ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พิกัด: 13°50′44″N 100°34′17″E / 13.8454802°N 100.5714646°E / 13.8454802; 100.5714646
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Department of Chemistry
Faculty of Science Kasetsart University
สถาปนาพ.ศ. 2509 [1]
หัวหน้าภาควิชารศ.ดร.วราภรณ์ พาราสุข
ที่อยู่
สถานปฏิบัติอาคารกฤษณา ชุติมา (ตึกเคมี)
ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
เว็บไซต์ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (อังกฤษ: Department of Chemistry, Faculty of Science, Kasetsart University) เป็นหนึ่งในสิบสามภาควิชาของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเป็นหน่วยงานวิชาการด้านเคมีชั้นนำของประเทศไทย ที่ได้รับการยอมรับทั้งในด้านการเรียนการสอนและการวิจัย ภาควิชาเคมีเปิดสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ทั้งหลักสูตรภาษาไทย และหลักสูตรนานาชาติ (International Program)

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการจัดอันดับให้ติดอันดับโลกสาขาเคมี (Chemistry) โดย QS World University Rankings by Subject ในกลุ่ม Natural Sciences, โดย Times Higher Education World University Rankings by subjects ในกลุ่ม Physical Sciences สาขา Chemistry, โดย Nature INDEX (Global) ในสาขา Chemical Sciences, และ Best Global Universities for Chemistry โดย U.S. News & World Report ในสาขา Chemistry นอกจากนี้ ยังได้รับการประเมินจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) อยู่ในระดับ 4 (ดี) ในสาขาเคมี (Chemistry) ในการประเมินครั้งที่ 2 พ.ศ. 2553[2] และการประเมินครั้งที่ 3 พ.ศ. 2554[3]

นิสิตเก่าที่มีชื่อเสียง อาทิ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นของโลกด้านสารเคมีก่อมะเร็งและพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม และเป็นนักวิทยาศาสตร์สตรีพระองค์แรกของโลกที่ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญทองคำอัลเบิร์ตไอน์สไตน์[4][5][6][7][8], พลโทหญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน[9], และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผุสดี ตามไท อดีตรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสถาบันผู้หญิงกับการเมือง อดีตคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2534-2535[10][11] เป็นต้น

ประวัติภาควิชา[แก้]

อาคารกฤษณา ชุติมา (ตึกเคมี)

การเรียนการสอนวิชาเคมีในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีกำเนิดมาพร้อมกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2486 ซึ่งในขณะนั้นเปิดสอนอยู่ใน “แผนกเคมี” สังกัดคณะกสิกรรมและสัตวบาล (ปัจจุบัน คือ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) อาคารเรียนวิชาเคมีหลังแรก มีลักษณะเป็นอาคาร 2 ชั้นตั้งอยู่บริเวณประตูงามวงศ์วาน 3 (ปัจจุบัน คือ ร้านสหกรณ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) โดยมี ศาสตราจารย์จรัด สุนทรสิงห์[12] เป็นหัวหน้าแผนกวิชาฯ และมีการผลิตบัณฑิตในหลักสูตรระดับปริญญาตรี[13]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 ได้ย้ายจากอาคารเรียนเดิมมาอยู่ที่ “ตึกเคมีเก่า” ปัจจุบัน คือ กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร[14] ทั้งนี้ เป็นอาคารที่ใช้ร่วมกับกองการกสิกรรมเคมี กระทรวงเกษตร (ปัจจุบัน คือ กองเกษตรเคมี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) ในขณะนั้นมีวิชาทางเคมีเปิดสอนเพียง 4 วิชา ได้แก่ เคมีอนินทรีย์ เคมีอินทรีย์ เคมีวิเคราะห์ปริมาณ และเคมีวิเคราะห์คุณภาพ

จากนั้นในปี พ.ศ. 2500 ศาสตราจารย์จรัด สุนทรสิงห์ ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งคณบดีคณะกสิกรรมและสัตวบาล และศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. กฤษณา ชุติมา ได้ดำรงตำแหน่งรักษาการหัวหน้าแผนกวิชาเคมี ซึ่งในปีเดียวกันนี้ได้มีการต่อเติมตึกเคมีเก่าให้มีห้องเรียนเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันทางแผนกวิชาเคมีได้ Professor. Dr. Hamit D. Resse ศาสตราจารย์เคมี จาก Oregon College มาเป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการ ด้านวิธีการสอนปฏิบัติการ และวิธีจัดทำระเบียบพัสดุทางเคมี

ในปี พ.ศ. 2503 ได้ทำการต่อเติมตึกเคมีเก่าเพิ่มเติมโดยขยายเป็นห้องบรรยาย และปรับเปลี่ยนมาเป็นห้องปฏิบัติการเคมีในเวลาต่อมา และในปี พ.ศ. 2507 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. กฤษณา ชุติมา ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกวิชาเคมีและเริ่มมีการเปิดสอนวิชาชีวเคมีเพิ่มขึ้นด้วย

กระทั่งในปี พ.ศ. 2509 สภามหาวิทยาลัยฯ มีมติให้จัดตั้ง “คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์” อย่างเป็นทางการ ณ บริเวณพื้นที่ปัจจุบัน[15][16][17] จึงมีการย้ายมาสังกัดยังคณะใหม่ ในชื่อเดิม คือ “แผนกวิชาเคมี” โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. กฤษณา ชุติมา เป็นหัวหน้าแผนกวิชาฯ ท่านแรกในสังกัดคณะวิทยาศาสตร์ฯ ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2512 ได้มีการเปลี่ยนจากคำว่า “แผนกวิชา” ไปเป็น “ภาควิชา” จึงใช้ชื่อใหม่อย่างเป็นทางการว่า “ภาควิชาเคมี” จนกระทั่งปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2518 หลังจากที่ย้ายมาอยู่บริเวณพื้นที่ใหม่ ภาควิชาเคมีได้ก่อสร้างอาคารเรียนเคมีหลังใหม่ขึ้น ออกแบบและวางโครงสร้างอาคาร โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. กฤษณา ชุติมา ลักษณะเป็นอาคารเรียนและปฏิบัติการ ความสูง 6 ชั้น มีดาดฟ้า มีชื่อเป็นทางการว่า “อาคารกฤษณา ชุติมา” หรือ “ตึกเคมี” และในปีเดียวกันนี้ยังเป็นปีที่สำคัญยิ่งของประวัติศาสตร์ภาควิชาเคมี เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงผ่านการสอบคัดเลือกได้เข้าศึกษาต่อยังคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในสาขาเคมี และทรงสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เคมี) เกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง เมื่อปี พ.ศ. 2522 ต่อมาในปี พ.ศ. 2524 ได้มีการผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาโท สาขาเคมี ขึ้นเป็นครั้งแรก และระดับปริญญาเอก สาขาเคมี ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2541

ปัจจุบัน ภาควิชาเคมีจัดการเรียนการสอนด้านเคมีใน 5 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาเคมีวิเคราะห์ สาขาวิชาเคมีอนินทรีย์ สาขาวิชาเคมีอินทรีย์ สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม และสาขาวิชาเคมีเชิงฟิสิกส์ ทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติ

ทำเนียบหัวหน้าภาควิชา[แก้]

ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีหัวหน้าภาควิชาตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน ดังรายนามต่อไปนี้[18]

ทำเนียบหัวหน้าภาควิชาเคมี
รายนาม ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง อ้างอิง
1. ศาสตราจารย์ ดร. กฤษณา ชุติมา พ.ศ. 2509 - 2521 [19][20]
2. รองศาสตราจารย์ ดร. อำนาจ ตันติวนิช พ.ศ. 2521 - 2524 [21]
3. รองศาสตราจารย์ สลวย กรุแก้ว พ.ศ. 2524 - 2527 [22][23]
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุกานดา โรจนสุนทร พ.ศ. 2527 - 2532 [24][25][26][27]
5. อาจารย์ ดร. สุรพล ภัทราคร พ.ศ. 2532 - 2535 [28]
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นุจารี ประสิทธิ์พันธ์ พ.ศ. 2549 - 2553 [29]
7. ศาสตราจารย์ ดร. สุภา หารหนองบัว พ.ศ. 2553 - 2557 [30]
8. รองศาสตราจารย์ ดร. วราภรณ์ พาราสุข พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน [31]

หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาเป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น

การศึกษา[แก้]

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

ภาควิชาเคมีเปิดสอนหลักสูตรทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยแบ่งเป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี 3 หลักสูตร (หลักสูตรปกติ 2 หลักสูตร และหลักสูตรนานาชาติ 1 หลักสูตร) หลักสูตรระดับปริญญาโท 1 หลักสูตร และหลักสูตรระดับปริญญาเอก 1 หลักสูตร ซึ่งในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก จะแบ่งเป็น 5 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเคมีวิเคราะห์ สาขาวิชาเคมีอนินทรีย์ สาขาวิชาเคมีอินทรีย์ สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม และสาขาวิชาเคมีเชิงฟิสิกส์

โครงสร้างหลักสูตร
ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
Bachelor of Science (B.S.)

  • หลักสูตรปกติ
    • สาขาวิชาเคมี (Chemistry)[32][33]
    • สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม (Industrial Chemistry)[34][35]
  • หลักสูตรนานาชาติ
    • สาขาวิชาเคมีบูรณาการ (Integreted Chemistry)[36][37][38]

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม)
Master of Science (M.S.)

  • หลักสูตรปกติ
    • สาขาวิชาเคมี (Chemistry)[39]

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด)
Doctor of Philosophy (Ph.D.)

  • หลักสูตรปกติ
    • สาขาวิชาเคมี (Chemistry)[40]

การรับสมัครเข้าศึกษา[แก้]

ปีการศึกษา ตรี โท เอก รวม
สถิติจำนวนนิสิตภาควิชาเคมี
2561[41] 334 64 50 448
2560[42] 248 69 47 364
2559[43] 233 73 49 355
ข้อมูลจากสำนักบริหารการศึกษา มก.
ระดับปริญญาตรี

การเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งหลักสูตรปกติและหลักสูตรนานาชาติ (International Program) จะรับสมัครและคัดเลือกผ่านระบบกลาง TCAS ซึ่งแบ่งการรับออกเป็น 5 รอบ รายละเอียดเกณฑ์การรับสมัคร และเกณฑ์การคัดเลือกจะเป็นไปตามประกาศของสำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[44][45]

ทั้งนี้ ผู้สมัครในหลักสุตรนานาชาติจำเป็นต้องมีผลการทดสอบความสามารถด้านภาษาอังกฤษ อาทิ TOEFL (iBT) score ≥ 61, CU-TEP score equivalent to TOEFL (iBT) score ≥ 61, หรือ IELTS score ≥ 5.5 และต้องมีผลการทดสอบความถนัดทางคณิตศาสตร์ อาทิ SAT I (Math Section), SAT II (Math I หรือ Math II) มีคะแนนขั้นต่ำ 550 ในแต่ละวิชา รวมทั้งต้องมีผลการทดสอบความถนัดทางวิทยาศาสตร์ SAT II (Chemistry) ด้วย[46]

ระดับบัณฑิตศึกษา

การเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาที่ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะเปิดรับใน 5 กลุ่มสาขา[47] ได้แก่

  • สาขาวิชาเคมีวิเคราะห์
    • (ปริญญาเอก)
    • (ปริญญาโท)
  • สาขาวิชาเคมีอนินทรีย์
    • (ปริญญาเอก)
    • (ปริญญาโท)
  • สาขาวิชาเคมีอินทรีย์
    • (ปริญญาเอก)
    • (ปริญญาโท)
  • สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม
    • (ปริญญาเอก)
    • (ปริญญาโท)
  • สาขาวิชาเคมีเชิงฟิสิกส์
    • (ปริญญาเอก)
    • (ปริญญาโท)

โดยคุณสมบัติผู้สมัครและรายละเอียดต่าง ๆ จะเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[48]

สาขา งานวิจัย หน่วยวิจัย และผลงานวิจัย[แก้]

สาขาวิชาและงานวิจัย[แก้]

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แบ่งสาขาวิชาและงานวิจัยออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่

สาขาเคมีวิเคราะห์ (Analytical Chemistry Division)

เป็นสาขาที่ว่าด้วยการวิเคราะห์ ทั้งในเชิงคุณภาพและในเชิงปริมาณ ภาควิชาเคมีมีงานวิจัยทางเคมีวิเคราะห์ อาทิ งานวิจัยทางด้านความปลอดภัยทางโภชนาการ การวิเคราะห์และติดตามสารตกค้างในสิ่งแวดล้อม และการพัฒนากระบวนการวิเคราะห์สารในปริมาณน้อยที่มีอยู่ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม[49]

สาขาเคมีอนินทรีย์ (Inorganic Chemistry Division)

เป็นการสังเคราะห์และศึกษาสมบัติทางกายภาพของสารอนินทรีย์ โดยภาควิชาเคมีมีงานวิจัยทางเคมีอนินทรีย์ อาทิ การศึกษาสารประกอบโคออร์ดิเนชัน (coordination compounds) รวมไปถึงสมบัติการจับโมเลกุลชีวภาพ การผลิตเซ็นเซอร์และโฟโตคะตะลิสต์ (photocatalyst) และการศึกษาปฏิกิริยาในอุตสาหกรรม เช่น ปฏิกิริยาฟิชเชอร์-โทรปช์ (Fischer-Tropsch synthesis)[50][51]

สาขาเคมีอินทรีย์ (Organic Chemistry Division)

เป็นสาขาที่ศึกษาครอบคลุมเคมีของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ งานวิจัยของสาขาเคมีอินทรีย์ ได้แก่ การสกัดและแยกสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่มีการออกฤทธิ์ทางชีวภาพ การสังเคราะห์สารที่มีความสำคัญทางการแพทย์โดยใช้วิธีการใหม่ ๆ นอกจากนี้ภาควิชาเคมียังมีงานวิจัยเชิงอินทรีย์เคมีชีวภาพ ซึ่งเป็นการศึกษาระบบทางชีวภาพโดยใช้ความรู้และกระบวนการทางเคมี เช่น การศึกษาปฏิกิริยาที่เร่งด้วยเอนไซม์ เป็นต้น[52]

สาขาเคมีอุตสาหกรรม (Industrial Chemistry Division)

เป็นหนึ่งในสาขาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะงานวิจัยทางด้านแหล่งพลังงานทางเลือก งานวิจัยเกี่ยวกับยางธรรมชาติ สิ่งทอและสีย้อม พอลิเมอร์ที่ย่อยสลายได้โดยทางชีวภาพ และงานวิจัยทางด้านวัสดุศาสตร์และอัญมณี[53]

สาขาเคมีเชิงฟิสิกส์ (Physical Chemistry Division)

เป็นสาขาที่ว่าด้วยการอาศัยหลักการพื้นฐานทางฟิสิกส์มาอธิบายปรากฏการณ์ทางเคมี งานวิจัยสาขาเคมีเชิงฟิสิกส์ของภาควิชาเคมีจะเน้นหนักไปทางการศึกษากลไลของปฏิกิริยาเคมีโดยใช้การคำนวณทางเคมีควอนตัม นอกจากนี้แล้วยังมีการสังเคราะห์ตัวเลขปฏิกิริยาประเภทต่าง ๆ และศึกษาแอคทิวิตี้ของตัวเลขปฏิกิริยานั้น ๆ รวมการทั้งสังเคราะห์วัสดุนาโน เช่น คาร์บอนนาโนทิวบ์ (carbon nanotube) และการปรับแต่งโครงสร้างระดับนาโนของคาร์บอนนาโนทิวบ์ นอกจากนี้ยังมีการวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างของยาเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยใช้เคมีคำนวณ[54]

หน่วยวิจัย[แก้]

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

นอกจากห้องปฏิบัติการที่มีอยู่ในสาขาวิชาต่าง ๆ ของภาควิชาเคมีแล้ว ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยังเป็นที่ตั้งของศูนย์ความเป็นเลิศ ซึ่งประกอบไปด้วย

ศูนย์ความเป็นเลิศ (Centers of Excellence, COE)
  • ศูนย์นาโนเทคโนโลยี (The Center of Nanotechnology)

ศูนย์นาโนเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2548 เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ศูนย์แห่งนี้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศูนย์ความเป็นเลิศนาโนเทคโนโลยีในด้านของการออกแบบและการจำลองวัสดุนาโน โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. ประเทศไทย[55]

  • ศูนย์นวัตกรรมทางเคมี (PERCH-CIC)
  • ศูนย์ความเป็นทางวิชาการด้านปาล์มน้ำมัน Center of Excellence-Oil Palm

และทางภาควิชาเคมียังประกอบไปด้วยห้องปฏิบัติการวิจัยเฉพาะด้าน ซึ่งประกอบไปด้วย

ห้องปฏิบัติการวิจัยเฉพาะด้าน (Special Research Units, SRU)
  • ห้องปฏิบัติการเคมีคำนวณและเคมีประยุกต์ (Laboratory for Computational and Applied Chemistry, LCAC) - ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2528 โดยกลุ่มคณาจารย์และนักวิจัยในสาขาเคมีเชิงฟิสิกส์ (Physical Chemistry) มีภารกิจในการศึกษาวิจัยกลไลของปฏิกิริยาเคมีโดยใช้การคำนวณทางเคมีควอนตัม การสังเคราะห์ตัวเลขปฏิกิริยาประเภทต่าง ๆ และศึกษาแอคทิวิตี้ของตัวเลขปฏิกิริยา สังเคราะห์วัสดุนาโนและปรับแต่งโครงสร้างระดับนาโนของคาร์บอนนาโนทิวบ์ สาขางานวิจัย ได้แก่[56][57]
    • Development and Application of Theoretical and Computational Methodologies
    • Catalysts and Supports
    • Carbon Nanostructures
    • Molecular Design of Bioactive Compounds
    • Ligand-Oriented Catalyst Design
  • ห้องปฏิบัติการวิจัยการพัฒนาวิธีวิเคราะห์สารปริมาณน้อย (Analytical Method Development in Trace Analysis) - ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2549 มีภารกิจในการวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีการและเซ็นเซอร์ในการวิเคราะห์สารในปริมาณน้อยที่มีอยู่ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สาขางานวิจัย ได้แก่[58]
    • Chemical food and safety
    • Chlorination and monitoring of some pesticides in raw water
    • Photocatalysis of some pesticides
    • Sensors for analytes of agricultural and environmental interest
  • ห้องปฏิบัติการเคมีสารสนเทศ (Cheminformatics Research Unit, CRU) - ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2548 มีภารกิจในการกำหนดทิศทางใหม่สำหรับการวิจัยทางเคมีด้วยวิธีการที่ปรับปรุงมาจากวิทยาการสารสนเทศ สาขางานวิจัย ได้แก่[59]
    • Molecular modeling
    • Molecular docking
    • Virtual screening
    • Drug design
    • Thai Herbal Repository Access Initiative
  • ห้องปฏิบัติการผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและเคมีอินทรีย์สังเคราะห์ (Natural Products and Organic Synthesis, NPOS) - ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2532 มีภารกิจเพื่อส่งเสริมการวิจัยการสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและการสังเคราะห์สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ รวมถึงฮอร์โมนสเตียรอยด์ การศึกษาปฏิกิริยาและการสังเคราะห์โดยใช้โลหะทรานซิชัน และยังทำการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาในปัจจุบันและโรคไข้หวัดนก สาขางานวิจัย ได้แก่[60]
    • Natural Products
    • Synthesis of bioactive compounds
    • Total synthesis of active steroids
    • Study on reactions and synthesis of bioactive compounds using transition metals
    • Structure-Activity Relationships (SARs) and Quality Control (QC) of plants
  • ห้องปฏิบัติการเคมีคำนวณทางยา (Innovative Research on Drug Discovery and Molecular Design) - มีภารกิจในการวิจัยการค้นพบยาและการออกแบบโครงสร้างยา สาขางานวิจัย ได้แก่[61]
    • Drug Discovery, Computer-aided Drug Design, Protein modeling
    • Cheminformatics, Bioinformatics, ADMET, Polymer modeling

ผลงานวิจัย[แก้]

International Journal Publications (Year 2010-2019)
(Last Updated : 2019)
Dept./Sch. Year 2010 Year 2011 Year 2012 Year 2013 Year 2014 Year 2015 Year 2016 Year 2017 Year 2018 Year 2019
Chemistry 85 87 75 85 81 69 68 65 53 60
ข้อมูลจากสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[62]
ประเภท จำนวน
จำนวนทรัพย์สินทางปัญญา
จากภาควิชาเคมี มก.
ลิขสิทธิ์ 4
สิทธิบัตร 2
อนุสิทธิบัตร 7
รวม 13
ข้อมูลจาก สวพ.มก.[63]

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความสำคัญกับการแสวงหาและพัฒนาแนวคิดใหม่เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงในระดับแนวหน้าทางด้านเคมี รวมทั้งมุ่งเน้นอย่างจริงจังในการจัดการกับปัญหาที่ต้องเผชิญกับทั้งสังคมไทยและสังคมโลก โดยได้พยายามทำการวิจัยในประเด็นยุทธศาสตร์และปัญหาระดับโลกและเล็งเป้าหมายหัวข้อวิจัยที่มีความสำคัญในอนาคต ทำให้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยจำนวนบทความกว่า 1,706 เรื่อง แบ่งเป็นตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่มีคุณภาพระดับนานาชาติ (International Journal Publications) และระดับชาติ (National Journal Publications) จำนวนกว่า 1,004 เรื่อง แบ่งเป็นบทความที่นำเสนอในการประชุมวิชาการ (Conference) อีกจำนวน 702 เรื่อง ในประเด็นที่สำคัญดังกล่าว (ข้อมูลสถิติถึงปี 2562 จากสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) และได้รับรางวัลการวิจัยทั้งในระดับนานาชาติและระดับชาติหลายรายการ นอกจากนี้ยังมีทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) จำนวน 13 รายการ แบ่งเป็นประเภทลิขสิทธิ์ (Copyright) จำนวน 4 รายการ (ข้อมูลปี พ.ศ. 2555, 2552, 2551, 2549) สิทธิบัตร (Patent) จำนวน 2 รายการ (ข้อมูลปี พ.ศ. 2554, 2549) และอนุสิทธิบัตร (Petty Patent) อีกจำนวน 7 รายการ (ข้อมูลปี พ.ศ. 2558, 2554, 2551, 2550, 2548) ทั้งหมดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความพยายามในการจัดการกับความท้าทายที่สังคมมนุษย์ต้องเผชิญ

นอกจากนี้แล้ว ภาควิชาเคมียังส่งเสริมการสร้างและพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับความร่วมมือด้านการวิจัยระดับโลก โดยการส่งนิสิตเข้าทำวิจัยระยะสั้นยังมหาวิทยาลัยต่างประเทศ รวมทั้งเปิดหลักสูตรเคมี (นานาชาติ) ด้วย

ความร่วมมือและหลักสูตรนานาชาติ[แก้]

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีหลักสูตรนานาชาติ (International programs) ในระดับปริญญาตรีจำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาเคมีบูรณาการ (Integrated Chemistry) เก็บถาวร 2020-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ซึ่งเป็นหลักสูตรที่บูรณาการจากสาขาวิชาที่มีความเชี่ยวชาญ เน้นการเรียนการสอนในระดับนานาชาติ และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการฝึกงานและทำวิจัยในต่างประเทศ โดยแบ่งออกเป็น 3 สายวิชา ได้แก่ สายวิชาเคมีเชิงชีววิทยา (Biological chemistry)[64] สายวิชาเคมีวัสดุ (Material chemistry)[65] และสายวิชาเคมีอุตสาหกรรม (Industrial chemistry)[66] นอกเหนือจากหลักสูตรการศึกษาดังกล่าวแล้ว นิสิตของภาควิชาเคมีในหลักสูตรต่าง ๆ ทั้งระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาสามารถทำวิจัยระยะสั้นหรือเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ณ มหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ตามที่ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ หรือมหาวิทยาลัยได้ทำความตกลงร่วมมือวิจัยและแลกเปลี่ยนนักเรียนไว้

โดยมหาวิทยาลัยหรือสถาบันในต่างประเทศที่ภาควิชาเคมีส่งนิสิตเข้าทำวิจัยระยะสั้น อาทิ Yale University (USA), University of California (USA), University of Florida (USA), University of Houston (USA), Oregon State University (USA), University of Bristol (UK), University of Bath (UK), University of Southampton (UK), Durham University (UK), University of Vienna (Austria), University Innsbruck (Austria), Kyoto University (Japan), Waseda University (Japan), Sokendai University (Japan), Zhejiang University of Technology (China), Tunghai University (Republic of China-Taiwan), Tatung University (Republic of China-Taiwan), Chimie ParisTech, PSL University (France), University of Bordeaux (France), University of Copenhagen (Denmark), Stockholm University, (Sweden) เป็นต้น[67][68][69][70]

บริการทางวิชาการ[แก้]

ภาควิชาเคมีนอกจากจะให้บริการทางการสอนแก่นิสิตของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แล้ว ยังให้บริการทางการสอนในรายวิชาเคมีแก่สถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวนทั้งสิ้น 2 สถาบัน ด้วย อันได้แก่

นอกจากนี้ ภาควิชาเคมียังให้บริการวิเคราะห์และทดสอบทางเคมีด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ขั้นสูง อาทิ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (FE-TEM) และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (FE-SEM) เป็นต้นด้วย[73]

อาคารและสถานที่ปฏิบัติการ[แก้]

อาคารกฤษณา ชุติมา, ตึกปฏิบัติการ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อาคารกฤษณา ชุติมา (ตึกเคมี) | Chemistry Building : สร้างในปี พ.ศ. 2518 หลังจากที่คณะฯ ย้ายมาอยู่บริเวณพื้นที่ใหม่ทางฝั่งตะวันตกของประตูงามวงศ์วาน 1 ออกแบบและวางโครงสร้างอาคารโดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. กฤษณา ชุติมา (หัวหน้าแผนกวิชาเคมีในขณะนั้น) ลักษณะเป็นอาคารเรียนและปฏิบัติการ ความสูง 6 ชั้น มีดาดฟ้า พื้นที่ประมาณ 8,851 ตารางเมตร[74] ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของถนนสุวรรณวาจกสิกิจ[75]

ห้องสมุดภาควิชาเคมี[แก้]

ห้องสมุดภาควิชาเคมี (อังกฤษ: Library, Department of Chemistry, Faculty of Science; ชื่อย่อ: ภ.เคมี, Chem Dept)[76] เป็นห้องสมุดเฉพาะด้านในระดับภาควิชา ตำราส่วนใหญ่เป็นตำราวิชาการด้านเคมี ห้องสมุดภาควิชาเคมีเริ่มก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2512[77] โดยในช่วงแรกนั้นนิสิตเป็นผู้ดูแลกันเองก่อนที่จะพัฒนาจนกระทั่งมีเจ้าหน้าที่ประจำห้องสมุดมาดูแลอย่างเป็นทางการ ในส่วนของสถานที่ตั้งเดิมนั้นอยู่ที่ ชั้น 6 ห้อง 602 ภาควิชาเคมี อาคารกฤษณา ชุติมา และต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการย้ายที่ตั้งมายังชั้น 1 ห้อง 101-105 ของอาคารกฤษณา ชุติมา ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งในปัจจุบัน และภายในปีเดียวกันห้องสมุดภาควิชาเคมีได้ทำการปรับปรุงระบบการจัดหมู่ตำราและระบบการสืบค้นโดยใช้ระบบเดียวกันกับสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อันดับและมาตรฐาน[แก้]

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการประเมินและจัดอันดับจากองค์กรทั้งภายในและภายนอกประเทศ ดังนี้

ผลการจัดอันดับโดย QS World University Rankings by Subject
QS World University Rankings by Subject
กลุ่ม Natural Sciences
QS Chemistry 401-450 (2022)
451-500 (2021)
401-450 (2020)
401-450 (2019)
451-500 (2018)
451-500 (2017)
Survey Indices (QS)
Score
ปี Citations per paper H-index citations Academic reputation Employer reputation
(2020) 72.5 เพิ่มขึ้น 63.8 เพิ่มขึ้น 52.1 เพิ่มขึ้น 54.7 ลดลง
(2019) 65.0 เพิ่มขึ้น 49.8 เพิ่มขึ้น 50.0 เพิ่มขึ้น 55.7 ลดลง
(2018) 60.2 เพิ่มขึ้น 46.4 เพิ่มขึ้น 47.9 ลดลง 60.9 เพิ่มขึ้น
(2017) 59.6 เพิ่มขึ้น 44.1 เพิ่มขึ้น 49.8 เพิ่มขึ้น 57.3 เพิ่มขึ้น
Nature Index
Global
Chemical Sciences[78] 1129 (2017)
U.S. News & World Report
Global
USNWR Chemistry 879 (2022)
747 (2020)
Global
Chemistry indicator rankings
– Chemistry percentage of total publications that are among the 10 percent most cited 770
– Chemistry international collaboration 222
– Chemistry percentage of total publications with international collaboration 315
– Chemistry global research reputation 591
Regional
Chemistry indicator rankings
– Chemistry regional research reputation 61

ในการจัดอันดับแยกตามสาขา QS world university ranking by subject[79][80][81] พบว่าสาขาเคมี (Chemistry) ซึ่งเป็นสาขาของภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการจัดอันดับให้ติดอันดับโลกในกลุ่ม Natural Sciences (สาขา Chemistry) อันดับที่ 451-500 ในปี 2017,[82] อันดับที่ 451-500 ในปี 2018,[83] อันดับที่ 401-450 ในปี 2019,[84] อันดับที่ 401-450 ในปี 2020,[85] อันดับที่ 451-500 ในปี 2021,[86] และอันดับที่ 401-450 ในปี 2022[87]

ผลการจัดอันดับโดย Nature Index (Global)

ในปี 2017 สาขา Chemical Sciences ซึ่งเป็นสาขาของภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการจัดอันดับให้ติดอันดับโลก ในอันดับที่ 1129[88][89]

ผลการจัดอันดับโดย U.S. News & World Report

Best Global Universities for Chemistry

นิตยสาร U.S. News & World Report ได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีความเป็นเลิศระดับโลกในสาขาวิชาเคมี หรือ Best Global Universities for Chemistry ซึ่งพบว่าสาขาเคมีซึ่งเป็นสาขาของภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการจัดอันดับให้ติดอันดับโลก อันดับที่ 879 ในปี 2022[90] และอันดับที่ 747 ในปี 2020[91] ซึ่งเป็น 1 ใน 5 และ 1 ใน 3 ของสถาบันในประเทศไทย (Best Global Universities for Chemistry in Thailand) ที่ติดอันดับโลกด้านความเป็นเลิศทางวิชาการเคมีในปี 2022 และ 2020 ตามลำดับ[92]

โดยในปี 2020 มี 3 ตัวชี้วัด (Chemistry indicator rankings) ที่เป็นอันดับ 1 ของไทย[93] ได้แก่ ด้าน Chemistry percentage of total publications that are among the 10 percent most cited (อันดับโลก 770), ด้าน Chemistry international collaboration (อันดับโลก 222), และด้าน Chemistry percentage of total publications with international collaboration (อันดับโลก 315) นอกจากนี้ในด้านชื่อเสียงการวิจัยทางด้านเคมีในระดับภูมิภาค (Chemistry regional research reputation) ยังติดอันดับที่ 61 ด้วย[94]

ผลการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการโดย สกว.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. ได้ทำการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยแยกตามสาขาวิชาต่าง ๆ ซึ่งในการประเมินครั้งที่ 2 พ.ศ. 2553 ในกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ พบว่า ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการประเมินอยู่ในระดับ 4 (ดี) ในสาขาเคมี (Chemistry)[95]

ต่อมาในการประเมินครั้งที่ 3 พ.ศ. 2554 ในกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ พบว่า ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการประเมินอยู่ในระดับ 4 (ดี) เช่นเดียวกับในปีก่อนหน้า[96]

กิจกรรมภาควิชา[แก้]

กิจกรรมนิสิตของภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการบริหารจัดการโดยชมรมนิสิตภาควิชาเคมี กิจกรรมภายในภาควิชาเคมีสามารถแบ่งกิจกรรมออกได้หลายลักษณะ ได้แก่ กิจกรรมเชิงสันทนาการ เป็นกิจกรรมมุ่งสร้างความบันเทิงและความสามัคคีกลมเกลียวให้เกิดแก่นิสิต อาทิ กิจกรรมรักแรกจากเคมีเพื่อต้อนรับน้องใหม่ชั้นปีที่ 1 เข้าสู่ภาควิชาเคมี งานคืนสู่เหย้าของนิสิตเก่าภาควิชาเคมี รวมไปถึงกิจกรรมบายเนียร์ของนิสิตชั้นปีสุดท้าย กิจกรรมกีฬาประกอบไปด้วยการแข่งขันกีฬาสีภายในของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาภาควิชาเคมี ในด้านวิชาการและวิชาชีพ มีกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ทางเคมีได้แก่การแข่งขันตอบปัญหาเคมี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ CHEMTEST การจัดบรรยายสายงานในวิชาชีพแก่นิสิต นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมด้านการสืบสานประเพณีและวัฒนธรรม ได้แก่ การจัดพิธีไหว้ครูช่วงต้นปีการศึกษา ตลอดจนวันสำคัญของคณะ คือวันคล้ายวันครบรอบการสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่จัดร่วมกับหน่วยงานภายในคณะวิทยาศาสตร์ ได้แก่ กิจกรรมวันแรกพบคณะวิทยาศาสตร์ กิจกรรมสอนน้องร้องเพลง ความร่วมมือของส่วนงานระหว่างคณะ ได้แก่ การแข่งขันกีฬาบุคลากร ส่วนหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย ได้แก่ กีฬาเคมีสัมพันธ์ หรือ บอนดิ้งเกมส์ (Bonding Games) เป็นต้น

CHEMTEST

เป็นการแข่งขันตอบปัญหาเคมี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เริ่มจัดการแข่งขันขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2521 ใช้ชื่อการแข่งขันเป็นภาษาอังกฤษว่า ChemTest โดยมีคณะกรรมการนิสิตภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้ริเริ่มและดำเนินการจัดการแข่งขัน ทั้งนี้ ได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัติยราชนารี พระราชทานโล่เกียรติยศแก่ทีมที่ชนะเลิศด้วย[97] รวมทั้งยังได้รับการสนับสนุนทั้งจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ หัวหน้าภาควิชาเคมี คณาจารย์ภาควิชาเคมี ตลอดจนหน่วยงานภายนอก ซึ่งการแข่งขันดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เห็นได้จากการที่นักเรียนทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตลอดจนในภูมิภาคต่าง ๆ สมัครเข้าร่วมการแข่งขันเป็นจำนวนมาก ปัจจุบัน การแข่งขันตอบปัญหาเคมีฯ ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 40 ซึ่งมีกำหนดจะจัดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562[98]

รูปแบบการแข่งขันเป็นการแข่งขันประเภททีม ไม่เกิน 2 คน ซึ่งแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 รอบ ได้แก่ รอบที่1 (ภาคเช้า) และรอบที่2 (ภาคบ่าย) โดยจะประกาศผลการแข่งขันในรอบที่ 1 ให้ผู้เข้าแข่งขันทราบในช่วงพักกลางวัน และรายงานตัวผู้เข้าแข่งขันในรอบที่ 2 ในช่วงบ่าย และในช่วงเย็นจะทำการประกาศผลการแข่งขันตอบปัญหาเคมีฯ พร้อมมอบโล่รางวัล ทุนการศึกษา และทำพิธีปิดการแข่งขัน

กติกาการรับสมัคร

ผู้สมัครเข้ารับการแข่งขันจะต้องมีคุณสมบัติโดยทั่วไป ได้แก่

  • เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • แข่งขันประเภททีม ทีมละ 2 คน
  • โรงเรียนสามารถส่งนักเรียนเข้าแข่งขันได้ไม่เกินโรงเรียนละ 2 ทีม

รางวัล

  • รางวัลชนะเลิศ จะได้รับโล่พระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัติยราชนารี และเกียรติบัตรพร้อมทุนการศึกษา
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จะได้รับเกียรติบัตรพร้อมทุนการศึกษา
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จะได้รับเกียรติบัตรพร้อมทุนการศึกษา
  • รางวัลชมเชยจะได้รับเกียรติบัตรพร้อมทุนการศึกษา
  • ผู้เข้าร่วมการแข่งขันตอบปัญหาจะได้รับเกียรติบัตรสำหรับผู้เข้าร่วม

บทบาทและการส่งเสริมพัฒนางานด้านเคมี[แก้]

ประชุมวิชาการ[แก้]

การประชุมวิชาการนานาชาติ I-KUSTARS

การประชุมวิชาการนานาชาติ I-KUSTARS มีชื่อเต็มว่า International Kasetsart University Science and Technology Annual Research Symposium (I-KUSTARS) เป็นการประชุมวิชาการประจำปีของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่นำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทยกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ ซึ่งการนำเสนอมีทั้งรูปแบบโปสเตอร์และรูปแบบบรรยาย[99][100]

การประชุมวิชาการระดับบัณฑิตศึกษา ChPGS

การประชุมวิชาการระดับบัณฑิตศึกษาภาควิชาเคมี หรือ The Chemistry Postgraduate Symposium (ChPGS) จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2555 เพื่อนำเสนอผลงานทางวิชาการของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยแบ่งการนำเสนอออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ การนำเสนอภาคโปสเตอร์ (Poster presentation) และการนำเสนอภาคบรรยาย (Oral presentation)[101]

การประชุมวิชาการ Pure and Applied Chemistry International Conference (PACCON)


งานประชุมวิชาการ Pure and Applied Chemistry International Conference (PACCON) เป็นงานประชุมฯ ของนักวิทยาศาสตร์สาขาเคมีแขนงต่าง ๆ ชั้นนำจากทั่วทุกมุมโลก ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยความร่วมมือระหว่างสมาคมเคมีแห่งประเทศไทยฯ กับภาควิชาเคมีในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จัดขึ้นเพื่อให้เล็งเห็นถึงความสำคัญของงานวิจัยทางด้านเคมีและเคมีประยุกต์ที่มีต่อมวลมนุษยชาติในด้านต่าง ๆ และในงานประชุมฯ แต่ละครั้งจะมีนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงได้รับเชิญให้มานำเสนอการบรรยายเต็มรูปแบบรวมทั้งปราศรัยภายในงาน เช่น นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล และนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก เป็นต้น

ทั้งนี้ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมวิชาการฯ ร่วมกับสมาคมเคมีแห่งประเทศไทยฯ ในการประชุมวิชาการนานาชาติ PACCON 2008 ระหว่างวันที่ 30 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551[102] ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 50 พรรษา ของศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี (พระราชอิสริยยศในขณะนั้น) ซึ่งในปีดังกล่าวจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Chemistry for Sufficiency and Sustainability” ณ โรงแรม โซฟิเทล เซ็นทารา แกรนด์ กรุงเทพฯ ประเทศไทย (Sofitel Centara Grand Bangkok, Thailand)[103]

โดยในงานประชุมฯ ดังกล่าวได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมฯ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ปาฐกถาพิเศษ (Keynote Lecture) ในหัวข้อ "Thai Bioresource: A Gold Mine for Bioactive Natural Products" และมีการเชิญนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำจากทั้งในประเทศและต่างประเทศมาร่วมนำเสนอและบรรยาย โดยแบ่งเป็น Plenary Lectures จำนวน 5 ท่าน และ Invited Lectures จำนวน 31 ท่าน จากทั้งหมด 13 ประเทศ[104][105]

นอกจากนี้ ในงานประชุมฯ ดังกล่าวยังมีการนำเสนอผลงานวิจัยเต็มรูปแบบ ทั้งแบบปากเปล่า (Oral Presentation)[106] และแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation)[107] ด้วย ซึ่งนำเสนอในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

  • Analytical Chemistry
  • Biological / Biophysical Chemistry and Chemical Biology
  • Bioinformatics and Cheminformatics
  • Chemical Education
  • Cosmetics
  • Environmental Chemistry
  • Food Safety
  • Industrial Chemistry and Innovation
  • Inorganic Chemistry
  • Material Science and Nanotechnology
  • Organic Chemistry and Medicinal Chemistry
  • Petroleum Chemistry and Catalysis
  • Physical and Theoretical Chemistry
  • Polymer Chemistry

รายชื่อนักวิทยาศาสตร์และหัวข้อปาถกฐา[108][109]

No. Country Keynote/Plenary Lecture Topic Date
     1.   ไทย Professor Dr. Her Royal Highness Princess Chulabhorn “Thai Bioresource: A Gold Mine for Bioactive Natural Products” January 30, 2008
     2.  ญี่ปุ่น Prof. Dr. Minoru Isobe
Nagoya University
Synthetic Studies on Ciguatoxin Causing Ciguatera Poisoning January 30, 2008
     3.   ออสเตรีย Prof. Dr. Peter Wolschann
University of Vienna
“Hydrogen Bonding - a Challenge for Theoretical Chemistry” January 30, 2008
     4.   เกาหลีใต้ Prof. Dr. Jun‐Il Jin
Korea University
“Material Science Based on Natural and Modified DNAs-Magnetic Properties” January 31, 2008
     5.   ไทย Prof. Dr. Apichart Suksamrarn
Ramkamhang University
“Microbial Transformations in Regioselective and Stereoselective Synthesis of Some Natural Products and Analogues” January 31, 2008
     6.   สหรัฐ Prof. Dr. David W.M. Marr
Colorado School of Mines
“Field-Based Colloidal Manipulation for Microtechnology” February 1, 2008
เสวนาพิเศษโดยนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล

ในปี พ.ศ. 2561 ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดงานเสวนา Chem-KU Colloquium 2018 และได้เชิญ Professor Robert H. Grubbs นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเคมี ปี 2005 มาเป็นผู้เสวนาหลัก ณ ห้อง 341 อาคารวิทยาศาสตร์กายภาพ 45 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร[110][111]

รายชื่อนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลและหัวข้อเสวนา

No. Image Keynote speaker Topic Date
     1.  Professor Robert H. Grubbs
A co-recipient of the Nobel Prize in Chemistry (2005)
Translation From Lab to Startup Company Dialogue with Nobel Laureate September 14, 2018

โอลิมปิกวิชาการ[แก้]

โอลิมปิกวิชาการเคมี

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์ สอวน. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นศูนย์ระดับภูมิภาค[112][113] ภาควิชาเคมีมีหน้าที่รับผิดชอบในการรับสมัครและสอบคัดเลือกนักเรียนในเขตพื้นที่เพื่อเข้าค่ายอบรมในสาขาวิชาเคมีตลอดจนคัดเลือกตัวแทนศูนย์สอวน. มก. สาขาเคมี เพื่อเข้าแข่งขันเคมีโอลิมปิกระดับชาติเพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยในการแข่งขันเคมีโอลิมปิกระดับนานาชาติต่อไป[114][115][116]

ทั้งนี้ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเคมีโอลิมปิกทั้งในระดับนานาชาติและระดับชาติถึง 2 ครั้ง ซึ่งในปี พ.ศ. 2542 ได้รับหน้าที่ให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเคมีโอลิมปิกระดับนานาชาติ ครั้งที่ 31 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทยในการทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเคมีโอลิมปิกในระดับนานาชาติ โดยการแข่งขันครั้งดังกล่าวถูกจัดขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย[117][118][119][120] และในปี พ.ศ. 2558 ได้รับเกียรติอีกครั้งให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเคมีโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 11 ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย[121][122]

สถิติการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเคมีโอลิมปิกวิชาการ
สถิติการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเคมีโอลิมปิกระดับนานาชาติ (International Chemistry Olympiad : IChO)
ครั้งที่ ปี เมือง ประเทศ วันที่ เว็บไซต์ จำนวน หน่วยงานเจ้าภาพ ข้อสอบตัวอย่าง หมายเหตุ
31st IChO 2542 กรุงเทพมหานคร  ไทย 18–21 กรกฎาคม [123]
52
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง
สสวท. และมูลนิธิสอวน.
*เจ้าภาพสาขาเคมีระดับนานาชาติ
ครั้งแรกของไทย
สถิติการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเคมีโอลิมปิกระดับชาติ (Thailand Chemistry Olympiad : TChO)
11th TChO 2558 กรุงเทพมหานคร  ไทย 1-5 มิถุนายน [124][125]
102
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สสวท. และมูลนิธิสอวน.

เจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์[แก้]

เหรียญกษาปณ์ สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณฯ ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[a]

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ประสูติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ทรงสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนกวิทยาศาสตร์ ทรงร่วมสอบคัดเลือกเช่นเดียวกับนักเรียนอื่น ๆ และทรงผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปีการศึกษา 2518[126][127] โดยทรงเลือกสาขาวิชาเคมีเป็นวิชาเอก เนื่องจากทรงตั้งปณิธานว่าจะทรงนำความรู้มาใช้ในงานทดลองของโครงการต่าง ๆ ที่ดำเนินการตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งนับเป็น "สมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์ที่สอง" ที่ทรงศึกษาในมหาวิทยาลัยในประเทศไทย[128]

ทั้งนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ได้มอบหมายให้ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.กฤษณา ชุติมา เป็นพระอาจารย์ที่ปรึกษาตลอดระยะเวลาที่ทรงศึกษา ระหว่างที่ทรงศึกษาได้ทรงแสดงพระปรีชาสามารถทั้งในการศึกษาและการวิจัย และในระหว่างปิดภาคเรียนชั้นปีที่ 3 ทรงปฏิบัติการฝึกงานตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย โดยเสด็จไปฝึกงาน ณ กรมวิทยาศาสตร์ กระทรวงอุตสาหกรรม และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์แห่งประเทศไทย และทรงสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2522 และมีผลการเรียนดีเด่น ทรงได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เคมี) เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง ในฐานะที่ทรงสอบได้คะแนนยอดเยี่ยมตลอดหลักสูตร และทรงเข้ารับพระราชทานปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2522[129] รวมทั้งทรงได้รับรางวัลจากมูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.แถบ นีละนิธิ สำหรับคะแนนยอดเยี่ยมในสาขาวิชาชีววิทยาและสาขาเคมีด้วย[130]

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.กฤษณา ชุติมา พระอาจารย์ที่ปรึกษาและอดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เขียนไว้ตอนหนึ่งในหนังสือที่ระลึกพิธีเปิดอาคารสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่า[131][132]

...สิ่งที่ควรกล่าวถึงอีกอย่างหนึ่ง คือ ความสามารถของด้านปฏิบัติการ เคมีเป็นวิทยาศาสตร์ทดลอง ดังนั้น ตลอดเวลา 3 ปี หลังจากที่ทรงเรียนเคมีโดยเฉพาะนี้ ทูลกระหม่อมต้องทรงใช้เวลามากในห้องปฏิบัติการ การทำงานทดลองของพระองค์เป็นไปอย่างมีระบบ กล่าวคือ ก่อนทำการทดลองได้พยายามเข้าพระทัยถึงวัตถุประสงค์ของการทดลอง วิธีการและขั้นตอนที่ควรปฏิบัติ ดังนั้น เมื่อลงมือทำงานก็ทรงดำเนินการไปตามที่กำหนดไว้เป็นลำดับขั้นตอน ผลจึงปรากฏว่ามักจะทรงทำเสร็จรวดเร็ว ถูกต้องตามจุดมุ่งหมายและได้ผลดี ทั้งยังทรงสังเกตและทรงใช้ไหวพริบตัดสินพระทัยปฏิบัติ ทรงมีลักษณะคุณสมบัติที่จะเป็นนักวิจัยที่ดีต่อไป...

— ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.กฤษณา ชุติมา

นอกจากนี้ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินทรงบรรยายพิเศษ หัวข้อเรื่อง “ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อความเป็นพิษของสารเคมี” แก่นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันศุกร์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2553[133] ณ ห้องบรรยาย ชั้น 6 อาคารกฤษณา ชุติมา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นถิ่นศึกษาเดิม และพระราชทานพระมหากรุณาต่อการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของคณะวิทยาศาสตร์ตลอดมา

เกียรติประวัติ[แก้]

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประสบความสำเร็จทางด้านวิชาการและงานวิจัยทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ ตลอดจนมีศิษย์เก่าดำรงตำแหน่งระดับสูงทั้งภาครัฐและเอกชน

การสอนและวิจัย[แก้]

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มีคณาจารย์ที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ โดยได้รับรางวัลดีเด่นในด้านการสอนและการวิจัยทั้งในระดับชาติและนานาชาติ อาทิ รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น จำนวน 1 ท่าน (ประจำปี พ.ศ. 2546 สาขาเคมี) ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร. จำรัส ลิ้มตระกูล[134] รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ จำนวน 1 ท่าน (ประจำปี พ.ศ. 2540 สาขาเคมี) ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร. สุภา หารหนองบัว[135] รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 1 ท่าน (พ.ศ. 2541 สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช) ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร. จำรัส ลิ้มตระกูล[136] รางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่น สกว.-สกอ. จำนวน 1 ท่าน (ประจำประจำปี พ.ศ. 2547 สาขาเคมี) ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิบูลย์ พันธุ รางวัลเมธีวิจัยอาวุโส สกว. จำนวน 2 ท่าน (ประจำปี พ.ศ. 2545 และประจำปี พ.ศ. 2548 สาขาเคมี, ประจำปี พ.ศ. 2550 และประจำปี พ.ศ. 2553 สาขาเคมีคอมพิวเตอร์) ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร. จำรัส ลิ้มตระกูล และศาสตราจารย์ ดร. สุภา หารหนองบัว ตามลำดับ รางวัลบุคคลดีเด่นของชาติ 1 ท่าน (ประจำปี พ.ศ. 2553 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร. จำรัส ลิ้มตระกูล[137][138] ศาสตรเมธาจารย์คนแรกของประเทศไทย จำนวน 1 ท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.จำรัส ลิ้มตระกูล[139][140][141] รางวัลอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ จากที่ประชุมประธานสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) จำนวน 1 ท่าน (ประจำปี พ.ศ. 2554 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร. จำรัส ลิ้มตระกูล รางวัลนักวิจัยด้านสมุนไพรดีเด่น (ประจำปี พ.ศ. 2549) จำนวน 1 ท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.งามผ่อง คงคาทิพย์ รางวัล TWAS Prize for Young Scientists in Thailand จำนวน 1 ท่าน (ประจำปี พ.ศ. 2545 สาขาเคมี) ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร. สุภา หารหนองบัว[142] ศาสตราจารย์เกียรติคุณ (สาขาเคมี) จำนวน 4 ท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.กฤษณา ชุติมา, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.บุญส่ง คงคาทิพย์, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.งามผ่อง คงคาทิพย์, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ภควดี สุทธิไวยกิจ เป็นต้น

การบริหารและคณะกรรมการสากล[แก้]

ในด้านการบริหารมีคณาจารย์จากภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับเกียรติให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาคณบดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (สควทท.) จำนวน 2 ท่าน ช่วงปี พ.ศ. 2558-2560 ระยะเวลา 1 วาระ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร. สุภา หารหนองบัว [143] และช่วงปี พ.ศ. 2564-ปัจจุบัน ระยะเวลา 1 วาระ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.อภิสิฏฐ์ ศงศะเสน ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมเคมีแห่งประเทศไทยฯ จำนวน 2 ท่าน ได้แก่ อาจารย์ ดร.สุรพล ภัทราคร ช่วงปี พ.ศ. 2542-2543 และศาสตราจารย์ ดร. สุภา หารหนองบัว ช่วงปี พ.ศ. 2560-2562[144] คณาจารย์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการใน Division และ Committee ขององค์การสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ (International Union of Pure and Applied Chemistry, IUPAC) ในช่วงปี ค.ศ. 2020-2021 จำนวน 2 ท่าน ใน 2 สาขา คือ ตำแหน่ง IUPAC Standing Committee of the Committee on Publications and Cheminformatics Data standards (CPCDS) 1 ท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร. สุภา หารหนองบัว และตำแหน่ง IUPAC National Representative of the Division (VIII) Chemical Nomenclature and Structure Representation 1 ท่าน ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร. ลัดดา มีศุข[145][146] และช่วงปี ค.ศ. 2018-2019 จำนวน 1 ท่าน ใน 2 สาขา ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร. ลัดดา มีศุข ในตำแหน่ง IUPAC Associate Member of the Division II: Inorganic Chemistry และตำแหน่ง IUPAC National Representative of the Division (VIII) Chemical Nomenclature and Structure Representation[147][148] และมีคณาจารย์ได้ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 1 ท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. กฤษณา ชุติมา, ได้ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 1 ท่าน ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุขประชา วาจานนท์ นอกจากนี้ ยังมีคณาจารย์จากภาควิชาเคมีได้รับเกียรติให้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 6 ท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. กฤษณา ชุติมา (คณบดีฯ ท่านที่ 2), ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุขประชา วาจานนท์ (คณบดีฯ ท่านที่ 3), รองศาสตราจารย์ ดร.วินิจ เจียมสกุล (คณบดีฯ ท่านที่ 5), อาจารย์ ดร.สุรพล ภัทราคร (คณบดีฯ ท่านที่ 6), ศาสตราจารย์ ดร. สุภา หารหนองบัว (คณบดีฯ ท่านที่ 7), และรองศาสตราจารย์ ดร.อภิสิฏฐ์ ศงศะเสน คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คนปัจจุบัน

คณาจารย์และนิสิตเก่า[แก้]

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีคณาจารย์และนิสิตเก่าที่ประสบความสำเร็จและกลายเป็นที่รู้จัก อาทิ

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกในโอกาสที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ ทรงสำเร็จการศึกษา ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 ด้านหน้า กลางเหรียญเป็นพระฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ ทรงเครื่องแบบนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฉลองพระองค์ครุยปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ผินพระพักตร์เฉียงทางเบื้องขวา ภายในวงขอบด้านขวาของตัวเหรียญมีข้อความว่า “เจ้าฟ้าจุฬาภรณ” ภายในวงขอบด้านซ้ายมีข้อความว่า “ประเทศไทย” ด้านหลัง กลางเหรียญมีรูปเครื่องหมายมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายในวงขอบเบื้องบนมีข้อความว่า “เฉลิมพระเกียรติทรงสำเร็จการศึกษา ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๒๒” และภายในวงขอบเบื้องล่างมีข้อความบอกราคา และคั่นข้อความทั้งสองด้วยดอกประจำยาม โดยแบ่งเป็นเหรียญกษาปณ์เงินราคาสามร้อยบาท เหรียญกษาปณ์นิเกิลราคาสิบบาท และเหรียญกษาปณ์ทองขาวราคาสองบาท

อ้างอิง[แก้]

  1. พระราชกฤษฎีกา จัดแบ่งคณะในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พุทธศักราช ๒๕๐๙ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่2019-10-21
  2. สกว. การประเมินครั้งที่ 2 พ.ศ. 2553 เก็บถาวร 2020-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่2019-11-04
  3. สกว. การประเมินครั้งที่3 พ.ศ. 2554 เก็บถาวร 2020-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่2019-11-04
  4. Chulabhorn Research Institute. 1986: Einstein Gold Medal of UNESCO เก็บถาวร 2020-01-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เรียกดูวันที่2014-10-27
  5. กฤษณาชุติมา. (2531). ที่ระลึกในพิธีเปิดอาคารสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ 3 สิงหาคม 2531. ทูลกระหม่อมในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (น. 198 หน้า). กรุงเทพฯ: สมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
  6. กฤษณาชุติมา. (2536). สี่ปีในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารไทย, 13(51), 13-17.
  7. ศิลป์พิมลวัฒนา, วรุตม์ไฉไลพันธุ์, นันท์นภัสพลเศรษฐเลิศ, โยธินโชติจันทราภรณ์, สมศักดิ์จันทวิชชประภา, ปกรสิณศุภสินเจริญ, อรปวีณ์วงศ์วชิรา, สิทธิพงษ์ติยะวรากุล, เบญจรัตน์วงษ์วิลัยและเทียนทิพย์ฉัตรชัยดำรง. (2562). หนังสือเผยแพร่งานพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
  8. โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยนครศรีธรรมราชเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์-ประวัติการศึกษา เก็บถาวร 2020-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่2019-12-27
  9. เกษตรศาสตร์ปราดเปรื่อง. เกษตรศาสตร์ปราดเปรื่องรุ่นที่6 เรียกดูวันที่2020-01-14
  10. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร - นางผุสดี ตามไท เรียกดูวันที่ 2020-03-02
  11. สถาบันพระปกเกล้า. สตรีกับการเมือง ความเป็นจริง พื้นที่ทางการเมือง และการขับเคลื่อน เรียกดูวันที่ 2020-03-02
  12. หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ผู้ทำประโยชน์ฯ. ศาสตราจารย์จรัด สุนทรสิงห์ เก็บถาวร 2020-02-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ฐานข้อมูลบูรพาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. เรียกดูวันที่ 2020-03-03
  13. https://www.sci.ku.ac.th/news/aboutsci#profile เก็บถาวร 2018-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. "ประวัติคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์"
  14. หนังสือ ‘‘5 ทศวรรษคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” ยุคที่2 คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์(พ.ศ. 2509–พ.ศ. 2523) เรียกดูวันที่2020-02-24]
  15. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2509/A/022/228.PDF เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่๘๓ตอนที่๒๒หน้าที่๒๒๘พระราชกฤษฎีกาจัดแบ่งคณะในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พุทธศักราช๒๕๐๙
  16. https://www.sci.ku.ac.th/news/aboutsci#profile เก็บถาวร 2018-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. "ประวัติคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์"
  17. อรุณจันทนโอ. (2556). เกษตรกลาง-เกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คณะเกษตรภาควิชาโรคพืช.
  18. คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทำเนียบคณบดี เก็บถาวร 2019-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่2019-05-31
  19. หอประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ศาสตราจารย์ ดร. กฤษณา ชุติมา. บูรพาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ. เรียกดูวันที่2019-07-30
  20. หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ผู้ทำประโยชน์ฯ. ศาสตราจารย์ ดร. กฤษณา ชุติมา เก็บถาวร 2018-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ฐานข้อมูลบูรพาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. เรียกดูวันที่2019-07-30
  21. KU forest. Administrative Profile. รองศาสตราจารย์ ดร. อำนาจ ตันติวนิช. เรียกดูวันที่ 2020-03-03
  22. วิกิพีเดีย. สารานุกรมเสรี. ประวัติศาสตราจารย์อนันต์ กรุแก้ว-คู่สมรส เรียกดูวันที่ 2020-03-03
  23. วิกิพีเดีย. สารานุกรมเสรี. ประวัติพระยาผดุงวิทยาเสริม (กำจัด พลางกูร)-ครอบครัว เรียกดูวันที่ 2020-03-03
  24. หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ผู้ทำประโยชน์ฯ. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สันทัด โรจนสุนทร-คู่สมรส เก็บถาวร 2019-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ฐานข้อมูลบูรพาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. เรียกดูวันที่ 2020-03-03
  25. HI-CLASS Magazine Company Limited. คนโปรด : แบบพิมพ์ชีวิต ของ ดร.สิเวศ โรจนสุนทร. เรียกดูวันที่ 2020-03-03
  26. ไทยรัฐออนไลน์. บุคคลในข่าว. เรียกดูวันที่ 2020-03-03
  27. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุกานดา (อรรถจินดา) โรจนสุนทร[ลิงก์เสีย]. เรียกดูวันที่ 2020-03-03
  28. KU forest. Administrative Profile. อาจารย์ ดร. สุรพล ภัทราคร. เรียกดูวันที่2019-07-30
  29. KU forest. Administrative Profile. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นุจารี ประสิทธิ์พันธ์. เรียกดูวันที่ 2020-03-03
  30. KU forest. Administrative Profile. ศาสตราจารย์ ดร. สุภาหาร หนองบัว. เรียกดูวันที่ 2019-07-30
  31. KU forest. Administrative Profile. รองศาสตราจารย์ ดร. วราภรณ์ พาราสุข. เรียกดูวันที่ 2019-10-20
  32. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เคมี) เก็บถาวร 2020-06-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่2019-10-21
  33. ภาควิชาเคมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หลักสูตรการศึกษา เก็บถาวร 2020-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่2019-10-21
  34. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต(เคมีอุตสาหกรรม) เก็บถาวร 2020-06-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่2019-10-21
  35. ภาควิชาเคมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หลักสูตรการศึกษา เก็บถาวร 2020-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่2019-10-21
  36. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต(เคมีบูรณาการ) เรียกดูวันที่2019-10-21
  37. KUIC Integrated Chemistry หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเคมีบูรณาการหลักสูตรนานาชาติ เก็บถาวร 2020-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่2019-10-21
  38. ภาควิชาเคมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หลักสูตรการศึกษา เก็บถาวร 2020-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่2019-10-21
  39. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(เคมี) เรียกดูวันที่2019-10-21
  40. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(เคมี) เรียกดูวันที่2019-10-21
  41. สำนักบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. จำนวนนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำแนกตาม คณะ/สาขาวิชา ระดับการศึกษา ปีการศึกษา 2561. เรียกดูวันที่ 2020-03-03
  42. สำนักบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. จำนวนนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำแนกตาม คณะ/สาขาวิชา ระดับการศึกษา ปีการศึกษา 2560. เรียกดูวันที่ 2020-03-03
  43. สำนักบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. จำนวนนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำแนกตาม คณะ/สาขาวิชา ระดับการศึกษา ปีการศึกษา 2559. เรียกดูวันที่ 2020-03-03
  44. สำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ KU-TCAS. เรียกดูวันที่ 2020-03-15
  45. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ SciKU-TCAS. เรียกดูวันที่ 2020-03-16
  46. KUIC. Integrated Chemistry Program. Admissions เก็บถาวร 2020-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-03-22
  47. ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. การรับสมัครเข้าศึกษา เก็บถาวร 2020-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-03-15
  48. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระเบียบการการรับสมัครนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา. เรียกดูวันที่ 2020-03-16
  49. ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สาขาเคมีวิเคราะห์ เก็บถาวร 2020-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-02-28
  50. สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน). [2012-7-9%209_14%2019_research_Research%20Highlights.pdf การศึกษาโครงสร้างของตัวเร่งปฏิกิริยาโคบอลต์ที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แบบฟิชเชอร์-โทรปช์] เรียกดูวันที่ 2020-02-28
  51. ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สาขาเคมีอนินทรีย์ เก็บถาวร 2020-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-02-28
  52. ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สาขาเคมีอินทรีย์ เก็บถาวร 2020-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-02-28
  53. ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สาขาเคมีอุตสาหกรรม เก็บถาวร 2020-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-02-28
  54. ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สาขาเคมีเชิงฟิสิกส์ เก็บถาวร 2020-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-02-28
  55. Kasetsart University Research Development Institute. The Center of Nanotechnology, Kasetsart University. Department of Chemistry, Faculty of Science, Kasetsart University เรียกดูวันที่ 2020-06-20
  56. Department of Chemistry, Faculty of Science, Kasetsart University. Laboratory for Computational and Applied Chemistry (LCAC) เก็บถาวร 2020-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-02-28
  57. Physical Chemistry Division, Faculty of Science, Kasetsart University. Laboratory for Computational and Applied Chemistry, LCAC เก็บถาวร 2020-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-03-28
  58. Department of Chemistry, Faculty of Science, Kasetsart University. Analytical Method Development in Trace Analysis เก็บถาวร 2020-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-02-28
  59. Department of Chemistry, Faculty of Science, Kasetsart University. Cheminformatics เก็บถาวร 2020-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-02-28
  60. Department of Chemistry, Faculty of Science, Kasetsart University. Natural Products and Organic Synthesis (NPOS) เก็บถาวร 2020-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-02-28
  61. Department of Chemistry, Faculty of Science, Kasetsart University. Innovative Research on Drug Discovery and Molecular Design เก็บถาวร 2020-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-02-28
  62. สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ผลงานภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ บางเขน เรียกดูวันที่ 2020-03-04
  63. สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ผลงานภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ บางเขน เรียกดูวันที่ 2020-03-04
  64. KUIC. Integrated Chemistry Program. Biological chemistry เก็บถาวร 2020-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-03-22
  65. KUIC. Integrated Chemistry Program. Material chemistry เก็บถาวร 2020-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-03-22
  66. KUIC. Integrated Chemistry Program. Industrial chemistry เก็บถาวร 2020-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-03-22
  67. ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มก. การทำวิจัยระยะสั้น ณ ต่างประเทศ ของนิสิตภาควิชาเคมี พ.ศ. 2560[ลิงก์เสีย] เรียกดูวันที่ 2020-03-11
  68. ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มก. การทำวิจัยระยะสั้น ณ ต่างประเทศ ของนิสิตภาควิชาเคมี พ.ศ. 2561[ลิงก์เสีย] เรียกดูวันที่ 2020-03-11
  69. ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มก. การทำวิจัยระยะสั้น ณ ต่างประเทศ ของนิสิตภาควิชาเคมี พ.ศ. 2562 เก็บถาวร 2019-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2019-11-11
  70. ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มก. การทำวิจัยระยะสั้น ณ ต่างประเทศ ของนิสิตภาควิชาเคมี พ.ศ. 2563 เก็บถาวร 2020-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-03-05
  71. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีการับวิทยาลัยการชลประทาน กรมชลประทาน เข้าสมทบในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๐, เล่ม ๑๒๔, ตอน ๓๘ ก, ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐, หน้า ๒๗
  72. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีการับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ เข้าสมทบในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๖ เก็บถาวร 2020-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐, ตอน ๓๕ ก, ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๖, หน้า ๑
  73. ศูนย์วิทยาการขั้นสูงฯ. ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. แจ้งการเปิดให้บริการวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (FE-TEM) และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (FE-SEM) เรียกดูวันที่ 2020-02-29
  74. รายงานประจำปี 2536 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2536). ม.ป.ท: . เรียกดูวันที่ 2020-03-07
  75. https://www.sci.ku.ac.th/news/wp-content/uploads/2016/09/50year2.pdf. หนังสือ"5 ทศวรรษคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" : มุมมองของอดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์/ ศาสตราจารย์ดร.กฤษณาชุติมา/ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์(พ.ศ. 2521–พ.ศ. 2523)
  76. ห้องสมุดภาควิชาเคมีระบบการให้บริการ เรียกดูวันที่2019-11-26
  77. ห้องสมุดภาควิชาเคมีประวัติห้องสมุดภาควิชาเคมี เก็บถาวร 2020-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่2019-11-25
  78. "The nature index 2017 in chemical science". Nature Index. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-21. สืบค้นเมื่อ 2019-12-19.
  79. QS university ranking by subject Kasetsart University Rankings (Chemistry) - Historical Data and Ranking เรียกดูวันที่2019-10-22
  80. https://www.topuniversities.com/. "QS World University Rankings by Subject"
  81. Nonsee Newsletter, The International Newsletter of Kasetsart University, Volume 20 Issue 04 April 2014 KU : Thailand’s Top Best University 2 Years in a Row (QS World University Rankings by Subject 2014, 2013) เก็บถาวร 2019-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่2019-07-14
  82. "QS World University Rankings by Subject 2017"
  83. "QS World University Rankings by Subject 2018"
  84. https://www.topuniversities.com/university-rankings/university-subject-rankings/2019/chemistry. "QS World University Rankings by Subject 2019"
  85. https://www.topuniversities.com/university-rankings/university-subject-rankings/2020/chemistry "QS World University Rankings by Subject 2020"
  86. "QS World University Rankings by Subject 2021 - Chemistry - Kasetsart University". QS Quacquarelli Symonds. สืบค้นเมื่อ 5 March 2021.
  87. "QS World University Rankings by Subject 2022 - Chemistry - Kasetsart University". QS Quacquarelli Symonds. สืบค้นเมื่อ 20 April 2022.
  88. https://www.vistec.ac.th/home/vistec_at_a_glance.php เก็บถาวร 2019-03-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. "The nature index 2017 in chemical science"
  89. http://www.natureindex.com/annual-tables/2016/institution/all/all/countries-Thailand
  90. "Best Global Universities for Chemistry 2022 - Kasetsart University". U.S. News & World Report. สืบค้นเมื่อ 2021-11-08.
  91. U.S. News & World Report Best Global Universities for Chemistry เรียกดูวันที่2019-10-25
  92. U.S. News & World Report Best Global Universities for Chemistry in Thailand เรียกดูวันที่2019-10-25
  93. U.S. News & World Report Kasetsart University-Chemistry indicator rankings เรียกดูวันที่2019-10-25
  94. U.S. News & World Report Kasetsart University-Chemistry indicator rankings เรียกดูวันที่2019-10-25
  95. สกว. การประเมินครั้งที่ 2 พ.ศ. 2553 เก็บถาวร 2020-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่2019-11-04
  96. สกว. การประเมินครั้งที่3 พ.ศ. 2554 เก็บถาวร 2020-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่2019-11-04
  97. รายละเอียดโครงการการแข่งขันตอบปัญหาเคมีระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ครั้งที่ 37 หลักการและเหตุผล เรียกดูวันที่2019-10-22
  98. การแข่งขันตอบปัญหาเคมีระดับมัธยมศึกษาตอนปลายครั้งที่40 ประกาศรับสมัครแข่งขัน เก็บถาวร 2019-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่2019-10-22
  99. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หนังสือ"ครึ่งศตวรรษคณะวิทยาศาสตร์เพื่อความเป็นเลิศ" เรียกดูวันที่2019-08-22
  100. Nature event directory The 8th International Kasetsart University Science and Technology Annual Research Symposium (I-KUSTARS) เรียกดูวันที่2019-08-23
  101. ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[1][ลิงก์เสีย] เรียกดูวันที่2019-10-22
  102. PACCON 2008. Pure and Applied Chemistry International Conference (PACCON 2008) เก็บถาวร 2020-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-03-02
  103. PACCON 2008. Welcome message - Pure and Applied Chemistry International Conference (PACCON 2008) เก็บถาวร 2020-03-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-03-02
  104. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. พิธีเปิดประชุมวิชาการนานาชาติ Pure and Applied Chemistry International Conference (PACCON 2008) เรียกดูวันที่ 2020-03-02
  105. ประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. พิธีเปิดประชุมวิชาการนานาชาติ PACCON 2008 เรียกดูวันที่ 2020-03-02
  106. PACCON 2008. Oral Presentation Schedule เก็บถาวร 2020-03-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-03-02
  107. PACCON 2008. Poster Presentation Schedule เก็บถาวร 2010-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-03-02
  108. PACCON 2008. Plenary Lecture เก็บถาวร 2020-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-03-03
  109. PACCON 2008. PROGRAM SUMMARY เก็บถาวร 2020-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-03-03
  110. Faculty of Science, Kasetsart University. Poster : Chem-KU Colloquium 2018 เรียกดูวันที่ 2019-11-14
  111. Faculty of Science, Kasetsart University. Chem-KU Colloquium 2018: Translation From Lab to Startup Company Dialogue with Nobel Laureate เก็บถาวร 2020-03-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-03-26
  112. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศูนย์สอวน. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ศูนย์สอวน. วท.มก.) เก็บถาวร 2019-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่2019-07-09
  113. มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) ค่ายสอวน. เก็บถาวร 2020-01-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่2019-07-09
  114. ศูนย์สอวน. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์รายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเพื่อเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับชาติประจำปี2559 เรียกดูวันที่2019-10-23
  115. กระทรวงศึกษาธิการผู้แทนประเทศไทยเคมีโอลิมปิกคว้า1 เหรียญทอง3 เหรียญเงินที่ฝรั่งเศส เรียกดูวันที่2019-10-23
  116. กระทรวงศึกษาธิการนักเรียนโอลิมปิกวิชาการ เรียกดูวันที่2019-10-23
  117. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การแข่งขันเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 31 พ.ศ. 2542 เรียกดูวันที่ 2019-07-08
  118. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (ONEC) ภาพรวมการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ หัวข้อที่ 2 วิชาเคมี เก็บถาวร 2019-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2019-07-08
  119. มติชนออนไลน์ Back to the IChO : เจาะเวลาหา ‘เคมีโอลิมปิก’ เรียกดูวันที่ 2019-10-22
  120. "THAILAND AND IChO - HISTORY". The International Chemistry Olympiad 2017 (IChO 2017). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-05. สืบค้นเมื่อ 27 November 2020.
  121. "Thailand Chemistry Olympiad 11th". สืบค้นเมื่อ 2019-06-19.
  122. "KU Picture : Thailand Chemistry Olympiad 11th". Kasetsart University. สืบค้นเมื่อ 2019-06-19.
  123. Kanda Nivesanond. "International Chemistry Olympiad 31st". Web.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2000-08-20. สืบค้นเมื่อ 2018-04-28.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  124. "Thailand Chemistry Olympiad 11th". สืบค้นเมื่อ 2019-06-19.
  125. "KU Picture : Thailand Chemistry Olympiad 11th". Kasetsart University. สืบค้นเมื่อ 2019-06-19.
  126. sanook. ภาพหาดูยาก ใบสมัครสอบเอ็นทรานซ์ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ สมัยทรงพระเยาว์. เรียกดูวันที่ 2020-10-05
  127. กรุงเทพธุรกิจ. เฉลิมพระนามาภิไธยใหม่ ฟ้าหญิงจุฬาภรณ์. เรียกดูวันที่ 2020-10-05
  128. คมชัดลึก. วันประสูติ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอฯ. เรียกดูวันที่ 2020-10-05
  129. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ออกใช้เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกในโอกาสที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ ทรงสำเร็จการศึกษา ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, เล่ม ๙๖, ตอน ๑๙๓, ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๒, ฉบับพิเศษ หน้า ๓
  130. มูลนิธิจุฬาภรณ์. ทั้งชีวิต อุทิศเพื่อราษฎร์ เก็บถาวร 2019-08-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. พระประวัติ. เรียกดูวันที่ 2020-03-03
  131. กฤษณา ชุติมา. (2531). ที่ระลึกในพิธีเปิดอาคารสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 3 สิงหาคม 2531. ทูลกระหม่อมในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (น. 198 หน้า). กรุงเทพฯ: สมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
  132. กฤษณา ชุติมา. (2536). สี่ปีในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารไทย, 13(51), 13-17.
  133. ประชาสัมพันธ์ มก. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จมาบรรยายพิเศษ เรียกดูวันที่ 2019-08-05
  134. มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์. โครงการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น. รายชื่อและผลงานย่อของนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นทั้งหมด (พ.ศ. 2525-2562) เก็บถาวร 2020-01-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-01-10
  135. มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์. โครงการรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่. รายช่อนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ทั้งหมด (พ.ศ. 2534-2562) เก็บถาวร 2020-01-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-01-10
  136. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ข่าวเกษตรศาสตร์. รางวัลบุคลากรดีเด่นด้านการวิจัย เรียกดูวันที่ 2019-01-10
  137. [ม.ป.ท.]. (2554). นิทรรศการงานวิจัย บนเส้นทางงานวิจัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ปี 2554 งานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2554. ศาสตราจารย์ ดร.จำรัส ลิ้มตระกูล ได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็นบุคคลดีเด่นของชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี พ.ศ. 2553 จาก คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยเป็นผู้บุกเบิกการวิจัยด้านการออกแบบวัสดุที่มีโครงสร้างระดับนาโนเมตร เพื่อประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรม และมีผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมและพาณิชย์. (น. ). [ม.ป.ท.]. เรียกดูวันที่ 2020-01-12
  138. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ศาสตราจารย์ ดร. จำรัส ลิ้มตระกูล เรียกดูวันที่ 2020-01-11
  139. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักเคมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับยกย่องให้เป็น "ศาสตรเมธาจารย์คนแรกของไทย" (NSTDA Chair Professor) เรียกดูวันที่ 2009-04-07
  140. NSTDA Chair Professor 2009 ศาสตราเมธาจารย์ สวทช ประจำปี 2552 เรียกดูวันที่ 2009-04-07
  141. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการที่ไดรับทุน NSTDA Chair Professor เรียกดูวันที่ 2009-04-07
  142. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ. รางวัล TWAS Prize for Young Scientists in Thailand. เรียกดูวันที่ 2020-01-24
  143. สภาคณบดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย. รายนามประธานสภาฯ เก็บถาวร 2020-02-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-02-04
  144. สมาคมเคมีแห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี. ทำเนียบนายกสมาคมเคมี เรียกดูวันที่ 2020-02-04
  145. สมาคมเคมีแห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี. สมาคมเคมีแห่งประเทศไทยฯ ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรที่ได้รับการคัดเลือกจาก IUPAC (International Union of Pure and Applied Chemistry) เป็นคณะกรรมการใน Division ต่าง ๆ ของ IUPAC เรียกดูวันที่ 2020-02-05
  146. ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รายชื่อผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็นกรรมการของ IUPAC สำหรับปี 2563 - 2564 เก็บถาวร 2020-02-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-02-05
  147. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ขอแสดงความยินดีกับ รศ. ดร.ลัดดา มีศุข เป็น Associate Member (AM) จาก IUPAC เก็บถาวร 2020-02-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-02-05
  148. สมาคมเคมีแห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี. สมาคมเคมีแห่งประเทศไทยฯ ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรที่ได้รับการคัดเลือกจาก IUPAC: International Union of Pure and Applied Chemistry เป็นคณะกรรมการใน Division ต่าง ๆ และ Committee ของ IUPAC เรียกดูวันที่ 2020-02-05
  149. Chulabhorn Research Institute. 1986: Einstein Gold Medal of UNESCO เก็บถาวร 2020-01-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เรียกดูวันที่2014-10-27
  150. กฤษณาชุติมา. (2531). ที่ระลึกในพิธีเปิดอาคารสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์3 สิงหาคม2531. ทูลกระหม่อมในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (น. 198 หน้า). กรุงเทพฯ: สมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
  151. กฤษณาชุติมา. (2536). สี่ปีในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารไทย, 13(51), 13-17.
  152. ศิลป์พิมลวัฒนา, วรุตม์ไฉไลพันธุ์, นันท์นภัสพลเศรษฐเลิศ, โยธินโชติจันทราภรณ์, สมศักดิ์จันทวิชชประภา, ปกรสิณศุภสินเจริญ, อรปวีณ์วงศ์วชิรา, สิทธิพงษ์ติยะวรากุล, เบญจรัตน์วงษ์วิลัยและเทียนทิพย์ฉัตรชัยดำรง. (2562). หนังสือเผยแพร่งานพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
  153. โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช เจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์-ประวัติการศึกษา เก็บถาวร 2020-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่2019-12-27
  154. เกษตรศาสตร์ปราดเปรื่อง. เกษตรศาสตร์ปราดเปรื่องรุ่นที่6 เรียกดูวันที่2020-01-14
  155. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร - นางผุสดี ตามไท เรียกดูวันที่ 2020-03-02
  156. สถาบันพระปกเกล้า. สตรีกับการเมือง ความเป็นจริง พื้นที่ทางการเมือง และการขับเคลื่อน เรียกดูวันที่ 2020-03-02
  157. "อว.แต่งตั้งรองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ - นางสาวนีระนารถ แจ้งทอง". มติชน - เทคโนโลยีชาวบ้าน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-13. สืบค้นเมื่อ 9 March 2021.
  158. "แต่งตั้งรองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ". THIN SIAM. สืบค้นเมื่อ 9 March 2021.
  159. "คณะผู้บริหารกรมวิทยาศาสตร์บริการ". กรมวิทยาศาสตร์บริการ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-13. สืบค้นเมื่อ 9 March 2021.
  160. "รางวัลคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2564 - รางวัลนิสิตเก่าดีเด่น" (PDF). คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 9 March 2021.[ลิงก์เสีย]
  161. Chemical Engineering, Kasetsart University. Prof.Dr.Metta Chareonpanich เรียกดูวันที่ 2020-03-03
  162. The bangkok insight editorial team. ประกาศแต่งตั้งเป็น 'ศาสตราจารย์ เมตตา เจริญพานิช' เรียกดูวันที่ 2020-03-03
  163. MGR Online. 4 นักวิทยาศาสตร์หญิงไทยรับทุนวิจัยลอรีอัล เรียกดูวันที่ 2020-03-03
  164. ThaiPR.net. 4 นักวิจัยหญิงเก่ง รับทุนวิจัย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” เรียกดูวันที่ 2020-03-03
  165. คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด จงสมจิตร เรียกดูวันที่ 2020-03-03
  166. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศ.ดร.บรรเจิด จงสมจิตร เรียกดูวันที่ 2020-03-03
  167. Center of Excellence on Catalysis and Catalytic Reaction Engineering Chulalongkorn. People-CECC เรียกดูวันที่ 2020-03-03
  168. "ฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - นางสาวศิริพร จึงสุทธิวงษ์". กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. สืบค้นเมื่อ 9 March 2021.[ลิงก์เสีย]
  169. "รางวัลคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2564 - รางวัลนิสิตเก่าดีเด่น" (PDF). คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 9 March 2021.[ลิงก์เสีย]
  170. "รางวัลคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2564 - รางวัลนิสิตเก่าดีเด่น" (PDF). คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 19 March 2021.[ลิงก์เสีย]
  171. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทำเนียบผู้ที่ได้รับตำแหน่งทางวิชาการเป็นศาสตราจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ[ลิงก์เสีย] เรียกดูวันที่ 2020-02-26
  172. รางวัลคณะวิทยาศาสตร์ รางวัลคณะวิทยาศาสตร์ 2560 "ศิษย์เก่าผู้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานระดับสูง"[ลิงก์เสีย] เรียกดูวันที่ 2020-02-26
  173. Department of Chemical Technology, Faculty of Science, Chulalongkorn University. Asst. Prof. Dr. Suchaya Nitivattananon เก็บถาวร 2020-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-04-15
  174. Chulalongkorn University. Suchaya Nitivattananon เรียกดูวันที่ 2020-04-15
  175. รางวัลคณะวิทยาศาสตร์ รางวัลคณะวิทยาศาสตร์ 2554 "ศิษย์เก่าผู้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานระดับสูง"[ลิงก์เสีย] เรียกดูวันที่ 2020-02-26
  176. รางวัลคณะวิทยาศาสตร์ รางวัลคณะวิทยาศาสตร์ 2553 "ศิษย์เก่าผู้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานระดับสูง"[ลิงก์เสีย] เรียกดูวันที่ 2020-02-26
  177. mgronline."ชะวะนี ทองพันชั่ง" หญิงไทยคนที่ 2 รับทุนวิจัยโลก "ลอรีอัล-ยูเนสโก" [ลิงก์เสีย] เรียกดูวันที่ 2020-02-26
  178. http://oknation.nationtv.tv/blog/opendream/2010/02/17/entry-3 เก็บถาวร 2020-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. นักวิทยาศาสตร์หญิงไทย พิชิตทุนวิจัยระดับสากล
  179. รางวัลคณะวิทยาศาสตร์ รางวัลคณะวิทยาศาสตร์ 2560 "ศิษย์เก่าผู้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานระดับสูง"[ลิงก์เสีย] เรียกดูวันที่ 2020-02-26
  180. NSTDA. สวทช. "นักวิจัยนาโนเทค ได้รับรางวัลทุนวิจัยลอรีอัล เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์" เรียกดูวันที่ 2020-02-26
  181. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ขอแสดงความยินดีกับศิษย์เก่าภาควิชาเคมี ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2561 เก็บถาวร 2019-08-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-03-02
  182. มติชนออนไลน์. อาจารย์จากสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) คว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ประจำปี 2561 เรียกดูวันที่ 2020-03-02
  183. พฤภัทร ทรงเที่ยง. The Standard. เปิดรายชื่อ 5 นักวิทยาศาสตร์หญิงเก่งของไทยประจำปี 2561 เรียกดูวันที่ 2020-03-02
  184. Voice online. นักวิจัยสตรีไทยนำทัพปั้นเศรษฐกิจด้วยวิทยาศาสตร์ เรียกดูวันที่ 2020-03-02
  185. ไทยรัฐออนไลน์. นักวิจัยนาโนเทคโนโลยี จาก VISTEC คว้ารางวัลนักวิทย์ดีเด่นปี 62 เรียกดูวันที่ 2020-02-26
  186. สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2557 เรียกดูวันที่ 2020-03-02
  187. บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน). คณะกรรมการบริษัท. นางฉัตรแก้ว คชเสนี เรียกดูวันที่ 2020-06-22
  188. บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน). นางฉัตรแก้ว คชเสนี เรียกดูวันที่ 2020-06-22
  189. สมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. พระนามและนามผู้ที่ได้รับคัดเลือกเป็นนิสิตเก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ประจำปี 2556. เรียกดูวันที่ 2020-06-22
  190. AMA Marine Public Company Limited. ผู้ถือหุ้น เรียกดูวันที่ 2020-06-22

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°50′44″N 100°34′17″E / 13.8454802°N 100.5714646°E / 13.8454802; 100.5714646

แม่แบบ:คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์