แจ้ง คล้ายสีทอง
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
แจ้ง คล้ายสีทอง | |
---|---|
แจ้ง คล้ายสีทอง (ขวามือ) | |
สารนิเทศภูมิหลัง | |
เกิด | 10 มีนาคม พ.ศ. 2478 แจ้ง คล้ายสีทอง |
เสียชีวิต | 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (74 ปี) โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร |
คู่สมรส | นางสาวบุญนะ โพธิหิรัญ |
ศิลปินแห่งชาติ | พ.ศ. 2538 - สาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์) |
ครูแจ้ง คล้ายสีทอง เป็นศิลปินแห่งชาติ[1][2][3] มีความเชี่ยวชาญในการขับร้องเพลงไทย และขับเสภา หนึ่งในตำนานศิลปินพื้นบ้านของจังหวัดสุพรรณบุรี
ประวัติ
[แก้]นาย แจ้ง คล้ายสีทอง เกิด วันอาทิตย์ ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2478 ปีจอ ที่ บ้าน ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่ 3 และเป็นบุตรชายคนเดียว ของนาย หวัน และนางเพี้ยน คล้ายสีทอง มีพี่น้อง ท้องเดียวกันทั้งหมด 4 คน คือ
- นางทองหล่อ ขาวเกตุ
- นางฉลวย คงศิริ
- นายแจ้ง คล้ายสีทอง
- นางอร่าม จันทร์หอมกุล
ชื่อแจ้งนี้ มารดาเล่าว่านาย แจ้ง ตกฟากตอนพระอาทิตย์ขึ้นพ้นดวงพอดี บิดาเลยตั้งชื่อว่าแจ้ง
นาย แจ้ง คล้ายสีทอง สมรสกับนางสาวบุญนะ โพธิหิรัญ บุตรีของกำนันสนิท กับนางลำจียก โพธิหิรัญ ซึ่งประกอบอาชีพปี่พาทย์ นายแจ้งและนางบุญนะ มี บุตร ธิดา ทั้งสิ้น จำนวน 6 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 4 คน ได้แก่
- นางสาวคะนึงนิจ คล้ายสีทอง
- นางสาวเพ็ญพรรณ คล้ายสีทอง
- นายสาธิต คล้ายสีทอง
- นางสาวขณิษฐา คล้ายสีทอง
- นายประทีป คล้ายสีทอง
- นางสาววัลภา คล้ายสีทอง
วัยเด็กที่สุพรรณบุรี
[แก้]นาย แจ้ง คล้ายสีทอง เกิดในตระกูลศิลปิน คุณตา เป็นนักสวดคฤหัสถ์ บิดาเป็นผู้แสดงโขน พากย์โขน และเป็นตลกโขนที่มีชื่อเสียงในคณะโขนวัดดอนกลาง จังหวัดสุพรรณบุรี มารดาเป็นนักร้องเพลงไทยเดิม และแม่เพลงพื้นบ้านผู้มีน้ำเสียงไพเราะยิ่ง รวมทั้งญาติพี่น้องอื่น ๆ ก็เป็นศิลปินพื้นบ้านที่จังหวัดสุพรรณบุรีด้วยกันทั้งหมด นาย แจ้ง คล้ายสีทองติดตาม บิดา มารดา ไปตามงานแสดงต่าง ๆ และเริ่มการแสดงตั้งแต่ยังเยาว์วัย
เมื่อถึงวัยศึกษาเล่าเรียน บิดาได้ส่งไปเป็นลูกศิษย์คุณตาที่ วัดโบสถ์ดอนลำแพน และเรียนหนังสือจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุด ของโรงเรียนในขณะนั้น เมื่อบิดาถึงแก่กรรม มารดาได้กลับมาอยู่ที่บ้านเดิม ต่อมาเมื่ออายุ 11 ปี นายแคล้ว คล้ายจินดา ครูดนตรีไทย เจ้าของวงดนตรีปี่พาทย์ ตำบลบ้านกุ่ม อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งอยู่คนละฝั่งแม่น้ำท่าจีน ได้มาติดต่อกับมารดาเพื่อจะขอรับนายแจ้ง คล้ายสีทอง ไปเป็นลูกศิษย์เพราะเห็นว่ามีชอบและพรสวรรค์ด้านดนตรีไทย นายแจ้งเล่าว่า"ครูแคล้วเขาเห็นเวลามีปี่พาทย์ ฉันจะนั่งหลังวงดูเขาตีบรรเลง พอกลับบ้านก็หากะลามาทำเป็นวงฆ้องเคาะไปเรื่อย"
นายแจ้งได้ย้าย ไปอยู่ที่บ้านนายแคล้ว คล้ายจินดา เพื่อจะได้มีเวลาเรียนดนตรีอย่างเต็มที่ เริ่มแรกได้ฝึกเรียนฆ้องวง ต่อมาได้ฝึกเรียนเครื่องดนตรีอื่น ๆ จนสามารถบรรเลงได้ทุกชนิด ต่อมา ในวงดนตรีของ นายแคล้ว ขาดนักร้อง เด็กชายแจ้งจึงมีโอกาสได้เริ่มฝึกหัดขับร้องเพลงกับ นายเฉลิม คล้ายจินดา ซึ่งเป็นบุตรชายของนายแคล้ว โดยเริ่มจากเพลง 2 ชั้น และเพลงตับราชาธิราช ตอนสมิงพระรามหนี
เมื่อนายแจ้ง อายุได้ 14 ปี มารดาก็ตามกลับบ้าน อีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ยังติดต่อและร่วมงานกับนายแคล้ว อยู่เป็นประจำ และได้เป็นนักร้องวงดนตรีของนายแคล้ว โดยเป็นนักร้องที่อายุน้อยกว่านักร้องท่านอื่น ๆ ในสมัยเดียวกัน ซึ่งอยุ่ในวัยเดียวกันกับมารดา การร้องเพลงในสมัยก่อนนั้นนายแจ้งค่าตัว 6 สลึง ผู้ใหญ่ได้ค่าตัว 2 บาท แต่นายแจ้งมักได้รางวัลจากคนดูต่างหาก เสร็จงานแล้วบางคืนได้ถึง 30-40 บาท ซึ่งในสมัยนั้นทองราคาเพียงบาทละ 600 บาท
เริ่มเข้ากรุงเทพ
[แก้]เมื่อนายแจ้งอายุได้ 16 ปี ได้ติดตามนายสนิท โพธิ์หิรัญ บิดาของภรรยาเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ เพราะทำนาแล้วล้ม ๆ ลุก ๆ ได้บ้างไม่ได้บ้าง เมื่อเข้ามาในกรุงเทพมหานคร ก็ได้มาทำงานในคลังแสง กองยกกระบัตร สะพานแดง บางซื่อ ซึ่งการทำงานครั้งนั้นต้อง งดรับงานร้องเพลงและงานบรรเลงดนตรีทั้งหมด แต่ก็ได้มีโอกาสต่อเพลง "ต้นวรเชษฐ์" กับครูดนตรี แต่ต่อได้ท่อนเดียว
พออายุครบ 21 ปี นายแจ้ง คล้ายสีทอง เข้ารับการเกณฑ์ทหารและเข้าประจำการหน่วยเสนารักษ์ ไปเป็นทหารอีก 1 ปี 6 เดือน แถว ๆ กองพันทหารราบ 11 ทำให้ห่างจากปี่พาทย์ไปเป็นปี ๆ นายแจ้งเล่าว่า ตอนนั้นยังไม่คิดถึงดนตรีปี่พาทย์ เพราะยังไม่เอาจริงเอาจัง ร้องเล่น ๆ เท่านั้น แต่ทำปี่พาทย์วิทยุด้วย ในระยะนั้นเมื่อมีเวลาว่างหรือได้ลาพักผ่อน ก็มักติดตามนายสืบสุด (ไก่) ดุริยประณีต [4] และ จ.ส.อ.สมชาย (หมัด) บุตรชายนาย ชั้น ดุริยประณีต [5] นางแถม ดุริยประณีต เป็นประจำ เมื่อผู้บรรเลงเครื่อง ดนตรีบางชิ้นว่างลงหรือไม่มา นายแจ้ง คล้ายสีทอง จะบรรเลงแทน และสามารถบรรเลงได้ดีทุก ๆ หน้าที่ ตั้งแต่การบรรเลงเครื่องดนตรี ประกอบจังหวะจนถึงระนาดเอก และระนาดทุ้ม ในการบรรเลงแต่ละครั้งได้รับเงินค่าจ้างประมาณ 40-50 บาท เมื่อปลดประจำการเป็น ทหารกองหนุนแล้ว นายสืบสุด ดุริยประณีต ได้ชักชวนให้เข้าเป็นนักดนตรีวงดุริยะประณีตหรือวงบ้านบางลำพู [6]
ในช่วงที่ครูแจ้งอยู่วงดนตรีดุริยประณีตนั้น ซึ่งตรงกับสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นยุคสมัยที่มีการสนับสนุนให้แสดงลิเก ซึ่งได้เปลี่ยนเรียกว่า นาฏดนตรี มีการแสดงสดส่งกระจายเสียงตามวิทยุต่าง ๆ จนเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ลิเกหลายคณะได้ใช้วงปี่พาทย์วงดุริยประณีต หรือวงบ้านบางลำพูในการบรรเลง ต่อมาครูแจ้งก็ได้เลื่อนเป็นนายวง และเป็นคนตีระนาดเอกเอง ส่วนใหญ่จะแสดงประจำสถานีวิทยุที่กรมการรักษาดินแดนและเมื่อคณะลิเกขาดตัวแสดงตัวใดตัวหนึ่ง ครูแจ้งก้จะมักเป็นผู้แสดงแทน ซึ่งครูแจ้งสามารถแสดงได้ดีทุกตัว จนบางคณะต้องติดต่อให้ครูแจ้งแสดงเป็นพระเอก โดยใช้ชื่อในการแสดงลิเกว่า "อรุณ คล้ายสีทอง"
ในยุคแรก ๆ ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม วงดนตรีดุริยประณีตได้มีโอกาสบรรเลงดนตรีไทยออกอากาศอยู่เป็นประจำ มีนายสุพจน์ ( ปื๊ด ) โตสง่า [7] นางแม้น โตสง่า สามี นาง ดวงเนตร (น้อย) [16] เก็บถาวร 2009-09-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน บุตรสาวนางแช่มช้อย ดุริยประณีต@1965, ^&lang=0&db=MUSIC&pat=%b4%d8%c3%d4%c2%bb%c3%d0%b3%d5%b5&cat=gen&skin=u&lpp=20&catop=&scid=zzz [17]– นายเหนี่ยว ดุริยพันธ์ [18]และเป็นบิดาของ ณรงค์ฤทธิ์ (ปอง) โตสง่า ขุนอิน [19] เก็บถาวร 2008-09-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [20] เก็บถาวร 2009-05-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน และชัยยุทธ (ป๋อม) โตสง่า เป็นผู้บรรเลงระนาดเอก ในการร้องบรรเลงการสวมรับ และการส่งร้องเพลงบุหลันเถา เฉพาะในตอน 2 ชั้น และชั้นเดียว ปรากฏว่าผู้ร้องไม่มา นายแจ้ง คล้ายสีทอง จึงได้ร้องเพลงแทน [ ข้อมูลบางแห่งระบุว่าร้องอยู่ที่บ้านดุริยประณีต ] มีครูผู้ใหญ่นั่งฟังกันหลายคน และได้กล่าวชมน้ำเสียงขับร้องว่าเหมาะสม แต่ควรปรับปรุงวิธีการรร้องและ ลีลาการร้อง ครูโชติ ดุริยประณีต [21] ได้ยินเข้าก็บอกว่า "แจ้งเสียงดี ฉันจะปั้นแจ้งนี่ล่ะ" แล้วครูโชติก็ให้กับ ครูสุดา (เชื่อม) เขียววิจิตร [22] ต่อเพลงให้ร้อง วันรุ่งขึ้นนายแจ้งเอาดอกไม้ธูปเทียนมาไหว้ครูเชื่อม ครูให้ต่อเพลง โดยเพลงแรกที่ฝีกร้องก็คือเพลง "เขมรราชบุรีสามชั้น" ตอนที่ฝึกตอนแรก ๆ เฉพาะท่อน "ชะรอยกรรมจำพราก" ท่อนเดียวร้องอยู่เกือบเดือน พอได้แล้วค่อยไปอีกหน่อย ทั้งเพลงใช้เวลาเดือนกว่า เพราะถ้าร้องไม่ได้อารมณ์ ครูไม่ต่อเพลงให้ ต่อจากนั้นก็ได้มีการต่อเพลงอื่น ๆ อีกหลายเพลง จนสามารถนำไปร้องเข้ากับวงดนตรีในงานต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี และมีความไพเราะ เนื่องจากมีพรสวรรค์ทางด้านเสียงอยู่แล้ว เมื่อได้รับการ ฝึกหัดอย่างถูกวิธี ก็ฝึกได้อย่างรวดเร็ว และสามารถขับร้องได้ดีมากขึ้น
หลังจากต่อเพลงได้มา 4-5 เพลง ในปี 2506 ครูแจ้งก็เล่าว่าก็มีคนส่งเข้าประกวดร้องเพลงของสถานีวิทยุ ว.ป.ถ.กรมการทหารสื่อสาร ใช้ชื่อว่า "อภัย" เข้าไปอัดเสียงอยู่ 2 หน 4 เพลง ให้กรรมการฟังเสียง เคาะเป๊งต้องร้องให้ตรงเสียง ผิดเสียงไม่ได้ โดนตัดคะแนน ครั้งนั้นครูแจ้งได้ที่ 1 พอประกวดได้ที่ 1 ก็มีชื่อเสียงเป็นที่โด่งดัง ทั้งทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ มาติดต่อครุแจ้งให้ไปเข้าวงดนตรี ครุแจ้งจะไปแล้วแต่พอครูโชติรู้เข้าก็บอกว่าอย่าไป และไปฝากไว้กับ นายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ครูโชติบอกว่าไม่ต้องการให้ไปอยู่วงเพลงไทยสากล โดยอธิบายว่าถ้าไปก็ร้องได้แต่เพลงเถา ร้องส่งปี่พาทย์ไม่ได้อะไร ถ้าอยู่กรมศิลปากรจะได้หมดทั้ง โขน ละคร ฟ้อน รำ เห่ ขับ กล่อม
รับราชการในกรมศิลปากร
[แก้]พ.ศ. 2508 นายแจ้ง ให้เข้ามารับราชการ ที่กรมศิลปากร และเมื่อเวลานาย ธนิต อยู่โพธิ์ไปราชการที่ใด ท่านก็จะเอาทั้งอาจารย์ เสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2531 สาขาศิลปการแสดง ศิลปการละคร[8] และนายแจ้งไปไหนมาไหนด้วยตลอดกันตลอดไม่ว่าจะเป็นในประเทศไทย หรือจะเป็นต่างประเทศ
นายแจ้งเริ่มต้นเข้ารับราชการในตำแหน่งคีตศิลปินจัตวา หรือตำแหน่งขับร้องเพลงไทย แผนกดุริยางค์ไทย กองการสังคีต กรมศิลปากร เมื่อเข้ามาอยู่ที่กรมศิลปากรซึ่งมีแต่ครูชั้นเลิศทั้งนั้น มีทั้งครูที่สอนนายแจ้งมาก่อน และยังมีครูเหนี่ยว ดุริยพันธ์ น้องเขยครูโชติและพ่อตานายสุพจน์ โตสง่า ครูท้วม ประสิทธิกุล ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2529 สาขาศิลปะการแสดง ดนตรีไทย[9][10][11][12][ลิงก์เสีย] ครูนิภา อภัยวงศ์[13][14] ครูสงัด ยมะคุปต์ สามีครูลมุล ยมะคุปต์ ครูเสรี หวังในธรรม เข้าไปต้องฝึกหมดทุกอย่าง แต่ไม่ต้องเก่งหมด เพราะคนเราไม่ได้เก่งไปทุกด้าน
การทำงานในระยะแรก นายแจ้งต้องปรับปรุงการร้องเพลงใหม่ เพราะจะต้องร้องให้เข้ากับบทบาทตัวละครที่กำลังแสดง เมื่อเข้าไปต้องฝึกหมดทุกอย่าง แต่ไม่ต้องเก่งหมด เพราะคนเราไม่ได้เก่งไปทุกด้าน ด้วยความอุตสาหะและ เอาใจใส่ก็สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ยัง พยายามฝึกฝนหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ โดยการฝึกหัดร้องเพลงและศึกษาการขับร้องของ ครูดนตรีรุ่นเก่า ที่มีชื่อเสียง เพื่อเป็นแนวทางการ ขับร้องให้ดียิ่งขึ้น บุคคลที่นายแจ้ง คล้ายสีทอง ให้ความเคารพนับถืออีกท่านหนึ่ง คือนายเสรี หวังในธรรม ผู้ให้การสนับสนุนแนะนำวิธีการร้องต่าง ๆ แก่นายแจ้งตลอดมา
ช่วงชีวิตในขณะที่รับราชการครูแจ้งฯ มีภารกิจที่รัฐบาลได้ส่งไปทำงานเกือบทุกจังหวัดทั่วประเทศ และบางครั้งก็ได้มีโอกาสเดินทางไปปักกิ่ง ในสมัยที่หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2528 สาขาวรรณศิลป์[15] เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปแลกเปลี่ยน ศิลปวัฒนธรรม กับประเทศจีน ที่นั่น ได้ไปร้องโขน ร้องละครโชว์
การพูดของครูแจ้ง จะมีจังหวะจะโคน เพราะจะค่อย ๆ พูด เป็นคนอารมณ์อ่อนไหว ต้องพยายามควบคุมตัวเอง สมัยก่อนครูแจ้งก็ใจร้อน เคยด่าอธิบดีมาก่อน ครูแจ้งเคยทำละครร่วมกันกับ ครู ส.อาสนจินดา ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2533 สาขาศิลปการแสดงภาพยนตร์และละคร[16] ส่วนพระเอกจะเป็น ชรินทร์ นันทนาคร ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2541 สาขาศิลปการแสดงดนตรีสากล[17] ส่วนว่าถ้าเป็นบทเข้าพระเข้านาง ก็จะเป็นหน้าที่ของ ชรินทร์ฯ แต่ถ้าเป็นบทตอนเวลาออกรบ ครู ส.จะออกรบแทน ครูแจ้งเคยแนะนำ ครู ส.อาสนจินดา ถึง ละครที่สร้าง เมื่อกรมศิลปากรมีการจัดการแสดงเรื่อง "ผู้ชนะสิบทิศ" ครูแจ้งก็เคยแนะนำ ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ ให้ร้องละคร และแนะนำให้ อาจารย์ เสรี ว่าเวลาร้องละครผู้ชนะสิบทิศ ควรจะร้องให้น้อยหน่อย พูดมากหน่อย แนะนำและให้คิดบทพูดเอาเอง แทนที่จะเป็นการท่องบท ตั้งแต่วันนั้นจนถึงปัจจุบัน เลยมีบทพูดมากกว่าร้อง จริง ๆ อ.เสรี จะเป็นคนดื้อ ไม่ฟังใคร แต่ครูแจ้งจะพูดเฉย ๆ จะเชื่อหรือไม่เชี่อก็แล้วแต่ แต่ทำไปแล้วก็ทำให้คนดูละครชอบมาก
กลับไปอยู่สุพรรณบุรี
[แก้]ปัจจุบันนี้ นาย แจ้ง คล้ายสีทอง เกษียณอายุราชการกลับไปใช้ชีวิตแบบวิถีชาวชนบท ที่บ้านไม้ 2 ชั้น เลขที่ 108 หมู่ 12 ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ริมแม่น้ำท่าจีน ซึ่งสมัยที่ครูแจ้งรับราชการใหม่ ๆ ได้รับเงินเดือน 3 พันบาท ซึ่งก็พออยู่ได้ ไม่ค่อยมีปัญหา และนางบุญนะภริยาทำของกินและขายข้าวเหนียวปิ้งตั้งวางแผงขาย แถว วัดครุใน อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ทำให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้โดยไม่เดือดร้อน
ตอนนั้นนายแจ้งและภรรยาเช่าบ้านอยู่แถวปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ นางบุญนะขายของ 2 รอบ เช้ากับเย็น ตื่นตี 5 ติดไฟย่างตอนตี 5 ครึ่ง แม่ค้าที่ขายในโรงงานมารับ ของขายก็ห่อมาจากบ้าน นับว่าทำกันเป็นอุตสาหกรรมในครอบครัว ลูก ๆ ต่างก็ช่วยกัน ช่วงเวลานั้นมีเงินเก็บเป็นแสน มีเงินก็ซื้อทองเก็บไว้ เก็บได้เกือบประมาณ 30 บาททีเดียว ที่เหลือก็เก็บสะสมจนสามารถซื้อที่ดินแปลงที่ปลูกบ้านหลังนี้ได้ ในการรับงานการแสดงส่วนใหญ่ นางบุญนะจะต้องเป็นคนรับงานเอง รับงานขับเสภาทั่วไป ในพิธีต่าง ๆ ขึ้นบ้านใหม่ งานบวช งานศพ หลังจากนั้นก็เลยไม่ได้ขายของ อีก
ทุกวันนี้ครูแจ้งยังมีภารกิจที่ต้องสอนหนังสือในสถาบันการศึกษาหลาย ๆ แห่ง ทั้งวิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี[18] มหาวิทยาลัยราชภัฎต่าง ๆ ในวิชา "คีตศิลป์” หลายแห่งเป็นประจำ เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และจิตวิญญาณด้านคีตศิลป์ ให้อนุชนรุ่นหลัง แล้วก็จะมีนักศึกษาที่จะต้องทำวิทยานิพนธ์ ด้านคีตศิลป์ สอนเรื่องการใช้ภาษาไทย วรรณคดี และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเป็นวิชาที่ครูแจ้งสอนสอนประจำ
การขับเสภา
[แก้]การขับและขยับกรับเสภา นายแจ้งสามารถขับร้องได้อย่างไพเราะพร้อมการขยับกรับไปด้วยกัน โดยนายแจ้งได้ครูโชติ ดุริยประณีต เป็นผู้ฝึกหัดให้ เริ่มตั้งแต่วิธี จับไม้กรับเสภา ซึ่งมีอยู่ 4 อัน หรือ 2 คู่ โดยถือไว้ในมือด้านละ 1 คู่ เริ่มขยับเสียงสั้นไปหาเสียงยาวคือเสียงกรด เสียงสั้นคือเสียงก๊อก แก๊บ เสียงยาวคือเสียงกรอ ขยับจนคล่องดีแล้ว จึงตีเสียงกร้อ แกร้ (เสียงกรอ) ต่อจากนั้นตีไม้สกัดสั้น ได้แก่เสียงแกร้ แก๊บ และไม้สกัดยาวคือเสียงกร้อ แกร้ กร้อ แกร้ แก๊บ ใช้สำหรับตอนหมดช่วงของการขับเสภา และในระหว่างขับ ส่วนไม้กรอใช้สำหรับ ขับครวญเสียงโหยไห้และใกล้หมดช่วงของขับเสภา นายแจ้งฝึกจนสามารถ ขับและขยับกรับเสภาได้ โดยขับในละครเรื่อง ไกรทองแต่ยังไม่ทันได้ต่อไม้เสภาอื่น ๆ ต่อไป นายโชติ ดุริยะประณีต ก็ถึงแก่กรรม
และต่อมานายแจ้งได้เรียนขยับกรับกับอาจารย์มนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2528 สาขาศิลปะการแสดงดนตรีไทย[19] ซึ่งรับราชการอยู่ในกรมศิลปากร อ.มนตรีท่านได้กรุณาบอกไม้เสภาที่ยังไม่ได้ ได้แก่ ไม้รบ ใช้สำหรับบทดุดันหรือการต่อสู้ และไม้สอง ใช้สำหรับชมธรรมชาติหรือดำเนินทำนองเพลง 2 ชั้น และบทดำเนินเรื่อง
ในงานพิธีไหว้ครูประจำปีของแผนกดุริยางค์ไทย กองการสังคีต กรมศิลปากร ครั้งหนึ่ง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร (พระองค์ชายกลาง) องค์อุปถัมภ์ศิลปิน ได้เสด็จมาในงานพร้อมด้วยนายเจือ ขันธมาลา ผู้มีความสามารถในการขับร้องและขยับกรับเสภา นายเจือเป็นหลานและศิษย์ของ ท่านครูหมื่นขับคำหวาน ท่านพระองค์ชายกลาง ได้มีพระเมตตาฝากฝังนายแจ้งให้เรียนเสภากับนายเจือ นายแจ้งจึงได้ วิธีการขับเสภาไหว้ครู รวมทั้งเกร็ดย่อยอื่น ๆ เพิ่มขึ้น และมีความชำนาญเชี่ยวชาญมากขึ้น จนได้รับสมญาว่า"ช่างขับคำหอม"
นายแจ้งได้เริ่มขับเสภาอย่างจริงจังเมื่ออายุประมาณ 30 ปี นอกจากเรียนกับครูโชติ ครูสงัด ครูมนตรี แล้วก็ยังฟังเทปครูเหนี่ยว กับครูหลวงเสียงเสนาะกรรณพัน มุกตวาภัย[20]ขับเสภา แล้วคอยจำเทคนิคไว้ ไปที่บ้านครูเจือ ขันธมาลา ฟังครูเจือบอกไม้กรับ ฟังครูหมื่นขับคำหวานขับเสภา ครูหมื่นขับคำหวานท่านขับเสภาตลก ครูหลวงเสียงเสนาะกรรณจะขับเสภาเพราะหวานหู บทเข้าพระเข้านางต้องครูหลวงเสียงฯ ส่วนครูเหนี่ยวขับแบบนักเลง กระโชกโฮกฮาก เป็นบทหยิ่งผยอง
นอกจากนี้ยังได้รับความ กรุณาจากนางท้วม ประสิทธิกุล ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2529 สาขาศิลปะการแสดงดนตรีไทย[21] และนาย ประเวช กุมุท ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2532 สาขาศิลปะการแสดง ดนตรีไทย [22] แนะวิธีปลีกย่อยให้นายแจ้ง จนได้มีโอกาสแสดงความสามารถและได้รับคำชมไปทั่ว จนภายหลังได้รับการยกย่องว่า "เสียงดี ตีกรับอร่อย"
เพลงหลัก ๆ ที่มีชื่อเสียงนั้นก็คือ การขับเสภาในละครเรื่อง “ขุนช้าง ขุนแผน” ซึ่งนายแจ้งจะร้องเอง ขับเสภาเองหมด การขับเสภาของนายแจ้งนั้น นายแจ้งจะดูบท และเอาแบบของครูแต่ละท่านมาใช้ให้ถูกจุด ครูแจ้งเล่าว่า”อย่างร้องถึงคำว่า "แหวกม่าน" ต้องทำเสียงจินตนาการว่าค่อย ๆ แหวกม่าน ไม่ใช่พรวดพราดแหวกม่าน นางตกใจตายกันพอดี” การขับเสภาเป็นเรื่องของการใช้เสียงแสดงอารมณ์บอกเล่าเรื่องราวว่าเกิดอะไรขึ้น นายแจ้งเคยขับเสภาตอน "กำเนิดพลายงาม" ขับเสร็จหันไปดูคนฟัง ปรากฏว่านั่งร้องไห้กันหลายคน นั่นคือการขับเสภาไปกระทบใจเขา
นายแจ้งเคยร้องเอาเนื้อความเป็นใหญ่ สัมผัสลดน้อยลงไป แต่ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2530 สาขาวรรณศิลป์กวีนิพนธ์[23] ท่านบอกว่า ไม่ได้ ไม่งั้นคนไทยจะมีกลอนทำไม ต้องอ่านให้สัมผัสถึงจะเป็นกลอน ถ้าเอาเนื้อความเป็นใหญ่เขียนร้อยแก้วเสียก็หมดเรื่องเลยต้องเอาสัมผัสเป็นตัวตั้ง ความอยู่ทีหลัง ช่วงที่ มล.ปิ่น มาลากุลเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในวันคล้ายวันเกิดของท่านทุก ๆ ปี ครูแจ้งมีหน้าที่ต้องไปอ่านบทกลอนของ มล.ปิ่นให้ท่านฟัง ที่ หออัครศิลปิน ท่านมักจะชอบเล่าเรื่องต่าง ๆ ให้ครูแจ้งฟัง
บทที่ใช้ในการขับเสภานั้น นายแจ้งเอามาจากวรรณคดีทั้งหมด ต้องอ่านวรรณคดีทุกเรื่อง ไม่มีเรื่องไหนไม่เคยอ่าน หรือพระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ก็นำมาขับเสภาได้ บางครั้งก็มีแต่งบทเสภาขึ้นใหม่ การขับเสภาสามารถขับได้ทุกงาน ใช้ขับได้ทั้งงานมงคล และอวหมงคล ตั้งแต่งานวันเกิด งานโกนจุก งานขึ้นบ้านใหม่ งานมงคลสมรส งานฉลองต่าง ๆ จนถึงงานตอนตายคืองานศพนั่นแหละ ซึ่งก็ ต้องแต่งหรือนำบทขับเสภาในวรรณคดี ที่มีอยู่แล้ว นำเอามาใช้ขับให้เหมาะกับงานนั้น ๆ เช่น ถ้างานศพ ก็จะบอกถึงคุณความดี ประวัติต่าง ๆ ของผู้ตาย
การขับเสภาของคนรุ่นปัจจุบันนี้ ครูแจ้งเล่าว่า
แต่ก่อนฉันต้องเรียนขับเสภาอย่างละเอียด อักษรอย่างนี้ คำอย่างนี้ ต้องใช้อารมณ์อย่างไร ขับเสภาแบบไหน ขับได้กี่อย่าง แต่เดี๋ยวนี้คนขับไม่รู้ก็ขับส่งเดช วรรณคดีมีอารมณ์ของเขาอยู่ ต้องตีให้ออก ถามถึงคนรุ่นนี้กับการขับเสภาหรือ..ฉันคิดว่าการขับเสภาไม่หายไปหรอก เขาเรียนกันเยอะไป แต่เรียนไม่ละเอียด เป็นแค่พอผ่าน จะเรียนจริงจังหายากเต็มทน อีกอย่างหาคนส่งเสริมการขับเสภาไม่ค่อยมี ศิลปินไทยจะแย่เอาคราวนี้ ที่ว่ากันว่าขับทำนองเสนาะ ตอนนี้ฉันเห็นว่าได้แต่ขับทำนอง ส่วนความเสนาะหาได้ยากเหลือเกิน
เกียรติยศที่ภาคภูมิใจ
[แก้]นายแจ้ง คล้ายสีทอง ได้ขับร้องเพลงถวายหน้าพระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ณ ตำหนักเรือนต้นและที่อื่น ๆ เนื่องในงาน พระราชทานเลี้ยงรับรองพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์เสมอ ๆ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะมีพระราชเสาวนีย์ให้นายแจ้ง ร้องเพลงที่โปรดเป็นพิเศษ อันได้แก่ เพลงลาวครวญ ลาวดวงเดือน ลาวคำหอม เป็นต้น และมีพระราชกระแสรับสั่งชมเชยว่าร้องเพราะเสียงดี ยังมีความปลาบปลื้มแก่นายแจ้ง คล้ายสีทองเป็นอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานเหรียญราชรุจิ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวขับไม้ประกอบ ซอสามสายในพระราชพิธีขึ้นระวาง สมโภชพระศรีนรารัฐราชกิริณี ที่จังหวัดนราธิวาส เมื่อปี พ.ศ. 2520 และได้รับพระราชทานเหรียญ รัตนาภรณ์ในงานพระราชพิธีขึ้นระวาง และสมโภชช้างสำคัญ 3 เชือกที่จังหวัดเพชรบุรี ปี พ.ศ. 2521 นับว่าเป็นผู้ขับร้องเพลงไทย คนสำคัญอีกคนหนึ่งของประเทศไทย
จากการที่ นาย แจ้ง คล้ายสีทอง ได้ทำงานสร้งสรรค์ศิลปะตลอดเวลา โดยการถ่ายทอดอารมณ์จากการตีกรับขับเสภาอันถือว่าเป็นงานละเอียดยิ่ง จากประวัติชีวิตและผลงานดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้ นายแจ้ง คล้ายสีทอง เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์) เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2538
นายแจ้ง คล้ายสีทองเคยได้รับรางวัลดีเด่นในด้าน การอนุรักษ์ภาษาไทยจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ความสามารถด้านนี้ นายแจ้งบอกว่าก็เพราะการที่ได้เป็นลูกศิษย์ก้นกุฎิอยู่บ้านตา จึงได้มีโอกาส ฝึกด้านการใช้ภาษา และการเปล่งเสียงมาตั้งแต่เด็ก ๆ
เมื่อวันที่ 5 มิย พ.ศ. 2551 นายแจ้ง คล้ายสีทอง ได้ขับเสภาหน้าพระที่นั่ง ในการแสดงดนตรีไทยโดยครูอาวุโสชายแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องในโอกาส สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 53 พรรษา พุทธศักราช 2551 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ มาเป็นองค์ประธาน เนื่องในโอกาส ทรงเจริญพระชนมายุ 53 พรรษา ในปี พ.ศ. 2551 โดยได้แสดงในชุดการแสดงที่ 1 การขับเสภา "กราบรำลึกถึงองค์แก้วกัลยา" โดยมี ผศ.ไกรทอง โชติวุฒิพัฒนา และ ผศ.สุรพล สุวรรณ ร้อยกรองบท และขับร้องในการแสดงชุดที่ 5 เดี่ยวซอด้วง "เพลงกราวใน" โดยมี ครูโกวิทย์ ขันธศิริ เป็นผู้เดี่ยวซอด้วง ครูอนันต์ ดุริยพันธ์ - เครื่องกำกับจังหวะหน้าทับ และครู สมพงษ์ ภู่ศร - ฉิ่ง
ถึงแก่กรรม
[แก้]ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาคีตศิลป์ ถึงแก่กรรมโดยสงบ ณ โรงพยาบาลศิริราช ประมาณ 9 นาฬิกา ใน วันอังคาร 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เวลาประมาณ 09.00 น. ด้วยอาการโรคหัวใจแทรกซ้อนและเส้นเลือดตีบฉับพลัน สิริอายุ 74 ปี
หลังจากที่ล้มป่วยก่อนหน้านี้ด้วยโรคเส้นเลือดในหัวใจตีบจนเป็นอัมพฤกษ์ ต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลสุพรรณบุรีและย้ายมารักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช ทางครอบครัวจะนำศพไปทำพิธีทางศาสนาที่วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร [24][25] เลขที่ 249 หมู่ที่ 2 ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ทางฝั่งด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณ หรือ แม่น้ำท่าจีน
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพนายแจ้ง คล้ายสีทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์ไทย) ณ ฌาปนสถาน วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[26]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[27]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[28]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 5 (ภ.ป.ร.5)[29]
- พ.ศ. 2520 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[30]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๘ สาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-26. สืบค้นเมื่อ 2007-06-25.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2008-10-04.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2007-06-25.
- ↑ @1965, ^&lang=0&db=MUSIC&pat=%b4%d8%c3%d4%c2%bb%c3%d0%b3%d5%b5&cat=gen&skin=u&lpp=20&catop=&scid=zzz [1]
- ↑ [2] ไปในงานบรรเลงปี่พาทย์ของวงดุริยะประณีต หรือวงบ้านบางลำพู ของนาย ศุข @1965, ^&lang=0&db=MUSIC&pat=%b4%d8%c3%d4%c2%bb%c3%d0%b3%d5%b5&cat=gen&skin=u&lpp=20&catop=&scid=zzz
- ↑ [3] [4][ลิงก์เสีย]
- ↑ [5] เก็บถาวร 2008-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ผู้มีฉายาระนาดน้ำค้าง บุตรนายพุ่ม @2928, ^&lang=0&db=MUSIC&pat=%e2%b5%ca%a7%e8%d2&cat=gen&skin=u&lpp=20&catop=&scid=zzz [6] [7]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-26. สืบค้นเมื่อ 2008-10-05.
- ↑ [8]
- ↑ เก็บถาวร 2009-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ @2363, ^, @17, ^&lang=0&db=MUSIC&pat=%b7%e9%c7%c1+%bb%c3%d0%ca%d4%b7%b8%d4%a1%d8%c5&cat=gen&skin=u&lpp=20&catop=&scid=zzz
- ↑ [9] [10]
- ↑ [11]
- ↑ [12]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-15. สืบค้นเมื่อ 2008-10-05.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-26. สืบค้นเมื่อ 2008-10-05.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-26. สืบค้นเมื่อ 2008-10-05.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-17. สืบค้นเมื่อ 2008-10-05.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-01. สืบค้นเมื่อ 2008-10-05.
- ↑ [13]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-10. สืบค้นเมื่อ 2008-10-05.
- ↑ [14] เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน @1965, ^&lang=0&db=MUSIC&pat=%b4%d8%c3%d4%c2%bb%c3%d0%b3%d5%b5&cat=gen&skin=u&lpp=20&catop=&scid=zzz
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-22. สืบค้นเมื่อ 2008-10-05.
- ↑ [15]
- ↑ เก็บถาวร 2009-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๖๙, ๒๘ เมษายน ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๗, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๑๘, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๑๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕, ๒ ตุลาคม ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ เก็บถาวร 2022-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๑๓๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๒๑ ธันวาคม ๒๕๒๐
- แจ้ง คล้ายสีทอง [23] [24][25][26][ลิงก์เสีย]
- สูจิบัตรการแสดงดนตรีไทยโดยครูอาวุโสชายแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องในโอกาส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๕๓ พรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๑ วันที่ ๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ณ.ศุนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย [ กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2551], [27] เก็บถาวร 2009-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน