรัฐมนตรีที่ได้รับการแต่งตั้งในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 มีรายนามดังต่อไปนี้[1]

  1. พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  2. พลเอก เสริม ณ นคร เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  3. นายสมภพ โหตระกิตย์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  4. เรืออากาศตรี บุญยง วัฒนพงศ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  5. นายสวัสดิ์ คำประกอบ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  6. พลโท เฉลิมชัย จารุวัสตร์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  7. พลอากาศโท สิทธิ เศวตศิลา เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  8. นายเกษม จาติกวณิช เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  9. นายปรีดา กรรณสูต เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  10. พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  11. นายบุญยิ่ง นันทาภิวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  12. นายประมวล กุลมาตย์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  13. พลเอก พร ธนะภูมิ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  14. พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  15. พลเรือเอก กวี สิงหะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
  16. พลอากาศเอก พะเนียง กานตรัตน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
  17. พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  18. นายชาญชัย ลี้ถาวร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  19. นายสุธี สิงห์เสน่ห์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  20. นายอุปดิศร์ ปาจรียางกูร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  21. นายอรุณ ภาณุพงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  22. พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  23. นายวงศ์ พลนิกร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  24. นายอาภรณ์ ศรีพิพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  25. พลตำรวจตรี สง่า กิตติขจร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  26. นายระพี สาคริก เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  27. นายสมพร บุณยคุปต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  28. พลอากาศเอก ประสงค์ คุณะดิลก เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  29. พลเรือเอก อมร ศิริกายะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  30. นายอบ วสุรัตน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  31. นายปรก อัมระนันทน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  32. พลเอก เล็ก แนวมาลี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  33. นายดำริ น้อยมณี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  34. นายประเทือง กีรติบุตร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  35. พลตำรวจเอก ชุมพล โลหะชาละ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  36. นายสุธรรม ภัทราคม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  37. นายชุบ กาญจนประกร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
  38. นายก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  39. นางยุพา อุดมศักดิ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  40. นายบุญสม มาร์ติน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  41. นายกระแส ชนะวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  42. นายประสิทธิ์ ณรงค์เดช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  43. นาวาอากาศเอก วิมล วิริยะวิทย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  44. นายเกษม สุวรรณกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย

การปรับคณะรัฐมนตรี[แก้]

  • วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 มีการปรับปรุงคณะรัฐมนตรีใหม่ หลังจากมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจและลงมติเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 มีรายนามดังนี้[2]
  1. พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  2. พลเอก เสริม ณ นคร เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  3. พลเอก เล็ก แนวมาลี เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  4. พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  5. นายบุญยิ่ง นันทาภิวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  6. พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  7. นายดำริ น้อยมณี เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  8. พลเอก พร ธนะภูมิ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  9. พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  10. พลเรือเอก กวี สิงหะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
  11. พลอากาศเอก พะเนียง กานตรัตน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
  12. นายสมหมาย ฮุนตระกูล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  13. นายสุธี สิงห์เสน่ห์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  14. นายจำรัส จตุรภัทร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  15. พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  16. นายอรุณ ภานุพงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  17. นายระพี สาคริก เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  18. นายปรีดา กรรณสูต เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  19. นายอาณัติ อาภาภิรม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  20. นายวงศ์ พลนิกร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  21. นายสมพร บุณยคุปต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  22. พลเรือเอก อมร ศิริกายะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  23. พลเอก เทพ กรานเลิศ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  24. นายอบ วสุรัตน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  25. นายจุมพล ธรรมจรีย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  26. นายประเทือง กีรติบุตร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  27. นายณรงค์ วงศ์วรรณ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  28. นายเชาวน์วัศ สุดลาภา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  29. นายรัตน์ ศรีไกรวิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  30. นายสุรินทร์ เศรษฐมานิต เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
  31. นายบุญสม มาร์ติน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  32. นายสิปปนนท์ เกตุทัต เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  33. นายเสม พริ้งพวงแก้ว เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  34. นายกระแส ชนะวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  35. พลอากาศเอก ประสงค์ คุณะดิลก เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  36. พลอากาศเอก วิมล วิริยะวิทย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  37. นายอาชว์ เตาลานนท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  38. นายเกษม สุวรรณกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย

การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรีคณะที่ 41 ของไทย[แก้]

คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เพราะพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรี ลาออกจากตำแหน่งในวันประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 โดยเหตุผลในการลาออกว่า "ได้เกิดการขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับรัฐสภาในปัญหาที่สำคัญหลายเรื่องและหลายครั้งจนยากที่จะบริหารงานของชาติให้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ได้"

ต่อมาในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 ได้มีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ คณะรัฐมนตรีคณะนี้จึงพ้นจากตำแหน่งไปตามวาระ[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-28.
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
  3. การเมืองตำนานการเมือง พล.อ.เกรียงศักดิ์ เป็นนายกฯ คนนอกได้เพราะเสียง ส.ว.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]