ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ปรับปรุงเนื้อหาครั้งใหญ่
Dfddtdt (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 216: บรรทัด 216:


=== ยกระดับการชุมนุม ===
=== ยกระดับการชุมนุม ===
[[ไฟล์:10 August rangsit 1.jpg|thumb|การชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วันที่ 10 สิงหาคม โดยมีการจัดแสดงภาพ[[การบังคับบุคคลให้สูญหาย|บุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหาย]]บางส่วนในประเทศไทย]]

วันที่ 1 สิงหาคม กลุ่มเยาวชนปลดแอกพบว่า ผ่านไป 2 สัปดาห์ รัฐบาลไม่ตอบสนองแก่ข้อเรียกร้อง 3 ประการที่เรียกร้องไป ซ้ำยังพบการคุกคามประชาชนมากกว่าเดิมอีก จึงได้โพสต์เฟซบุ๊กประกาศยกระดับการชุมนุม โดยตั้งกลุ่มการเมืองใหม่ในชื่อ "คณะประชาชนปลดแอก" และได้เชิญชวนประชาชนทุกเพศ ทุกวัย มาร่วมมือกับเยาวชนเพื่อขับไล่รัฐบาลชุดนี้ด้วย โดยได้นัดหมายการชุมนุมอีกครั้งในวันที่ 16 สิงหาคม<ref>{{Cite web|url=https://www.matichon.co.th/politics/news_2289636|title=เปิดตัว ‘คณะประชาชนปลดแอก’ ลั่น เยาวชนไม่อาจสู้ลำพัง เล็งนัดหมายเร็ว ๆ นี้|author=[[มติชน]]|website=www.matichon.co.th|date=1 สิงหาคม 2563|accessdate=3 สิงหาคม 2563}}</ref>{{ external media
วันที่ 1 สิงหาคม กลุ่มเยาวชนปลดแอกพบว่า ผ่านไป 2 สัปดาห์ รัฐบาลไม่ตอบสนองแก่ข้อเรียกร้อง 3 ประการที่เรียกร้องไป ซ้ำยังพบการคุกคามประชาชนมากกว่าเดิมอีก จึงได้โพสต์เฟซบุ๊กประกาศยกระดับการชุมนุม โดยตั้งกลุ่มการเมืองใหม่ในชื่อ "คณะประชาชนปลดแอก" และได้เชิญชวนประชาชนทุกเพศ ทุกวัย มาร่วมมือกับเยาวชนเพื่อขับไล่รัฐบาลชุดนี้ด้วย โดยได้นัดหมายการชุมนุมอีกครั้งในวันที่ 16 สิงหาคม<ref>{{Cite web|url=https://www.matichon.co.th/politics/news_2289636|title=เปิดตัว ‘คณะประชาชนปลดแอก’ ลั่น เยาวชนไม่อาจสู้ลำพัง เล็งนัดหมายเร็ว ๆ นี้|author=[[มติชน]]|website=www.matichon.co.th|date=1 สิงหาคม 2563|accessdate=3 สิงหาคม 2563}}</ref>{{ external media
| video1 = [https://www.youtube.com/watch?time_continue=1&v=RTKhyJFTvtQ&feature=emb_logo คำปราศรัยเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ของอานนท์ นำภา], {{nowrap|วิดีโอ}}ยูทูบ
| video1 = [https://www.youtube.com/watch?time_continue=1&v=RTKhyJFTvtQ&feature=emb_logo คำปราศรัยเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ของอานนท์ นำภา], {{nowrap|วิดีโอ}}ยูทูบ
บรรทัด 246: บรรทัด 248:


วันที่ 14 สิงหาคม บีบีซีรายงานว่ามีการจัดประท้วงแนวร่วมเยาวชนปลดแอกใน 49 จังหวัด และประชาชนปกป้องสถาบันฯ 11 จังหวัด<ref>{{cite news |title=สำรวจแนวการชุมนุมประชาชนหนุน-ต้านรัฐบาล |url=https://www.bbc.com/thai/thailand-53774835 |accessdate=18 August 2020 |work=BBC ไทย |language=th}}</ref>
วันที่ 14 สิงหาคม บีบีซีรายงานว่ามีการจัดประท้วงแนวร่วมเยาวชนปลดแอกใน 49 จังหวัด และประชาชนปกป้องสถาบันฯ 11 จังหวัด<ref>{{cite news |title=สำรวจแนวการชุมนุมประชาชนหนุน-ต้านรัฐบาล |url=https://www.bbc.com/thai/thailand-53774835 |accessdate=18 August 2020 |work=BBC ไทย |language=th}}</ref>

[[ไฟล์:16 August protest 2.jpg|thumb|การชุมนุมของคณะประชาชนปลดแอกที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย วันที่ 16 สิงหาคม]]



วันที่ 16 สิงหาคม คณะประชาชนปลดแอกซึ่งยกระดับจากกลุ่มเยาวชนปลดแอก<ref name=":0" /> จัดการชุมนุม "ขีดเส้นตายไล่เผด็จการ" ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สำนักข่าวนิกเกอิเอเชียนรีวิวรายงานอ้างตำรวจภาคสนามว่ามีผู้เข้าร่วมอย่างน้อย 20,000 คน<ref name="nikkei">{{cite news |title=Thailand's youth demo evolves to largest protest since 2014 coup |url=https://asia.nikkei.com/Politics/Turbulent-Thailand/Thailand-s-youth-demo-evolves-to-largest-protest-since-2014-coup |accessdate=18 August 2020 |work=Nikkei Asian Review}}</ref><!--<ref>{{cite news |title=Massive student-led protest calls on govt to quit |url=https://www.bangkokpost.com/thailand/politics/1969211/massive-student-led-protest-calls-on-govt-to-quit |accessdate=17 August 2020 |work=Bangkok Post}}</ref>--> โดยผู้ชุมนุมย้ำข้อเรียกร้อง 3 ข้อเดิม และเพิ่ม 2 จุดยืน ได้แก่ ไม่เอา[[รัฐบาลแห่งชาติ]]และ[[รัฐประหาร]] รวมถึง 1 ความฝัน คือ ระบอบประชาธิปไตยที่มี[[ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ|พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ]]" กลุ่มยังยื่นคำขาดว่า ภายในเดือนกันยายน จะต้องยกเลิก[[วุฒิสภาไทย ชุดที่ 12|วุฒิสภาชุดปัจจุบัน]] ซึ่งคณะประชาชนปลดแอกมองว่าเป็นกลไกสืบทอดอำนาจของ[[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]]ให้ได้<ref name=":0">{{cite news|title="ประชาชนปลดแอก" ประกาศจะไม่หยุดเคลื่อนไหวจนกว่า "อำนาจมืด" จะหมดไป|url=https://www.bbc.com/thai/thailand-53797329|accessdate=16 สิงหาคม 2563|work=BBC ไทย|date=16 สิงหาคม 2563}}</ref> นอกจากนี้ในวันเดียวกัน มีการชุมนุมสนับสนุนในต่างประเทศ คือ ในกรุง[[ไทเป]] [[ประเทศไต้หวัน]] ซึ่งมีชาวไต้หวัน ชาวฮ่องกงและชาวสิงคโปร์เข้าร่วมด้วยจำนวนหนึ่ง<ref>{{cite news |title=ชาวไทย-ไต้หวัน-ฮ่องกง จัดชุมนุม #ไทเปจะไม่ทน จี้ รัฐบาลไทย หยุดคุกคามประชาชน |url=https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2309850 |accessdate=16 August 2020 |work=มติชนออนไลน์ |date=16 August 2020}}</ref> มีนักเรียนหลายโรงเรียนร่วมประท้วงด้วย ใช้แฮชแท็ก #โรงเรียนหน้าเขาไม่เอาเผด็จการ มีการกล่าวถึง 4 แสนครั้ง แต่มีโพสต์จากโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ว่าครูตราหน้านักเรียนว่าโง่และถูกพรรคการเมืองหลอก<ref>{{cite news |title=โรงเรียนทั่วประเทศเดือด ชูสามนิ้ว-ผูกโบว์ขาว ไม่เอาเผด็จการ |url=https://www.prachachat.net/social-media-viral/news-506804 |accessdate=17 August 2020 |work=ประชาชาติธุรกิจ |date=17 August 2020 }}</ref> รวมทั้งมีกรณีปัดโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักเรียนเสียหาย<ref>{{cite news |title=ครูขอโทษแล้ว หลังคลิปว่อนด่าปัญญาอ่อน ตบมือถือ นร.วอนเคารพความคิด |url=https://www.khaosod.co.th/politics/news_4723021 |accessdate=17 August 2020 |work=ข่าวสด |date=17 August 2020 |language=th}}</ref>
วันที่ 16 สิงหาคม คณะประชาชนปลดแอกซึ่งยกระดับจากกลุ่มเยาวชนปลดแอก<ref name=":0" /> จัดการชุมนุม "ขีดเส้นตายไล่เผด็จการ" ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สำนักข่าวนิกเกอิเอเชียนรีวิวรายงานอ้างตำรวจภาคสนามว่ามีผู้เข้าร่วมอย่างน้อย 20,000 คน<ref name="nikkei">{{cite news |title=Thailand's youth demo evolves to largest protest since 2014 coup |url=https://asia.nikkei.com/Politics/Turbulent-Thailand/Thailand-s-youth-demo-evolves-to-largest-protest-since-2014-coup |accessdate=18 August 2020 |work=Nikkei Asian Review}}</ref><!--<ref>{{cite news |title=Massive student-led protest calls on govt to quit |url=https://www.bangkokpost.com/thailand/politics/1969211/massive-student-led-protest-calls-on-govt-to-quit |accessdate=17 August 2020 |work=Bangkok Post}}</ref>--> โดยผู้ชุมนุมย้ำข้อเรียกร้อง 3 ข้อเดิม และเพิ่ม 2 จุดยืน ได้แก่ ไม่เอา[[รัฐบาลแห่งชาติ]]และ[[รัฐประหาร]] รวมถึง 1 ความฝัน คือ ระบอบประชาธิปไตยที่มี[[ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ|พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ]]" กลุ่มยังยื่นคำขาดว่า ภายในเดือนกันยายน จะต้องยกเลิก[[วุฒิสภาไทย ชุดที่ 12|วุฒิสภาชุดปัจจุบัน]] ซึ่งคณะประชาชนปลดแอกมองว่าเป็นกลไกสืบทอดอำนาจของ[[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]]ให้ได้<ref name=":0">{{cite news|title="ประชาชนปลดแอก" ประกาศจะไม่หยุดเคลื่อนไหวจนกว่า "อำนาจมืด" จะหมดไป|url=https://www.bbc.com/thai/thailand-53797329|accessdate=16 สิงหาคม 2563|work=BBC ไทย|date=16 สิงหาคม 2563}}</ref> นอกจากนี้ในวันเดียวกัน มีการชุมนุมสนับสนุนในต่างประเทศ คือ ในกรุง[[ไทเป]] [[ประเทศไต้หวัน]] ซึ่งมีชาวไต้หวัน ชาวฮ่องกงและชาวสิงคโปร์เข้าร่วมด้วยจำนวนหนึ่ง<ref>{{cite news |title=ชาวไทย-ไต้หวัน-ฮ่องกง จัดชุมนุม #ไทเปจะไม่ทน จี้ รัฐบาลไทย หยุดคุกคามประชาชน |url=https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2309850 |accessdate=16 August 2020 |work=มติชนออนไลน์ |date=16 August 2020}}</ref> มีนักเรียนหลายโรงเรียนร่วมประท้วงด้วย ใช้แฮชแท็ก #โรงเรียนหน้าเขาไม่เอาเผด็จการ มีการกล่าวถึง 4 แสนครั้ง แต่มีโพสต์จากโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ว่าครูตราหน้านักเรียนว่าโง่และถูกพรรคการเมืองหลอก<ref>{{cite news |title=โรงเรียนทั่วประเทศเดือด ชูสามนิ้ว-ผูกโบว์ขาว ไม่เอาเผด็จการ |url=https://www.prachachat.net/social-media-viral/news-506804 |accessdate=17 August 2020 |work=ประชาชาติธุรกิจ |date=17 August 2020 }}</ref> รวมทั้งมีกรณีปัดโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักเรียนเสียหาย<ref>{{cite news |title=ครูขอโทษแล้ว หลังคลิปว่อนด่าปัญญาอ่อน ตบมือถือ นร.วอนเคารพความคิด |url=https://www.khaosod.co.th/politics/news_4723021 |accessdate=17 August 2020 |work=ข่าวสด |date=17 August 2020 |language=th}}</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:33, 14 กันยายน 2563

การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน:
วันที่
  • ระยะที่ 1: กุมภาพันธ์ 2563
  • ระยะที่ 2: ตั้งแต่ 18 กรกฎาคม 2563
    (3 ปี 9 เดือน, 23 วัน)
สถานที่อย่างน้อย 49 จังหวัดในประเทศไทย และมีการประท้วงในต่างประเทศส่วนหนึ่ง
สาเหตุ
เป้าหมาย
  • ยุบสภาผู้แทนราษฎรและยกเลิกวุฒิสภา
  • หยุดคุกคามประชาชน
  • ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นประชาธิปไตย
  • ไม่ยอมรับรัฐบาลแห่งชาติและรัฐประหาร
  • แก้ไขพระราชอำนาจและกฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย

ข้อเรียกร้องอื่น:

  • กฎหมายสมรสเพศเดียวกัน
วิธีการเดินขบวน แฟลชม็อบ รณรงค์ออนไลน์ เข้าชื่อ
สถานะกำลังดำเนินอยู่
  • หยุดไปช่วงหนึ่งเพราะโควิด-19 และคำสั่งห้ามชุมนุม
คู่ขัดแย้ง

ผู้ประท้วง:
(ไม่มีสายบังคับบัญชา)

  • คณะประชาชนปลดแอก (เดิมชื่อเยาวชนปลดแอก)
  • กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย
  • สหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย
  • เสรีเทย
  • กลุ่มอาชีวะเพื่อประชาชน
  • ฟันเฟืองประชาธิปไตย
  • คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
  • สมัชชาแรงงานแห่งชาติ
  • นักเรียน/นิสิต/นักศึกษา ใน
ดูรายชื่อเต็ม

สื่อที่สนับสนุน

ดูรายชื่อเต็ม

ราชการ:

ประชาชน:

  • กลุ่มพลเมืองผู้รักและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
  • กลุ่มอาชีวะช่วยชาติ[a]
  • ศูนย์กลางประสานงานนักศึกษา อาชีวะ ประชาชน ปกป้องสถาบันฯ (ศอปส.)
  • ไทยภักดี

สื่อที่สนับสนุน

ผู้นำ
  • อานนท์ นำภา[2]
  • ภานุพงศ์ จาดนอก[2]
  • พริษฐ์ ชิวารักษ์[3]
  • จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์[4]
  • ทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี[5]
  • ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล[6]
ความเสียหาย
เสียชีวิต0 คน
บาดเจ็บ0 คน
ถูกจับกุม16 คน[b]
ถูกตั้งข้อหา20 คน[c]

การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563 เป็นการประท้วงที่กำลังดำเนินอยู่ต่อรัฐบาลนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา แรกเริ่มเกิดจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 การประท้วงเกิดขึ้นในพื้นที่สถานศึกษาทั้งหมด และหยุดไปช่วงหนึ่งจากการระบาดทั่วของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย และมีการออกคำสั่งปิดสถานศึกษาเพื่อควบคุมโรค

การประท้วงกลับมาอุบัติขึ้นอีกครั้งในวันที่ 18 กรกฎาคม ในรูปแบบการเดินขบวนซึ่งจัดระเบียบภายใต้กลุ่ม "เยาวชนปลดแอก" ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีผู้เข้าร่วมประมาณ 2,500 คน นับเป็นการชุมนุมใหญ่สุดในรอบ 6 ปี มีการยื่นข้อเรียกร้อง 3 ประการต่อรัฐบาล ได้แก่ ให้ยุบสภาผู้แทนราษฎร หยุดคุกคามประชาชน และร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การประท้วงในเดือนกรกฎาคมนั้นเกิดจากผลกระทบทางเศรษฐกิจของโควิด-19 และการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) โดยแฝงเจตนายับยั้งการชุมนุมทางการเมือง นับแต่นั้นทำให้ต่อมาการประท้วงได้ลามไปอย่างน้อย 44 จังหวัดทั่วประเทศ และมีการประท้วงแทบทุกวัน จนวันที่ 3 สิงหาคม กลุ่มผู้ประท้วงจัดปราศรัยเกี่ยวกับประเด็นพระราชอำนาจและเพิ่มข้อเรียกร้องในการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ นำไปสู่การจับกุมตัวผู้ประท้วง 2 คน เหตุการณ์นี้ทำให้สื่อเรียกว่า "ขยายเพดาน"

หลังเหตุการณ์ดังกล่าว ประเด็นพระราชอำนาจดูเหมือนเข้ามารวมอยู่ในเป้าหมายการประท้วงด้วย กลุ่มประชาชนที่สนับสนุนรัฐบาลจัดการชุมนุมตอบโต้ โดยกล่าวหาผู้ประท้วงว่าถูกยุยงปลุกปั่นมีเจตนาแฝงล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่วนนักวิชาการจำนวนหนึ่งและพรรคก้าวไกลออกแถลงการณ์สนับสนุนสิทธิในการเรียกร้องของผู้ประท้วง

การตอบสนองของภาครัฐมียุทธวิธีประวิงเวลา การแจ้งข้อหาอาญาโดยใช้ พรก. ฉุกเฉิน การกักขังตามอำเภอใจและการคุกคามของตำรวจ มีการใช้หน่วยสงครามข่าวสาร การตรวจพิจารณาสื่อ และมีความเคลื่อนไหวของกลุ่มศาลเตี้ยต่าง ๆ และมีการป้ายสีผู้ประท้วงว่ามีรัฐบาลและองค์การนอกภาครัฐต่างประเทศให้การสนับสนุน บ้างก็ว่าผู้ประท้วงตกเป็นเหยื่อของนักการเมือง

เบื้องหลัง

สาเหตุโดยตรง

ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทำให้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา สถาปนาอำนาจและได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 คสช. ครองอำนาจบริหารประเทศเป็นเวลา 5 ปีโดยไม่มีการตรวจสอบ เป็นช่วงที่สิทธิพลเมืองและสิทธิการเมืองของประชาชนถูกจำกัด และความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจกว้างขึ้น[17][18] หลังการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2559 ที่ผลเป็นข้อพิพาท ตลอดจนไม่เสรีและเป็นธรรม[19] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ฉบับปัจจุบัน มีผลใช้บังคับ ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีส่วนที่ไม่เป็นประชาธิปไตยหลายอย่าง เช่น วุฒิสภาที่สมาชิกมาจากการแต่งตั้งทั้งหมดและมีอำนาจร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีเป็นเวลาห้าปี (สองคน) และผูกมัดให้รัฐบาลในอนาคตต้องปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของ คสช. นักวิชาการเรียกว่าเป็นประชาธิปไตยที่มีการชี้นำ (guided democracy) โดยกองทัพ[20]

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ถูกมองว่า "เสรีบางส่วนและไม่เป็นธรรม" และเป็นอำนาจนิยมแบบมีการเลือกตั้ง (electoral authoritarianism)[21] ทำให้ คสช. สิ้นสุดลงแต่ในนาม อย่างไรก็ดี ระบบการเมืองเดิมยังดำเนินต่อในรูปพรรคทหารแบบประเทศเมียนมาร์[21] กองทัพยังคงดำเนินนโยบายและปฏิบัติตามคำสั่งของ คสช. พรรคร่วมรัฐบาลประกอบด้วยพรรคที่สนับสนุนประยุทธ์และพรรคเล็กที่ได้รับผลประโยชน์จากการตีความกฎหมายเลือกตั้งโดยคณะกรรมการการเลือกตั้งที่มาจากการแต่งตั้งของ คสช.[22] อีกทั้งยังมีพรรคพวกในวุฒิสภา ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรตามรัฐธรรมนูญต่าง ๆ และเจ้าหน้าที่ในราชการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ถูกแต่งตั้งตามกลไกของ คสช. ผู้มีอำนาจจำนวนมาก รวมทั้งผู้มีส่วนในอาชญากรรมที่มีการจัดตั้ง (organized crime) ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีสำคัญ[21][23][24]

ระหว่างการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2562 พรรคอนาคตใหม่ได้รับเสียงตอบรับดีจากผู้มีความคิดก้าวหน้าและเยาวชน ซึ่งมองว่าเป็นทางเลือกสำหรับพรรคการเมืองแบบเก่าและต่อต้าน คสช.[25] เผยให้เน้นการแบ่งแยกทางเศรษฐกิจและสังคมตามรุ่นวัย[21] หลังรัฐบาลผสมอายุได้ 11 เดือน พรรคอนาคตใหม่ซึ่งเป็นฝ่ายค้านถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคในห้วงที่สภาผู้แทนราษฎรกำลังมีญัตติไม่ไว้วางใจรัฐบาล[26] อดีตสมาชิกพรรคอนาคตใหม่เปิดโปงการมีส่วนร่วมของรัฐบาลใน 1MDB[27]

สาเหตุพื้นเดิม

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชอำนาจเพิ่มขึ้นกว่าพระราชอำนาจตามประเพณีที่ทรงอำนาจอยู่แล้วนับแต่รัชกาลก่อน พระองค์ทรงมีความเห็นในรัฐธรรมนูญ และนำไปสู่การแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญทั้งที่ผู้ออกเสียงลงคะแนนรับร่างรัฐธรรมนูญนั้นแล้ว[28] ในปี พ.ศ. 2561 มีการแก้ไขให้พระองค์เป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งตามกฎหมายถือว่าเป็นของสาธารณะ วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 คณะรัฐมนตรีชุดใหม่สาบานตนเข้ารับตำแหน่ง โดยสมาชิกคณะรัฐมนตรีนั้นกล่าวสวามิภักดิ์ต่อพระมหากษัตริย์ แต่ไม่ได้กล่าวถึงรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นการละเมิดการสาบานก่อนเข้ารับตำแหน่งโดยไม่ยอมกล่าวแก้ไข[22] ในปี พ.ศ. 2563 รัฐบาลโอนหน่วยทหาร 2 หน่วยให้เป็นส่วนราชการในพระองค์ ซึ่งดูเหมือนว่ากระทำในพระปรมาภิไธย[29] ในช่วงเดียวกัน พระองค์ยังถูกกล่าวหาว่าพยายามลบประวัติศาสตร์ โดยมีการทำลายอนุสรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคณะราษฎรและการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475[22]

การใช้บังคับกฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยเป็นหัวข้อถกเถียงมาตั้งแต่รัชกาลก่อน จำนวนคดีได้เพิ่มสูงสุดหลังรัฐประหารปี พ.ศ. 2557[30] นักวิจารณ์มองว่ากฎหมายนี้เป็นอาวุธทางการเมืองที่ใช้ปราบปรามผู้เห็นต่าง และจำกัดเสรีภาพในการพูด แม้ไม่มีคดีใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ซึ่งประยุทธ์กล่าวว่าทรงเป็นพระราชประสงค์ แต่ก็มีการใช้กฎหมายความมั่นคงอื่นแทน เช่น กฎหมายการปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116), พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 หรือความผิดฐานอั้งยี่ ซึ่งทั้งหมดล้วนมีโทษร้ายแรงพอ ๆ กับความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 การบังคับสูญหายของวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งสันนิษฐานว่าเกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหาความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ในประเทศกัมพูชา ได้รับความสนใจและเห็นใจในโลกออนไลน์[31]

เหตุการณ์ประจวบ

รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม และสั่งเคอร์ฟิวเพื่อจำกัดการระบาด รัฐบาลยังสั่งงดเดินทางเข้าประเทศจากต่างประเทศ[32] แม้ประเทศค่อนข้างประสบความสำเร็จในการควบคุมโรคแล้ว เนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานทางสาธารณสุขที่ทนทาน[33][34] แต่รัฐบาลยังไม่ยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉิน และข้อจำกัดทางเศรษฐกิจที่รุนแรง อุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่มีความสำคัญของประเทศได้รับผลกระทบหนัก กองทุนการเงินระหว่างประเทศทำนายว่าจีดีพีไทยจะหดตัวลงร้อยละ 6.7 ในปี พ.ศ. 2563[35] รัฐบาลกู้ยืมเงินและประกาศเงินกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 1.9 ล้านล้านบาท (60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) แต่มีผู้ได้รับประโยชน์จริงจำนวนน้อย[36]

การประท้วงระยะแรก (เดือนกุมภาพันธ์)

การประท้วงที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตองครักษ์ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ โดยตัวเลขที่ถูกขีดฆ่าหมายถึง จำนวนคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วประเทศที่เลือกให้กับพรรคอนาคตใหม่ ที่ถูกขีดทิ้ง

การประท้วงระยะแรกเกิดจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ พรรคการเมืองฝ่ายค้านซึ่งได้รับความนิยมในหมู่เยาวชน เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563[37] จึงเกิดการเดินขบวนในมหาวิทยาลัย วิทยาลัยและโรงเรียนหลายแห่งทั่วประเทศตั้งแต่นั้นมา การประท้วงเหล่านี้มีแฮชแท็กที่จำเพาะกับสถาบันของพวกตน การประท้วงในช่วงแรก ๆ เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ โรงเรียนที่ประท้วงด้วย เช่น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและโรงเรียนศึกษานารีวิทยา อย่างไรก็ดี การประท้วงเหล่านี้จำกัดอยู่ในสถาบันของตนเท่านั้น[38][39] ด้านบุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยรามคำแหง ระบุว่า การประท้วงบนถนนไม่เคยสร้างการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศไทย หากกองทัพยังอยู่ข้างรัฐบาล[1]

แฮชแท็กที่เกิดขึ้นในการประท้วงเดือนกุมภาพันธ์ เช่น ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้ #เสาหลักจะไม่หักอีกต่อไป, ในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ใช้ #เกียมอุดมไม่ก้มหัวให้เผด็จการ, ในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ใช้ #มศวคนรุ่นเปลี่ยน อีกจำนวนหนึ่งใช้แสดงออกถึงความเป็นปรปักษ์กับกลุ่มผู้สนับสนุนเผด็จการ เช่น #KUไม่ใช่ขนมหวานราดกะทิ, #KKUขอโทษที่ช้าโดนสลิ่มลบโพสต์, #ศาลายางดกินของหวานหลายสี, #พระจอมเกล้าชอบกินเหล้าไม่ชอบกินสลิ่ม

ต่อมาการประท้วงหยุดไปจากสถานการณ์การระบาดทั่วของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย และมีคำสั่งให้ปิดสถานศึกษาทั่วประเทศเพื่อควบคุมโรค

การประท้วงทางออนไลน์

การรณรงค์ให้หยุดก่อม็อบลงถนนหลังกรณีศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคอนาคตใหม่เพราะกลัวให้เป็นข้ออ้างในการปราบปราม​สังหารประชาชนหรือการรัฐประหารซ้อน​[40] การติดแฮชแท็กในทวิตเตอร์เริ่มเป็นที่นิยมในชื่อ save เพื่อให้มีการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจากรัฐ เช่น #saveวันเฉลิม (วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ลี้ภัยในประเทศกัมพูชา)[41], #saveทิวากร ผู้สวมเสื้อ เราหมดศรัทธา​สถาบันกษัตริย์​แล้ว[42]

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการประวัติศาสตร์และผู้ลี้ภัยทางการเมือง ทวีตตั้งคำถามเกี่ยวกับรัชกาลที่ 10 พร้อมใส่แฮชแท็กดังกล่าว จนนำไปสู่การที่กลุ่มเยาวชนกล้าพูดในเรื่องที่สุ่มเสี่ยงที่สุด คือ #กษัตริย์มีไว้ทำไม[43] เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ผู้ใช้ทวิตเตอร์ "นิรนาม_"ถูกจับกุมที่ทวิตภาพและข้อความเกี่ยวกับรัชกาลที่ 10 และถูกฝากขังที่ศาลพัทยา และไม่ได้รับการอนุญาตให้ประกันตัว โดยใช้การตรวจสอบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากบริษัททรู[44]

ต่อมาในวันที่ 24 เมษายน สหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย ได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความ ระบุว่า สนท. ขอเชิญชวนชาวไทยทุกคนร่วมประท้วงออนไลน์ โดยการถ่ายรูปถือป้ายแสดงความรู้สึกต่อรัฐบาลพร้อมติด #MobFromHome "โควิดหายมาไล่รัฐบาลกันไหม?"[45] ส่งผลให้ในวันต่อมา (25 เมษายน) #MobFromHome พุ่งติดเทรนด์ยอดนิยมอันดับ 1 ในทวิตเตอร์ประเทศไทย โดยมีผู้ใช้ทวิตเตอร์แต่ละบัญชีต่างออกมาระบายความอัดอั้นตันใจที่มีต่อรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์[46]

และวันที่ 27 เมษายน สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา ได้ออกมาโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวร่วม #MobFromHome ด้วย และได้เปิดตัวแฮชแท็กใหม่อีกคือ #NoCPTPP เนื่องจากในวันถัดมา (28 เมษายน) คณะรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ นำโดยจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะมีการเสนอให้ประเทศไทยเข้าร่วมข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก หรือ CPTPP ซึ่งจากข้อตกลงนี้มีกฎหมายข้างเคียงที่จะทำให้ไทยถูกเอาเปรียบทางด้านการเกษตรและด้านการแพทย์อย่างมาก เช่น ต่างชาติสามารถผูกขาดเมล็ดพันธุ์พืชได้ ยามีราคาแพงขึ้น สิทธิบัตรยาถูกผูกขาดมากขึ้น ทำให้ไทยมีความมั่นคงทางอาหารและยาลดลง[47] และ ตุล ไวฑูรเกียรติ นักร้องนำวงอพาร์ตเมนต์คุณป้า ก็ได้ออกมาร่วมรณรงค์ให้คัดค้าน CPTPP ด้วย จนทำให้แฮชแท็ก #NoCPTPP ก็ติดอันดับ 1 ในทวิตเตอร์[48] จนกระทั่งจุรินทร์ต้องสั่งถอนวาระเรื่อง CPTPP ออกจากวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีทันทีในวันนั้นเอง[49]

การประท้วงระยะที่สอง (เดือนกรกฎาคม–ปัจจุบัน)

เบื้องหลัง

วันที่ 15 กรกฎาคม ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ประกาศผู้ติดเชื้อยืนยันรายใหม่ 3 คน แต่ 2 ใน 3 คนนั้น เป็นทหารชาวอียิปต์และครอบครัวอุปทูตซูดาน ซึ่งทั้งสองเป็นแขกวีไอพีของรัฐบาล และรัฐบาลผ่อนผันมาตรการปฏิบัติต่อเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 บางอย่าง รัฐบาลปิดบังพื้นที่เสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยสองรายนี้จนกระทั่งวันที่ 16 กรกฎาคม ทำให้ชาวเน็ตหลายคนเกรงว่าอาจมีการระบาดระลอกที่ 2[50] ประชาชนจำนวนมากจึงวิจารณ์ความล้มเหลวของรัฐบาลในการควบคุมโรคกับแขกวีไอพีเหล่านี้[51] และความล้มเหลวในการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโควิด-19[52][53] วันเดียวกัน นายกรัฐมนตรีเดินทางลงพื้นที่จังหวัดระยอง ตำรวจจับผู้ประท้วงสองคนที่ถือป้ายข้อความประท้วงนายกรัฐมนตรีและเรียกร้องให้ลาออก มีรายงานว่าทั้งสองถูกตำรวจทำร้ายด้วย[54]

การชุมนุมภายใต้ข้อเรียกร้อง 3 ประการ

กลุ่มเสรีเทยโบกธงสีรุ้งในการประท้วงวันที่ 25 กรกฎาคม

วันที่ 18 กรกฎาคม ประเทศไทยมีการเดินขบวนตามถนนครั้งใหญ่สุดนับแต่รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557[55]อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ในกรุงเทพมหานคร ผู้ประท้วงซึ่งรวมตัวกันในชื่อกลุ่ม "เยาวชนปลดแอก" ยื่นข้อเรียกร้อง 3 ประการ ได้แก่ การยุบสภาผู้แทนราษฎร โดยผู้ประท้วงระบุเหตุผลว่า รัฐบาลได้ล้มเหลวในการบริหารเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการระบาดทั่วของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย และการปล่อยละเลยให้บุคคลสำคัญจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยโดยไม่กักตัว 14 วัน จึงเป็นเหตุผู้ประท้วงไม่ไว้วางใจในการทำงานของรัฐบาล, การหยุดคุกคามประชาชน เนื่องจากมีการอ้างความมั่นคงเพื่อปิดปากประชาชน และยัดข้อหาให้ผู้ชุมนุม และ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นการสืบทอดอำนาจเผด็จการ ผู้ประท้วงกำหนดระยะเวลาให้รัฐบาลตอบสนองภายใน 2 สัปดาห์ มิฉะนั้นผู้ประท้วงจะทำการยกระดับการชุมนุมต่อไป[56] สาเหตุการประท้วงเกิดจากเศรษฐกิจของประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 การบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งผู้ชุมนุมมองว่า มีวัตถุประสงค์แอบแฝงเพื่อห้ามการชุมนุมทางการเมือง[57][58] โดยการชุมนุมเริ่มต้นในเวลา 17:00 น. มีผู้เข้าร่วมประมาณ 2,500 คน มีประกาศจะปักหลักค้างคืนจนถึงเวลา 08:00 แต่ในช่วงเวลา 00:00 กลุ่มผู้ประท้วงประกาศยุติการชุมนุม เพราะกังวลเรื่องความปลอดภัย[59] ส่วนชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักวิชาการประวัติศาสตร์ เตือนผู้ชุมนุมอย่าชุมนุมค้างคืน เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเหตุการณ์ 6 ตุลา[60]

การประท้วงที่จังหวัดนครราชสีมาเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม

วันที่ 19 กรกฎาคม เกิดการประท้วงขึ้นอีกหลายพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่และอุบลราชธานี[61]

วันที่ 22 กรกฎาคม มีการจัดกิจกรรม "อิสานสิบ่ทน" ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีข้อเรียกร้อง 3 ข้อ และเรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เพิ่มขึ้นมา แฮชแท็ก #อีสานสิบ่ทน พุ่งติดเทรนด์ยอดนิยมอันดับ 1 ในทวิตเตอร์ประเทศไทยอย่างรวดเร็ว[62]

วันเดียวกัน กลุ่ม "มศว คนรุ่นเปลี่ยน" จัดการชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเพื่อ "ชมสวน" หมายความถึง สวนที่กรุงเทพมหานครนำต้นไม้กระถางมาวางโดยรอบบริเวณ ซึ่งมีการยกออกไปในภายหลัง[63]

จากนั้นการประท้วงได้ลามไปทั่วประเทศ มีการจัดระเบียบการเดินขบวนในกว่า 20 จังหวัดในวันที่ 23 กรกฎาคม[64] บางมหาวิทยาลัยและโรงเรียนสั่งห้ามบุคลากรและนักเรียนนักศึกษาเข้าร่วมการชุมนุมและห้ามจัดการชุมนุมในพื้นที่โดยอ้างเหตุความกังวลเรื่องโควิด-19 ผู้บัญชาการทหารบกและกลุ่มนิยมรัฐบาลชี้ว่าการกระทำบางอย่างของนักศึกษาอาจเข้าข่ายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย วันที่ 24 กรกฎาคม ที่จัตุรัสท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา มีการจัดการนั่งยึดพื้นที่โดยกลุ่มอาจารย์และนักศึกษาจาก 4 มหาวิทยาลัยในจังหวัด นับเป็นการประท้วงครั้งใหญ่สุดครั้งหนึ่ง[65] วันที่ 27 และ 29 กรกฎาคม คนไทยที่กรุงลอนดอน ในสหราชอาณาจักร และนครนิวยอร์กในสหรัฐ ร่วมประท้วงต่อต้านรัฐบาลด้วย[66]

วันที่ 25 กรกฎาคม กลุ่มหลากหลายทางเพศ (LGBT) ชื่อ เสรีเทย เดินขบวนที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อเรียกร้องกฎหมายสมรสเพศเดียวกันนอกเหนือจากข้อเรียกร้องสามข้อของเยาวชนปลดแอก[67] วันที่ 26 กรกฎาคม มีการจัดกิจกรรมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยโดยใช้ตัวการ์ตูนแฮมทาโร่ ตอนแรกเป็นการเคลื่อนไหวออนไลน์ทางทวิตเตอร์ จนกระทั่งมีผู้เข้าร่วมประมาณ 3,000 คน[63] วันที่ 29 กรกฎาคม มีการชุมนุมเกิดขึ้นหลายที่ทั่วประเทศ เช่น ที่ประตูท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ มีการชุมนุมของประชาชนราว 1,000 คน ก่อนหน้านี้ แกนนำ 4 คนถูกตั้งข้อหาซึ่งนัดเข้ามอบตัวในวันที่ 30 กรกฎาคม, ที่จังหวัดน่าน มีผู้ชุมนุมราว 100 คน ใช้แฮชแท็ก #คิดว่าน่านจะทนหรอ #น่านกระซิบลุง, ที่จังหวัดนครสวรรค์ มีผู้ชุมนุม 200 คน ใช้สโลแกนว่า "นครสวรรค์จะไม่ทน เราจะสู้ จนกว่าตะได้ประชาธิปไตยคืนมา", ที่จังหวัดสุพรรณบุรี มีการชุมนุมของกลุ่ม "สุพรรณจะไม่ทน" จำนวน 150 คน และที่จังหวัดนนทบุรี ผู้ชุมนุมร่วมร้องเพลงแฮมทาโร่[68]

วันที่ 30 กรกฎาคม มีการจัดการประท้วงโดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าทั้ง 3 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ภายใต้แฮชแท็ก #สามพระจอมจะยอมได้ไง ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตกรุงเทพมหานคร[69] วันเดียวกัน มีการชุมนุมของกลุ่มอาชีวะ 2 กลุ่ม ได้แก่ "กลุ่มอาชีวะช่วยชาติ" ที่แสดงจุดยืน "พิทักษ์" สถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งกล่าวหาว่ากลุ่มเยาวชนปลดแอก "ท้าทาย ต่อต้าน หรือกระทั่งล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์" มีจำนวนประมาณ 110 คน จัดการชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อีกกลุ่มหนึ่งคือ "อาชีวะเพื่อประชาชน" และกลุ่ม "ฟันเฟืองประชาธิปไตย" ที่แสดงจุดยืนเข้ากับผู้ชุมนุม[70]

รายงานของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (TLHR) ระบุว่า จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม มีการจัดกิจกรรมแล้ว 75 ครั้งใน 44 จังหวัด ในจำนวนนี้ 5 กิจกรรมไม่สามารถจัดได้เพราะมีการคุกคามและปิดกั้นของทางการ[71]

ยกระดับการชุมนุม

ไฟล์:10 August rangsit 1.jpg
การชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วันที่ 10 สิงหาคม โดยมีการจัดแสดงภาพบุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหายบางส่วนในประเทศไทย

วันที่ 1 สิงหาคม กลุ่มเยาวชนปลดแอกพบว่า ผ่านไป 2 สัปดาห์ รัฐบาลไม่ตอบสนองแก่ข้อเรียกร้อง 3 ประการที่เรียกร้องไป ซ้ำยังพบการคุกคามประชาชนมากกว่าเดิมอีก จึงได้โพสต์เฟซบุ๊กประกาศยกระดับการชุมนุม โดยตั้งกลุ่มการเมืองใหม่ในชื่อ "คณะประชาชนปลดแอก" และได้เชิญชวนประชาชนทุกเพศ ทุกวัย มาร่วมมือกับเยาวชนเพื่อขับไล่รัฐบาลชุดนี้ด้วย โดยได้นัดหมายการชุมนุมอีกครั้งในวันที่ 16 สิงหาคม[72]

วิดีโอจากแหล่งข้อมูลภายนอก
คำปราศรัยเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ของอานนท์ นำภา, วิดีโอยูทูบ

วันที่ 3 สิงหาคม กลุ่มมหานครเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มมอกะเสด (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) จัดการชุมนุม มีแฮชแท็กว่า #เสกคาถาไล่คนที่คุณก็รู้ว่าใคร[73] เป็นการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ มีผู้เข้าร่วมประมาณ 200 คน[74] โดยเวลาประมาณ 20.00 น. อานนท์ นำภา ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ขึ้นปราศรัย[75] ความตอนหนึ่งกล่าวถึงพระราชอำนาจที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และข้อเรียกร้องให้ปฏิรูปกฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย[74] อานนท์ถูกตั้งข้อหาหลายข้อหา รวมทั้งข้อหาหนักสุดการปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116) และถูกตำรวจจับกุมในวันที่ 7 สิงหาคม[76] ภาณุพงศ์ จาดนอก แกนนำเยาวชนปลดแอกในวันที่ 18 กรกฎาคม ถูกจับกุมด้วยอีกคน ทำให้เกิดแฮชแท็ก #หยุดคุกคามประชาชน ปล่อยอานนท์ ปล่อยไมค์" #saveทนายอานนท์ #saveไมค์ #หยุดคุกคามประชาชน[77] องค์การนิรโทษกรรมสากลประเทศไทยออกแถลงการณ์ให้ถอนข้อหา และคุ้มครองสิทธิในการชุมนุมของประชาชน[77] ปฏิกิริยาจากการจับกุมดังกล่าวทำให้เกิดการประท้วงที่มีผู้เข้าร่วมประมาณ 1,000 คนในวันที่ 8 สิงหาคม[78] ประมาณต้นเดือนสิงหาคม เกิดการรณรงค์ #ไม่รับปริญญา หมายถึง ไม่เข้าร่วมพิธีพระราชทานปริญญาบัตร[79]

วันที่ 7 สิงหาคม ไอลอว์เริ่มจัดกิจกรรมรวบรวมรายชื่อเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ หวังรวบรวมรายชื่อ 50,000 รายชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชน[80]

วันที่ 9 สิงหาคม มีการจัดการชุมนุม "เชียงใหม่จะไม่ทน" ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีอานนท์ นำภาปราศรัยเรื่องข้อเสนอปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์อีกครั้ง มีผู้ชมุนมประมาณ 500–1,000 คน[81]

วันที่ 10 สิงหาคม คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนเข้ายื่นร่างพระราชบัญญัติออกเสียงลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยมีศูนย์กลางประสานงานนักศึกษา อาชีวะ ประชาชน ปกป้องสถาบันฯ (ศอปส.) ชุมนุมประท้วงตอบโต้ โดยกล่าวหาว่านักศึกษาถูกยุยงให้โจมตีรัฐบาลและกองทัพ และดึงสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้อง อีกทั้งคิดล้มระบอบการปกครอง กลุ่มของตนจะใช้วิธีบีบบังคับทางสังคมเปิดโปงชื่อบุคคลให้สาธารณะทราบ[82] นอกจากนี้ กลุ่ม ศอปส. ยังประกาศจัดตั้งในทุกจังหวัด[83] ด้าน ศ. นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักประวัติศาสตร์ไทย แสดงความกังวลว่าหากปล่อยเวลาไปอีก 6 เดือน กอ.รมน. อาจจัดตั้งฝ่ายต่อต้านได้สำเร็จเหมือนกับครั้งในปี พ.ศ. 2519[84]

ในช่วงเย็นถึงหัวค่ำ มีการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี ชื่อ "#ธรรมศาสตร์จะไม่ทน" มีผู้เข้าร่วมจากหลายกลุ่มและหลายมหาวิทยาลัย และมีกลุ่มอาชีวะมาช่วยรักษาความปลอดภัยให้[85] รวมประมาณ 3,000 คน[86] และใช้สโลแกนว่า "เราไม่ต้องการปฏิรูป เราต้องการปฏิวัติ" มีตัวแทนสหภาพแรงงานร่วมปราศรัย เล่าถึงปัญหาความไม่เสมอภาคและสัญญายกระดับคุณภาพชีวิตของรัฐบาลที่ทำไม่ได้จริง[87] นอกจากนี้ มีการปราศรัยของอานนท์ นำภา, เปิดคลิปของปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ พร้อมกับยื่นข้อเสนอ 10 ข้อเพื่อปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อให้บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยสอดคล้องกับระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ[87] ตามข้อมูลของเอพี ผู้ประท้วงในงานรู้สึกคละกันเกี่ยวกับข้อเรียกร้องดังกล่าว[86] กลุ่มผู้ประท้วง มธ. แจ้งยกเลิกนัดหมายชุมนุมในวันที่ 12 สิงหาคมเนื่องจากทราบมาว่ามีผู้ไม่ประสงค์ดี[88]

ข้อเรียกร้อง 10 ประการของ #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน
  1. ยกเลิกบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ห้ามผู้ใดกล่าวหาฟ้องร้องกษัตริย์ ให้สภาผู้แทนราษฎรสามารถพิจารณาความผิดของกษัตริย์ได้ ดังที่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับคณะราษฎร
  2. ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, ให้แสดงความเห็นต่อสถาบันฯ ได้อย่างเสรี และให้นิรโทษกรรมผู้ถูกดำเนินคดีทุกคน
  3. ยกเลิก พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 และให้แบ่งทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และทรัพย์สินส่วนพระองค์อย่างชัดเจน
  4. ลดงบประมาณแผ่นดินที่จัดสรรให้กับสถาบันกษัตริย์ให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ
  5. ยกเลิกส่วนราชการในพระองค์ และยกเลิกหน่วยงานที่ไม่มีความจำเป็น เช่น คณะองคมนตรี
  6. ยกเลิกการบริจาคและรับบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลทั้งหมด เพื่อให้การเงินของสถาบันกษัตริย์อยู่ภายใต้การตรวจสอบทั้งหมด
  7. ยกเลิกพระราชอำนาจในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในที่สาธารณะ
  8. ยกเลิกการประชาสัมพันธ์และการโฆษณาชวนเชื่อสถาบันกษัตริย์ทั้งหมด
  9. สอบสวนความจริงเกี่ยวกับการฆ่าราษฎรผู้ออกความเห็นหรือวิจารณ์สถาบันกษัตริย์
  10. ห้ามลงพระปรมาภิไธยรับรองรัฐประหารอีก

วันที่ 14 สิงหาคม บีบีซีรายงานว่ามีการจัดประท้วงแนวร่วมเยาวชนปลดแอกใน 49 จังหวัด และประชาชนปกป้องสถาบันฯ 11 จังหวัด[89]

การชุมนุมของคณะประชาชนปลดแอกที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย วันที่ 16 สิงหาคม


วันที่ 16 สิงหาคม คณะประชาชนปลดแอกซึ่งยกระดับจากกลุ่มเยาวชนปลดแอก[22] จัดการชุมนุม "ขีดเส้นตายไล่เผด็จการ" ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สำนักข่าวนิกเกอิเอเชียนรีวิวรายงานอ้างตำรวจภาคสนามว่ามีผู้เข้าร่วมอย่างน้อย 20,000 คน[90] โดยผู้ชุมนุมย้ำข้อเรียกร้อง 3 ข้อเดิม และเพิ่ม 2 จุดยืน ได้แก่ ไม่เอารัฐบาลแห่งชาติและรัฐประหาร รวมถึง 1 ความฝัน คือ ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ" กลุ่มยังยื่นคำขาดว่า ภายในเดือนกันยายน จะต้องยกเลิกวุฒิสภาชุดปัจจุบัน ซึ่งคณะประชาชนปลดแอกมองว่าเป็นกลไกสืบทอดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติให้ได้[22] นอกจากนี้ในวันเดียวกัน มีการชุมนุมสนับสนุนในต่างประเทศ คือ ในกรุงไทเป ประเทศไต้หวัน ซึ่งมีชาวไต้หวัน ชาวฮ่องกงและชาวสิงคโปร์เข้าร่วมด้วยจำนวนหนึ่ง[91] มีนักเรียนหลายโรงเรียนร่วมประท้วงด้วย ใช้แฮชแท็ก #โรงเรียนหน้าเขาไม่เอาเผด็จการ มีการกล่าวถึง 4 แสนครั้ง แต่มีโพสต์จากโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ว่าครูตราหน้านักเรียนว่าโง่และถูกพรรคการเมืองหลอก[92] รวมทั้งมีกรณีปัดโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักเรียนเสียหาย[93]

วันที่ 18 สิงหาคม กลุ่ม "นักเรียนเลว" จัดการประท้วงเป่านกหวีดที่กระทรวงศึกษาธิการเพื่อขับณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และอดีต กปปส.[94]

วันที่ 30 สิงหาคม มีกลุ่ม "ไทยภักดี" ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัยประมาณ 1,000–1,200 คนชุมนุมในสนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง จัดโดยนักการเมืองจากพรรคประชาธิปัตย์ วรงค์ เดชกิจวิกรม ในพื้นที่ใกล้เคียงเกิดเหตุทำร้าย่ร่างกายภารโรงสูงอายุคนหนึ่งที่ใส่เสื้อแดง[95][96]

วันที่ 9 กันยายน แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมได้แถลงรายละเอียดหน้าตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เกี่ยวกับการชุมนุมใหญ่ในวันที่ 19 กันยายน ซึ่งเป็นวันครบรอบ 14 ปี ของการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ซึ่งจะเป็นการชุมนุมปักหลักค้างคืน[97]

การตอบสนอง

การตอบสนองภาครัฐ การคุกคามและจับกุม

วิดีโอจากแหล่งข้อมูลภายนอก
ตำรวจจับกุมพริษฐ์ ชีวารักษ์ แกนนำนักศึกษา 14 สิงหาคม 2563, วิดีโอยูทูบ

วันที่ 3 สิงหาคม กลุ่มทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเปิดเผยว่ามียุทธวิธีคุกคามฝ่ายผู้ประท้วงของทางการ เช่น การติดตามหาข้อมูลถึงบ้าน การถ่ายภาพผู้ประท้วงและป้ายข้อความรายบุคคล การปิดกั้นพื้นที่ ฯลฯ นอกจากนี้สถานศึกษาบางแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สั่งห้ามจัดการชุมนุมในสถานศึกษาด้วย[98]

วันที่ 9 สิงหาคม เพจเฟซบุ๊ก "พิษณุโลกคนกล้าไม่ก้มหน้าให้เผด็จการ" โพสต์ว่าแกนนำเยาวชนในจังหวัดพิษณุโลก 5 คน ถูกเจ้าหน้าที่จับกุมตัวไป[9][99] โดยไม่มีการแจ้งข้อหา อ้างว่าทราบจากเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนว่าถูกควบคุมตัวไปยังค่าย ตชด. แห่งหนึ่ง[100] ฝ่ายตำรวจอ้างว่าตรวจสอบแล้วไม่พบเหตุดังกล่าว และได้ออกหมายจับนายเวหา หรืออาร์ท แสนชนชนะศึก แอดมินของเพจดังกล่าว ข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ[99]

วันที่ 12 สิงหาคม มีทหาร​พรานเข้าหาตัวผู้ชุมนุมที่มัสยิดกรือเซะ จังหวัดปัตตานีที่บ้านหลายราย[101] ในคืนเดียวกัน ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล และพริษฐ์ ชิวารักษ์ (เพนกวิน) แกนนำ สนท. โพสต์ข้อความว่า มีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบมาติดตามพวกตนมายังที่พัก คาดว่าเตรียมจับกุมพวกตน ทำให้ทวิตเตอร์เกิดแฮชแท็ก #SavePanusaya ติดเทรนด์อันดับ 1 มียอดทวีตแล้วอย่างน้อย 123,000 ทวีต[102] นอกจากนี้ พริษฐ์ยังถูกแจ้งความข้อหากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ด้วย[103]

เอเชียไทมส์ รายงานอ้างข้าราชการคนหนึ่งว่า พระมหากษัตริย์ทรงไม่รู้สึกถูกรบกวนจากการประท้วง และผู้ประท้วงควรสามารถแสดงความคิดเห็นได้[104] อย่างไรก็ดี อัลจาซีรารายงานว่า พระมหากษัตริย์ทรงให้สื่อไทยตรวจพิจารณาข้อเรียกร้อง 10 ข้อ[105]

วันที่ 20 สิงหาคม ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตอบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่า หากผู้ประท้วงไม่อยากถูกจับ ให้ไปประท้วงที่ทุ่งกุลาร้องไห้[106]

วันที่ 22 สิงหาคม มีรายงานว่าผู้ใช้สื่อสังคมจำนวนมากไม่พอใจที่กรมประชาสัมพันธ์เปิดตัวคลิปเพลง "ธงชาติ" ที่ใช้โจมตีผู้ประท้วง โดยอ้างว่าสร้างความแตกแยก ทำนองเดียวกับคลิป "รักจากแม่" จนล่าสุดคลิปทั้งสองถูกปิดการเข้าถึงทางยูทูบแล้ว[107] วันเดียวกัน มีข่าวว่าเจ้าหน้าที่ตามหาเด็กอายุ 3 ขวบที่ชูสัญลักษณ์ 3 นิ้วต้านรัฐบาล[108]

วันที่ 28 สิงหาคม ผู้มีชื่อตามหมายจับจำนวน 15 คนเข้ารับทราบข้อกล่าวหาที่ ส.น. สำราญราษฎร์ ซึ่งได้รับการปล่อยตัวโดยไม่ต้องวางประกัน วันเดียวกัน เกิดเหตุมีศิลปินสาดสีใส่ชุดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ[109]

สนับสนุน

สำหรับข้อกังวลเกี่ยวกับโอกาสการรับเข้าทำงานของเยาวชนที่เข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง ผู้เชี่ยวชาญทรัพยากรมนุษย์ตอบว่า คนที่จะได้รับผลกระทบมีเฉพาะผู้ที่มีฝ่ายทางการเมือง หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนทางการเมืองเท่านั้น[110]

มี ส.ส. สังกัดพรรคก้าวไกล ระบุว่าการพาดพิงถึงพระมหากษัตริย์ในการประท้วง (เช่น การล้อเลียน เสียดสี มีม ฯลฯ) เป็นความจริงที่น่ากระอักกระอ่วน และจำต้องให้ความสนใจ อย่างไรก็ดี หนังสือพิมพ์ ผู้จัดการ และอภิรัชต์ตอบโต้อย่างรุนแรง โดยมองว่าในผู้ประท้วงมีกลุ่มผู้ต้องการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์แอบแฝง หรือไม่นักศึกษาก็ตกเป็นเหยื่อของผู้อยู่เบื้องหลังที่มีเจตนาดังกล่าว[111] ศาสตราจารย์ อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เขียนว่า "เด็กเขาก็แสดงออกในสิ่งที่เขาคิด... ถามว่าทำไมเราถึงรู้สึกหวั่นไหว ตกอกตกใจ หรือสะดุ้งเวลาเห็นข้อความบางข้อความ เพราะว่าจุดที่เราสะดุ้งนั้น มันไม่ใช่จุดของเด็ก มันเป็นจุดของเราเอง เป็นเพดานของเรา แต่เด็กเขาไม่เห็นเพดาน เขายังไม่มีเพดาน ส่วนพวกเราที่ผ่านชีวิตมาแล้ว เราเห็นเพดาน หรือเราเห็นเส้นที่ห้ามแตะ ห้ามเกิน เป็นเส้นตัด" มีเด็กนักเรียนคนหนึ่งที่ถือป้ายทำนองดังกล่าวให้สัมภาษณ์ว่า "พี่เขาให้มา หนูก็รับ ไม่ได้คิดว่าจะมีปัญหา มันเป็นสิ่งที่ควรพูดได้ และไม่ควรมีใครต้อง 'เป็นบ้า' เพียงเพราะเขียนข้อความอะไรลงแผ่นกระดาษหรือบนเสื้อ"[112] ในวันที่ 28 กรกฎาคม อานนท์ นำภา โพสต์ว่า ทราบมาว่ามีการจัดตั้งกลุ่มคนมาทำร้ายผู้ชุมนุมตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม[113]

มารีญา พูลเลิศลาภ นางงาม แสดงจุดยืนเข้ากับผู้ประท้วง[114] นักแคสเกมที่มีชื่อเสียงที่ใช้ชื่อว่า ฮาร์ตร็อกเกอร์ ก็แสดงความสนับสนุนเช่นกัน[115] ทราย เจริญปุระซื่อไอศกรีมเลี้ยงผู้ประท้วงที่จังหวัดนนทบุรี[116]

คณาจารย์อย่างน้อย 147 คนลงชื่อสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงออกของนักศึกษาในวันที่ 10 สิงหาคม และระบุว่าเนื้อหาไม่ได้ขัดต่อกฎหมาย[117][90] และนักวิชาการเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมืองอย่างน้อย 358 สนับสนุนการประท้วง[90] บุคลากรโรงเรียนบางส่วนสนับสนุนการแสดงออกของนักเรียน[118]

วันที่ 18 สิงหาคม ยูนิเซฟออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทุกฝ่ายรับรองความปลอดภัยของผู้ชุมนุมเด็กและเยาวชน โรงเรียนและสถานศึกษาเป็นที่แสดงออกและแลกเปลี่ยนความเห็นอย่างสร้างสรรค์[119]

คัดค้าน

อดีตรองโฆษกกองทัพบกเรียกผู้ประท้วงว่า "ม็อบมุ้งมิ้ง" ทางเฟซบุ๊ก การประท้วงต่อมาบ้างใช้คำว่า "มุ้งมิ้ง" ในชื่อกิจกรรมของพวกตน[120] พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก ให้สัมภาษณ์เตือนว่าการกระทำของผู้ประท้วงบางคนอาจเข้าข่ายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย และน้ำตาคลอเมื่อเล่าถึงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ของตน[121] ด้านพลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย เตือนเขาไม่ให้ยุ่งกับผู้ประท้วง และให้ "รีบเกษียณอายุราชการ"[122]

ด้านอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย แสดงความกังวลถึงโอกาสแพร่กระจายของโรคโควิด-19 แต่วางท่าทีเป็นกลางต่อข้อเรียกร้อง 3 ประการ[123]

วันที่ 10 สิงหาคม สถาบันทิศทางไทย ซึ่งมีอดีตสมาชิกกลุ่ม กปปส. เข้าร่วม[124] เผยแพร่ "แผนผังเครือข่ายปฏิวัติประชาชน" ซึ่งโยงผู้ประท้วงนักศึกษา กับธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และทักษิณ ชินวัตร[125] ประยุทธ์แสดงความไม่สบายใจต่อการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตในวันเดียวกัน[126] รองอธิการบดี มธ. โพสต์ขออภัยกรณีข้อเสนอ 10 ข้อของนักศึกษา โดยระบุว่าเมื่อนักศึกษามาขอใช้พื้นที่ชุมนุมไม่ได้แจ้งเรื่องนี้[127] ด้านคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ให้สัมภาษณ์ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอที่กระทบกระเทือนพระราชอำนาจ[128] ด้านประวิตร โรจนพฤกษ์ตั้งคำถามถึงเงินทุนสนับสนุนและการจัดระเบียบที่มีลักษณะคล้าย นปช. หรือ กปปส.[129] แต่พรรคก้าวไกลออกมาสนับสนุนให้เปิดโอกาสแก่นักศึกษา[130] หนังสือพิมพ์แนวหน้า เขียนว่าข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นการกระทำชั่วร้าย สร้างความแตกแยก อ้างว่าเป็นการประท้วงรัฐบาลหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อบังหน้า แต่เป็นการบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ มีเบื้องหลังเป็นพรรคเพื่อไทยและพรรคอนาคตใหม่[131]

การคัดค้านในเวลาต่อมาพยายามอ้างว่ามีต่างชาติให้การสนับสนุนการประท้วง ภูมิวัฒน์ แรงกสิวิทย์ แกนนำแนวร่วมนวชีวิน ที่มีข่าวว่าเริ่มอดอาหารประท้วงหน้าสัปปายะสภาสถานตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม โดยให้สัมภาษณ์ว่าทำเพื่อเน้นย้ำความยากจนที่เกิดจากโควิด-19[132] แต่ภายหลังออกมาให้สัมภาษณ์ว่าแตกหักกับกลุ่มเยาวชนปลดแอกเนื่องจากไม่พอใจที่ไม่ได้ขึ้นเวที และกล่าวหาว่ากลุ่มรับเงินสถานทูตและองค์การนอกภาครัฐต่างประเทศ ขณะเดียวกันตัวเขาเองก็ถูกกล่าวหาว่าเป็นสายตำรวจ[133] บ้างอ้างว่า ที่องค์การการบริจาคทรัพย์เพื่อประชาธิปไตยแห่งชาติ (National Endowment for Democracy) ของสหรัฐ ซึ่งเป็นองค์การนอกภาครัฐที่ได้รับจัดสรรเงินสนับสนุนผ่านรัฐสภาสหรัฐ สนับสนุนกลุ่มต่าง ๆ ที่สนับสนุนฝ่ายผู้ประท้วงนั้น เป็นหลักฐานเชื่อมโยงดังกล่าว ทั้งที่กลุ่มต่าง ๆ ที่ได้รับเงินสนับสนุนจากองค์การดังกล่าว เช่น ไอลอว์ เปิดเผยต่อสาธารณะมาช้านานแล้ว

ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ ประกาศให้รางวัลครูที่ตบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักเรียน และว่าถ้าตนพบเห็นนักเรียนชูสามนิ้วจะจับตีก้น[134]

บางคนและกลุ่ม เช่น เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ หรือเพจโปลิศไทยแลนด์ ประณามการสาดสีใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจของผู้ประท้วง โดยกล่าวว่าเป็น "ความรุนแรง"[135][136]

การห้ามใช้พื้นที่ชุมนุม

สถานศึกษาที่ประกาศห้ามชุมนุม เช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[137] มหาวิทยาลัยมหิดล[138] โรงเรียนราชินี ส่วนที่โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน มีการพ่นยากันยุงในวันที่นัดชุมนุม[139]

ส่วนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานอนุญาตให้นักเรียนจัดกิจกรรมในโรงเรียนได้ เพียงแต่ห้ามบุคคลภายนอกเข้าร่วม[140]

การรายงานของสื่อ

วันที่ 17 สิงหาคม เนชั่นทีวีลงข่าวยอมรับว่ามีผู้สื่อข่าวของตนปกปิดสังกัดและแอบอ้างว่ามาจากช่องอื่นจริง และกองบรรณาธิการเรียกตักเตือนแล้ว แต่ก็อ้างว่าที่นักข่าวกระทำเช่นนั้นเพราะกลัวเกิดอันตรายจากผู้ชุมนุม[141] ต่อมาจึงเกิดการดำเนินกิจกรรมของผู้บริโภคชื่อ #แบนสปอนเซอร์เนชั่น เพื่อให้เนชั่นเปลี่ยนแปลงวิธีการนำเสนอข่าว แต่เนชั่นออกแถลงการณ์อ้างว่าจะทำให้บริษัทเหล่านั้นเสียหาย ทั้งที่ไม่เกี่ยวกับการนำเสนอของเนชั่น[142]

หมายเหตุ

  1. ภายหลังพบว่ามีความเกี่ยวข้องเป็นหุ้นส่วนกับพรรครวมพลังประชาชาติไทย
  2. รวบรวมจากหลายแหล่ง:[7][8][9][10][11][12][13]
  3. รวบรวมจากหลายแหล่ง:[14][15][16]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "แฟลชม็อบนักเรียน-นักศึกษา ประกายไฟในกระทะ หรือ เพลิงลามทุ่ง". BBC Thai. 2020-02-28.
  2. 2.0 2.1 คุม 'ทนายอานนท์ - ไมค์' ส่งศาลแล้วทั้งคู่ ท่ามกลางมวลชนนับร้อย
  3. เพนกวิน ตะโกน “ไม่มีสิทธิคุกคามประชาชน” ระหว่างตำรวจบุกจับคดีเดียวกับ อานนท์-ไมค์ แต่ถูกตั้งข้อหา “ทำร้ายร่างกาย” เพิ่มด้วย
  4. "ประชาชนปลดแอก" ส่งหนังสือ ขอใช้แยกคอกวัว-อนุสาวรีย์ ปชต.ชุมนุม พรุ่งนี้
  5. ฟัง 2 มุมมอง "สมาชิกวุฒิสภา" กับ "คณะประชาชนปลดแอก" ขีดเส้นไล่รัฐบาล
  6. "รุ้ง" ไม่ขึ้นเวทีปลดแอก แกนนำย้ำ 3 ข้อเสนอเดิม
  7. อานนท์ นำภา: ศาลอนุมัติหมายจับ "ทนายอานนท์" หลังปราศรัยเรื่องสถาบันกษัตริย์
  8. จับแล้ว! 'ภาณุพงศ์ จาดนอก' กำลังถูกนำตัวไป​ สน.สำราญราษฎร์
  9. 9.0 9.1 Anti-Govt Protesters Detained, Given ‘Attitude Adjustment’ in Jungle
  10. "โดนแล้ว! ตำรวจบุกรวบ 'เพนกวิน' หลังถูกแจ้งจับ ผิดมาตรา116". Thai Post. สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
  11. "รวบ 'บารมี ชัยรัตน์' คดีชุมนุมเยาวชนปลดแอก 18 ก.ค." VoiceTV. สืบค้นเมื่อ 19 August 2020.
  12. "หยุดไม่อยู่ แฟลชม็อบทุกวัน ตร.จับ 9 แกนปลดแอกส่งฝากขัง-ศาลให้ประกัน ตั้งเงื่อนไขห้ามผิดซ้ำ". มติชนออนไลน์. 21 August 2020. สืบค้นเมื่อ 21 August 2020.
  13. ""ทัตเทพ-ภานุมาศ" ได้รับการปล่อยตัวแล้ว นักวิชาการ-ส.ส. ช่วยประกัน". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 26 August 2020.
  14. 4 นักศึกษาผู้จัด #เชียงใหม่จะไม่ทนtoo ให้การปฏิเสธข้อหา พ.ร.ก.ฉุกเฉิน-พ.ร.บ.โรคติดต่อ
  15. เปิดรายชื่อ15แกนนำม็อบนศ. ศาลออกหมายจับแล้ว
  16. "ตร.แจ้ง 5 ข้อหา 4 แกนนำ ชุมนุมหน้ากองทัพบก". Thai PBS. 25 August 2020. สืบค้นเมื่อ 25 August 2020.
  17. Montesano, Michael John, III, 1961- editor. Chong, Terence, editor. Heng, Mark, editor. After the coup : the National Council for Peace and Order era and the future of Thailand. ISBN 978-981-4818-98-8. OCLC 1082521938. {{cite book}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  18. Kongkirati, Prajak; Kanchoochat, Veerayooth (2018). "The Prayuth Regime: Embedded Military and Hierarchical Capitalism in Thailand". TRaNS: Trans -Regional and -National Studies of Southeast Asia. 6 (2): 279–305. doi:10.1017/trn.2018.4. ISSN 2051-364X.
  19. McCargo, Duncan; T Alexander, Saowanee; Desatova, Petra (2016-12-31). "Ordering Peace: Thailand's 2016 Constitutional Referendum". Contemporary Southeast Asia. 39 (1): 65–95. doi:10.1355/cs39-1b. ISSN 0129-797X.
  20. Montesano, Michael J. (2019). "The Place of the Provinces in Thailand's Twenty-Year National Strategy: Toward Community Democracy in a Commercial Nation?" (PDF). ISEAS Perspective. 2019 (60): 1–11.
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 Sawasdee, Siripan Nogsuan (2019-12-12). "Electoral integrity and the repercussions of institutional manipulations: The 2019 general election in Thailand". Asian Journal of Comparative Politics. 5 (1): 52–68. doi:10.1177/2057891119892321. ISSN 2057-8911.
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 22.4 ""ประชาชนปลดแอก" ประกาศจะไม่หยุดเคลื่อนไหวจนกว่า "อำนาจมืด" จะหมดไป". BBC ไทย. 16 สิงหาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  23. McCargo, Duncan (2019). "Southeast Asia's Troubling Elections: Democratic Demolition in Thailand". Journal of Democracy. 30 (4): 119–133. doi:10.1353/jod.2019.0056. ISSN 1086-3214.
  24. McCargo, Duncan; Alexander, Saowanee T. (2019). "Thailand's 2019 Elections: A State of Democratic Dictatorship?". Asia Policy. 26 (4): 89–106. doi:10.1353/asp.2019.0050. ISSN 1559-2960.
  25. McCARGO, DUNCAN (2019). "Anatomy: Future Backward". Contemporary Southeast Asia. 41 (2): 153–162. doi:10.2307/26798844. ISSN 0129-797X.
  26. News, A. B. C. "Court in Thailand orders popular opposition party dissolved". ABC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-08-23. {{cite web}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  27. "แฟลชม็อบนักเรียน-นักศึกษา ประกายไฟในกระทะ หรือ เพลิงลามทุ่ง" [Student flash mobs: sparks in pan or spreading fire?]. BBC Thai. 2020-02-28. สืบค้นเมื่อ 2020-07-25.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  28. "Thai parliament approves king's constitutional changes request, likely delaying elections". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2017-01-13. สืบค้นเมื่อ 2020-08-23.
  29. "Thai king takes control of five palace agencies". The Business Times (ภาษาอังกฤษ). 2017-05-02. สืบค้นเมื่อ 2020-08-23.
  30. 2014 coup marks the highest number of lèse-majesté prisoners in Thai history. Prachatai.
  31. Wright, George; Praithongyaem, Issariya (2020-07-02). "The satirist who vanished in broad daylight". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2020-08-23.
  32. Pulitzer, Greeley (2 April 2020). "National curfew announced. Takes effect tomorrow". The Thaiger.
  33. Abuza, Zachary (21 April 2020). "Explaining Successful (and Unsuccessful) COVID-19 Responses in Southeast Asia". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 10 June 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  34. Bello, Walden (3 June 2020). "How Thailand Contained COVID-19". Foreign Policy In Focus. สืบค้นเมื่อ 10 June 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  35. Paweewun, Oranan (16 April 2020). "IMF: Thai GDP down 6.7%". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 10 June 2020.
  36. Theparat, Chatrudee (7 April 2020). "Cabinet gives green light to B1.9tn stimulus". Bangkok Post.
  37. "Thailand's Future Forward Party Has the Support of Young Thais. A Court Could Disband It Entirely". Time (ภาษาอังกฤษ). 2020-01-20. สืบค้นเมื่อ 2020-07-25.
  38. "A Popular Thai Opposition Party Was Disbanded. What Happens Next?". CFR (ภาษาอังกฤษ). 2020-02-27. สืบค้นเมื่อ 2020-07-25.
  39. "Tจุดติด-ไม่ติด : แฮชแท็กและการชุมนุมประท้วงของนิสิตนักศึกษาบอกอะไรเราบ้าง". The Momentum Co. (ภาษาอังกฤษ). 2020-02-26. สืบค้นเมื่อ 2020-07-25.
  40. ถอดรหัส​แฮชแท็ก​ #เว้นเซเว่นทุก​Wednesday และ #pausemob prachatai.17 มีนาคม 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563
  41. #saveโรม ขึ้นอันดับ 1 เทรนด์ทวิตเตอร์ หลังเดินหน้าตามปม 'วันเฉลิม-หมู่อาร์ม' prachatai.2020-06-19 สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2563
  42. #saveทิวากร ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ หลังมีข่าวผู้สวมเสื้อ 'เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้ว' ถูกจับเข้าจิตเวช prachatai.2020-07-14 สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2563
  43. ส่องปรากฏการณ์ #กษัตริย์มีไว้ทำไม กับ 'แอคหลุม-มีม' เซฟโซนสีเทาของคนรุ่นใหม่ prachatai.2020-03-26 สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2563
  44. ตร.พัทยา อ้าง พ.ร.บ.คอมฯ จับผู้ใช้ทวิตเตอร์บัญชี "นิรนาม_" 20 กุมภาพันธ์ 2563.สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563
  45. Bright Today (25 เมษายน 2563). "สนท. ชวนประท้วงรัฐบาลผ่านออนไลน์ พร้อมติด #MobFromHome". www.brighttv.co.th. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  46. กระปุก.คอม (25 เมษายน 2563). "โซเชียลไทยเดือด ผุด #MobFromHome ประท้วงรัฐบาล พุ่งเทรนด์อันดับ 1 ทวิตเตอร์". kapook.com. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  47. มติชน (27 เมษายน 2563). "หมอสุภัทรชวนติดแฮชแท็กต้าน CPTPP ร่วม Mob from Home นวัตกรรมประชาธิปไตยในยุคโควิด -19". www.matichon.co.th. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  48. สนุก.คอม (27 เมษายน 2563). ""ตุล อพาร์ตเมนต์คุณป้า" ชวนชุมนุมออนไลน์ต้าน "CPTPP" หลังกลายเป็นประเด็นร้อน". www.sanook.com. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  49. สนุก.คอม (27 เมษายน 2563). "กระทรวงพาณิชย์ยอมถอย CPTPP ถอดพ้นวาระประชุมคณะรัฐมนตรี". www.sanook.com. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  50. "โควิด-19: ผลการสืบสวนโรคพบผู้ที่ต้องเฝ้าระวังจากกรณีเด็กหญิงซูดานและทหารอียิปต์มีทั้งหมด 36 คน". BBC Thai. 2020-07-16. สืบค้นเมื่อ 2020-07-25.
  51. "ปชช.กังวลทหารอียิปต์-ครอบครัวซูดาน ทำ COVID-19 ระบาดใหม่". Thai PBS. 2020-07-19. สืบค้นเมื่อ 2020-07-25.
  52. "หละหลวม ปล่อยทหารอียิปต์ติดโควิด เข้ามา ท่องเที่ยวระยองพังหนัก รอวันตาย". Thairath. 2020-07-15. สืบค้นเมื่อ 2020-07-14.
  53. "ท่องเที่ยวระยองพังพินาศ แห่ถอนจองโรงแรมรีสอร์ท90%". Dailynews. 2020-07-14. สืบค้นเมื่อ 2020-07-25.
  54. "โซเชียลเดือด ดันแฮชแท็ก #ตำรวจระยองอุ้มประชาชน ปม 2 วัยรุ่นชูป้ายไล่นายกฯ". Thairath. 2020-07-15. สืบค้นเมื่อ 2020-07-25.
  55. "Anti-government rallies spreading across Thailand". Coconut Thailand (ภาษาอังกฤษ). 2020-07-20. สืบค้นเมื่อ 2020-07-25.
  56. "'เยาวชนปลดแอก' เปิดแถลงการณ์ข้อเรียกร้องฉบับเต็ม". Bangkok Biz News. 2020-07-18. สืบค้นเมื่อ 2020-07-25.
  57. "Thai protesters call for government to resign". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 18 July 2020. สืบค้นเมื่อ 20 July 2020.
  58. ""เยาวชนปลดแอก" ยุติการชุมนุมก่อนเที่ยงคืน อ้างความปลอดภัย สรุปบรรยากาศจากเริ่มจนจบ". BBC Thai. 18 July 2020. สืบค้นเมื่อ 20 July 2020.
  59. “ม็อบปลดแอก” ยุติชุมนุมหวั่นมือที่ 3 ลั่นไม่ใช่จุดสิ้นสุด แต่เป็นการเริ่มต้น เผยแพร่: 19 ก.ค. 2563 05:19 โดย: ผู้จัดการออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
  60. “ชาญวิทย์” เตือนม็อบ “เยาวชนปลดแอก” อย่าค้างคืน หวั่นซ้ำรอย “6 ตุลา”
  61. "Chiang Mai, Ubon rally against Prayut, government". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). 20 July 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-07-25.
  62. https://www.thairath.co.th/news/society/1895380
  63. 63.0 63.1 "ม็อบดิจิตัล: ความป๊อปในโลกออนไลน์ ที่ผลักดันให้การชุมนุมเข้าถึงคนมากขึ้น". Workpoint Today]. 25 กรกฎาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  64. "ประท้วงดาวกระจายลามกว่า 20 จังหวัด เปิดไทม์ไลน์จุดเริ่มจาก 'เยาวชนปลดแอก'". The Bangkok Insight. 23 July 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-07-25.
  65. "4 มหาวิทยาลัยในโคราช นักเรียน ประชาชน แสดงพลังทวงคืนประชาธิปไตย". Thairath. 2020-07-24. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.
  66. ชาวไทยในต่างประเทศ ร่วมแสดงพลังเรียกร้องประชาธิปไตย "ขับไล่เผด็จการ"
  67. ""กลุ่มเสรีเทยพลัส" จัดกิจกรรมม็อบไม่มุ้งมิ้งแต่ตุ้งติ้งค่ะคุณรัฐบาล". MGR Online. 25 July 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.
  68. แฟลชม็อบคึกคัก หลายจังหวัดทั่วไทย ฮือต้าน รบ. ทวงคืนประชาธิปไตย
  69. #สามพระจอมจะยอมได้ไง อาชีวะไล่เผด็จการ ส่งไม้เวียนจัดแฟลชม็อบ ย้ำ 3 ข้อเรียกร้องเยาวชนปลดแอก
  70. อาชีวะช่วยชาติ: นศ. อาชีวะ 2 กลุ่มประกาศปกป้องสถาบัน กับ พิทักษ์ประชาชน
  71. "2 อาทิตย์หลังเยาวชนเริ่มปลดแอก: เสนอหยุดคุกคาม กลับถูกคุกคามกว้างขวาง". ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (THAI LAWYERS FOR HUMAN RIGHTS). 31 July 2020. สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
  72. มติชน (1 สิงหาคม 2563). "เปิดตัว 'คณะประชาชนปลดแอก' ลั่น เยาวชนไม่อาจสู้ลำพัง เล็งนัดหมายเร็ว ๆ นี้". www.matichon.co.th. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  73. กรุงเทพธุรกิจ (3 สิงหาคม 2563). "กลุ่มมหานครฯ-มอกะเสด แต่งกายชุดพ่อมด-แม่มด ขับไล่อำนาจมืดจากคนที่คุณก็รู้ว่าใคร". www.bangkokbiznews.com. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  74. 74.0 74.1 Demonstrators gather in Harry Potter-themed protest against Thai monarchy
  75. มติชน (3 สิงหาคม 2563). "สวมหน้ากาก 'บิ๊กป้อม' ร่วมม็อบ เจอเสกคาถาไล่ ปล่อยมุขฮา 'ไม่รู้ ๆ '". www.matichon.co.th. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  76. ด่วน! โดนจับแล้ว 'อานนท์ นำภา' ตามหมายจับศาลอาญา
  77. 77.0 77.1 อานนท์ นำภา ส่งสารถึงผู้ชุมนุม "ต่อสู้ให้ถึงเส้นชัย" ด้านแอมเนสตี้ฯ ประเทศไทย เรียกร้อง "ถอนข้อกล่าวหาที่ปราศจากมูลความจริง"
  78. "Rival protests raise fears of return to violence". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  79. "คิดแต่ละเรื่อง! "อัษฎางค์" จวกยับ "เยาวชนปลดแอก" ยุ "ไม่รับปริญญา" "ปวิน" แอ่นรับสนับสนุนแคมเปญทันควัน". mgronline.com (ภาษาอังกฤษ). 10 August 2020.
  80. เตือน!คนรุ่นใหม่ลุกฮือสู้เผด็จการ ล่า5หมื่นชื่อแก้รธน.60ตั้งส.ส.ร.
  81. "ทนายอานนท์ปราศรัยที่เชียงใหม่ ส่วนผู้จัดที่พิษณุโลกบอกถูกเจ้าหน้าที่ขอร้องไม่ให้จัด". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 10 August 2020.
  82. "ครช.ยื่นร่างพ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ ร่าง รธน.ใหม่ ฝ่ายค้านรับเร่งเสนอในสัปดาห์นี้". prachatai.com. สืบค้นเมื่อ 10 August 2020.
  83. ""ประชาชนปกป้องสถาบันฯ" ผุด ศอปส. ทุกจังหวัด จับผิด-เปิดเผยตัวตน "คนชังชาติ"". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 10 August 2020.
  84. "นิธิ เอียวศรีวงศ์ หวั่น 6 ตุลา รอบใหม่". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 12 August 2020.
  85. "ม็อบนศ.ฮือต้าน"รัฐบาลลุงตู่"แน่น ม.ธรรมศาสตร์". https://www.posttoday.com. สืบค้นเมื่อ 10 August 2020. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |website= (help)
  86. 86.0 86.1 Press, Associated (11 August 2020). "Student Protest at Thammasat the Largest Rally in Months". Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  87. 87.0 87.1 "ประมวลชุมนุม #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน 'เราไม่ต้องการปฏิรูปเราต้องการปฏิวัติ'". prachatai.com. สืบค้นเมื่อ 10 August 2020.
  88. "รวมปฏิกิริยาต่อ 10 ข้อเรียกร้องของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 12 August 2020.
  89. "สำรวจแนวการชุมนุมประชาชนหนุน-ต้านรัฐบาล". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 18 August 2020.
  90. 90.0 90.1 90.2 "Thailand's youth demo evolves to largest protest since 2014 coup". Nikkei Asian Review. สืบค้นเมื่อ 18 August 2020.
  91. "ชาวไทย-ไต้หวัน-ฮ่องกง จัดชุมนุม #ไทเปจะไม่ทน จี้ รัฐบาลไทย หยุดคุกคามประชาชน". มติชนออนไลน์. 16 August 2020. สืบค้นเมื่อ 16 August 2020.
  92. "โรงเรียนทั่วประเทศเดือด ชูสามนิ้ว-ผูกโบว์ขาว ไม่เอาเผด็จการ". ประชาชาติธุรกิจ. 17 August 2020. สืบค้นเมื่อ 17 August 2020.
  93. "ครูขอโทษแล้ว หลังคลิปว่อนด่าปัญญาอ่อน ตบมือถือ นร.วอนเคารพความคิด". ข่าวสด. 17 August 2020. สืบค้นเมื่อ 17 August 2020.
  94. "เอาแล้ว! กลุ่มนักเรียนเลว นัดเป่านกหวีดไล่ รมว.ศึกษา ลั่นต้องปกป้องอนาคต". ข่าวสด. 18 August 2020. สืบค้นเมื่อ 19 August 2020.
  95. "Royalists rally to support monarchy". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2020-08-30.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  96. English, Khaosod (2020-08-31). "Royalists Slam 'Foreign Interference' in Major Counter-Rally". Khaosod English (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-08-31.
  97. มติชน (9 กันยายน 2563). "รุ้ง-เพนกวิน ประกาศค้างคืน มธ.ท่าพระจันทร์ 19 ก.ย. เช้าเดินขบวนสู่ทำเนียบรัฐบาล". www.matichon.co.th. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  98. ศูนย์ทนายสิทธิฯ เปิด 8 รูปแบบการคุกคามปิดกั้น รอบ 2 อาทิตย์หลังเยาวชนเริ่มปลดแอก
  99. 99.0 99.1 ไม่รอด! ตร.จับแอดมินกุข่าวอุ้ม 3 แกนนำเยาวชนพิษณุโลกเข้าค่าย ตชด. แฉมีคดีติดตัว
  100. 3 แกนนำเยาวชนยังหายตัวปริศนา ส.ส.พิษณุโลก เผย ตชด.ปฏิเสธ ไม่ได้คุมตัว
  101. 'ทหารพราน' อ้าง 'นายสั่งมา' เยี่ยมบ้าน-สอบข้อมูลส่วนตัวผู้ชุมนุม 'แฟลชม็อบปัตตานี' หลายราย Prachatai. (2020-08-12 22:19) สืบค้นเมื่อวันที่ 13-08-2020
  102. รุ้ง-เพนกวิน' 2 แกนนำ สนท. โพสต์มีเจ้าหน้าที่ตามถึงหอพัก หวั่นถูกจับกุมกลางดึก Prachatai. (2020-08-12) สืบค้นเมื่อวันที่13สิงหาคม2563
  103. ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ ทรงให้ความเห็นเรื่องการคุกคามประชาชน ด้าน "เพนกวิน พริษฐ์" โดนแจ้งความ ม. 112
  104. Crispin, Shawn W. (18 August 2020). "New generation of daring resistance in Thailand". Asia Times. สืบค้นเมื่อ 20 August 2020.
  105. "Thai PM says protesters' call for monarchy reform 'went too far'". www.aljazeera.com. สืบค้นเมื่อ 2020-08-20.
  106. "ม็อบสะดุ้ง จักรทิพย์ เล่นมุข อยากชุมนุมไม่โดนจับ ให้ไปทุ่งกุลาร้องไห้". ข่าวสด. 20 August 2020. สืบค้นเมื่อ 25 August 2020.
  107. "แห่ดิสไลค์ คลิปกรมประชาฯ โวยรัฐใช้ภาษีทำคลิปดิสเครดิตม็อบเยาวชน". ไทยรัฐ. 22 August 2020. สืบค้นเมื่อ 22 August 2020.
  108. "แห่แชร์!! เจ้าหน้าที่ตามหา 'เด็กอนุบาล 3 ขวบ' ถึงบ้าน หลัง ชู 3 นิ้วต้านเผด็จการ". มติชนออนไลน์. 22 August 2020. สืบค้นเมื่อ 23 August 2020.
  109. "ปล่อยตัว ไผ่ ดาวดิน กับพวก ขอโทษสาดสีใส่ตำรวจ บอกเป็นราคาที่ต้องจ่าย". ไทยรัฐ. 28 August 2020. สืบค้นเมื่อ 28 August 2020.
  110. "โควิด-19 : นายจ้างหาอะไรใน CV เด็กจบใหม่ ในยุคเศรษฐกิจทรุด". BBC Thai. 5 July 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-07-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  111. ยอมรับแล้ว! “ปิยบุตร” ยืมปาก “พิธา” เฉลย “ล้มเจ้า” ในม็อบ “สาธิต” นักธุรกิจอินเดียรักในหลวงขอถก “บิ๊กแดง”
  112. แฟลชม็อบ : การต่อสู้ระหว่างกลุ่ม "ฟันน้ำนม" กับ "ฟันปลอม"
  113. ทนายอานนท์เผยได้ข่าวมีการจัดตั้งกลุ่มคนมาทำร้ายผู้ชุมนุมตั้งแต่พรุ่งนี้
  114. 'มารีญา' โพสต์ประกาศจุดยืนขออยู่ข้าง 'เยาวชนปลดแอก'
  115. เอก HRK และ โบ๊ะบ๊ะแฟมมิลี่ ออกมาแสดงจุดยืนทางการเมือง ถึงกลุ่ม เยาวชนปลดแอก
  116. ทราย เหมาไอศกรีม อดีตนักโทษการเมือง เลี้ยงม็อบเด็กนนท์พร้อมชนเผด็จการ!
  117. "คณาจารย์ ลงชื่อหนุนกลุ่ม นศ. "ธรรมศาสตร์จะไม่ทน"". ไทยรัฐ. 12 August 2020. สืบค้นเมื่อ 12 August 2020.
  118. ครูร่วมปลดแอก ชูสามนิ้วในห้องพักครู ขออยู่เคียงข้างนักเรียน matichon.co.th เผยแพร่เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563 สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2563
  119. "ยูนิเซฟ เรียกร้องเคารพสิทธิ-ปกป้องความรุนแรงเด็กและเยาวชน". ประชาชาติธุรกิจ. 18 August 2020. สืบค้นเมื่อ 18 August 2020.
  120. "#MGRTOP7 : "บอส อยู่วิทยา" คุกไทยมีไว้ขังคนจน? — "ม็อบมุ้งมิ้ง" เฝ้ามองไม่คุกคาม — "สุริยะ+นิติตะวัน" พ่าย "จันทร์โอชา"". MGR Online. 25 July 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.
  121. ""บิ๊กแดง" น้ำตาคลอ! เปิดใจถึงม็อบ นศ. เตือนอย่าใช้วาจาจาบจ้วง". Channel 8. 24 July 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.
  122. ""เสรีพิศุทธ์" เตือน ผบ.ทบ. "อย่ายุ่งม็อบ นศ." ไล่ รีบ ๆ เกษียณอายุราชการไปเสีย". Post Today. 25 July 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.
  123. "จับตา! #ม็อบไม่มุ้งมิ้งแต่ตุ้งติ้ง ทวง 3 ข้อรัฐบาล". ThaiPBS. 25 July 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.
  124. "เปิดตัว 'สถาบันทิศทางไทย' ขับเคลื่อนไทยไร้ขัดแย้ง". https://www.bangkokbiznews.com/. สืบค้นเมื่อ 10 August 2020. {{cite news}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |work= (help)
  125. "สถาบันทิศทางไทย เปิดผังเครือข่ายปฏิวัติประชาชน (เพ้อฝัน) ​". https://www.nationtv.tv. 10 August 2020. สืบค้นเมื่อ 10 August 2020. {{cite news}}: zero width space character ใน |title= ที่ตำแหน่ง 58 (help); แหล่งข้อมูลอื่นใน |work= (help)
  126. "นายกฯ ไม่สบายใจม็อบธรรมศาสตร์ชุมนุม บอกติดตามดูอยู่". ไทยรัฐ. 11 August 2020. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  127. "อ.ปริญญา ขอน้อมรับผิด โพสต์ชี้แจงกรณี ชุมนุม "ธรรมศาสตร์จะไม่ทน"". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  128. "'สุดารัตน์'ติงไม่ควรก้าวล่วงสถาบัน วอนยึด3ข้อเรียกร้อง". เดลินิวส์. 11 August 2020. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  129. "นักข่าวเทวดาออกโรงถามลั่น 'ม็อบธรรมศาสตร์จะไม่ทน' เอาเงินมาจากไหน!". Thai Post. สืบค้นเมื่อ 11 August 2020.
  130. "https://twitter.com/mfpthailand/status/1293173503965896704". Twitter. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |title= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |access_date= ถูกละเว้น (help)
  131. "หยุดจาบจ้วงพระมหากษัตริย์". แนวหน้า. สืบค้นเมื่อ 17 August 2020.
  132. "อดข้าวประท้วง : เพราะรัฐบาลไม่เคยเห็นความอดอยากผู้คน นศ.เผยเหตุผลที่อดอาหารร้องรัฐบาลแก้ปัญหาปากท้อง". The Bangkok Insight. 23 July 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.
  133. ""ภูมิวัฒน์" ยุติบทบาทแนวร่วมม็อบปลดแอก แฉถูกปิดปากห้ามขึ้นเวที มีอีแอบรับเงินสถานทูต-NGO ต่างชาติ". Manager Online. 18 August 2020. สืบค้นเมื่อ 18 August 2020.
  134. "'ปารีณา' ประกาศให้รางวัลครูตบมือถือเด็ก ลั่นเจอนร.ชูสามนิ้ว จะตีก้นให้ลาย". ข่าวสด. 18 August 2020. สืบค้นเมื่อ 19 August 2020.
  135. "'อ.เจษฎา' ชี้ม็อบสาดสีใส่ตร. 'รุนแรง-คุกคาม' ยกตัวอย่างสากลประท้วงสันติวิธีด้วยภาพวาด". Thai Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 September 2020.
  136. "เพจโปลิศไทยแลนด์ ตำหนิม็อบสาดสีใส่ตำรวจไม่เกิดผลดีเลย แสดงออกถึงตัวตนเป็นเช่นไร". Thai Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 September 2020.
  137. ""ม็อบนิสิตจุฬา" ส่อเค้าล่ม สำนักบริหารกิจการนิสิต ไม่อนุญาตใช้พื้นที่". www.thairath.co.th. 14 August 2020. สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
  138. "ไม่สนคำสั่งห้าม! นักศึกษา ม.มหิดล ลุยจัดแฟลชม็อบ #ศาลายาแสกหน้าเผด็จการ". ข่าวสด. 18 August 2020. สืบค้นเมื่อ 18 August 2020.
  139. "นักเรียน รร.ดังขอนแก่น ประกาศชุมนุม รร.จัดฉีดยุงด่วนไล่เด็กกลับบ้าน". ข่าวสด. 13 August 2020. สืบค้นเมื่อ 24 August 2020.
  140. "ให้ทุกรร.สังกัดสพฐ.อนุญาตเด็กจัดชุมนุมแต่ห้ามคนนอกร่วม". เนชั่น. 18 August 2020. สืบค้นเมื่อ 18 August 2020.
  141. "แจงปมผู้สื่อข่าวหญิงปกปิดต้นสังกัดรายงานข่าวม็อบ". เนชั่นทีวี. 17 August 2020. สืบค้นเมื่อ 17 August 2020.
  142. "จากใจเนชั่น ขอยืนหยัดทำข่าวบนพื้นฐานจริยธรรม วอนหยุดแบนสินค้า". คมชัดลึกออนไลน์. 19 August 2020. สืบค้นเมื่อ 22 August 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น