ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาผู้ไท"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 101: บรรทัด 101:
* เมื่อมีสระเสียงสั้น พยางค์ประกอบด้วยพยัญชนะต้น สระ, วรรณยุกต์ และพยัญชนะตัวสะกด
* เมื่อมีสระเสียงสั้น พยางค์ประกอบด้วยพยัญชนะต้น สระ, วรรณยุกต์ และพยัญชนะตัวสะกด


== ลักษณะเด่นของภาษาผู้ไท ==
ลักษณะเด่นของภาษาผู้ไท
1. พยัญชนะ "ข" ในภาษาไทยและลาว-อีสานบางคำ ออกเสียงเป็น "ห" เช่น
ลักษณะเด่นอื่น ๆ ของภาษาผู้ไท มีดังนี้
แขน = แหน
ขา = หา
เข็ม = เห็ม
เข้า = เห้า
ข้าว = เห้า
ขาด = หาด
ขัน = หัน (ขันน็อต,ไก่ขัน)
ขอด (มัด) = หอด
เขี้ยว (ฟัน) = แห้ว
ขัดข้อง (ยุ่งเหยิง) = ห้อง
ของ = หอง
ขึ้น = หึ้น
เขียง = เหง
ข้อมือ,ข้อเท้า = ห้อมือ, ห้อตีน


2. สระ "ใ" ในภาษาไทยจำนวน 15 คำ (อีก 4 คำ คือ ใฝ่,ใคร่,หลงใหล,ใช่ ไม่มีในภาษาผู้ไท ส่วนคำว่า ใส ใช้เหมือนกันกับภาษาไทย) ออกเสียงเป็น "เออ" และสระ "ไ" บางคำก็ออกเสียงเป็น "เออ" เช่น
*เสียงท้ายคำถาม
ใหญ่ = เหญ่อ
** เผอ, ผิเหลอ, ผะเหลอ = อะไร
ใหม่ = เหม่อ
*: "ผะเหลอนี่หน่า" = นี่คืออะไร
ให้ = เห้อ
*: "เว้าผะเหลอว่ะ" = พูดอะไรน่ะ
ลูกสะใภ้ = ลุเภ้อ
*: "จักผะเหลอ" = ไม่รู้อะไร
ใจ = เจอ,หูเจอ
** เพ่อ, ผู้เล่อ = ใคร
ใช้ = เซ้อ
*: "แม้ล่ะไป๋เย่มเพ่อ" = แม่จะไปเยี่ยมใคร
ใด,ไร = เลอ
*: "ผู้เล่อล่ะไป๋กับข้อยแด่" = ใครจะไปกับผมบ้าง
ใส่ = เส่อ
** ซิเล่อ,เนอะเห่อ,ม่องเล่อ = ที่ไหน
ใคร = เพอ
*: "เพิ้น ล่ะ ไป๋ ซิ เล่อ" = เขาจะไปไหน
ใบ = เบอ
*: "เจ้ายู่ม่องเล่อหว่ะ" = คุณอยู่ที่ไหนน่ะ
ใต้ =เต้อ
** มิ = ไม่
ใบ้ = เบ้อ
*: "ไป๋ฮึมิไป๋" = ไปหรือไม่ไป
ใย = เยอ
*: "มิได้" = ไม่ได้,ไม่มี
ไหม (ปรับ) = เหมอ
* สระประสมในภาษาไทยถิ่นอื่น มักเป็นสระเดี่ยวในภาษาผู้ไท
ตะไคร, หัวสิงไค = โหซิเคอ
** สระ เอีย เป็น เอ
ไต = เตอ
*: กระเทียม - กะเท่ม

*: โรงเรียน - โฮงเฮน,โลงเลน
3. ภาษาผู้ไทใช้แต่เพียงสระเดี่ยว ไม่มีสระผสม เช่นเดียวกับภาษาลื้อ ไตขืน ไทใหญ่ เช่น
** สระ เอือ เป็น เออ
ผัว = โผ
*: น้ำเชื่อม - นั้มเซิ้ม
ห้วย = โห้ย
*: ใส่เสื้อ - เส่อเส้อ
ตัว = ตัว
** สระ อัว เป็น โอ
ชั่ว = โซ่
*: กล้วย - โก๊ย
เมีย = เม
** สระใอ (ไม้ม้วน) ในภาษาไทกลาง เมื่อพูดในภาษาผู้ไท มักออกเสียงสระเออ ดังนี้
เมี่ยง = เม่ง
*: ใหม่-เหม่อ
เขี่ย = เขว่
*: ใส่-เส่อ
เขียด = เขวด
*: หัวใจ-โหเจ๋อ
เขียน = เขน
*: ใกล้-เข้อ, เก้อ
เกวียน = เกน
*: แกงมะเขือใส่เนื้อเสือ กินบนเรือ เพื่อกลับบ้าน-แก่งมะเข๋อเส่อเน๊อเส๋อ กิ๋นเทิ่งเฮ่อ เพ้อเม่อเฮิ่น
เรียน = เฮน
** สระไอ (ไม้มลาย) ในภาษาไทยกลาง จะออกเสียง จัตวา (+)ในสำเนียงภูไท ดังนี้
เลี้ยว = เล้ว
*: ไป-ไป๋,
มะเขือ = มะเขอ
* ข บางคำจะออกเสียงเป็น ห, ค บางคำจะออกเสียงเป็น ฮ ดังนี้
เรือ = เฮอ
** เข้า-เห้า, ขาด - ฮ่าด, ข้อ - ห๊อ
เหงื่อ = เห่อ
** คนห้าคนฆ่าคนห้าคน-ค่นห้าค่นห้าค่นห้าค่น
ชวน = โซน, โซ
* คำที่สะกดด้วย -อก จะออกเสียงสระเอาะ (เสียงสั้น) ดังนี้

** นอก-เน้าะ, จอก-เจ้าะ, คอก-เค่าะ, ปลอก-เป๊าะ
4. คำที่ใช้สระเสียงยาวแล้วสะกดด้วย "ก" จะเปลี่ยนเป็นสระเสียงสั้น ไม่ออกเสียง "ก" เช่นเดียวกับภาษาไทถิ่นใต้ฝั่งตะวันตก และภาษาไทดำ ไทขาว พวน เช่น
ลูก = ลุ
บอก = เบ๊าะ
แตก = แต๊ะ
ตอก = เต๊าะ
ลอก = เลาะ, ลู่น
หนอก = เนาะ
ยาก = ญะ
ฟาก = ฟะ
หลีก = ลิ
ปีก = ปิ๊
หาก =หะ
กาก=ก๊ะ
อยาก = เยอะ
เลือก = เลอะ
น้ำเมือก = น้ำเมอะ
น้ำมูก = ขี้มุ
ผูก = พุ

5. ภาษาผู้ไทใช้คำที่แสดงถึงการปฏิเสธว่า มี,หมี่ หรือเมื่อพูดเร็วก็จะออกเสียงเป็น มิ เช่นเดียวกับภาษาไทยโบราณ ภาษาจ้วง (bou,mi) และภาษาลื้อบางแห่ง เช่น
ไม่ได้ = มีได้
ไม่บอก = มีเบ๊าะ
ไม่รู้ = มีฮู้, มีฮู้จัก,มีจัก,จักแล้
ไม่เห็น = มีเห็น
ไม่พูดไม่จา = มีเว้ามีจา

6. คำที่วางท้ายประโยคคำถาม คือคำว่าอะไร,ทำไม,ไหน,ใคร,ใด-ไร,จะใช้แตกต่างจากภาษาไทยดังนี้
อะไร = ผะเหลอ,ผิเหลอ,อันเลอ
ทำไม = เอ็ดเผอ
ไหน = ซิเลอ,สะเลอ,เนอเหอ
ใคร = เพอ-ผู้เลอ
ใด-ไร = เลอ

7. บางคำมีการออกเสียงต่างจากภาษาไทย ดังนี้
1) ค เป็น ซ เช่น คง = ซง, ครก = ซก
2) ด เป็น ล เช่น ใด = เลอ, สะดุ้ง (เครื่องมือหาปลาชนิดหนึ่ง) = จะลุ่ง
3) อะ เป็น เอะ เช่น มัน (หัวมัน) = เม็น
4) เอะ เป็น อิ เช่น เล่น=ดิ้น, เด็กน้อย=ดิกน้อย
5) เอีย เป็น แอ เช่น เหี่ยว = แห่ว, เขี้ยว = แห้ว เหยี่ยว = แหลว
6) สระเสียงสั้นในภาษาไทยบางคำกลายเป็นสระเสียงยาวในภาษาผู้ไท เช่น ลิง = ลีง, ก้อนหิน = มะขี้หีน ผิงไฟ = ฝีงไฟ
8. คำเฉพาะถิ่น เป็นคำที่มีใช้เฉพาะในภาษาผู้ไท และอาจมีใช้ร่วมกับภาษาอื่นที่เคยมีวัฒนธรรมร่วมกัน เช่น
ดวงตะวัน = ตะเง็น, ขี้ตะเง็น
ดวงเดือน = โต๊ต่าน, เดิน
ประตูหน้าต่าง = ปะตูบ่อง, ป่องเอ้ม
ขี้โม้ = ขี้จะหาว
ขึ้นรา = ตึกเหนา
น้ำหม่าข้าว, น้ำส่งกลิ่นเหม็นเน่า = น้ำโม๊ะ
สวย = ซับ
หัวเข่า = โหโค้ย
ลูกอัณฑะ = มะขะหลำ
หัวใจ = มะหูเจอ,หูเจอ
ตาตุ่ม = ปอเผอะ,ปอมเผอะ
ท้ายทอย = ง้อนด้น
เอว = โซ่ง, กะโท้ย,แอว
พูดคุย, สนทนา = แอ่น
เกลี้ยกล่อม = โญะ
หัน = ปิ่น (หันมา = ปิ่นมา)
ย้ายข้าง = ว้าย (ภาษาลาวว่า อ่วย)
ขอร้อง,วิงวอน = แอ่ว
กันนักกันหนา = กะดักกะด้อ
มาก,ยิ่ง = แฮง,กะดักกะด้อ-กะด้อ,หลาย
จริง = เพิ้ง,แท้
นึกว่า = ตื่อหวะ, กะเด๋วหวะ, เด๋วหวะ
พะวงใจ = ง้อ,คึดง้อ
อุทานไม่พอใจ = เยอ! เยอะ!
ไปโดยไม่หันกลับมา = ไปกิ่นๆ, ไปกี่ดี่ๆ


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:14, 11 มิถุนายน 2561

ผู้ไท
ผู้ไท
ประเทศที่มีการพูดประเทศไทย, ประเทศลาว และ ประเทศเวียดนาม
จำนวนผู้พูด866,000 คน  (2545–2549)[1]
ตระกูลภาษา
รหัสภาษา
ISO 639-3pht

ภาษาผู้ไท (เขียน ผู้ไทย หรือ ภูไท ก็มี) เป็นภาษาในตระกูลภาษาไท-กะได มีผู้พูดจำนวนไม่น้อย กระจัดกระจายในภูมิภาคต่าง ๆ ของไทยและลาว เข้าใจว่า ผู้พูดภาษาผู้ไทมีถิ่นที่อยู่ดั้งเดิมอยู่ในเมือง นาน้อยอ้อยหนู ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า เมืองนาน้อยอ้อยหนู อันเป็นถิ่นฐานดั้งเดิมของผู้ไทอยู่ทีไหน เพราะปัจจุบันมีเมืองนาน้อยอ้อยหนูอยู่ถึงสามแห่ง ตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองแถงหรือปัจจุบันคือจังหวัดเดียนเบียนฟู แห่งที่สองอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองแถง และแห่งที่สามอยู่ห่างจากเมืองลอของเวียดนามประมาณ 10 กิโลเมตร

ชาวไทดำกับผู้ไทเป็นคนละชาติพันธุ์กัน นักภาษาศาสตร์สันนิษฐานว่า อพยพแยกจากกันนานกว่า 1,500 ปีมาแล้ว ในปัจจุบัน มีการจัดให้ภาษาผู้ไทเป็นกลุ่มย่อยของภาษาไทดำซึ่งไม่ถูกต้อง ผู้ไทอพยพจากนาน้อยอ้อยหนูไปอยู่ที่เมืองวังอ่างคำ ซึ่งคือเมืองวีระบุรี ในแขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว ก่อนถูกกวาดต้อนมาอยู่ในดินแดนประเทศไทยเมื่อไม่ถึง 200 ปีมานี้ ผู้ไทที่ถูกกวาดต้อนมาอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขงมีจำนวนไม่น้อย แต่ผู้ไทซึ่งอยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแถบแขวงสุวรรณเขตและแขวงคำม่วนในลาว ก็ยังมีประปราย มักจะเรียกผู้ไททั้งสองกลุ่มนี้รวม ๆ กันว่า "ผู้ไทสองฝั่งโขง"

ความเป็นมาของคน ภูไท หรือ ผู้ไทย ในประเทศสยาม

เมื่อ พ.ศ. 2369 (ก่อนสงครามเจ้าอนุวงศ์) ตรงกับในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่เมืองวังมีความวุ่นวาย เกิดขัดแย้งภายในของกลุ่มผู้ไท ที่มีเมืองวังเป็นเมืองหลัก ได้มีไทครัวผู้ไทกลุ่มหนึ่งอพยพมาตั้งบ้านเรือนในฝั่งขวาแม่น้ำโขง มีนายไพร่ รวม 2,648 คน ต่อมาได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านบุ่งหวาย ในปี พ.ศ. 2373  พระสุนทรราชวงษา เจ้าเมืองยโสธร ว่าราชการอยู่เมืองนครพนมได้มีใบบอกขอตั้งบ้านดงหวายเป็นเมือง "เรณูนคร" ต่อมา ร.3 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกบ้านบุ่งหวาย ขึ้นเป็นเมืองเรณูนคร  และตั้งให้ ท้าวสาย หัวหน้าไทครัวผู้ไทเป็น "พระแก้วโกมล" เจ้าเมืองเรณูนคร คนแรก ขึ้นเมืองนครพนม(ในปี พ.ศ. 2387) ซึ่งคือท้องที่ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนมในปัจจุบันนั่นเอง (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ) ชาวผู้ไทเรณูนคร จึงเป็นชาวผู้ไทกลุ่มแรกที่อพยพมาอยู่ในเขตฝั่งขวาแม่น้ำโขง(หมายถึงผู้ไทที่เป็นบรรพบุรุษของคนผู้ไทในอิสานปัจจุบัน)

หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2387 ผู้ไทจากเมืองวังอ่างคำและเมืองใกล้เคียง ก็อพยพตามมา เป็นกลุ่มที่ 2 แล้วไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ เมืองพรรณานิคม  (จ.สกลนคร) เมืองคำชะอี หนองสูง (จ.มุกดาหาร) เมืองกุดสิมนารายณ์ (อ.เขาวงและ อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธฺ์)ตามลำดับ โดยผู้ไทกลุ่มจากเมืองกะป๋องได้อพยพมาตั้งที่เมืองวาริชภูมิเป็นกลุ่มผู้ไทที่ข้ามมาฝั่งขวาแม่น้ำโขงกลุ่มล่าสุด (ในปี พ.ศ. 2420 ในสมัย รัชกาลที่ 5)

ผู้พูดภาษาผู้ไท

ผู้พูดภาษาผู้ไทในประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณจังหวัดภาคอีสานตอนบน ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์, นครพนม, มุกดาหาร, ร้อยเอ็ด และ สกลนคร นอกจากนี้ยังมีอีกเล็กน้อยในจังหวัดอุบลราชธานี,อุดรธานีและ จังหวัดบึงกาฬ โดยในแต่ละท้องถิ่นจะมีสำเนียงและคำศัพท์ที่แตกต่างกันไป

เป็นที่น่าสังเกตว่า ภาษาผู้ไทแม้จะกระจายอยู่ในแถบอีสาน แต่สำเนียงและคำศัพท์นั้นแตกต่างกับภาษาไทยถิ่นอีสานโดยทั่วไป อย่างไรก็ตามยังมีคำยืมจากภาษาถิ่นอีสานอยู่ในภาษาผู้ไทบ้างเป็นธรรมดา แต่ก็ไม่นับว่ามาก ด้วยเหตุนี้ ชาวไทยที่พูดภาษาอีสานจึงไม่สามารถพูดหรือฟังภาษาผู้ไทอย่างเข้าใจโดยตลอด แต่ชาวผู้ไทส่วนใหญ่มักจะพูดภาษาอีสานได้

ลักษณะของภาษา

ด้วยภาษาผู้ไทเป็นภาษาในตระกูลไท จึงมีลักษณะเด่นร่วมกับภาษาไทยด้วย นั่นคือ

  • เป็นภาษาคำโดด มักเป็นคำพยางค์เดียว
  • เป็นภาษามีวรรณยุกต์
  • โครงสร้างประโยคแบบเดียวกัน คือ "ประธาน กริยา กรรม" (SVO) ไม่ผันรูปตามโครงสร้างประโยค

หน่วยเสียงในภาษาผู้ไท

หน่วยเสียงพยัญชนะ

ฐานกรณ์ของเสียง ริมฝีปากล่าง-ฟัน ริมฝีปาก โคนฟัน เพดานส่วนแข็ง เพดานส่วนอ่อน ช่วงคอ
เสียงหยุด (ไม่ก้อง) - /ป/ /ต/ /จ/ /ก/ /อ/
เสียงหยุด (ไม่ก้อง) - /พ/ /ท/ - /ค/ -
เสียงหยุด (ก้อง) - /บ/ /ด/ - - -
เสียงขึ้นจมูก - /ม/ /น/ /ญ/ /ง/ -
เสียงเสียดแทรก /ฟ/ /ส/ - - - /ห/
กึ่งสระ /ว/ - - /ย/ - -
ลอดข้างลิ้น - /ล/ - - - -

ในที่นี้ขออธิบายเฉพาะเสียงที่แตกต่างจากภาษาไทยมาตรฐาน ดังนี้

  • /ญ/ เป็นหน่วยเสียงพิเศษ ที่ไม่พบในภาษาไทยภาคกลาง และถิ่นใต้ แต่พบได้ในภาษาไทยถิ่นอีสาน และเหนือ ในภาษาผู้ไท บางถิ่นผู้พูดใช้เสียง /ญ/ โดยตลอด บางถิ่นใช้ทั้งเสียง /ญ/ และ /ย/ โดยไม่แยกแยะคำศัพท์

หน่วยเสียงสระ

ภาษาผู้ไทมีสระเดี่ยว 9 ตัว หรือ 18 ตัวหากนับสระเสียงยาวด้วย โดยทั่วไปมีลักษณะของเสียงคล้ายกับสระในภาษาไทยถิ่นอื่น (เพื่อความสะดวก ในที่นี้ใช้อักษร อ ประกอบสระ เพื่อให้เขียนง่าย)

สระสูง อิ, อี อึ, อือ อุ, อู
สระกลาง เอะ, เอ เออะ, เออ โอะ, โอ
สระต่ำ แอะ,แอ อะ,อา เอาะ, ออ

อนึ่ง ในภาษาผู้ไทมักไม่ใช้สระประสม นิยมใช้แต่สระเดี่ยวข้างบนนี้ ตัวอย่างคำที่ภาษาไทยกลางเป็นสระประสม แต่ภาษาผู้ไทใช้สระเดี่ยว

ภาษาไทยกลาง ภาษาผู้ไท
/หัว/ /โห/
/สวน/ /โสน/
/เสีย/ /เส/
/เขียน/ /เขน/
/เสือ/ /เสอ/
/มะเขือ/ /มะเขอ/

หน่วยเสียงวรรณยุกต์

หน่วยเสียงวรรณยุกต์ในภาษาผู้ไท มีด้วยกัน 5 หน่วย

พยางค์

พยางค์ในภาษาผู้ไทมักจะเป็นพยางค์อย่างง่าย ดังนี้

  • เมื่อประสมด้วยสระเสียงยาว พยางค์อาจประกอบด้วยพยัญชนะต้น สระ และวรรณยุกต์ โดยจะมีพยัญชนะตัวสะกดหรือไม่ก็ได้
  • เมื่อมีสระเสียงสั้น พยางค์ประกอบด้วยพยัญชนะต้น สระ, วรรณยุกต์ และพยัญชนะตัวสะกด

ลักษณะเด่นของภาษาผู้ไท 1. พยัญชนะ "ข" ในภาษาไทยและลาว-อีสานบางคำ ออกเสียงเป็น "ห" เช่น แขน = แหน ขา = หา เข็ม = เห็ม เข้า = เห้า ข้าว = เห้า ขาด = หาด ขัน = หัน (ขันน็อต,ไก่ขัน) ขอด (มัด) = หอด เขี้ยว (ฟัน) = แห้ว ขัดข้อง (ยุ่งเหยิง) = ห้อง ของ = หอง ขึ้น = หึ้น เขียง = เหง ข้อมือ,ข้อเท้า = ห้อมือ, ห้อตีน

2. สระ "ใ" ในภาษาไทยจำนวน 15 คำ (อีก 4 คำ คือ ใฝ่,ใคร่,หลงใหล,ใช่ ไม่มีในภาษาผู้ไท ส่วนคำว่า ใส ใช้เหมือนกันกับภาษาไทย) ออกเสียงเป็น "เออ" และสระ "ไ" บางคำก็ออกเสียงเป็น "เออ" เช่น ใหญ่ = เหญ่อ ใหม่ = เหม่อ ให้ = เห้อ ลูกสะใภ้ = ลุเภ้อ ใจ = เจอ,หูเจอ ใช้ = เซ้อ ใด,ไร = เลอ ใส่ = เส่อ ใคร = เพอ ใบ = เบอ ใต้ =เต้อ ใบ้ = เบ้อ ใย = เยอ ไหม (ปรับ) = เหมอ ตะไคร, หัวสิงไค = โหซิเคอ ไต = เตอ

3. ภาษาผู้ไทใช้แต่เพียงสระเดี่ยว ไม่มีสระผสม เช่นเดียวกับภาษาลื้อ ไตขืน ไทใหญ่ เช่น ผัว = โผ ห้วย = โห้ย ตัว = ตัว ชั่ว = โซ่ เมีย = เม เมี่ยง = เม่ง เขี่ย = เขว่ เขียด = เขวด เขียน = เขน เกวียน = เกน เรียน = เฮน เลี้ยว = เล้ว มะเขือ = มะเขอ เรือ = เฮอ เหงื่อ = เห่อ ชวน = โซน, โซ

4. คำที่ใช้สระเสียงยาวแล้วสะกดด้วย "ก" จะเปลี่ยนเป็นสระเสียงสั้น ไม่ออกเสียง "ก" เช่นเดียวกับภาษาไทถิ่นใต้ฝั่งตะวันตก และภาษาไทดำ ไทขาว พวน เช่น ลูก = ลุ บอก = เบ๊าะ แตก = แต๊ะ ตอก = เต๊าะ ลอก = เลาะ, ลู่น หนอก = เนาะ ยาก = ญะ ฟาก = ฟะ หลีก = ลิ ปีก = ปิ๊ หาก =หะ กาก=ก๊ะ อยาก = เยอะ เลือก = เลอะ น้ำเมือก = น้ำเมอะ น้ำมูก = ขี้มุ ผูก = พุ

5. ภาษาผู้ไทใช้คำที่แสดงถึงการปฏิเสธว่า มี,หมี่ หรือเมื่อพูดเร็วก็จะออกเสียงเป็น มิ เช่นเดียวกับภาษาไทยโบราณ ภาษาจ้วง (bou,mi) และภาษาลื้อบางแห่ง เช่น ไม่ได้ = มีได้ ไม่บอก = มีเบ๊าะ ไม่รู้ = มีฮู้, มีฮู้จัก,มีจัก,จักแล้ ไม่เห็น = มีเห็น ไม่พูดไม่จา = มีเว้ามีจา

6. คำที่วางท้ายประโยคคำถาม คือคำว่าอะไร,ทำไม,ไหน,ใคร,ใด-ไร,จะใช้แตกต่างจากภาษาไทยดังนี้ อะไร = ผะเหลอ,ผิเหลอ,อันเลอ ทำไม = เอ็ดเผอ ไหน = ซิเลอ,สะเลอ,เนอเหอ ใคร = เพอ-ผู้เลอ ใด-ไร = เลอ

7. บางคำมีการออกเสียงต่างจากภาษาไทย ดังนี้

   1) ค เป็น ซ เช่น คง = ซง, ครก = ซก
   2) ด เป็น ล เช่น ใด = เลอ, สะดุ้ง (เครื่องมือหาปลาชนิดหนึ่ง) = จะลุ่ง
   3) อะ เป็น เอะ เช่น มัน (หัวมัน) = เม็น 
   4) เอะ เป็น อิ เช่น เล่น=ดิ้น, เด็กน้อย=ดิกน้อย
   5) เอีย เป็น แอ เช่น เหี่ยว = แห่ว, เขี้ยว = แห้ว เหยี่ยว = แหลว 
   6) สระเสียงสั้นในภาษาไทยบางคำกลายเป็นสระเสียงยาวในภาษาผู้ไท เช่น ลิง = ลีง, ก้อนหิน = มะขี้หีน ผิงไฟ = ฝีงไฟ 

8. คำเฉพาะถิ่น เป็นคำที่มีใช้เฉพาะในภาษาผู้ไท และอาจมีใช้ร่วมกับภาษาอื่นที่เคยมีวัฒนธรรมร่วมกัน เช่น ดวงตะวัน = ตะเง็น, ขี้ตะเง็น ดวงเดือน = โต๊ต่าน, เดิน ประตูหน้าต่าง = ปะตูบ่อง, ป่องเอ้ม ขี้โม้ = ขี้จะหาว ขึ้นรา = ตึกเหนา น้ำหม่าข้าว, น้ำส่งกลิ่นเหม็นเน่า = น้ำโม๊ะ สวย = ซับ หัวเข่า = โหโค้ย ลูกอัณฑะ = มะขะหลำ หัวใจ = มะหูเจอ,หูเจอ ตาตุ่ม = ปอเผอะ,ปอมเผอะ ท้ายทอย = ง้อนด้น เอว = โซ่ง, กะโท้ย,แอว พูดคุย, สนทนา = แอ่น เกลี้ยกล่อม = โญะ หัน = ปิ่น (หันมา = ปิ่นมา) ย้ายข้าง = ว้าย (ภาษาลาวว่า อ่วย) ขอร้อง,วิงวอน = แอ่ว กันนักกันหนา = กะดักกะด้อ มาก,ยิ่ง = แฮง,กะดักกะด้อ-กะด้อ,หลาย จริง = เพิ้ง,แท้ นึกว่า = ตื่อหวะ, กะเด๋วหวะ, เด๋วหวะ พะวงใจ = ง้อ,คึดง้อ อุทานไม่พอใจ = เยอ! เยอะ! ไปโดยไม่หันกลับมา = ไปกิ่นๆ, ไปกี่ดี่ๆ

อ้างอิง

  1. ผู้ไท ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)