ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์
รองศาสตราจารย์ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ต.ช. ,ต.ม. | |
---|---|
![]() ปวินใน พ.ศ. 2562 | |
เกิด | 4 มีนาคม พ.ศ. 2514 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศิษย์เก่า | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา มหาวิทยาลัยลอนดอน (ปร.ด.) |
อาชีพ | นักวิชาการ ● นักการทูต ● นักเขียน ● อาจารย์ |
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2537 – ปัจจุบัน |
นายจ้าง | มหาวิทยาลัยเกียวโต |
มีชื่อเสียงจาก | ผู้รณรงค์การปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ และผู้ลี้ภัยการเมือง |
ผลงานเด่น | ชาติพลาสติก: ความจอมปลอมของความเป็นไทย |
คู่สมรส | อเล็กซานเดอร์ ไฟนส์-สมิธ |
รองศาสตราจารย์ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ (เกิด 4 มีนาคม พ.ศ. 2514) เป็นนักวิชาการ นักเขียน นักรัฐศาสตร์และอดีตนักการทูตชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ประจำสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555[1] อดีตนักวิจัยและนักวิชาการ สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์[2][3] ปัจจุบันเป็นผู้ลี้ภัยการเมืองซึ่งพำนักอยู่ที่ นครเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น
ประวัติ[แก้]
ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ เกิดวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2514 ที่กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีจากภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอกจากวิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา มหาวิทยาลัยลอนดอน
ปวินเริ่มทำงานครั้งแรกในฐานะสื่อมวลชนของจส.100 และเป็นสื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาล หลังจากนั้นจึงลาออกและสอบคัดเลือกเพื่อเข้ารับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศเมื่อพ.ศ. 2537 และเมื่อสอบได้แล้วจึงเลือกสังกัดกรมเอเชียตะวันออกตามคำชวนของนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ขณะดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก ปวินเลือกอยู่หน่วยประเทศญี่ปุ่น จึงได้ย้ายไปอาศัยอยู่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลาสั้นๆ จากนั้นในพ.ศ. 2540 ลาราชการไปศึกษาต่อที่สหราชอาณาจักรในระดับปริญญาโทและเอก ต่อมาในพ.ศ. 2545 เขาเดินทางกลับไทยมาทำงานที่กระทรวงช่วงหนึ่ง ก่อนที่จะย้ายไปประจำประเทศสิงคโปร์
ปวิณลาออกจากราชการเมื่อพ.ศ. 2553 แล้วผันตัวเป็นนักวิชาการของสถาบันแห่งหนึ่งในประเทศสิงคโปร์ ต่อมาในพ.ศ. 2555 เขาย้ายไปทำงานในฐานะอาจารย์ประจำศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของมหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น จนถึงปัจจุบัน
เคลื่อนไหวทางการเมือง[แก้]
![]() |
วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ: |
เขาเป็นที่รู้จักจากการเป็น 1 ในนักวิชาการที่รณรงค์เรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์และเรียกร้องให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยเขาเห็นว่าการใช้มาตรา 112 เป็นการที่ทำให้สถาบันกษัตริย์อ่อนแอลง และเป็นการนำมาใช้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของฝ่ายอนุรักษนิยม[4]
เขาได้เป็นวิทยากรในหัวข้อ สถาบันกษัตริย์กับการเมืองไทย เมื่อปี พ.ศ. 2556 ที่ลอสแอนเจลิส สหรัฐ[5] ต่อมาศาลทหารออกหมายจับเขาฐานขัดคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 5/2557[6] แต่เขาไม่ไปรายงานตัว
การแสดงความคิดเห็นเชิงวิจารณ์[แก้]
เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2561 เขาได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์เฌอปราง อารีย์กุล สมาชิกวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต จากกรณีที่เฌอปรางได้เป็นพิธีกรรับเชิญรายการเดินหน้าประเทศไทยเมื่อวันที่ 4 กันยายน ปีเดียวกัน[7] ซึ่งเขาวิจารณ์ว่าเฌอปรางคือ "ผงซักฟอกเผด็จการ" และอาจเป็นการเลือกข้างทางการเมืองได้[8] และมีบุคคลที่แสดงความคิดเห็นในทางเดียวกันกับเขา เช่น รังสิมันต์ โรม, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ศรัณย์ ฉุยฉาย, สมบัติ บุญงามอนงค์[9] ทั้งนี้เขายังมีความขัดแย้งกับพรรคอนาคตใหม่เนื่องมาจากการที่พรรคแถลงว่าเฌอปรางมีสิทธิ์ที่จะเลือกข้างทางการเมือง[10][11] ปัจจุบัน ปวิน ได้เกิดความขัดแย้งกับ อดีตผู้ร่วมอุดมการณ์มากมายเช่น ศรัณย์ ฉุยฉาย ณัฏฐา มหัทธนา เนื่องจากมีการออกมาโจมตีกัน
นอกจากนี้ ปวินยังเป็นผู้จัดตั้งกลุ่ม "รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส" ในเฟซบุ๊ก ซึ่งมีเนื้อหาการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นหลัก[12]
กลุ่มรอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส - ตลาดหลวง[แก้]
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 ปวินได้สร้างกลุ่มส่วนตัวในเฟซบุ๊กโดยใช้ชื่อว่า "รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส" เพื่อให้เป็นเวทีสำหรับการอภิปรายเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เนื้อหามีการผสมผสานตั้งแต่โฆษณาธุรกิจ การอภิปรายเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ไปจนถึงการล้อเลียนเสียดสี[13] โดยในกลุ่มมีสมาชิกกว่า 1 ล้านบัญชี เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563 กลุ่มถูกปิดกั้นการเข้าถึงในประเทศไทย โดยที่หน้ากรุ๊ปเพจปรากฏข้อความว่า "กลุ่มนี้ถูกจำกัดการเข้าถึงในประเทศไทยสืบเนื่องจากคำร้องขอทางกฎหมายจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม" ซึ่งก่อนหน้าที่จะไม่สามารถเข้าถึงได้ในประเทศไทย ปวินได้สร้างกลุ่มขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับสมาชิกจากกลุ่มเดิม โดยใช้ชื่อว่า "รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส-ตลาดหลวง"[14] เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ซีเอ็นเอ็น รายงานว่าทางเฟซบุ๊กเตรียมดำเนินการทางกฎหมายกับรัฐบาลไทย ระบุว่าการจำกัดการเข้าถึงดังกล่าวขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนและกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความเห็น ทั้งนี้ โฆษกของเฟซบุ๊กกล่าวกับสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นว่า “เฟซบุ๊กทำงานเพื่อปกป้องและคุ้มครองสิทธิผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทุกคน และกำลังเตรียมการดำเนินกฎหมายกับคำร้องขอนี้”[15][16]
ผลงาน[แก้]
ผลงานทางวิชาการที่โดดเด่น[แก้]
ปวินมีผลงานทางวิชาการเป็นจำนวนมาก แต่ผลงานทางวิชาการที่โดดเด่นที่สุด อาทิ
- ชาติพลาสติก: ความสัมพันธ์ไทย - พม่า ผ่าน "ความเป็นไทย"[17]
- การทูตทักษิณ
หนังสืออัตชีวประวัติ[แก้]
- มนุษย์/ต่าง/ด้าว : เรามาอย่างสันติ[18]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2550 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[19]
- พ.ศ. 2546 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[20]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Curriculum Vitae Pavin Chachavalpongpun, website:ie.univie.ac.at สืบค้น 01-09-2563
- ↑ นักวิชาการ, website:bbc07.net สืบค้น 01-09-2563
- ↑ สัมภาษณ์พิเศษ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ เรื่องหนังสือ "ก้าวข้ามความกลัว", website:voicetv.co.th/ สืบค้น 01-09-2563
- ↑ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์: พิพากษา “อากง” หนึ่งปีผ่านไป
- ↑ ทำความรู้จักกับ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ผู้ก่อตั้ง รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส Brighttv สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2020
- ↑ ศาลทหาร ออกหมายจับ อีก17คน ฐานขัดคำสั่ง คสช.ไม่มารายงานตัว ไทยรัฐ สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2557
- ↑ ""เฌอปราง" งงใจ! ออกรายการ "เดินหน้าประเทศไทย" ถูกโยงเรื่องการเมือง บอกขอบคุณที่ให้เกียรติ". mgronline.com. MGR Online. 2018-09-15. สืบค้นเมื่อ 2019-06-16.
- ↑ ปวิน แขวะเฌอปราง BNK48 เป็นผงซักฟอกเผด็จการ แต่หลักการประชาธิปไตยยังไร้เดียงสา
- ↑ ดราม่าไม่จบ!! "เฌอปราง BNK48" ร่วมเป็นพิธีกรใน รายการเดินหน้าประเทศไทย
- ↑ ตบตีกันแล้ว!‘ปวิน’เดือดจัดประกาศเปิดศึก‘อนาคตใหม่’หลังโดนด่าไร้วุฒิภาวะ
- ↑ พรรคอนาคตใหม่ กับ เฌอปราง และ “พรรคลุงกำนัน” กับ “คืนนกหวีด” เผชิญ หลุมพรางโลกโซเชียล
- ↑ กมธ.ยุติธรรมรับตรวจสอบล่าแม่มดชาว "รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส"
- ↑ "The Royalists Marketplace: the supply and demand for dissent in Thailand". 4 พฤษภาคม 2563. 28 สิงหาคม 2563.
- ↑ "รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส: เฟซบุ๊กเตรียมดำเนินทางการกฎหมายกับรัฐบาลไทย หลังบังคับบล็อกการเข้าถึงกลุ่มปิดที่พูดคุยเกี่ยวกับราชวงศ์" BBC. 25 สิงหาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2563.
- ↑ "Facebook prepares legal action against Thai government's order to block group". 25 สิงหาคม 2563. 28 สิงหาคม 2563.
- ↑ "สื่อนอกตีข่าว "เฟซบุ๊ก" จ่อฟ้องร้องรัฐบาลไทย อ้างถูกบังคับให้บล็อกกลุ่มสุ่มเสี่ยง" 25 สิงหาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2563
- ↑ ชาติพลาสติก: ความจอมปลอมของความเป็นไทย
- ↑ adaymagazine.com มนุษย์/ต่าง/ด้าว โดย ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ หนังสือที่ใช้ภาพคอลลาจบอกเล่าการเดินทางของชีวิตอย่างจัดจ้านและสนุกที่สุด
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๓ ข หน้า ๑๖๔, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๑๘๙, ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- ชื่อผู้ใช้ทวิตเตอร์ ต่างจากในวิกิสนเทศ
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2514
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- นักวิชาการชาวไทย
- นักเขียนชาวไทย
- นักการทูตชาวไทย
- นักเคลื่อนไหวชาวไทย
- อาจารย์คณะรัฐศาสตร์
- รองศาสตราจารย์
- นิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
- ชาวไทยที่มีความหลากหลายทางเพศ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ม.
- ศิษย์เก่าจากวิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา มหาวิทยาลัยลอนดอน
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยเกียวโต
- บุคคลจากเกียวโต
- ผู้ลี้ภัยชาวไทย
- ผู้เขียนอัตชีวประวัติชาวไทย