ข้ามไปเนื้อหา

ซีซันส์เชนจ์ เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซีซันส์เชนจ์ เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย
ภาพใบปิดภาพยนตร์
กำกับนิธิวัฒน์ ธราธร
บทภาพยนตร์นิธิวัฒน์ ธราธร
อมราพร แผ่นดินทอง
อำนวยการสร้างจิระ มะลิกุล
ประเสริฐ วิวัฒนานนท์พงษ์
ยงยุทธ ทองกองทุน
เช่นชนนี สุนทรศารทูล
สุวิมล เตชะสุปินัน
นักแสดงนำ
กำกับภาพประภพ ดวงพิกุล
ตัดต่อประภพ ดวงพิกุล
ดนตรีประกอบบุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ์
หัวลำโพงริดดิม
ผู้จัดจำหน่ายจีทีเอช
บีบีทีวี โปรดัคชันส์
วันฉาย31 สิงหาคม พ.ศ. 2549
ความยาว108 นาที
ภาษาไทย
ทำเงิน71.8 ล้านบาท[1]
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

ซีซันส์เชนจ์ เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย (Seasons Change เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย) เป็นภาพยนตร์ไทย เรื่องราวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเด็กวัยรุ่น 3 คน ในช่วงระยะเวลาหนึ่งปี ที่ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยเปรียบเทียบกับฤดูกาลที่เปลี่ยนไป ภาพยนตร์เรื่องนี้ กำกับโดย นิธิวัฒน์ ธราธร และเข้าฉาย เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2549

นักแสดง

[แก้]

เนื้อเรื่องย่อ

[แก้]

หลังจากจบมัธยมต้นแล้ว ป้อม ตัดสินใจสมัครเข้าเรียนมัธยมปลาย ที่ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล สาขาเตรียมดนตรี เพราะต้องการอยู่ใกล้กับ ดาว เด็กสาวจากโรงเรียนเดียวกัน ที่เขาแอบหลงรัก

ในขณะที่พ่อของป้อมเข้าใจว่า ลูกชายเรียนสาขาเตรียมแพทยศาสตร์ โดยที่ป้อมเองก็ไม่กล้าบอกความจริง เนื่องจากพ่อของป้อมเห็นว่า ดนตรีเป็นวิชาชีพที่ไม่มั่นคง

ขณะเดียวกัน ป้อมก็ได้พบกับ อ้อม ลูกสาวของเพื่อนพ่อ ที่ถึงแม้ด้านปฏิบัติจะไม่เอาไหน แต่ความรู้ด้านทฤษฏีดนตรีเป็นเลิศ และสอบเข้าที่วิทยาลัยฯ เช่นกัน เมื่อทราบเรื่อง อ้อมก็เข้าใจว่า ป้อมรักดนตรีเหมือนกัน จึงสัญญาจะช่วยป้อมเก็บความลับ

ถึงแม้จะตามผู้หญิงที่แอบรักมาเรียน แต่ป้อมกลับค้นพบว่า ตัวเขามีพรสวรรค์ในการตีกลองชุดที่เป็นเลิศ ทำให้ เฉด และ ฉัตร สองหนุ่ม ผู้กำลังมองหามือกลอง ให้กับวงดนตรีของตัวเอง เลือกป้อมเข้าร่วมวง เพื่อเข้าประกวด การแข่งขันวงดนตรี ฮอทเวฟมิวสิคอวอร์ด โดยตั้งชื่อวงว่า Ass-Ho-Le (แอสโฮลี่)

นอกจากนี้ ฝีมือการตีกลองของป้อม ยังไปเข้าตา จิทาโร่ อาจารย์ชาวญี่ปุ่น ผู้สอนเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ (เพอร์คัชชัน) อาจารย์จิทาโร่ จึงมักจะเรียกใช้ป้อม ให้มาช่วยทำวิทยานิพนธ์ของเขาอยู่เสมอ

อย่างไรก็ตาม ป้อมกลับเลือกสมัครเป็นมือกลองทิมปะนี ในวงออร์เคสตราของโรงเรียนแทน เพราะต้องการอยู่ใกล้ชิดดาว ซึ่งเป็นมือไวโอลินของวง ส่วนอ้อม ซึ่งเคยเป็นมือไวโอลินเช่นกัน ต้องเปลี่ยนไปเล่นฉาบแทน เนื่องจาก ฝีมือการเล่นเครื่องดนตรีอื่นไม่เอาไหนจริงๆ

เนื่องจาก วงออร์เคสตรา ใช้การเคาะจังหวะด้วยกลองไม่มาก ป้อมจึงต้องรออย่างเบื่อหน่าย กว่าจะถึงช่วงเล่นของตนแต่ละครั้ง ต่างกับอ้อม ที่มีความสุขกับดนตรี แม้ทั้งเพลงจะได้เล่นน้อยมาก ป้อมจึงเริ่มนึกถึงความรู้สึกของตนเอง ที่เปลี่ยนแปลงไปมาอยู่เสมอ ทั้งเรื่องดนตรี การเรียน ความรัก และชีวิตของตนในอนาคต ราวกับอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย


ทีมงาน

[แก้]

เกร็ดจากภาพยนตร์

[แก้]
  • เพลงฤดูที่แตกต่าง ที่ขับร้องโดยนภ พรชำนิ เป็นแรงบันดาลใจ ในการตั้งชื่อภาพยนตร์เรื่องนี้
  • ชาตรี ธราธร เป็นชื่อจริงของตัวละครป้อมในเรื่อง มีที่มาจาก ชื่อวงชาตรี ที่มีชื่อเสียงในอดีต ส่วนนามสกุลเป็นของผู้กำกับฯ ส่วนชื่อเล่น มาจาก ศิลปินในดวงใจของผู้กำกับ คือ อัสนี โชติกุล
  • ศรัญญา วิวัฒนานนท์พงศ์ เป็นชื่อจริงของตัวละครอ้อมในเรื่อง ส่วนนามสกุลเป็นของ ประเสริฐ วิวัฒนานนท์พงศ์ ผู้อำนวยการสร้าง (ซึ่งเป็นชื่อของคุณหมอประเสริฐ คุณพ่อของอ้อมในเรื่องนั่นเอง)
  • นอกจากนั้น คุณพ่อของผู้แสดงเป็นหมอประเสริฐ ก็ชื่อประเสริฐ โดยบังเอิญ
  • ดุจดาว อาระยานิมิตสกุล เป็นชื่อจริงของตัวละครดาวในเรื่อง และยังเป็นนามสกุลจริงของนาถ ที่เล่นเป็นดาวในเรื่องอีกด้วย
  • ป้อม และ ดาว จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จาก โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) หรือ บ.ด.
  • ยงยุทธ ธราธร (พ่อของป้อม) มาจากชื่อ ยงยุทธ ทองกองทุน ผู้อำนวยการสร้าง
  • ในเรื่องนี้ อัสนี โชติกุล แสดงเป็นตัวเอง ซึ่งเป็นเจ้าของค่ายเพลง และศิลปินนักร้องชื่อดัง
  • ทั้ง อาจารย์สุกรี และ บอยด์ ต่างก็รับเชิญมาร่วมแสดง เป็นผู้ชมการแสดงดนตรี ในตอนท้ายของเรื่อง
  • บทรับเชิญของทีมงาน (cameo)
  • เชื่อกันว่า ข้างๆ ร้านยงยุทธพาณิชย์ เป็นห้องน้ำ เพราะมีแต่ลูกค้ามาซื้อกระดาษชำระ
  • ชื่อวง Ass-Ho-Le มาจากโฆษณาในหนังสือพิมพ์ ที่เฉดฉีกมา ซึ่งอ่านว่า Ass Hole (แอส โฮล) แต่ป้อมกลับอ่านว่า แอส โฮ ลี่ ซึ่งเฉดและฉัตรชอบ จึงใช้ชื่อนี้เป็นชื่อวง
  • ในเรื่อง วง Ass-Ho-Le ที่มีมือกลองคนใหม่มาแทนป้อม ได้รับรางวัลชนะเลิศ ในการประกวด ฮอทเวฟมิวสิคอวอร์ด
  • ฉากที่อ้อมตีฉาบซ้ำหลายๆ ครั้ง แล้ววิ่งออกจากห้อง เป็นฉากเทคเดียว ที่นักแสดงอื่น ไม่ทราบล่วงหน้าเลยว่า จะมีการตีฉาบผิดจังหวะ นอกจากอ้อม (ต่าย) และป้อม (บอล) เท่านั้น
  • ผู้หญิงที่เป็นพนักงานต้อนรับเข้างานคอนเสิร์ต เป็นคนๆเดียวกับ คนที่ต้อนรับเข้างานแต่งงานในเรื่องแฟนฉัน
  • ดนตรีคลาสสิกที่ปรากฏในภาพยนตร์ ได้แก่
  • ดนตรีคลาสสิกในเรื่อง บรรเลงโดยวง Dr. Sax Chamber Orchestra วงดนตรีเยาวชน ของ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
  • กลองชุดที่ใช้ในฉากที่ป้อมสอบปฏิบัติกลอง เป็นกลองยี่ห้อ Pearl และ ฉาบยี่ห้อ Zildjian

รางวัล

[แก้]
ปี รายการ รางวัล/สาขา ผู้ได้รับการเสนอชื่อ ผล
พ.ศ. 2549 รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 28 ประจำปี พ.ศ. 2549 รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม GTH ชนะ
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม นิธิวัฒน์ ธราธร ชนะ
ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ชุติมา ทีปะนาถ เสนอชื่อเข้าชิง
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม อมราพร แผ่นดินทอง , นิธิวัฒน์ ธราธร เสนอชื่อเข้าชิง
กำกับภาพยอดเยี่ยม ประภพ ดวงพิกุล เสนอชื่อเข้าชิง
ลำดับภาพยอดเยี่ยม นิธิวัฒน์ ธราธร ชนะ
ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ์ , หัวลำโพงริดดิม ชนะ
เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม Seasons Change เสนอชื่อเข้าชิง
บันทึกเสียงยอดเยี่ยม - เสนอชื่อเข้าชิง
พ.ศ. 2550 รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 16 รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม GTH เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ชุติมา ทีปะนาถ เสนอชื่อเข้าชิง
บันทึกเสียงและผสมเสียงยอดเยี่ยม ไตรเทพ วงศ์ไพบูลย์ , กันตนา แลบอราทอรี่ส์ จำกัด เสนอชื่อเข้าชิง
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม วรากร พูลสวัสดิ์, มนต์ชัย ทองศรีสืบสกุล เสนอชื่อเข้าชิง
พ.ศ. 2550 รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 15 รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม GTH เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม นิธิวัฒน์ ธราธร เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ชุติมา ทีปะนาถ เสนอชื่อเข้าชิง
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม นิธิวัฒน์ ธราธร , อมราพร แผ่นดินทอง เสนอชื่อเข้าชิง
กำกับภาพยอดเยี่ยม ประภพ ดวงพิกุล เสนอชื่อเข้าชิง
ลำดับภาพยอดเยี่ยม นิธิวัฒน์ ธราธร เสนอชื่อเข้าชิง
ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ์ , หัวลำโพงริดดิม เสนอชื่อเข้าชิง
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม วรากร พูลสวัสดิ์, มนต์ชัย ทองศรีสืบสกุล เสนอชื่อเข้าชิง
พ.ศ. 2550 รางวัลสตาร์เอนเตอเทนเมนท์ ครั้งที่ 4 เพลงและดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม บอย โกสิยพงษ์ , หัวลำโพงริดดิม ชนะ
พ.ศ. 2550 รางวัลเฉลิมไทย ครั้งที่ 4 รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม GTH ชนะ
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม นิธิวัฒน์ ธราธร ชนะ
ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม วิทวัส สิงห์ลำพอง เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ชุติมา ทีปะนาถ ชนะ
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ยาโน คาซูกิ เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม ยุวนาถ อาระยานิมิตสกุล เสนอชื่อเข้าชิง
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม นิธิวัฒน์ ธราธร , อมราพร แผ่นดินทอง ชนะ
ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ์ , หัวลำโพงริดดิม ชนะ
เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม Seasons Change ชนะ
พ.ศ. 2550 รางวัลสตาร์พิคส์ ครั้งที่ 4 บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม นิธิวัฒน์ ธราธร , อมราพร แผ่นดินทอง ชนะ
รางวัลภาพยนตร์ยอดนิยม GTH ชนะ
พ.ศ. 2550 รางวัลคมชัดลึก ครั้งที่ 4 รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม GTH ชนะ
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม นิธิวัฒน์ ธราธร ชนะ
ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ชุติมา ทีปะนาถ ชนะ
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม นิธิวัฒน์ ธราธร , อมราพร แผ่นดินทอง ชนะ

มีเดีย

[แก้]

บทเพลงสี่ฤดู

ไวโอลินคอนแซร์โต ในบันไดเสียง อี ไมเนอร์ โอปุส 64 ของ Felix Mendelssohn

ซิมโฟนีหมายเลขห้า ในบันไดเสียง ซี ไมเนอร์ ของ Ludwig van Beethoven

ดีวีดี และ วีซีดี

[แก้]

ดีวีดี และ วีซีดี ที่ผลิตออกจำหน่าย มี 3 รูปแบบ ได้แก่

  • วีซีดี ประกอบด้วย แผ่นวีซีดีภาพยนตร์ โดยมีปฏิทิน ประจำปี พ.ศ. 2550 แถมบนปก
  • ดีวีดี รูปแบบธรรมดา ประกอบด้วย ดีวีดี-9 จำนวน 2 แผ่น เป็น ภาพยนตร์ 1 แผ่น และ Special Features อีก 1 แผ่น
  • ดีวีดี รูปแบบจำกัดจำนวน (Limited Edition) จำนวนทั้งหมด 5,999 ชุด จะมีของเพิ่มเติมจากรูปแบบธรรมดา คือมี กล่องแบบหมุนจากแกนกลาง แฟ้มสำหรับบรรจุแผ่นดีวีดี โปสการ์ด และ ซีดีเพลงประกอบภาพยนตร์

เนื่องในโอกาสครบรอบ 7 ปี GTH ได้มีการรวมภาพยนตร์เรื่องนี้ เป็น1 ใน 7 ของชุดภาพยนตร์รัก ของค่าย GTH ด้วย (GTH 7 Love Collection)

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]