ข้ามไปเนื้อหา

เคมีอนินทรีย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เคมีอนินทรีย์ (อังกฤษ: Inorganic chemistry) เป็นสาขาหนึ่งของวิชาเคมีว่าด้วยเรื่องคุณสมบัติและปฏิกิริยาเคมีของสารประกอบอนินทรีย์ หรืออาจจะกล่าวได้ว่าสารประกอบเคมีทุกชนิดยกเว้นสารประกอบเคมีที่มีโซ่และวงแหวนคาร์บอน แต่ก็มีสารบางกลุ่มที่เป็น ได้ทั้งอินทรีย์และอนินทรีย์เช่น ออร์แกนโนเมทัลลิกเคมี (organometallic chemistry)

ชนิดของปฏิกิริยาเคมีในสารอนินทรีย์

[แก้]

ปฏิกิริยาเคมีในสารอนินทรีย์มีด้วยกัน 4 ชนิดคือ:

  1. ปฏิกิริยารวมตัว (combination reaction)
  2. ปฏิกิริยาแตกตัว (decomposition reaction)
  3. ปฏิกิริยาแทนที่ตำแหน่งเดียว (single displacement reaction)
  4. ปฏิกิริยาแทนที่คู่ซึ่งกันและกัน (double displacement reaction)

สาขาของวิชาเคมีอนินทรีย์

[แก้]

สาขาของวิชาเคมีอนินทรีย์มีดังนี้

สารประกอบเคมีอนินทรีย์ที่มีความสำคัญทางการค้าได้แก่

วิชาเคมีอนินทรีย์มีความสัมพันธ์เคมีสาขาอื่นดังนี้

  1. วิชาเคมีอนินทรีย์มีพื้นฐานจากเคมีฟิสิกส์ (physical chemistry)
  2. วิชาเคมีอนินทรีย์เป็นพื้นฐานให้แร่วิทยา (mineralogy)
  3. วิชาเคมีอนินทรีย์เป็นพื้นฐานให้เคมีวัสดุ (materials chemistry)
  4. วิชาเคมีอนินทรีย์มีความคาบเกี่ยวกับธรณีเคมี (geochemistry)
  5. วิชาเคมีอนินทรีย์มีความคาบเกี่ยวกับเคมีวิเคราะห์ (analytical chemistry)
  6. วิชาเคมีอนินทรีย์มีความคาบเกี่ยวกับเคมีสิ่งแวดล้อม (environmental chemistry)
  7. วิชาเคมีอนินทรีย์มีความคาบเกี่ยวกับเคมีโลหอินทรีย์ (organometallic chemistry)