อานนท์ นำภา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อานนท์ นำภา
อานนท์ ในปี พ.ศ. 2565
เกิด18 สิงหาคม พ.ศ. 2527 (39 ปี)
อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยรามคำแหง
อาชีพทนายความ
มีชื่อเสียงจากการเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
รางวัล
  • รางวัลควังจูเพื่อสิทธิมนุษยชน ประเทศเกาหลีใต้ (2564)
  • 1 ใน 100 บุคคลสร้างแรงกระเพื่อมในสังคม โดย Time 100 Next , นิตยสาร TIME (2564)
  • รางวัล Person of The Year โดย Thailand Zocial Awards (2564)

อานนท์ นำภา (เกิด 18 สิงหาคม พ.ศ. 2527) เป็นทนายความชาวไทย นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน เดิมเป็นทนายความ และมีชื่ออยู่ในรายชื่อผู้กระทำผิดกฎหมายในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติเนื่องจากกิจกรรมทางการเมือง ในการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2565 เป็นนักเคลื่อนไหวที่มีชื่อเสียงจากข้อเสนอการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์[1] และเป็นบุคคลระดับแกนนำสำคัญของผู้ประท้วง[2] ล่าสุดโดนตัดสินจำคุก 4 ปี ไม่รอลงอาญา

ประวัติ[แก้]

เขาเกิดเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2527 ที่อำเภอธวัชบุรี (ปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวได้แยกออกมาเป็นอำเภอทุ่งเขาหลวง) จังหวัดร้อยเอ็ด[1] สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย[3] สำเร็จการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ต่อมาเอาดีทางด้านสิทธิมนุษยชนในปี พ.ศ. 2549 ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 เขาประกอบอาชีพเป็นทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนและรับว่าความให้จำเลยนักเคลื่อนไหวคนสำคัญ รวมทั้งอำพล ตั้งนพกุล และ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา (ไผ่ ดาวดิน) ระหว่างการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ทำให้ถูกตั้งชื่อว่า ทนายเสื้อแดง[1]

หลังจากการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขารับว่าความคดีสิทธิมนุษยชนจำนวนมาก และเริ่มดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเองด้วย เขาเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งและดูแลกองทุนราษฎรประสงค์[4] ในปี 2558 เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มพลเมืองโต้กลับ นับแต่นั้นเขาถูกทางการตั้งข้อหาว่าละเมิดกฎหมายหลายข้อหา[1]

การเคลื่อนไหวทางการเมือง[แก้]

การปราศรัย อานนท์ นำภา วันที่ 3 สิงหาคม 2564

ในการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563 เขาถูกมองว่าเป็นหนึ่งในแกนนำของผู้ประท้วง เป็นผู้ปราศรัยในการชุมนุมหลายครั้ง วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2563 อานนท์เริ่มเป็นที่รู้จักอีกครั้งจากการชุมนุม "เสกคาถาปกป้องประชาธิปไตย" ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยกลุ่มมหานครเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มมอกะเสด และมีการพูดถึงข้อเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์เป็นครั้งแรก[5] หลังจากนั้นเขาถูกตั้งข้อหาจากการชุมนุมของเยาวชนปลดแอกที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในวันที่ 18 กรกฎาคม 2563[6][7] โดยมีข้อหาร่วมทั้งปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง[8]

ในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 มีรายงานว่าเขา ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2)[9] ภายในเรือนจำ ก่อนรักษาตัว ณ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จนหายเป็นปกติ

18 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 มูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก หรือ May 18 Memorial Foundation องค์กรส่งเสริมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ประเทศเกาหลีใต้ จัดพิธีมอบรางวัลควังจูเพื่อสิทธิมนุษยชนประจำปี ค.ศ. 2021 ให้กับอานนท์ นำภา โดยเชิญให้อานนท์ร่วมผ่านทางวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ แต่ทนายอานนท์ยังรักษาอาการจากเชื้อโควิด19 ที่ติดจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพ ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ และยังอยู่ในการควบคุมตัว เพราะศาลไม่มีคำสั่งให้ประกันตัว จึงไม่สามารถร่วมพิธีได้[10]

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565[11] อานนท์ นำภา ได้รับการประกันตัวโดยคำสั่งของศาลอาญากรุงเทพใต้ ใน 2 คดี คือคดีม็อบแฮรี่พอตเตอร์บริเวณหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และคดีการฝ่าฝืน พรก.ฉุกเฉินในการชุมนุมเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 บริเวณแยกราชประสงค์ โดยใช้วงเงินในการประกันตัวจำนวน 200,000 บาท และ 100,000 บาท และกำหนดเงื่อนไข 7 ข้อ ห้ามปลุกระดม ห้ามก่อความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ห้ามออกนอกราชอาณาจักร ห้ามออกนอกบ้านพักยามวิกาล ต้องสวมกำไลอิเล็กทรอนิกส์ (EM) และต้องรายงานตัวต่อศาลทุก 30 วัน[12]

ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 เขาถูกศาลอาญาสั่งจำคุก 4 ปี ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และฝ่าฝืน พรก.ฉุกเฉิน กรณีการชุมนุมเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2563[13] และในเดือนมกราคม พ.ศ. 2567 ศาลอาญาได้สั่งจำคุกเขาเพิ่มอีก 4 ปี ในประมวลกฎหมายอาญา ม.112 กรณีโพสต์ทางโซเชียลมีเดียเมื่อ พ.ศ. 2564[14] ทั้งนี้ อานนท์ยังมีคดีที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 112 รอการตัดสินอีกจำนวน 12 คดี[15]

ผลงานเพลง[แก้]

ซิงเกิล (ร่วมกับกลุ่มพลเมืองโต้กลับ)[แก้]

  • จูบเย้ยจันทร์ (โอชา) (พ.ศ. 2558)
  • เอาไม่ลง (พ.ศ. 2558)
  • 16 เดือนแห่งความหลัง (พ.ศ. 2558)
  • อย่างนี้ต้องตีเข่า โหวตไม่เอาแล้วตีตก (พ.ศ. 2559)

รางวัลและเกียรติยศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Post, The Jakarta. "Three activists who break Thailand's deepest taboo". The Jakarta Post (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-23. สืบค้นเมื่อ 2020-09-17.
  2. "คุม 'ทนายอานนท์ - ไมค์' ส่งศาลแล้วทั้งคู่ ทามกลางมวลชนนับร้อย". bangkokbiznews.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-13. สืบค้นเมื่อ 2020-09-17.
  3. "The Isaander กินลาบกับทนายอานนท์". The Isaander. 2020-02-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-19. สืบค้นเมื่อ 2020-09-19.
  4. "ครึ่งปี 19 ล้าน กองทุนราษฎรประสงค์ยื่นประกัน-จ่ายค่าปรับคดีการเมืองรวม 401 ครั้ง". ประชาไท. 2021-07-09. สืบค้นเมื่อ 2022-02-24.
  5. “บ้านเมืองไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง” ทนายอานนท์ เปิดใจหลังถูกแจ้งความกรณีปราศรัยม็อบแฮร์รี่ พอตเตอร์ สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2564
  6. "Thai police arrest nine in sweep against activists". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-08-20. สืบค้นเมื่อ 2020-09-17.
  7. "Thailand: Police Again Detain Lawyer Involved in Anti-Govt Rallies". BenarNews (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-18. สืบค้นเมื่อ 2020-09-17.
  8. "Anon Nampa and other Thai youth protesters hit with arrest warrants". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2020-08-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-15. สืบค้นเมื่อ 2020-09-17.
  9. "ทนายอานนท์" ติดเชื้อโควิด-19 เร่งส่ง รพ.ราชทัณฑ์
  10. มูลนิธิ 18 พ.ค. เกาหลีใต้ จัดพิธีมอบรางวัล ‘กวางจูสิทธิมนุษยชน 2021’ ให้ ‘อานนท์ นำภา’ เที่ยงวันนี้ Matichon Online 2021-05-18 สืบค้นเมื่อ 2021-05-18
  11. Pafun (2022-02-28). "อานนท์ นำภา ศาลอาญาอนุญาตให้ประกันตัว ขีด 8 เงื่อนไขห้ามฝ่าฝืน". ประชาชาติธุรกิจ.
  12. "ศาลอาญากรุงเทพใต้ให้ประกันตัวทนายอานนท์ 3 เดือน". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2022-05-16.
  13. "ศาลฯ จำคุก 'อานนท์' 4 ปี ไม่รอลงอาญา คดี ม.112 ปราศรัยปี 63". Thai PBS.
  14. "ศาลสั่งจำคุก 4 ปี "ทนายอานนท์" โพสต์หมิ่นสถาบัน ผิดมาตรา 112". Thai PBS.
  15. "อานนท์ นำภา 69 วันในเรือนจำ เพราะการต่อสู้ไม่ใช่ความผิด การยอมรับโทษ จึงไม่ใช่การยอมรับผิด". plus.thairath.co.th.
  16. ‘อานนท์-ไมค์’ คว้ารางวัล ‘จารุพงษ์ ทองสินธุ์’ ลั่น วิญญาณวีรชนมาเกิดในร่างคนรุ่นใหม่ สืบค้นเมื่อ 2021-07-09
  17. ‘อานนท์ นำภา’ คว้ารางวัล ‘กวางจูสิทธิมนุษยชน 2021’ จากประเทศเกาหลีใต้ Matichon Online 2021-14-01 สืบค้นเมื่อ 2021-15-01
  18. Arnon Nampa(ภาษาอังกฤษ) สืบค้นเมื่อ 2021-02-17
  19. ผู้ที่ได้รับรางวัล "Person of The Year" สาขา Social Movement ได้แก่ อานนท์ นำภา สืบค้นเมื่อ 2021-04-08

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]