ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนรินทรเทพ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 8555694 สร้างโดย 116.58.227.31 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
Lady win (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 8: บรรทัด 8:
| วันประสูติ = พ.ศ. 2323
| วันประสูติ = พ.ศ. 2323
| วันสิ้นพระชนม์ = พ.ศ. 2364
| วันสิ้นพระชนม์ = พ.ศ. 2364
| ฐานันดรศักดิ์ = พระองค์เจ้าชั้นตรี
| ฐานันดรศักดิ์ = พระองค์เจ้าชั้นโท
| พระอิสริยยศ = พระสัมพันธวงศ์เธอ
| พระอิสริยยศ = พระสัมพันธวงศ์เธอ
| พระราชบิดา = [[กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์]]
| พระราชบิดา = [[กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:24, 19 กันยายน 2564

พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนรินทรเทพ

ฉิม
พระสัมพันธวงศ์เธอ
ประสูติพ.ศ. 2323
สิ้นพระชนม์พ.ศ. 2364
พระนามเต็ม
พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนรินทรเทพ
ราชวงศ์ราชวงศ์จักรี
พระราชบิดากรมหมื่นนรินทรพิทักษ์
พระราชมารดาพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี

พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนรินทรเทพ (พ.ศ. 2323 — พ.ศ. 2364) หรือพระนามเดิมว่า ฉิม เป็นพระโอรสพระองค์โตในพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวีกับกรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ ประสูติเมื่อปีชวด โทศก จ.ศ. 1142 พ.ศ. 2323

พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฉิม มีพระพี่น้อง 2 พระองค์ คือ

ในรัชกาลที่ 2 ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนรินทรเทพ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2 พระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดระฆังโฆสิตาราม[1] เมื่อวันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2364

กรมหมื่นนรินทรเทพ ทรงมีพระโอรสและพระธิดา ดังนี้

1.หม่อมเจ้าหญิงยี่สุ่น นรินทรกุล (ประสูติ พ.ศ. 2342 สิ้นชีพิตักษัย เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2421 สิริชนมายุ 80 ปี)

2.หม่อมเจ้าหญิงปี นรินทรกุล (พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ พ.ศ. 2404)

3.หม่อมเจ้าอิ่ม นรินทรกุล (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2396)

4.หม่อมเจ้าหญิงน้อย นรินทรกุล

5.หม่อมเจ้าพุก นรินทรกุล (พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2387)

พงศาวลี

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. จดหมายความทรงจำ ของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวีฯ, ข้อ ๒๕๕ หน้า ๕๓๗ และ “การพระศพ กรมหมื่นอินทรพิพิธ และกรมหมื่นนรินทรเทพ จ.ศ. ๑๑๘๒ ปีมะโรง โทศก,” ประชุมหมายรับสั่ง ภาคที่ ๓ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, ๒๕๒๘), หน้า ๑๔๔.