ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
→‎จีเอ็มเอ็ม ไท หับ (GTH): เพิ่ม "ฟรีแลนซ์..ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ", "เมย์ไหน..ไฟแรงเฟร่อ"
Supotmails (คุย | ส่วนร่วม)
แก้คำผิด
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 24: บรรทัด 24:
'''จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่''' ({{lang-en|GMM Grammy}}) เป็น[[บริษัท]]แม่ของกิจการ[[บันเทิง]] ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจ[[ดนตรี]], [[สื่อ]], [[ภาพยนตร์]], [[ดิจิตอล]], [[สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม]], [[สถานีวิทยุ]], [[สื่อสิ่งพิมพ์]], และ [[อีเวนต์เมเนจเม้นท์]] แบบครบวงจร ขนาดใหญ่ที่สุดใน[[ประเทศไทย]]<ref>http://www.gmmgrammy.com/th/vtr-grammy.htm</ref> ก่อตั้งโดย [[ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม]] และ[[เรวัต พุทธินันทน์]] เมื่อวันที่ [[11 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2526]] และเป็นค่ายเพลงที่ดีที่สุดอันดับ 1 ของประเทศไทย<ref>[http://cabal.exteen.com/20071019/gmm-grammy-1 กว่าจะเป็น GMM Grammy...อันดับ1ของประเทศไทย]</ref> และอันดับ 3 ของเอเชีย จากการจัดอันดับของนิตยสารชื่อดังของอังกฤษ<ref>[http://www.dek-d.com/board/view/1479648/ ผลการจัดอันดับค่ายเพลงที่ดีที่สุดในเอเชีย]</ref> นอกจากนี้ยังเป็นบริษัทที่มีคนอยากเข้าทำงานมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ของประเทศไทยอีกด้วย<ref>[http://www.dek-d.com/board/view/3174224/ 10 บริษัทในประเทศไทยที่คนอยากทำงานด้วยมากที่สุด]</ref>
'''จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่''' ({{lang-en|GMM Grammy}}) เป็น[[บริษัท]]แม่ของกิจการ[[บันเทิง]] ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจ[[ดนตรี]], [[สื่อ]], [[ภาพยนตร์]], [[ดิจิตอล]], [[สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม]], [[สถานีวิทยุ]], [[สื่อสิ่งพิมพ์]], และ [[อีเวนต์เมเนจเม้นท์]] แบบครบวงจร ขนาดใหญ่ที่สุดใน[[ประเทศไทย]]<ref>http://www.gmmgrammy.com/th/vtr-grammy.htm</ref> ก่อตั้งโดย [[ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม]] และ[[เรวัต พุทธินันทน์]] เมื่อวันที่ [[11 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2526]] และเป็นค่ายเพลงที่ดีที่สุดอันดับ 1 ของประเทศไทย<ref>[http://cabal.exteen.com/20071019/gmm-grammy-1 กว่าจะเป็น GMM Grammy...อันดับ1ของประเทศไทย]</ref> และอันดับ 3 ของเอเชีย จากการจัดอันดับของนิตยสารชื่อดังของอังกฤษ<ref>[http://www.dek-d.com/board/view/1479648/ ผลการจัดอันดับค่ายเพลงที่ดีที่สุดในเอเชีย]</ref> นอกจากนี้ยังเป็นบริษัทที่มีคนอยากเข้าทำงานมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ของประเทศไทยอีกด้วย<ref>[http://www.dek-d.com/board/view/3174224/ 10 บริษัทในประเทศไทยที่คนอยากทำงานด้วยมากที่สุด]</ref>


'''จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่''' ทำธุรกิจทางด้านดนตรี สื่อ ภาพยนตร์ ดิจิตอล สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม สถานีวิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ และ อีเวนต์เมเนจเม้นท์ เป็นต้น โดยระยะแรกดำเนินธุรกิจหลักสร้างสรรค์ผลงาน เพลงไทยสากล โดยออกอัลบั้มชุดแรก ''"นิยายรักจากก้อนเมฆ"'' โดย [[พันทิวา สินรัชตานันท์|แพทย์หญิงพันทิวา สินรัชตานันท์]] และผลิตรายการทีวี 3 รายการ ได้แก่ ยิ้มใส่ไข่, มันกว่าแห้ว และ เสียงติดดาว จากนั้นจึงเริ่มขยายกิจการ ไปสู่ธุรกิจผลิต[[รายการโทรทัศน์]]และรายการวิทยุ บริษัทได้ขยายการดำเนินธุรกิจเข้าสู่ธุรกิจบันเทิงอื่นๆ เช่น วิทยุ, ภาพยนตร์, การจัดคอนเสิร์ต, การศึกษา, สื่อสิ่งพิมพ์ รวมทั้งธุรกิจร้านค้าปลีบเพื่อจัดจำหน่ายสินค้าต่างๆ ของบริษัทในเครือ เช่นเทปและซีดีเพลงการขยายธุรกิจดังกล่าวส่งให้บริษัทดำเนินธุรกิจอย่างครบวงจร และเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมบันเทิงไทยในปี [[พ.ศ. 2544]]
'''จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่''' ทำธุรกิจทางด้านดนตรี สื่อ ภาพยนตร์ ดิจิตอล สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม สถานีวิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ และ อีเวนต์เมเนจเม้นท์ เป็นต้น โดยระยะแรกดำเนินธุรกิจหลักสร้างสรรค์ผลงาน เพลงไทยสากล โดยออกอัลบั้มชุดแรก ''"นิยายรักจากก้อนเมฆ"'' โดย [[พันทิวา สินรัชตานันท์|แพทย์หญิงพันทิวา สินรัชตานันท์]] และผลิตรายการทีวี 3 รายการ ได้แก่ ยิ้มใส่ไข่, มันกว่าแห้ว และ เสียงติดดาว จากนั้นจึงเริ่มขยายกิจการ ไปสู่ธุรกิจผลิต[[รายการโทรทัศน์]]และรายการวิทยุ บริษัทได้ขยายการดำเนินธุรกิจเข้าสู่ธุรกิจบันเทิงอื่นๆ เช่น วิทยุ, ภาพยนตร์, การจัดคอนเสิร์ต, การศึกษา, สื่อสิ่งพิมพ์ รวมทั้งธุรกิจร้านค้าปลีกเพื่อจัดจำหน่ายสินค้าต่างๆ ของบริษัทในเครือ เช่นเทปและซีดีเพลงการขยายธุรกิจดังกล่าวส่งให้บริษัทดำเนินธุรกิจอย่างครบวงจร และเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมบันเทิงไทยในปี [[พ.ศ. 2544]]


ปัจจุบันไพบูลย์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำนวนรวม 289,061,630 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 54.51<ref>[http://www.settrade.com/C04_05_stock_majorshareholder_p1.jsp?txtSymbol=GRAMMY&selectPage=5 ข้อมูลผู้ถือหุ้น บริษัท จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ จำกัด (มหาชน)], [http://www.settrade.com เซ็ตเทรด.คอม]</ref>
ปัจจุบันไพบูลย์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำนวนรวม 289,061,630 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 54.51<ref>[http://www.settrade.com/C04_05_stock_majorshareholder_p1.jsp?txtSymbol=GRAMMY&selectPage=5 ข้อมูลผู้ถือหุ้น บริษัท จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ จำกัด (มหาชน)], [http://www.settrade.com เซ็ตเทรด.คอม]</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:49, 25 สิงหาคม 2558

บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)
ประเภทบริษัทมหาชน SET:GRAMMY
อุตสาหกรรมสื่อดนตรี และบันเทิง
ก่อตั้ง11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526
ผู้ก่อตั้งเรวัต พุทธินันทน์
ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม
สำนักงานใหญ่อาคารจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่เพลส
ถนนอโศกมนตรี
แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร
บุคลากรหลัก
ผลิตภัณฑ์สื่อดนตรี สื่อโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุ สื่อภาพยนตร์ สื่อดิจิตอล ละครเวที อีเวนต์ อื่นๆ
รายได้8,863.97 ล้านบาท (รายได้รวมปี พ.ศ. 2553) [1]
พนักงาน
5,216 คน
เว็บไซต์www.gmmgrammy.com
www.gmember.com

จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (อังกฤษ: GMM Grammy) เป็นบริษัทแม่ของกิจการบันเทิง ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจดนตรี, สื่อ, ภาพยนตร์, ดิจิตอล, สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม, สถานีวิทยุ, สื่อสิ่งพิมพ์, และ อีเวนต์เมเนจเม้นท์ แบบครบวงจร ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[2] ก่อตั้งโดย ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม และเรวัต พุทธินันทน์ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 และเป็นค่ายเพลงที่ดีที่สุดอันดับ 1 ของประเทศไทย[3] และอันดับ 3 ของเอเชีย จากการจัดอันดับของนิตยสารชื่อดังของอังกฤษ[4] นอกจากนี้ยังเป็นบริษัทที่มีคนอยากเข้าทำงานมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ของประเทศไทยอีกด้วย[5]

จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ทำธุรกิจทางด้านดนตรี สื่อ ภาพยนตร์ ดิจิตอล สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม สถานีวิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ และ อีเวนต์เมเนจเม้นท์ เป็นต้น โดยระยะแรกดำเนินธุรกิจหลักสร้างสรรค์ผลงาน เพลงไทยสากล โดยออกอัลบั้มชุดแรก "นิยายรักจากก้อนเมฆ" โดย แพทย์หญิงพันทิวา สินรัชตานันท์ และผลิตรายการทีวี 3 รายการ ได้แก่ ยิ้มใส่ไข่, มันกว่าแห้ว และ เสียงติดดาว จากนั้นจึงเริ่มขยายกิจการ ไปสู่ธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์และรายการวิทยุ บริษัทได้ขยายการดำเนินธุรกิจเข้าสู่ธุรกิจบันเทิงอื่นๆ เช่น วิทยุ, ภาพยนตร์, การจัดคอนเสิร์ต, การศึกษา, สื่อสิ่งพิมพ์ รวมทั้งธุรกิจร้านค้าปลีกเพื่อจัดจำหน่ายสินค้าต่างๆ ของบริษัทในเครือ เช่นเทปและซีดีเพลงการขยายธุรกิจดังกล่าวส่งให้บริษัทดำเนินธุรกิจอย่างครบวงจร และเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมบันเทิงไทยในปี พ.ศ. 2544

ปัจจุบันไพบูลย์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำนวนรวม 289,061,630 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 54.51[6]

ประวัติ

อาคารจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่เพลส (ตึกแกรมมี) ย่านสุขุมวิท 21 (ถนนอโศกมนตรี)

พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2529

เมื่อปี พ.ศ. 2526 ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม นำเงินที่สะสมไว้ราว 4-5 แสนบาท มาเป็นทุนจดทะเบียนก่อตั้ง บริษัท แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด โดยร่วมกับ เรวัต พุทธินันทน์ นักดนตรีซึ่งมีชื่อเสียงในยุคนั้น และกลุ่มเพื่อนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน โดยก่อตั้งขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจผลิตงานดนตรีแล้วบันทึกเพื่อจำหน่าย มีสถานะเป็นค่ายเพลง และผลิตศิลปินนักดนตรีเป็นหลัก ซึ่งผลงานลิขสิทธิ์ชิ้นแรกของแกรมมี่ คือการผลิตเพลงชุดมหาดุริยางค์ไทย ที่ประพันธ์โดยหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)

โดยในระยะแรกดำเนินธุรกิจหลักสร้างสรรค์ผลงานเพลงไทยสากล โดยมีศิลปินคนแรกคือ แพทย์หญิงพันทิวา สินรัชตานันท์ โดยออกอัลบั้มชุดแรก นิยายรักจากก้อนเมฆ และต่อมาแกรมมี่ได้ผลิตรายการทีวี 3 รายการ ได้แก่ ยิ้มใส่ไข่, มันกว่าแห้ว และ เสียงติดดาว

ในปี พ.ศ. 2527 แกรมมี่ประสบความสำเร็จอย่างมากในการออกอัลบั้ม เต๋อ 1 ของ เรวัต พุทธินันทน์ และพร้อมทั้ง คาราบาว อัลบั้ม เมด อิน ไทยแลนด์ เป็นอัลบั้มที่ 5 ของวงโดยมีแกรมมี่สนับสนุนอยู่ ซึ่งทำยอดขายได้ถึง 5 ล้านตลับ เป็นสถิติยอดจำหน่ายอัลบั้มเพลงของศิลปินไทยที่สูงที่สุดของไทยไม่มีใครทำลายได้มาจนปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2529 มีการออกอัลบั้มแรกของ ธงไชย แมคอินไตย์ อัลบั้ม หาดทราย สายลม สองเรา[7] ออกวางตลาด ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูง พร้อมทั้งเพิ่มการผลิต แนวเพลงร็อค ได้แก่ วงไมโคร ในอัลบั้มแรก ร็อค เล็ก เล็ก[8] ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีเช่นกัน หลังจากจากนั้นมีผลงานต่อมาคือ หมื่นฟาเรนไฮต์[9] ซึ่งมีเพลงประจำคอนเสิร์ตมือขวาคือเพลง เอาไปเลย และ เต็มถัง[10] ซึ่งมีเพลงดังคือ ส้มหล่น

พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2536

ในปี พ.ศ. 2531 จัดตั้งบริษัท เอ็มจีเอ จำกัด ( MGA ) เพื่อผลิตและจัดจำหน่ายเทปเพลงและสินค้าบันเทิงต่างๆ จากนั้นจึงเริ่มขยายกิจการ ไปสู่ธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์และรายการวิทยุ

ในปี พ.ศ. 2532 ได้ขยายธุรกิจวิทยุ โดยจัดตั้ง บริษัท เอไทม์ มีเดีย จำกัด ควบคุมโดย สายทิพย์ ประภาษานนท์ ออกอากาศ GreenWave และ Hot Wave เป็นสองสถานีแรก

ในปี พ.ศ. 2534 จัดตั้งบริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด โดยผลิตรายการโทรทัศน์ ควบคุมโดย ถกลเกียรติ วีรวรรณ และเริ่มออกอากาศละครซิทคอม เรื่อง "3 หนุ่ม 3 มุม" และในปีเดียวกัน ได้จัดสร้างบริษัท เอ็กซ์ทรอกาไนเซอร์ จำกัด เป็นธุรกิจการแสดงและคอนเสิร์ต ทำให้บริษัทเจริญเติบโตมากขึ้น

ในปี พ.ศ. 2536 บริษัทเริ่มต้นเข้าสู่ยุคยุดแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์และภูมิปัญญาของผู้สร้างสรรค์ผลงานเพลงและผลงานบันเทิง และเมื่อปี พ.ศ. 2537 เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เป็นบริษัท แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินการทำธุรกิจดนตรี และสื่อควบคู่กันเรื่อยมา จนกระทั่งกลายเป็นบริษัทที่ครองตลาดเพลงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย[11] โดยมีรายได้จากธุรกิจดนตรีไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี ในปีเดียวกันเริ่มมีธุรกิจภาพยนตร์โดยชื่อว่า แกรมมี่ภาพยนตร์ หรือ แกรมมี่ ฟิล์ม และเมื่อปี พ.ศ. 2539 เริ่มขยายเข้าสู่ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ โดยการเข้าลงทุนในนิตยสารอิมเมจ

พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2547

แล้วจากนั้นก็เริ่มขยายไปยังตลาดต่างประเทศ โดยเปิดบริษัทในประเทศไต้หวัน ในปี พ.ศ. 2540 และในปี พ.ศ. 2542 ได้มีการจัดตั้งสถาบันดนตรี โรงเรียนมีฟ้า แล้วปีถัดไปในปี พ.ศ. 2543 จัดตั้งหน่วยธุรกิจ E - Business

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2545 มีการปรับโครงสร้างธุรกิจและองค์กรครั้งใหญ่ โดยแบ่งการดำเนินธุรกิจเป็นสองกลุ่มอย่างชัดเจน พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) (เปลี่ยนเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2544) และก่อตั้งบริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) ควบคุมโดย สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา เพื่อดำเนินธุรกิจสื่อทุกประเภท โดยนำทั้งสองบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท โดยมีการโอนขายบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจวิทยุ ธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์ และธุรกิจสิ่งพิมพ์ จำนวน 8 บริษัท

ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 กลุ่มบริษัทมีกลยุทธ์ในการขยายธุรกิจภาพยนตร์ ภายในปีเดียวกันมีภาพยนตร์เรื่อง แฟนฉัน โดย 365 ฟิล์ม ร่วมทุนสร้างกับ ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ และ หับ โห้ หิ้น เป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้มากที่สุดจากการฉายสูงสุดในปีนั้น ด้วยมูลค่าถึง 137.7 ล้านบาท และในปีเดียกัน ภาพยนตร์เรื่อง บิวตี้ฟูล บ๊อกเซอร์ ยังได้รับความสนใจจากต่างประเทศอย่างมาก กำกับโดย เอกชัย เอื้อครองธรรม

จากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2547 บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มีรายได้และกำไรสูงที่สุดนับแต่ก่อตั้ง เป็นจำนวนกว่า 6,671 ล้านบาท และเป็นผลให้มูลค่าตลาดของ กลุ่มบริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มีมูลค่ากว่า 11,025 ล้านบาท และในปีเดียวกันบริษัทตั้งเป้าหมายสู่การเป็น "King of content" โดยการร่วมทุนกับพันธมิตรทางธุรกิจ ได้แก่ บริษัท ดีทอล์ก จำกัด เป็นธุรกิจโทรทัศน์, บริษัท สยามอินฟินินิท จำกัด ให้บริการเกมออนไลน์, บริษัท จีเอ็มเอ็ม ไท หับ จำกัด ธุรกิจภาพยนตร์ และบริษัท นินจา รีเทินส์ คอมมูนิเคชั่น จำกัด รับจัดกิจกรรมและคอนเสิร์ต[12]

พ.ศ. 2548 -พ.ศ. 2549

ในช่วงปี พ.ศ. 2548 บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่มีเหตุการณ์สำคัญ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • เดือนเมษายน ได้ขยายเข้าสู่ธุรกิจอีเวนท์ โดยเข้าลงทุน 50% ในบริษัท อินเด็กซ์ อีเวนต์เอเจนซี่ จำกัด (มหาชน) ( Index Event ) ผ่านบริษัทย่อย บมจ.จีเอ็มเอ็ม มีเดีย ในเดือนเดียวกัน ได้รับผลโหวตให้เป็น "Best Small Cap" ของประเทศไทย และได้อันดับสองในการจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ ซึ่งจัดโดยนิตยสาร FinanceAsia
  • เดือนมิถุนายน เข้าลงทุนใน บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อพัฒนาความร่วมมือทางธุรกิจ เช่น ช่องทางการจำหน่ายสินค้า
  • เดือนกรกฎาคม เข้าร่วมทุนในบริษัท คลีน คาราโอเกะ จำกัด เพื่อให้บริหารจัดการเรื่องลิขสิทธิ์เพลง การจัดการเรียกเก็บเงิน จากตู้คาราโอเกะ โดยบริษัทถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 80 ของทุนจดทะเบียนจำนวน 20 ล้านบาท
  • เดือนกันยายน ลงทุนผ่านบมจ.จีเอ็มเอ็ม มีเดีย เพื่อขยายเข้าสู่ธุรกิจหนังสือพิมพ์ โดยลงทุนใน มติชน ในสัดส่วน 20% และบริษัท โพสต์ พับบลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) ในสัดส่วน 23.6%

ในปี พ.ศ. 2549 เข้าร่วมทุนในบริษัท จีเอ็มเอ็ม ฟิตเนส คลับ จำกัด เพื่อให้บริการด้านสถานออกกำลังกาย โดยบริษัทถือหุ้น ในสัดส่วนร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน จำนวน 40 ล้านบาท ในปีเดียวกัน เข้าร่วมทุนในบริษัท ลักษ์มิวสิก 999 จำกัด เพื่อขยายธุรกิจด้านผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าเพลงโดยบริษัทถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนจำนวน 20 ล้านบาท

พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2555

ในปีต่อมา พ.ศ. 2550 บริษัทซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ทรี-อาร์ดี จำกัด ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 50 จำนวน 2.63 ล้านบาท ในปีเดียวกัน บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) ได้ลงทุนในหุ้นสามัญของแชนแนลวี ไทยแลนด์ มิวสิก ในสัดส่วนร้อยละ 25 จำนวน 16.65 ล้านบาท

จากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2551 มีการปรับโครงสร้างธุรกิจและองค์กรขนานใหญ่อีกครั้ง โดยเพิกถอน บมจ.จีเอ็มเอ็ม มีเดีย ออกจากตลาดหลักทรัพย์ และให้ บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เข้าถือหุ้นทั้งหมด เพื่อควบรวมกิจการ โดยให้ บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เป็นบริษัทแม่ของกลุ่ม ส่งผลให้มีรายได้กำไรสุทธิในปีนั้น เป็นจำนวน 7,834 ล้านบาท ซึ่งสูงสุดอีกครั้งนับแต่ก่อตั้ง

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2552 กลุ่มบริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ร่วมถือหุ้นกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในสัดส่วน 50% ผ่านบริษัทแฟมมิลี่ โนฮาว จำกัด[13] โดย บมจ.จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จัดตั้งสถานีโทรทัศน์ผ่านระบบดาวเทียมขึ้นจำนวน 4 ช่องสัญญาณ ด้วยเงินลงทุนจำนวน 500 ล้านบาท เพื่อนำเสนอในรูปแบบสถานีโทรทัศน์บันเทิง ซึ่งใช้เวลาออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง

ในปี พ.ศ. 2553 จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มีรายได้รวมสูงสุดกว่า 8,863 ล้านบาท ในปีเดียวกัน ได้เข้าร่วมลงทุนในบริษัท แอ็กซ์ สตูดิโอ จำกัด และ บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมเพื่อดำเนินการก่อสร้างสตูดิโอขนาดใหญ่ โดยถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนจำนวน 200 ล้านบาท และในปีเดียวกัน เข้าร่วมลงทุนในบริษัท ลักษ์ แซทเทิลไลท์ จำกัด เพื่อผลิตรายการโทรทัศน์ออกอากาศผ่านดาวเทียม โดยถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียนจำนวน 20 ล้านบาท

ในปี พ.ศ. 2554 ได้เข้าร่วมทุนกับบริษัท ซีเจ โอ ช้อปปิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทโฮมช้อปปิ้งอันดับ 1 ของสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อประกอบธุรกิจโฮมช้อปปิ้ง โดยบริษัทถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียนทั้งหมด 540 ล้านบาท

และในปี พ.ศ. 2555 เข้าลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แซท จำกัด เพื่อให้บริการแพลตฟอร์มโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม โดยถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100 ของทุนจดทะเบียนทั้งหมด 100 ล้านบาท และบริษัท จีเอ็มเอ็ม แซท จำกัด ได้ลงทุนในหุ้นสามัญของ บริษัท จีเอ็มเอ็ม บี จำกัด เพื่อให้บริการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมแบบเสียค่ารับชม (เพย์ ทีวี) โดยถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100 ของทุนจดทะเบียนทั้งหมด 1 ล้านบาท

พ.ศ. 2556 - ปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2556 ในเดือนมีนาคม จีเอ็มเอ็ม ไท หับ นำภาพยนตร์เรื่อง พี่มาก..พระโขนง ออกสู่สายตาประชาชนและทำรายได้ Box Office สูงสุดในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยที่ 567 ล้านบาท

เดือนพฤษภาคม ในปีเดียวกัน จีเอ็มเอ็ม ไท หับเปิดตัวซีรีส์เรื่อง ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น จำนวนทั้งหมด 13 ตอน ออกฉายผ่านทางช่องโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม จีเอ็มเอ็มวัน และผ่านช่องทางยูทูบ ซึ่งได้กลายเป็นซีรีส์ยอดนิยมระดับประเทศ สามารถทำยอดผู้ชมในยูทูบได้กว่า 80 ล้านผู้ชม

เดือนกันยายน ในปีเดียวกันทางบริษัทเพิ่มทุนเพื่อนำไปลงทุนใน Strategic Investment ด้วยอัตราส่วน 5 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ในราคาหุ้นละ 10 บาท จำนวน 106,052,989 หุ้น ส่งผลให้สามารถระดมเงินทุนคิดเป็นจำนวน 1 พันล้านบาท จำนวนหุ้นจดทะเบียนรวมทั้งหมด 636,317,936 หุ้น จำนวน 636,317,936 บาท และเดือนธันวาคม ปีเดียวกัน เข้าร่วมการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติและชนะการประมูล 2 ช่องได้แก่ช่องทั่วไปความคมชัดสูง (วาไรตี้เอชดี) และช่องทั่วไปความคมชัดมาตรฐาน (วาไรตี้เอสดี)

เดือนธันวาคม ในปีเดียวกันทางบริษัทได้เข้าร่วมการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ และชนะการประมูล 2 ช่องได้แก่ ช่องทั่วไปความ คมชัดสูง (วาไรตี้ เอชดี) และช่องทั่วไปความคมชัดมาตรฐาน (วาไรตี้ เอสดี)

บุคลากรสำคัญ

  • เรวัต พุทธินันทน์ (เสียชีวิต) - เศรษฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง และร่วมก่อตั้ง แกรมมี่เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ร่วมกับ ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม เรวัตินับเป็นผู้ปฏิวัติวงการเพลงไทย ให้ไปสู่ยุคทองแห่งความเจริญรุ่งเรือง
  • ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม - นิเทศศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ก่อตั้งแกรมมี่เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ร่วมกับ เรวัต พุทธินันทน์ ปัจจุบันไพบูลย์เป็นประธานกรรมการบริษัท และผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุด ของกลุ่มบริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • กิตติศักดิ์ ช่วงอรุณ - นิเทศศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ร่วมงานกับแกรมมี่เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ตั้งแต่ยุคแรก ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • บุษบา ดาวเรือง - ศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ร่วมงานกับแกรมมี่เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ตั้งแต่ยุคแรก ปัจจุบันเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม
  • สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา - นิเทศศาสตรบัณฑิต (สื่อสารมวลชน) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ดำเนินงานสถานีวิทยุเพลงของแกรมมี่เอ็นเตอร์เทนเมนต์ตั้งแต่ยุคแรก ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (สายธุรกิจสื่อ) บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.จีเอ็มเอ็ม มีเดีย กรรมการผู้จัดการ บจก.เอ-ไทม์มีเดีย (สายงานธุรกิจวิทยุ) และ บจก.เอไทม์แทรเวเลอร์ (สายงานธุรกิจนำเที่ยว) ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • กริช ทอมมัส - นิเทศศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ร่วมงานกับแกรมมี่เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ตั้งแต่ยุคแรก ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (สายธุรกิจเพลง) ของกลุ่มบริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และกรรมการผู้จัดการของ บจก.แกรมมี่โกลด์ ค่ายเพลงลูกทุ่ง ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • ถกลเกียรติ วีรวรรณ - บัณฑิตสาขาการละคร มหาวิทยาลัยบอสตัน เป็นโปรดิวเซอร์ละครโทรทัศน์คนแรกของแกรมมี่เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บจก.เอ็กแซ็กท์ และ บจก.ซีเนริโอ ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (สายธุรกิจทีวีดิจิทัล) ของกลุ่มบริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่, กรรมการ บจก.จีเอ็มเอ็ม มีเดีย และกรรมการผู้จัดการ บจก.ทีนทอล์ค อีกด้วย
  • ยุทธนา บุญอ้อม - นิเทศศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตผู้บริหารและดีเจแฟตเรดิโอ อดีตบรรณาธิการบริหาร นิตยสารเพลงดีดีที ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการ บจก.เกเร ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และดีเจ 89 ชิลเอฟเอ็ม
  • สถาพร พานิชรักษาพงศ์ - กรรมการบริหาร บจก.จีเอ็มเอ็มทีวี สายงานธุรกิจรายการโทรทัศน์ ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • วิเชียร ฤกษ์ไพศาล - รัฐศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการ บจก.จีนีเรคคอร์ดส
  • สันติสุข จงมั่นคง - สามีของบุษบา ดาวเรือง ปัจจุบันเป็นกรรมการบริหาร บจก.จีเอ็มเอ็มไลฟ์ สายงานธุรกิจโปรดักชั่นคอนเสิร์ตโชว์บิซ ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • เกรียงกานต์ กาญจนะโภคิน - บัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.อินเด็กซ์อีเวนต์เอเจนซี สายงานธุรกิจรับจัดกิจกรรม ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • เกรียงไกร กาญจนะโภคิน - ปัจจุบันเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม อินเด็กซ์ครีเอทีฟวิลเลจ และกรรมการผู้จัดการ บจก.อราทิสต์ ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • ธงไชย แมคอินไตย์ - เป็นศิลปินนักร้องของแกรมมี่ตั้งแต่ยุคแรก ปัจจุบันเป็นนักร้องซูเปอร์สตาร์ดาวค้างฟ้าของไทย ซึ่งมียอดจำหน่ายของทุกอัลบั้มเพลงรวมกันมากกว่า 20 ล้านชุด อันเป็นสถิติสูงสุดตลอดกาล
  • วิสูตร พูลวรลักษณ์ - นิเทศศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้บริหารของ บจก.ไทเอ็นเตอร์เทนเมนท์ อดีตยักษ์ใหญ่วงการภาพยนตร์ไทย ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการ บจก.จีเอ็มเอ็มไทหับ (จีทีเอช) ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • คำรณ ปราโมช ณ อยุธยา - ปัจจุบันเป็นกรรมการ บมจ.จีเอ็มเอ็ม มีเดีย ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และบรรณาธิการบริหารนิตยสารอิมเมจ
  • สุรชาติ ตั้งตระกูล (ลาออก) - อดีตผู้บริหาร บจก.สกายไฮเน็ตเวิร์ก ผู้ดำเนินงานสถานีวิทยุของ บมจ.อาร์เอส อดีตกรรมการผู้จัดการ บจก.จีเอ็มเอ็มบรอดแคสติง สายงานธุรกิจสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • สุเมธ ดำรงชัยธรรม (ลาออก) - เศรษฐศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตผู้บริหารสายงานธุรกิจหลักของกลุ่มบริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • วาณิช จรุงกิจอนันต์ (เสียชีวิต) - อดีตกรรมการกลุ่มบริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และกวีซีไรต์
  • กัลยารัตน์ วารณะวัฒน์ (ลาออก) - นักแต่งเพลงคนสำคัญของแกรมมี่เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ปัจจุบันยังเป็นผู้ดูแลการผลิตงานเพลงและคอนเสิร์ต ของศิลปินในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ด้วย
  • อัสนี และ วสันต์ โชติกุล (ลาออก)- เป็นศิลปินคนสำคัญของแกรมมี่เอ็นเตอร์เทนเมนท์ยุคบุกเบิก
  • นิติพงษ์ ห่อนาค (ลาออก) - สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตสมาชิกวงเฉลียง และนักแต่งเพลงคนดังของแกรมมี่ตั้งแต่ยุคแรก

จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ นับเป็นผู้นำด้านการสร้างสรรค์ และผลิตผลงานบันเทิงทุกรูปแบบ มาเป็นระยะเวลายาวนาน มีวิสัยทัศน์ในการเสริมสร้าง ให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยส่งเสริมบุคลากร ให้มีความรักในองค์กร และเชี่ยวชาญในงานที่ทำ

กลุ่มบริษัทและธุรกิจในเครือ

ดูเพิ่มเติมที่ รายชื่อกลุ่มบริษัทและธุรกิจในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่

รายชื่อศิลปินในสังกัด

ดูเพิ่มเติมที่ รายชื่อศิลปินจากจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่'

รายชื่อนักแสดงในสังกัด

ผลงานภาพยนตร์

จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์

ดูเพิ่มเติมที่ จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์

จีเอ็มเอ็ม ไท หับ (GTH)

ดูเพิ่มเติมที่ จีเอ็มเอ็ม ไท หับ

รางวัลที่บริษัทได้รับ

  • รางวัลบริษัทที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า และบริหารยอดเยี่ยม อันดับ 1 ของเอเชีย จาก นิตยสารฟาร์อีสเทอร์น นิตยสารธุรกิจชั้นนำของโลก (ปี 2005)
  • "Asia's Best Under A Billion" หนึ่งในบริษัทชั้นนำของเอเชีย ซึ่งได้รับการจัดอันดับจาก นิตยสารฟอร์บส์ให้เป็น 1 ในบริษัทสุดยอดแห่งเอเชีย
  • รางวัลบริษัทที่มีบรรษัทภิบาลดีเด่น (Good Corporate Governance) ปี (2005-2007)
  • รางวัลองค์กรยอดนิยมของประเทศไทยประจำปี 2550

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น