มหาวิทยาลัยบริสตอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยบริสตอล
University of Bristol
ละติน: Universitas Bristolliensis (Bris.)
คติพจน์ลาติน: Vim promovet insitam
อังกฤษ: Learning promotes one's innate power
ไทย: การเรียนรู้คือการพัฒนาตนเอง[1]
สถาปนาพ.ศ. 2452 - ได้รับพระบรมราชโองการให้เป็นมหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2419 - วิทยาลัยอุดมศึกษาบริสตอล
ที่ตั้ง,
51°27′23″N 02°36′16″W / 51.45639°N 2.60444°W / 51.45639; -2.60444พิกัดภูมิศาสตร์: 51°27′23″N 02°36′16″W / 51.45639°N 2.60444°W / 51.45639; -2.60444
วิทยาเขตในเมือง
เครือข่ายกลุ่มรัสเซล
กลุ่มโคอิมบรา
เครือข่ายมหาวิทยาลัยโลก
ยูนิเวอร์ซิตียูเค
กลุ่มสถาบันด้านอากาศและอากาศยานยุโรป (PEGASUS)
เว็บไซต์bristol.ac.uk

มหาวิทยาลัยบริสตอล (University of Bristol) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเน้นวิจัยขนาดใหญ่ ตั้งในใจกลางเมือง (และเคาน์ตี) บริสตอล สหราชอาณาจักร[2] มีชื่อเสียงด้านแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และมีนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลหลายท่าน อาทิ พอล ดิแรก ฮันส์ เบเทอ ฯลฯ มหาวิทยาลัยเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยอิฐแดง (Red brick university) ร่วมกับมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งในยุคเดียวกัน และเป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่มรัสเซล ซึ่งเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัยในสหราชอาณาจักร[3] ยิ่งไปกว่านั้น มหาวิทยาลัยได้เป็นสมาชิกกลุ่มกูอิงบรา ซึ่งเป็นกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาโบราณในยุโรปอีกด้วย[4]

มหาวิทยาลัยบริสตอลมีประวัติการก่อตั้งยาวนาน และมีชื่อเสียงทางวิชาการอย่างยิ่ง ซึ่งจะเห็นได้จากจำนวนสมาชิกราชบัณฑิตยสถานด้านแพทยศาสตร์ 21 คน ภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสถานอังกฤษ 13 คน สมาชิกราชวิทยสมาคม ถึง 40 คน[5] อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยมีจำนวนนักศึกษาน้อยกว่ามหาวิทยาลัยเวสต์ออฟอิงแลนด์ซึ่งเป็นสถาบันข้างเคียง

ประวัติ[แก้]

ยุคเริ่มแรก[แก้]

มหาวิทยาลัยบริสตอลก่อตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2419 ในฐานะวิทยาลัยอุดมศึกษาบริสตอล ซึ่งต่อมาได้ควบรวมเข้ากับโรงเรียนเทคนิคพาณิชยนาวี (ก่อตั้ง พ.ศ. 2138 ควบรวม พ.ศ. 2452) [6] และ วิทยาลัยแพทย์บริสตอล (ก่อตั้ง พ.ศ. 2376 ควบรวม พ.ศ. 2436) [7][8] โดยมีอิซัมบาร์ด โอเวน (Isambard Owen) หลานอาของอิซัมบาร์ด บรูเนล เป็นอธิการบดีคนแรก และมีเฮนรี โอเวอร์ตัน วิลส์ (Henry Overton Wills) เป็นนายกสภาคนแรก โดยอธิการบดีได้เลือกสรรสีแดงซึ่งเป็นสีของโตรกเอวอน (Avon Gorge) หลังฝนตก เป็นสีประจำมหาวิทยาลัย เมื่อแรกตั้ง มหาวิทยาลัยมีนักศึกษาปริญญาตรีเพียง 288 คน และนักศึกษาอื่นอีก 400 คน นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในสหราชอาณาจักรที่เปิดรับนึกศึกษาทั้งชายและหญิงเสมอภาคกัน[9] ถึงกระนั้น ก่อนปี พ.ศ. 2449 นักศึกษาหญิงยังไม่ได้รับอนุญาตให้เรียนวิชาแพทยศาสตร์[10] มหาวิทยาลัยได้รับเงินทุนประเดิมส่วนหนึ่งจากตระกูลฟราย (Fry) และตระกูลวิลส์ ซึ่งทั้งสองเป็นตระกูลพ่อค้ายาสูบ ทำให้มหาวิทยาลัยเริ่มมีความมั่นคงสามารถลงทุนเพื่อการศึกษาของนักศึกษาได้ และเจริญขึ้นตามลำดับ โดยในปี พ.ศ. 2444 จอร์จ วิลส์ (George Wills) ได้รับที่ดินผืนหนึ่งทางตะวันตกของเมืองสำหรับใช้เป็นลานกีฬาของมหาวิทยาลัย ครั้นถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มหาวิทยาลัยประสบปัญหาทางการเงินอย่างรุนแรง คือสูญเสียรายได้จากค่าเล่าเรียนถึงร้อยละ 20 กระนั้นทางราชการก็ได้บัญชาให้มหาวิทยาลัยวิจัยแก๊สพิษและวัตถุระเบิดเพื่อที่จะได้รับเงินสนับสนุนเพิ่ม กระนั้น ปัญหาไม่ได้จำกัดแต่ช่วงสงครามเท่านั้น แต่ได้ขยายออกไปหลังสงครามด้วย การที่มีสงครามนี้เอง ทำให้มหาวิทยาลัยได้ทำงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ออกมามากจนมีชื่อเสียงเพิ่มขึ้น รวมไปถึงได้เปิดโอกาสให้สตรีเข้ามามีบทบาทในงานบริหารการศึกษา อาทิ แต่งตั้งวินิเฟรด เชปแลนด์ (Winifred Shepland) เป็นนายทะเบียนหญิงคนแรกของมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร ถึงกระนั้น อาคารบางหลังของมหาวิทยาลัยได้รับความเสียหาย พร้อมกับหนังสือจำนวนมากที่ขนมาจากราชวิทยาลัยลอนดอน

ยุคสงคราม[แก้]

มหาวิทยาลัยได้จัดสร้างห้องปฏิบัติการฟิสิกส์เฮนรี วิลส์ ขึ้นใกล้ ๆ กับโรงเรียนประถมบริสตอล (Bristol Grammar School) มีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านมาทำงานในห้องปฏิบัติการนี้ หนึ่งในนั้น มีพอล ดิแรก ซึ่งจบการศึกษาปริญญาตรีด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย ก่อนจะไปศึกษาปริญญาเอกด้านคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ก่อนจะมาสร้างผลงานจนได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ประจำปี พ.ศ. 2476[11] นอกเหนือจากนี้ เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด[12] เซซิล พาวเวลล์ (Cecil Powell) (พ.ศ. 2493) [13] ฮันส์ เบเทอ (พ.ศ. 2510) และเนวิลล์ ฟรานซิส (Nevill Francis) (พ.ศ. 2550) [14] หลังจากที่จอร์จ วิลส์ ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2444 แล้ว จอร์จ อัลเฟรด วิลส์ (George Alfred Wills) และเฮนรี เฮอร์เบิร์ต วิลส์ (Henry Herbery Wills) บุตร ได้อุทิศเงินสร้างอาคารอนุสรณ์ตระกูวิลส์ ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นสถานีทำการสอนสำนักวิชานิติศาสตร์และสาขาวิชาโลกศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอาคารอนุรักษ์[15] อาคารหลังดังกล่าวสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2456 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2468[16] นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2453 ได้ซื้ออาคารวิกตอเรียรูมส์ (Victoria Rooms) สำหรับใช้เป็นสโมสรนักศึกษา [9] ซึ่งปัจจุบันเป็นภาควิชาดุริยศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอาคารอนุรักษ์เช่นกัน[17] ครั้นถึง พ.ศ. 2472 วินสตัน เชอร์ชิลล์ ได้รับตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย[9]จากนั้นมีริชาร์ด ฮอลเดน รับตำแหน่งต่อ[10][18]

นักศึกษาราชวิทยาลัยแห่งลอนดอน (King’s College London) ที่อพยพมาเรียนที่มหาวิทยาลัยบริสตอล ราว ๆ พ.ศ. 2483

ยุคหลังสงคราม[แก้]

หลังสงคราม มหาวิทยาลัยเริ่มกลับมาพัฒนาเต็มตัวอีกครั้ง โดยในปี พ.ศ. 2489 มหาวิทยาลัยเปิดสาขาวิชาการละครเป็นที่แรกในสหราชอาณาจักร[9] พร้อม ๆ กับตั้งเงินทุนสำหรับให้ทหารผ่านศึกใช้ในการศึกษาและตั้งตัว จำนวนนักศึกษาที่มาเรียนมีมากขึ้น ๆ จนมหาวิทยาลัยต้องจัดหาอาคารใหม่ในปี พ.ศ. 2498 เพื่อรองรับนักศึกษาวิศวกรมศาสตร์ ต่อมาได้มีการย้ายไปยังอาคารใหม่ที่กว้างขวางกว่าเดิม รวมถึงจัดหาสถานที่ตั้งสโมสรนักศึกษาใหม่ในย่านตำบลคลิฟตันในปี พ.ศ. 2503 แทนอาคารวิกตอเรียรูมส์ที่คับแคบ กระนั้นอาคารใหม่ก็มีรูปแบบสถาปัตยกรรมไม่สวยงามเท่าอาคารเดิม จนได้รับคำตำหนิอย่างมาก[19] .[20] ต่อมา มหาวิทยาลัยจัดทำแผนแม่บทที่จะย้ายสโมสรนักศึกษาอีกครั้ง[21][22] พร้อมกันนี้เอง จำนวนหอพักทั้งของมหาวิทยาลัยและเอกชนมีเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาจากต่างเมือง

อาคารวิกตอเรียรูมส์

ล่าสุดมหาวิทยาลัยได้มีการลงทุนวิจัย ดังนี้ พ.ศ. 2543 จัดตั้งศูนย์วิจัยและวิสาหกิจ.[23] พ.ศ. 2545 จัดตั้งศูนย์กีฬา [24] พ.ศ. 2547 จัดตั้งห้องปฏิบัติการวิศวกรรมพลศาสตร์ มูลค่า 18.5 ล้านปอนด์ สำหรับใช้ศึกษาด้านพลศาสตร์ของเครื่องยนต์ นับเป็นห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยที่สุดในยุโรป[25] พ.ศ. 2548 จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านการเรียนการสอนเคมี (Centre for Excellence in Teaching & Learning (CETL)) แห่งเดียวในสหราชอาณาจักร[26] กันยายน พ.ศ. 2552 เปิดศูนย์วิทยาศาสตร์นาโนและควอนตัมสนเทศ มูลค่า 11 ล้านปอนด์ ศึกษาวิจัยงานด้านควอนตัม อาทิ แก้วทำความสะอาดตัวเอง (self-cleaning glass) และได้ชื่อว่าเป็นอาคารที่เงียบที่สุด [27]

พื้นที่มหาวิทยาลัย อาคารส่วนใหญ่ใช้เป็นที่ตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัย ตรงกลางเยื้องไปทางซ้ายเป็นอาคารอนุสรณ์ตระกูลวิลส์

นอกเหนือจากนี้มหาวิทยาลัยมีแผนปรับปรุงพื้นที่ย่านมหาวิทยาลัย[28] หนึ่งในนั้นมหาวิทยาลัยได้เริ่มก่อสร้างอาคารชีวศาสตร์ (bioscience) ใหม่ มูลค่า 50 ล้านปอนด์ เพื่อเป็นสถานศึกษาวิจัยชั้นสูง เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554[29]

ส่วนงาน[แก้]

มหาวิทยาลัยประกอบด้วยคณะวิชา 6 คณะ ทำการเรียนการสอนในสาขาวิชาต่าง ๆ ดังนี้[30]

ห้องสมุดกฎหมายและโลกศาสตร์ในอาคารอนุสรณ์ตระกูลวิลส์

คณะอักษรศาสตร์[แก้]

  • ภาควิชาศิลปกรรมศาสตร์[31]
    • สาขาวิชาโบราณคดีและมานุษยวิทยา
    • สาขาวิชาภาพยนตร์และโทรทัศน์
    • สาขาวิชาดุริยศาสตร์
    • สาขาวิชาปรัชญา
    • สาขาวิชาภาพยนตร์
  • ภาควิชามนุษยศาสตร์
    • สาขาวิชาโบราณวิทยาและประวัติศาสตร์โบราณ
    • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
    • สาขาวิชาประวัติศาสตร์
    • สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์
    • สาขาวิชาศาสนาและเทววิทยา
  • ภาควิชาภาษาสมัยใหม่
    • สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
    • สาชาวิชาภาษาเยอรมัน
    • สาขาวิชาฮิสพานิก โปรตุเกส และลาตินอเมริกาศึกษา
    • สาขาวิชาภาษาอิตาลี
    • สาขาวิชาภาษารัสเซีย

คณะวิศวกรรมศาสตร์[แก้]

  • ภาควิชาวิศวกรรมอากาศยาน
  • ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
  • ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  • ภาควิชาคณิตศาสตร์วิศวกรรม
  • ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • วิทยาลัยเมอร์ชานต์เวนเชอเรอร์ (Merchant Venturer School)[32] เป็นวิทยาลัยด้านสารสนเทศและโฟตอนิกส์
  • วิทยาลัยควีนส์ (Queens School)[33] เป็นวิทยาลัยด้านวิศวกรรมเครื่องกล อากาศยาน และโยธา
อาคารควีนส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์

คณะสัตวแพทยศาสตร์[แก้]

  • ภาควิชาชีวเคมี
  • ภาควิชาเวชศาสตร์เซลล์และโมเลกุล
  • ภาควิชาสัณฐานวิทยาและเภสัชวิทยา
  • ภาควิชาสัตวแพทยศาสตร์
  • ศูนย์กายวิภาคเปรียบเทียบและคลินิก
อาคารภาควิชาเคมี

คณะวิทยาศาสตร์[แก้]

  • ภาควิชาชีววิทยา
  • ภาควิชาเคมี
  • ภาควิชาโลกศาสตร์
  • ภาควิชาจิตวิทยาทดลอง
  • ภาควิชาภูมิศาสตร์
  • ภาควิชาคณิตศาสตร์
  • ภาควิชาฟิสิกส์
  • ศูนย์วิทยาศาสตร์นาโนและควอนตัมสนเทศ
  • สถาบันคาบอต (Cabot Institute)
  • ศูนย์วิจัยสุขภาคเอลิซาเบธ แบล็กเวล (Elizabeth Blackwell Institute for Health Research)
  • ศูนย์วิจัยพื้นผิววัสดุ[34]

คณะแพทยศาสตร์[แก้]

  • ภาควิชาแพทยศาสตร์
  • ภาควิชาทันตแพทยศาสตร์
  • ภาควิชาเวชศาสตร์สังคมและชุมชน

คณะสังคมศาสตร์และนิติศาสตร์[แก้]

  • สถาบันบัณฑิตศึกษาด้านครุศาสตร์
  • ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ การเงิน และการจัดการ
  • ภาควิชานโยบายศึกษา
  • ภาควิชาสังคมวิทยา การเมือง และการศึกษานานาชาติ
  • ภาควิชานิติศาสตร์
  • ภาควิชาภูมิศาสตร์ (ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์)

ที่ตั้ง[แก้]

โถงอาคารอนุสรณ์ตระกูลวิลส์

มหาวิทยาลัยบริสตอลมีที่ตั้งกระจายไปตามส่วนต่าง ๆ ของเมือง โดยไม่มีพื้นที่ติดต่อกันเหมือนมหาวิทยาลัยทั่ว ๆ ไป อาคารส่วนหนึ่งตกทอดมาตั้งแต่ครั้งเป็นวิทยาลัยอุดมศึกษา ออกแบบโดยชาร์ลส์ แฮนซัม (Charles Hansom) การก่อสร้างเป็นไปอย่างทุลักทุเลด้วยมหาวิทยาลัยในขณะนั้นขัดสนด้านการเงิน หลังจากนั้น จึงได้มีการสร้างอาคารอนุสรณ์อัลเบิร์ต ฟราย (Albert Fry) และอาคารอนุสรณ์ตระกูลวิลส์ เพื่ออุทิศแก่ผู้ให้เงินประเดิมก่อตั้งมหาวิทยาลัย[35] นอกจากนี้ ยังมีหอพักโกลด์นีย์ซึ่งจอร์จ วิลส์ ได้หวังว่าจะก่อสร้างหอพักนักศึกษาชายบริเวณนี้ แต่มีการคัดค้านโดยอนุสาสกเพราะอยู่ใกล้หอพักคลิฟตันซึ่งเป็นหอพักหญิง[36] ในที่สุดมหาวิทยาลัยต้องจัดหาที่ดินใหม่ที่ตำบลสโตกบิชอปเพื่อสร้างหอพักชายวิลส์แทน ส่วนคฤหาสน์เบอร์วอลล์ บ้านของจอร์จ โอตลีย์ ได้กลายเป็นหอพักและปัจจุบันใช้เป็นศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง[37]

อาคารสมัยใหม่หลายหลังได้ถูกสร้างขึ้นแซมเมื่อมหาวิทยาลัยขยายตัว อาทิ อาคารสภาคณาจารย์ ส่วนต่อเติมอาคารห้องปฏิบัติการฟิสิกส์เฮนรี วิลส์ [38] ส่วนบูรณะอาคารอนุสรณ์วิลส์ที่ถูกไฟไหม้ หอพักโกลด์นีย์[39] ฯลฯ จากการที่มหาวิทยาลัยได้สร้างอาคารในยุคร่วมสมัยนี้เอง ทำให้มหาวิทยาลัยมีอาคารแบบจอร์เจีย รวมถึงอาคารแบบยุคฟื้นฟูกรีก (Greek revival) จำนวนมาก หนึ่งในนั้นมีบ้านรอยัลฟอร์ด (สถาบันการศึกษาชั้นสูง) หอพักคลิฟตันฮิลล์ หอพักโกลด์นีย์.[40]

ตราสัญลักษณ์[แก้]

มหาวิทยาลัยมีตราอาร์มของตนเอง ซึ่งมีประวัติยาวนานมาก ตราอาร์มประกอบด้วยโล่สีขาว กลางมีกากบาทสีแดงตัดวางตัวในแนวตั้ง ตรงกลางมีเรือใบและประตูเมืองซึ่งนำมาจากตราประจำจังหวัดบริสตอล ด้านบนมีตะวันฉาย แทนตระกูลวิลส์ ด้านล่างมีหนังสือเปิดเป็นสีทอง มีข้อความ Nisi quia Dominus ด้านซ้ายมือมีรูปปลาโลมา แทนตระกูลโคลสตัน และด้านขวามือมีม้าพยศ แทนตระกูลฟราย[1] ตราอาร์มนี้ใช้ในพิธีการสำคัญ ๆ แต่ในการประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยใช้โลโก้ที่ประกอบด้วยดวงตะวัน ปลาโลมา ม้าพยศ และเรือวางไว้บนโล่รูปหนังสือ[41]

ครุยวิทยฐานะ[แก้]

มหาวิทยาลัยใช้ครุยวิทยฐานะแบบอังกฤษ คือ เสื้อคลุมทึบแขนยาว (ปริญญาตรี) แขนเย็บมีช่องสอดแขนตอนกลาง (ปริญญาโท) หรือแขนเปิดกว้างตกข้อมือ (ปริญญาเอก) ตอนหน้าของเสื้อเปิดออกกว้าง เสื้อสำหรับระดับปริญญาเอกจะใช้สีแดง[42]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. 1.0 1.1 "The University Arms". University of Bristol. สืบค้นเมื่อ 3 December 2007.
  2. เดิมอยู่ในเคาน์ตีเอวอน (Avon)
  3. "Russell Group Our Universities". สืบค้นเมื่อ 27 January 2012.
  4. "The Coimbra Group". List of Coimbra Group Members. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-02. สืบค้นเมื่อ 14 May 2007.
  5. "Nobel Prizes and Fellowships". University of Bristol. สืบค้นเมื่อ 1 May 2014.
  6. United Kingdom. "Education – The Society of Merchant Venturers, Bristol UK". Merchantventurers.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-29. สืบค้นเมื่อ 5 June 2009.
  7. "University of Bristol". The Guardian. London. 1 May 2007. สืบค้นเมื่อ 6 December 2007.
  8. "Bristol". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 6 December 2007.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 "Bristol University History". History of the University. สืบค้นเมื่อ 13 May 2007.
  10. 10.0 10.1 "Papers of the University of Bristol". Archives Hub. สืบค้นเมื่อ 6 December 2007.
  11. "Notable alumni – Faculty of Engineering". University of Bristol. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-26. สืบค้นเมื่อ 6 December 2007.
  12. "History of the Department". Department of Physics, University of Bristol. สืบค้นเมื่อ 6 December 2007.
  13. "The Nobel Prize in Physics 1950". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 6 December 2007.
  14. "Sir Nevill F. Mott". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 6 December 2007.
  15. "University Tower and Wills Memorial Building and attached front walls and lamps". National Monument Record. English Heritage. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-22. สืบค้นเมื่อ 6 December 2007.
  16. "Wills Memorial Building". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-05. สืบค้นเมื่อ 6 December 2007.
  17. "Victoria Rooms and attached railings and gates". National Monument Record. English Heritage. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-22. สืบค้นเมื่อ 6 December 2007.
  18. "Bristol University – Former Officers". University of Bristol. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 22 June 2007.
  19. "The Students' Union". University of Bristol Union. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-26. สืบค้นเมื่อ 6 December 2007.
  20. "What is the worst eyesore in the UK?". BBC News. 21 November 2003.
  21. "University of Bristol Strategic Masterplan" (PDF). University of Bristol. July 2006. p. 64. สืบค้นเมื่อ 6 December 2007.
  22. "Building Project – A Better Building for the Students' Union". Ubu.org.uk. สืบค้นเมื่อ 28 January 2011.
  23. Donald MacLeod (5 December 2005). "Bristol signs commercial research funding deal". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 3 December 2007.
  24. "Bristol University – Centre for Sport, Exercise & Health – About us". University of Bristol. 2 October 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-13. สืบค้นเมื่อ 20 December 2007.
  25. "Places – BLADE". University of Bristol. 20 December 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 20 December 2007.
  26. "CETL – A£14M Boost for Teaching and Learning in Bristol Chemistry – 27/01/05". University of Bristol. 14 December 2007. สืบค้นเมื่อ 20 December 2007.
  27. "'Quietest' building in the world opens today". University of Bristol. สืบค้นเมื่อ 15 September 2011.
  28. Bowden, Chris (10 September 2007). "University of Bristol Masterplan". University of Bristol. สืบค้นเมื่อ 20 December 2007.
  29. "New £50 million University building to transform a key area of Bristol". University of Bristol. สืบค้นเมื่อ 21 October 2011.
  30. "Academic Departments and Research Centres by Faculty". University of Bristol. สืบค้นเมื่อ 10 August 2007.
  31. "Faculty of Arts: Schools and Department". สืบค้นเมื่อ 10 February 2015.
  32. "Merchant Venturers School of Engineering". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-10. สืบค้นเมื่อ 10 February 2015.
  33. "Queens School of Engineering". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-06. สืบค้นเมื่อ 10 February 2015.
  34. "University of Bristol: Interface Analysis Centre". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-15. สืบค้นเมื่อ 10 February 2015.
  35. Carleton (1984), p129
  36. Carleton (1984), p132
  37. "Burwalls Centre for Continuing Education". University of Bristol. สืบค้นเมื่อ 16 June 2008.
  38. Carleton (1984), p138
  39. Carleton (1984), p139
  40. Carleton (1984), p141
  41. "University of Bristol logo". University of Bristol. สืบค้นเมื่อ 3 December 2007.
  42. "Regulations for Academic and Official Costume". University of Bristol Regulations for Academic and Official Costume. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-26. สืบค้นเมื่อ 21 December 2007.

หนังสือ[แก้]

  • Carleton, Don (1984) "University for Bristol: A History in Text and Pictures". University of Bristol P. ISBN 0-86292-200-3
  • Delany, Rosalind (2002) "How Did This Garden Grow?: The History of the Botanic Gardens of the University of Bristol". Friends of Bristol University Botanic Garden ISBN 0-9543504-0-5
  • Crossley Evans, M. J. (1994) "A History of Wills Hall University of Bristol". University of Bristol P. ISBN 0-86292-421-9
  • Whittingham, Sarah (2003) "Wills Memorial Building". University of Bristol ISBN 0-86292-541-X

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]