เคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ

เคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Chemistry Olympiad: IChO) เป็นการแข่งขันเคมีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา และเป็นหนึ่งในการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ โดยเริ่มจัดการแข่งขันครั้งแรกที่กรุงปราก ประเทศเชโกสโลวาเกีย ในปี พ.ศ. 2511 และได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปียกเว้นปี พ.ศ. 2514 ที่ได้มีการงดการจัดการแข่งขัน ประเทศส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมการแข่งขันครั้งแรกมาจากโลกตะวันออก

ประวัติการแข่งขัน[แก้]
การแข่งขันเคมีโอลิมปิกระหว่างประะเทศเริ่มต้นขึ้นครั้งแรกในเชโกสโลวาเกียเมื่อปี ค.ศ. 1968 โดยมีเป้าหมายให้มีจำนวนประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันมากขึ้นจนกระทั่งและเปลี่ยนเป็นการแข่งขันระหว่างประเทศในที่สุด โดยแรกเริ่มเชกโกวาเกียได้ส่งคำเชิญไปยังประเทศที่มีระบอบการปกครองแบบสังคมนิยม ยกเว้นโรมาเนีย แต่ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1968 ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างเชโกสโลวาเกียกับสหภาพโซเวียตย่ำแย่ลง ทำให้มีเพียงโปแลนด์และฮังการีเท่านั้นที่ตอบรับและเข้าร่วมในการแข่งขันครั้งแรก
การแข่งขันครั้งแรก จัดขึ้น ณ กรุงปราก ระหว่างวันที่ 18-21 มิถุนายน ค.ศ. 1968 มีจำนวนประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 3 ประเทศ โดยมีตัวแทนประเทศละ 6 คน มีข้อสอบภาคทฤษฎี (Theoretical Problems) 4 ข้อ ในการแข่งขันครั้งนั้น ได้เริ่มมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการแข่งขันครั้งถัดไป ซึ่งการแข่งขันเคมีโอลิมปิก ครั้งที่ 2 จัดขึ้นในโปแลนด์ ครั้งนั้นบัลแกเรียได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันด้วย แต่จำนวนผู้เข้าแข่งขันได้ลดลงเหลือประเทศละ 5 คน และเริ่มมีการนำข้อสอบภาคปฏิบัติการ (Practical Problems) มาใช้ในการแข่งขันเป็นครั้งแรก ครั้งนั้น มีการเสนอให้ลดจำนวนตัวแทนประเทศลงเหลือประเทศละ 4 คน โดยการแข่งขันเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 3 จัดขั้นในประเทศฮังการี[1]
กฎข้อบังคับในการแข่งขัน[แก้]
การแข่งขันเคมีโอลิมปิกกำหนดจำนวนนักเรียนที่จะเข้าร่วมแข่งขันจากแต่ละทีมไม่เกินทีมละ 4 คน และมี พี่เลี้ยง (Mentor) 2 คน (โดยหนึ่งใน 2 คนนี้จะถูกกำหนดให้เป็นหัวหน้าทีม) นักเรียนที่เข้าร่วมแข่งขันจะต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี และจะต้องยังไม่ไม่เข้าเรียนในสถาบันการศึกษาที่สูงกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานที่เป็นศูนย์ข้อมูลของการแข่งขันเคมีโอลิมปิกตั้งอยู่ที่ กรุงบราติสลาวา ประเทศสโลวาเกีย
ประเทศที่ต้องการเข้าร่วมการแข่งขันเคมีโอลิมปิก ต้องส่งผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์ในการแข่งขันเคมีโอลิมปิกต่อเนื่อง 2 ครั้งก่อนที่จะส่งตัวแทนนักเรียนเข้าแข่งขัน ในการแข่งขันเคมีโอลิมปิก ครั้งที่ 47 ณ กรุงบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน มีจำนวนประเทศเข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 75 ประเทศโดยมีประเทศที่เข้าร่วมสังเกตการณ์จำนวน 4 ประเทศ [2]
การแข่งขันประกอบด้วยการสอบ 2 ส่วน ได้แก่ การสอบภาคทฤษฎี (Theoretical Examination) และ การสอบภาคปฏิบัติ (Practical Examination) ซึ่งการสอบทั้งสองส่วนใช้เวลาอย่างละ 5 ชั่วโมง และจัดสอบแยกวัน โดยทั่วไปแล้วการสอบภาคปฏิบัติมักจัดขึ้นก่อนการสอบภาคทฤษฎี คะแนนข้อสอบภาคทฤษฎีคิดเป็น 60 คะแนน และข้อสอบภาคปฏิบัติคิดเป็น 40 คะแนน การสอบแต่ละส่วนคิดคะแนนแยกส่วนกันและผลการสอบทั้งหมดเป็นการคิดคะแนนรวมจากทั้งสองส่วน คณะกรรมการฝ่ายวิชาการซึ่งตั้งขึ้นโดยประเทศเจ้าภาพ จะเสนอคำถามที่ใช้เป็นข้อสอบซึ่งในการนี้คณะกรรมการโอลิมปิกระหว่างประเทศซึ่งประกอบด้วยพี่เลี้ยงทั้ง 2 คนจากแต่ละประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันจะทำการวิพากษ์ข้อสอบจากนั้นจะแต่ละประเทศจะแปลจากข้อสอบฉบับภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนของประเทศตนเอง[3]
นักเรียนที่เข้าร่วมแข่งขันจะได้รับข้อสอบฉบับแปลตามความต้องการของผู้สอบ ภาระการแปลข้อสอบจากภาษาอังกฤษจะเป็นหน้าที่ของพี่เลี้ยง หลังจากการตรวจข้อสอบและให้คะแนนโดยคณะกรรมการจากประเทศเจ้าภาพแล้ว ก่อนมอบรางวัล พี่เลี้ยงจากแต่ละประเทศจะวิพากษ์เกี่ยวกับการให้คะแนนให้เป้นไปด้วยความยุติธรรม อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพี่เลี้ยงได้เห็นและทบทวนข้อสอบที่ใช้ในการแข่งขันก่อนที่จะส่งต่อให้นักเรียนในวันสอบ การสื่อสารระหว่างพี่เลี้ยงกับกับนักเรียนถูกกีดกันอย่างเข้มงวดโดยนักเรียนจะต้องมอบอุปกรณ์สื่อสาร อาทิ โทรศัพท์เคลื่อนที่และคอมพิวเตอร์วางตักให้กับผู้จัดการแข่งขัน
รายละเอียดของเนื้อหาที่ใช้ในการแข่งขันประกอบไปด้วยวิชาต่างๆในหลายๆแขนงของวิชาเคมี ได้แก่ เคมีอินทรีย์ เคมีอนินทรีย์ เคมีเชิงฟิสิกส์ เคมีวิเคราะห์ ชีวเคมี และสเปกโทรสโกปี ซึ่งเป็นเนื้อหาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโดยทั่วไปหรืออาจจะสูงกว่า ทั้งนี้ประเทศเจ้าภาพต้องจัดเตรียม ข้อสอบตัวอย่าง (Preparatory Problems) ล่วงหน้า ซึ่งข้อสอบตัวอย่างนี้จะครอบคลุมหัวข้อเฉพาะต่างๆที่อาจจะมีเนื้อหาสูงกว่าระดับมัธยมศึกษา
การแข่งขันเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ ปี 2016[แก้]
การแข่งขันเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 48 เดิมจะจัดขึ้น ณ นครการาจี ประเทศปากีสถาน[4] แต่ได้มีการเปลี่ยนประเทศเจ้าภาพอย่างกระทันหัน โดยจะจัดขึ้น ณ กรุงทบิลิซี ประเทศจอร์เจีย ทั้งนี้ เนื่องจากความกระชั้นชิด ทางคณะกรรมการวิชาการของประเทศเจ้าภาพได้เลือกข้อสอบตัวอย่างจากการแข่งขันเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 40 ณ กรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี มาใช้ภายใต้การอนุญาตตามกฎหมายลิขสิทธิ์ที่ถูกต้อง
การแข่งขันเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ ปี 2020 และ ปี 2021[แก้]
การแข่งขันเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 52 และ ครั้งที่ 53 เดิมจะแบบทั่วไป ณ นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี[5] และนครโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น ตามลำดับ แต่เนื่องจากมีการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2562–2563 จึงได้ปรับการแข่งขันเป็นรูปแบบ การสอบเข้าถึงระยะไกล (Remote Access Exam) ณ ประเทศต่าง ๆ แทน และยกเลิกการสอบภาคปฏิบัติ
รายชื่อประเทศเจ้าภาพการแข่งขันเคมีโอลิมปิกในอนาคต[แก้]
ครั้งที่ | เมืองที่จัดการแข่งขัน | ประเทศที่ตั้ง | วันที่จัดการแข่งขัน |
---|---|---|---|
54 | เทียนจิน | ![]() |
กรกฎาคม 2565[6] |
55 | ซูริก | ![]() |
กรกฎาคม 2566[7] |
56 | ริยาด | ![]() |
กรกฎาคม 2567[8] |
57 | ![]() |
กรกฎาคม 2568[9] | |
58 | ![]() |
กรกฎาคม 2569[10] |
รายชื่อประเทศเจ้าภาพการแข่งขันเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศที่ผ่านมา[แก้]
ครั้งที่ | เมืองที่จัดการแข่งขัน | ประเทศที่ตั้ง | วันที่จัดการแข่งขัน | ข้อสอบและข้อสอบตัวอย่าง |
---|---|---|---|---|
53 | โอซากะ | ![]() |
25 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม 2564[11] |
|
52 | อิสตันบูล | ![]() |
23-29 กรกฎาคม 2563[12] |
|
51 | ปารีส | ![]() |
21-30 กรกฎาคม 2562[13] | |
50 | ปราก และบราติสลาวา | ![]() ![]() |
19-29 กรกฎาคม 2561[14] |
|
49 | นครปฐม | ![]() |
5-15 กรกฎาคม 2560 | |
48 | ทบิลิซี | ![]() |
23 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม 2559 | |
47 | บากู | ![]() |
20-29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 | |
46 | ฮานอย | ![]() |
20-29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 | |
45 | มอสโก | ![]() |
15-24 กรกฎาคมพ.ศ. 2556 | |
44 | วอชิงตัน ดี.ซี. | ![]() |
21–30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 | |
43 | อังการา | ![]() |
9–18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 | |
42 | โตเกียว | ![]() |
19-28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 | |
41 | เคมบริดจ์ | ![]() |
18-27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 | |
40 | บูดาเปสต์ | ![]() |
12-21 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 | |
39 | มอสโก | ![]() |
15-24 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 | |
38 | คย็องซัน | ![]() |
1-11 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 | |
37 | ไทเป | ![]() |
16-25 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 | |
36 | คีล | ![]() |
18-27 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 | |
35 | เอเธนส์ | ![]() |
5-14 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 | |
34 | โครนิงเงิน | ![]() |
5-14 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 | |
33 | มุมไบ | ![]() |
6-15 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 | |
32 | โคเปนเฮเกน | ![]() |
6-15 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 | |
31 | กรุงเทพมหานคร | ![]() |
4-11 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 |
|
30 | เมลเบิร์น | ![]() |
5-14 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 | |
29 | มอนทรีออล | ![]() |
13-22 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 |
|
28 | มอสโก | ![]() |
14-23 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 | |
27 | ปักกิ่ง | ![]() |
13-20 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 | |
26 | ออสโล | ![]() |
3-11 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 | |
25 | เปรูจา | ![]() |
11-22 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 |
|
24 | วอชิงตัน ดี.ซี. | ![]() |
11-22 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 | |
23 | วูช | ![]() |
7-15 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 | |
22 | ปารีส | ![]() |
8-17 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 | |
21 | ฮัลเลอ | ![]() |
2-10 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 |
|
20 | เอสโป | ![]() |
2-9 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 | |
19 | แว็สเปรม | ![]() |
6-15 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 | |
18 | ไลเดิน | ![]() |
6-15 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 | |
17 | บราติสลาวา | ![]() |
1-8 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 | |
16 | แฟรงก์เฟิร์ต | ![]() |
1-10 กรกฎาคม พ.ศ. 2527 | |
15 | ตีมีโชอารา | ![]() |
2-11 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 | |
14 | สต็อกโฮล์ม | ![]() |
3-12 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 | |
13 | บูร์กัส | ![]() |
13-23 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 | |
12 | ลินซ์ | ![]() |
13-23 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 | |
11 | เลนินกราด | ![]() |
2-11 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 |
|
10 | ทอรูน | ![]() |
3-13 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 |
|
9 | บราติสลาวา | ![]() |
4-14 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 | |
8 | ฮัลเลอ | ![]() |
10-19 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 | |
7 | แว็สเปรม | ![]() |
1-10 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 |
|
6 | บูคาเรสต์ | ![]() |
1-10 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 |
|
5 | โซเฟีย | ![]() |
1-10 กรกฎาคม พ.ศ. 2516 | |
4 | มอสโก | ![]() |
1-10 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 | |
งดจัด | ||||
3 | บูดาเปสต์ | ![]() |
1-5 กรกฎาคม พ.ศ. 2513 | |
2 | คาโตวีตเซ | ![]() |
16-20 มิถุนายน พ.ศ. 2512 |
|
1 | ปราก | ![]() |
1-10 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 |
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "A short review on the development of the International Chemistry Olympiads". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-22. สืบค้นเมื่อ 2015-08-28.
- ↑ An official report of the 47th International Chemistry Olympiad (held in Baku)
- ↑ "IChO Regulations". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-18. สืบค้นเมื่อ 2015-08-28.
- ↑ Minutes of Steering Committee and International Jury.,47th International Chemistry Olympiad
- ↑ 52th International Chemistry Olympiad
- ↑ [https://www.ichosc.org/ International Chemistry Olympiad Steering Committee Meeting, 2021
- ↑ [https://www.ichosc.org/ International Chemistry Olympiad Steering Committee Meeting, 2021
- ↑ [https://www.ichosc.org/ International Chemistry Olympiad Steering Committee Meeting, 2021
- ↑ [https://www.ichosc.org/ International Chemistry Olympiad Steering Committee Meeting, 2021
- ↑ [https://www.ichosc.org/ International Chemistry Olympiad Steering Committee Meeting, 2021
- ↑ 53rd INTERNATIONAL CHEMISTRY OLYMPIAD https://www.icho2021.org/
- ↑ 52nd INTERNATIONAL CHEMISTRY OLYMPIAD https://icho2020.tubitak.gov.tr/
- ↑ 51st INTERNATIONAL CHEMISTRY OLYMPIAD https://icho2019.paris/en/
- ↑ 50th INTERNATIONAL CHEMISTRY OLYMPIAD https://50icho.eu เก็บถาวร 2018-09-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน